ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คาร์พอลทันเนลซิมโดม)
กลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล
ภาพของผู้ป่วยกลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนลที่ไม่ได้รับการรักษา แสดงให้เห็นการฟีบลงของกล้ามเนื้อที่ฐานของนิ้วโป้ง (เกิดการอะโทรฟี)
สาขาวิชาศัลยศาสตร์ออโธพีดิกส์, ศัลยศาสตร์พลาสติก
อาการความเจ็บปวด, อาการชา, เจ็บคล้ายหนามแทง ในนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง, ไม่สามารถกำมือได้[1][2]
สาเหตุการกดบีบของเส้นประสาทมีเดียนตรงคาร์ปัลทันเนล[1]
ปัจจัยเสี่ยงพันธุกรรม, โรคอ้วน, การทำงานที่ใช่ข้อมือซ้ำไปมา, การตั้งครรภ์, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์[3][4][5]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ, อีเล็กโทรไดแอกนอสติกเทสต์[2]
การป้องกันการออกกำลังกาย[3]
การรักษาค้ำยันที่ข้อมือ, ฉีดคอร์ทิโคสเตอรอยด์, ศัลยกรรม[3]
ความชุก5–10%[6][7]

กลุ่มอาการคาร์ปัลทันเนล (อังกฤษ: Carpal tunnel syndrome; CTS) หรือชื่ออื่น ๆ ประสาทถูกกดในช่องผ่านข้อมือ, กลุ่มอาการช่องข้อมือ, กลุ่มอาการชาและปวดที่มือ เป็นอาการทางการแพทย์ที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทมีเดียรช่วงที่ผ่านข้อมือตรงบริเวณคาร์ปัลทันเนล[1] อาการที่พบหลัก ๆ ได้แก่ความเจ็บปวด, อาการชา และ เจ็บเหมือนโดนหนามทิ่มในนิ้วโป้ง, นิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนางฝั่งนิ้วโป้ง[1] อาการมักจะแสดงออกและเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในเวลากลางคืน[2] การเจ็บปวดอาจลามไปถึงแขน[2] และอาจพบการที่ไม่สามารถกำมือได้ นอกจากนี้หากไม่ได้รับการรักษาและทิ้งไว้ กล้ามเนื้อที่ฐานของนิ้วโป้งจะฟีบลง[2] ในกรณีส่วนใหญ่มักพบว่ามือทั้งสองข้างแสดงอาการ[1]

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอาการได้แก่โรคอ้วน, การทำงานที่ต้องใช้ข้อมือบ่อย ๆ, การตั้งครรภ์, พันธุกรรม และ โรคไขข้อรูมาตอยด์[3][4][5] นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่อาจเสนอ (tentative evidence) ว่าภาวะไฮโปไทรอยด์อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการเช่นกัน[8] นอกจากนี้ยังพบว่าโรคเบาหวานมีความเชื่อมโยงที่อ่อนมากกับโรคนี้[3][7] และการใช่ยาคุมกำเนิดก็ไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเกิดโรคแต่อย่างใด[3] ชนิดของการทำงานที่ใช้ข้อมือมาก เช่น การทำงานบนคอมพิวเตอร์, การทำงานกับเครื่องมือที่มีการสั่น เช่น เครื่องขุดเจาะถนน และการทำงานที่ต้องมีการกำมือแน่น[3] การวินิจฉัยอาการนั้นขึ้นอยู่กับอาการแสดงและการทดสอบทางกายบางประการ นอจกากนี้สามารถยืนยันผลการตรวจสอบได้ด้วยการตรวจอิเล็กโทรไดแอกนอซิส[2]

ในประเทศไทย เมื่อปี 2013 พบว่ามีรายงานผู้ป่วยด้วยอาการนี้อยู่ราว 100,000 กรณีต่อปี ผู้ป่วยส่วนมากเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องมีการมัดหนังยาง, แม่บ้าน, คนครัว และพนักงานออฟฟิศ[9] ในขณะที่ราว 5% ของประชากรสหรัฐอเมริกามีอาการนี้[6] มักเริ่มต้นในวัยผู้ใหญ่ และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย[2] มากถึง 33% ของผู้ป่วยมักมีอาการที่ดีขึ้นเองในเวลาเกือบปี[1] โรคนี้เป็นที่รู้จักและอธิบายอย่างจริงจังในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Burton, C; Chesterton, LS; Davenport, G (May 2014). "Diagnosing and managing carpal tunnel syndrome in primary care". The British Journal of General Practice. 64 (622): 262–3. doi:10.3399/bjgp14x679903. PMC 4001168. PMID 24771836.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "Carpal Tunnel Syndrome Fact Sheet". National Institute of Neurological Disorders and Stroke. January 28, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 4 March 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AAOS2016
  4. 4.0 4.1 Osterman, M; Ilyas, AM; Matzon, JL (October 2012). "Carpal tunnel syndrome in pregnancy". The Orthopedic Clinics of North America. 43 (4): 515–20. doi:10.1016/j.ocl.2012.07.020. PMID 23026467.
  5. 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Loz2008
  6. 6.0 6.1 Bickel, KD (January 2010). "Carpal tunnel syndrome". The Journal of Hand Surgery. 35 (1): 147–52. doi:10.1016/j.jhsa.2009.11.003. PMID 20117319.
  7. 7.0 7.1 Padua, L; Coraci, D; Erra, C; Pazzaglia, C; Paolasso, I; Loreti, C; Caliandro, P; Hobson-Webb, LD (November 2016). "Carpal tunnel syndrome: clinical features, diagnosis, and management". Lancet Neurology (Review). 15 (12): 1273–84. doi:10.1016/S1474-4422(16)30231-9. PMID 27751557. S2CID 9991471.
  8. Shiri, R (December 2014). "Hypothyroidism and carpal tunnel syndrome: a meta-analysis". Muscle & Nerve. 50 (6): 879–83. doi:10.1002/mus.24453. PMID 25204641. S2CID 37496158.
  9. https://www.bangkokpost.com/business/350896/a-cut-above-the-rest
  10. Amadio, Peter C. (2007). "History of carpal tunnel syndrome". ใน Luchetti, Riccardo; Amadio, Peter C. (บ.ก.). Carpal Tunnel Syndrome. Berlin: Springer. pp. 3–9. ISBN 978-3-540-22387-0.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก