คุยกับผู้ใช้:กัมปนาท หวลบุตตา

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ กัมปนาท หวลบุตตา สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello กัมปนาท หวลบุตตา! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (คุย) 09:52, 1 มีนาคม 2562 (ICT)

ภสท ทำอะไรให้วิชาชีพ[แก้]

ตลอดระยะเวลา 90 ปีที่ผ่านมา ภสท และสมาชิกได้ร่วมกันดำเนินการมากมาย ที่สำคัญ ๆ ได้แก่

  1. งานวิชาการและวิชาชีพ ในปี 2473 เริ่มออกวารสาร “เภสัชวิทยา” ได้รับความสนใจจากประชนและผู้ประกอบวิชาชีพจำนวนมาก และมีวารสารเภสัชกรรมสมาคมฯ ออกติดต่ออย่างต่อเนื่อง มีการจัดประชุมวิชาการทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ จัดการศึกษาต่อเนื่องให้แก่สมาชิกและเภสัชกรที่มิใช่สมาชิก จัดการศึกษาดูงาน
  2. พัฒนาการศึกษาเภสัชศาสตร์ ในขณะที่จัดทำร่าง พรบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีกรรมการ ภสท เข้าชี้แจง พรบ นี้ ยังผลให้แผนกวิชาเภสัชกรรมในจุฬาฯได้เป็นแผนกอิสระ มีการยกระดับการผลิตเป็นปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต ในปี 2482 เป็นต้นมา และมีการเรียกชื่อสาขาว่า เภสัชกรรม เภสัชกรรมศาสตร์ หรือ เภสัชศาสตร์ และเรียกผู้สำเร็จการศึกษาว่า เภสัชกร
  3. เผยแพร่บทบาทของเภสัชกร เมื่อก่อนนี้ชาวบ้านเรียกเราว่าหมอยา หรือ แพทย์ปรุงยา ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น เภสัชกร ภสท เผยแพร่บทบาทของเภสัชกรและงานเภสัชกรรมทั้งในด้านการผลิต การกระจายยา การบริบาลเภสัชกรรม และสาขาอื่น ๆ มีการใช้คำนำหน้านามคือ เภสัชกร (ภก) และ เภสัชกรหญิง (ภญ)
  4. การออกกฎหมายและข้อบังคับ ภสท เป็นตัวแทนของเภสัชกร ในการให้ความเห็นและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่มีผลต่อการประกอบวิชาชีพและประชาชน ดังเช่น พรบ การขายยา 2493 เป็นการยกเลิก พรบ การควบคุมการขายยา 2479 โดยให้มีผู้ปฏิบัติหน้าทีต้องผ่านการอบรม และมีการควบคุมการโฆษณาเพื่อมิให้ผู้บริโภคถูกหลอกลวง พรบ ยา 2510 เป็น พรบ ที่เขียนโดยเภสัชกรและผู้ที่เข้าใจงานเภสัชกรรม ซึ่ง กรรมการ ภสท มีบทบาทสำคัญ เป็นยุคที่งานเภสัชกรรมมีความก้าวหน้ามาก มีมาตรฐานร้านขายยา มีการบังคับให้เภสัชกรอยู่ประจำตลอดเวลาทำการ ร้านยาชั้น 2 และเภสัชกรชั้น 2 จะค่อย ๆ หมดไป ด้านการผลิตโรงงานต้องมีเครื่องมือของตนเอง มีการห้ามผลิตยาแบบเล่าเต้งฟาร์มาซี มีการตรวจวิเคราะห์ยาทุกรุ่นผลิต น่าเสียดายที่ พรบ ยา 2510 ได้ผ่านการแก้ไขอีกหลายครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไข พรบ ยา 2510 (ฉบับที่ 3) ปี 2522 เป็นครั้งที่เภสัชกรร่วมกันต่อต้านมากที่สุด โดยมี ภสท