คาร์ล กุตซ์ลาฟฟ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาร์ล กุตซ์ลาฟฟ์
เกิด8 กรกฎาคม ค.ศ. 1803(1803-07-08)
ปือชึตแซ ปรัสเซีย
เสียชีวิต9 สิงหาคม ค.ศ. 1851(1851-08-09) (48 ปี)
สัญชาติปรัสเซีย
พลเมืองปรัสเซีย
อาชีพมิชชันนารี นักแปล
ตำแหน่งสาธุคุณ

คาร์ล ฟรีดริช ออกุสต์ กุตซ์ลาฟฟ์ (เยอรมัน: Karl Friedrich August Gützlaff; 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1803 - 9 สิงหาคม ค.ศ. 1851) เป็นมิชชันนารีนิกายลูเทอแรนชาวเยอรมันที่ไปยังตะวันออกไกล มีชื่อเสียงในฐานะหนึ่งในมิชชันนารีโปรเตสแตนต์กลุ่มแรกในกรุงเทพฯ (ค.ศ. 1828) และในเกาหลี (ค.ศ. 1832) เขายังเป็นมิชชันนารีนิกายลูเทอแรนคนแรกที่มายังประเทศจีนอีกด้วย

เขาทำหน้าที่เป็นล่ามให้กับคณะทูตอังกฤษในช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง กุตซ์ลาฟฟ์เป็น 1 ในมิชชันนารีนิกายโปรเตสแตนต์กลุ่มแรกในจีนที่สวมชุดแบบจีน

เขาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของสมาคมปรัชญาอเมริกันในปี ค.ศ. 1839[1]

ประวัติ[แก้]

เกิดในปือชึตแซ, พอเมอเรเนีย เขาฝึกงานทำอานม้าในชแชชิน แต่สามารถเข้าเรียนที่ Pädagogium ในฮัลเลอได้

สมาคมมิชชันนารีเนเธอร์แลนด์ส่งเขา[2]ไปที่ชวาในปี ค.ศ. 1826 ซึ่งที่นี่เขาเรียนภาษาจีน กุตซ์ลาฟฟ์ออกจากสมาคมในปี ค.ศ. 1828 และไปสิงคโปร์ก่อน จากนั้นไปกรุงเทพ กับเจค็อบ ทอมลิน จากสมาคมมิชชันนารีลอนดอน ที่ซึ่งเขาทำงานแปลพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาไทย เขาเดินทางไปสิงคโปร์ช่วงสั้นๆ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1829 ซึ่งเขาแต่งงานครั้งแรกกับมาเรีย นีเวลล์ มิชชันนารีชาวอังกฤษ ทั้งสองกลับมากรุงเทพฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1830 โดยพวกเขาทำงานเกี่ยวกับพจนานุกรมภาษาเขมรและภาษาลาว อย่างไรก็ตาม ก่อนที่งานจะเสร็จสิ้น มาเรียเสียชีวิตขณะคลอดบุตร โดยทิ้งมรดกไว้มากมาย กุตซ์ลาฟฟ์แต่งงานอีกครั้ง คราวนี้กับแมรี แวนสตอล ในปี ค.ศ. 1834 มาดามกุตซ์ลาฟฟ์คนที่ 2 บริหารโรงเรียนและสถานสงเคราะห์คนตาบอดในมาเก๊า

อ้างอิง[แก้]

  1. "APS Member History". search.amphilsoc.org. สืบค้นเมื่อ 2021-04-09.
  2. Taylor, Charles (1860). Five Years in China. New York: J B McFerrin. p. 51.