ฆัชคาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คาชคาร์)
ศิลปะศิลากางเขนอาร์มีเนีย การใช้สัญลักษณ์และงานช่างฝีมือฆัชคาร์ *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
ฆัชคาร์ชิ้นสำคัญที่กอชาวังค์ แกะสลักขึ้นในปี 1291 โดยประติมากรชื่อ Poghos
ประเทศ อาร์มีเนีย
ภูมิภาค **ยุโรปและอเมริกาเหนือ
สาขาแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, งานช่างฝีมือดั้งเดิม
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง00434
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2010 (คณะกรรมการสมัยที่ 5)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ฆัชคาร์ (อาร์มีเนีย: խաչքար, ออกเสียง [χɑtʃʰˈkʰɑɾ]) หรือ ศิลากางเขนอาร์มีเนีย (อังกฤษ: Armenian cross-stone)[1] หมายถึงศิลาที่แกะสลักไว้เป็นอนุสรณ์ โดยแกะเป็นภาพไม้กางเขน และบ่อยครั้งมีลายโรเซต, ลายไขว้ และลายพรรณพฤกษาประกอบด้วย[2] ฆัชคาร์เป็นลักษณะเด่นของศิลปะอาร์มีเนียคริสต์ในสมัยกลาง[1][3] นับตั้งแต่ปี 2010 ฆัชคาร์ทั้งในแง่สัญลักษณ์และในแง่งานหัตถกรรมได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของยูเนสโก[4]

ฆัชคาร์ในยุคแรก ๆ ตั้งขึ้นเพื่อช่วยให้วิญญาณของทั้งผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ได้พ้นจากบาป (salvation) รวมถึงยังพบว่าตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงชัยชนะทางทหาร การก่อสร้างโบสถ์ หรือตั้งขึ้นเป็นรูปแบบหนึ่งของการป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติ[5] ฆัชคาร์แท้จริงค้นพบเก่าแก่ที่สุดในสมัยศตวรรษที่ 9[1]

หมู่ฆัชคาร์จำนวนมากที่สุดที่ยังเหลือถึงปัจจุบันในอาร์มีเนียอยู่ที่สุสานใหญ่นอราตุสริมชายฝั่งทะเลสาบเซวาน สุสานนี้เป็นสุสานเก่าแก่ที่มีฆัชคาร์ราว 900 ชิ้น จากยุคสมัยและรูปแบบที่แตกต่างกัน ในอดีตนั้น จำนวนของหมู่ฆัชคาร์ที่มากที่สุดอยู่ในสุสานอาร์มีเนียในจุลฟา สาธารณรัฐปกครองตนเองนาคีชีวัน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ซึ่งมีรายงานในปี 1648 ว่ามีฆัชคาร์มากถึงราว 10,000 ชิ้น[6] หลังการทำลายจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะจากการทำลายโดยจงใจของทหารอาเซอร์ไบจาน ในรายงานปี 1998 เหลือฆัชคาร์ในจุลฟาเพียง 2,700 ชิ้นเท่านั้น[7] ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐบาลอาเซอร์ไบจานในการทำลายสุสานสมัยกลางทั้งหมดให้สิ้นไปอย่างเป็นระบบในปี 1998 ถึง 2005[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 The Grove Encyclopedia of Medieval Art and Architecture. — Oxford University Press, 2012. — Vol. 2. — P. 222."'Khatck'ar' [Armen.:'cross-stone'] Typical Armenian stone monument, comprising an upright slab (h. c. 1—3 m) carved with a cross design, usually set on a plinth or rectangular base. "
  2. Thierry, cover sleeve.Thierry 1989
  3. Gough M., The Origins of Christian Art, London, 1973
  4. "Armenian cross-stones art. Symbolism and craftsmanship of Khachkars". UNESCO Culture Sector. สืบค้นเมื่อ 2010-11-20.
  5. "Armenian Khatchkars" (Editions Erebuni, 1978)
  6. Aivazian, Argam (1983). "Ջուղայի գերեզմանատուն (The Cemetery of Jugha)". Armenian Soviet Encyclopedia Volume IX. Yerevan: Armenian Academy of Sciences. p. 550.
  7. "Armenian intellectuals blast 'barbaric' destruction of Nakhchivan monuments." BBC News in BBC Monitoring Central Asia. February 13, 2003. Retrieved April 16, 2007
  8. "Tragedy on the Araxes". Archaeology. 2006-06-30. สืบค้นเมื่อ 2006-06-30.