เป็นแกนนำ จัดให้มีการประชุมใหญ่วิสามัญ มีเภสัชกรเข้าร่วมหลายพันคน เพื่อรักษาสิทธิในการประกอบวิชาชีพ การแก้ พรบ ยา 2510 นี้ คงต้องยืดเยื้อต่อไปเพราะมีวิชาชีพอื่นที่อยากจะเข้ามาทำหน้าแทนเภสัชกร เภสัชกรต้องสามัคคีกันเพื่อให้วิชาชีพเภสัชกรรมเป็นที่ยอมรับ และให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองความปลอดภัยการใช้ยาเหมือนนานาชาติ
  5. ศูนย์รวมของเภสัชกร ภสท เป็นแหล่งรวมตัวของเภสัชกรเพื่อเภสัชกรและการคุ้มครองประชาชน การประกอบวิชาชีพของเภสัชกรแบ่งได้เป็นหลายสาขา เมื่อมีสมาชิกมากพอก็รวมตัวกันเป็นกลุ่มต่าง ๆ ภายใต้ร่มเงาของ ภสท เช่น กลุ่มเภสัชกรโรงพยาบาล กลุ่มเภสัชกรการอุตสาหกรรม กลุ่มเภสัชกรชุมชน กลุ่มเภสัชกรการตลาด กลุ่มเภสัชกรคุ้มครองผู้บริโภค และมีกลุ่มเภสัชกรภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งต่อมาได้แยกตัวก่อตั้งเป็นสมาคมเฉพาะทางเมื่อมีสมาชิกมากขึ้น และหลายสมาคมก็ยังคงใช้พื้นที่ในอาคาร ภสท และทุกสมาคมก็ร่วมการจัดงานประชุม Pharmacy Congress ทุกปีเว้นปี นอกจากนี้ ภสท ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเภสัชกรไทยโดยเป็นกรรมการต่าง ๆในระดับชาติและนานาชาติ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาพันธ์สมาคมเภสัชกรรมแห่งเอเชีย (FAPA) และเป็นสมาชิกสมาพันธ์เภสัชกรรมนานาชาติ (FIP)
  6. บ้านของเภสัชกร ภสท เป็นบ้านของเภสัชกรทุกคน เภสัชกรเป็นผู้ร่วมกันสร้างเภสัชกรรมสมาคม มีกิจกรรมสังสรรค์ สันทนาการ วิชาการ และการบริจาคจากสมาชิก จนได้เงินจำนวนมากพอ จากการมองกาลไกลและการเสียสละของเภสัชกรอาวุโส ทำให้เภสัชกรรมสมาคมมีตึกอาคารเภสัชกรรมสมาคม 3 ชั้น ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 500 ตารางวา ในซอยสุขุมวิท 38 ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าทองหล่อเพียง 30 เมตร เป็นสถานที่ตั้งขององค์กรทางเภสัชกรรมหลายองค์กร
  7. พรบ วิชาชีพเภสัชกรรม ภสท เป็นผู้ริเริ่มให้มี พรบ วิชาชีพเภสัชกรรม 2537 แยกออกมาจาก พรบ ควบคุมการประกอบโรคศิลป ทั้งนี้ เพื่อให้เภสัชกรได้ดูแลกันเอง ภสท และ สภาเภสัชกรรม มีวัตถุประสงค์เหมือนกัน แต่มีวิธีการดำเนินงานและอำนาจหน้าที่ต่างกัน บทบาทของ ภสท คือ การดูแลสมาชิกและการคุ้มครองประชาชน โดยมีข้อบังคับสมาคมของตนเอง ส่วนสภาเภสัชกรรมมีเภสัชกรเป็นสมาชิก มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยา โดยการดูแลจรรยาบรรณและมาตรฐานการประกอบวิชาชีพของเภสัชกร นายก ภสท เป็นกรรมการสภาเภสัชกรรมโดยตำแหน่ง --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ กัมปนาท หวลบุตตา (พูดคุยหน้าที่เขียน) 09:56, 1 มีนาคม 2562 (ICT)