ความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักเรียนในไนจีเรีย

คำจำกัดความที่ใช้โดยทั่วไปของคำว่า ความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน (อังกฤษ: school belonging) มีที่มาจากบทความวิจัยในปี 1993 ของคาโรล กูเดนาวและคัทลีน เกรดี ซึ่งพวกเขาอธิบายความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนไว้ว่า "ความรู้สึกของนักเรียนที่ได้รับการยอมรับ เคารพ เป็นส่วนหนึ่งและได้รับการสนับสนุนจากผู้อื่นในสังคมโรงเรียน"[1][2] การก่อตัวของความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนเกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่เชื่อมต่อและผูกพันกับโรงเรียนของตน นอกจากนี้ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมและเกี่ยวเนื่องกับชุมชนโรงเรียนของตนอีกด้วย [3][4][5] ในทางกลับกัน นักเรียนที่ไม่มีความรู้สึกความเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนมากนักมักถูกอธิบายว่าเป็นพวกแปลกแยกหรือห่างเหิน[3] มีคำศัพท์ภาษาอังกฤษในการวิจัยทางการศึกษาที่ใช้แทนกันได้กับคำว่าความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน เช่น school connectedness, school attachment และ school engagement เป็นต้น ซึ่งล้วนมีความหมายว่าความยึดโยงกับโรงเรียนหรือความผูกพันกับโรงเรียน[2][6][7]

ความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนถูกกำหนดโดยปัจจัยจำนวนมาก เช่น ผลสัมฤทธิ์และแรงจูงใจทางการเรียน ลักษณะส่วนบุคคล ความสัมพันธ์ในโรงเรียน ลักษณะประชากรศาสตร์ บรรยากาศโรงเรียนและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนอกหลักสูตร[2][4][8] การวิจัยชี้ว่าความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนมีผลกระทบสำคัญต่อนักเรียน โดยมีความเชื่อมโยงกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การปรับตัวทางจิตวิทยา ความเป็นอยู่ การสร้างอัตลักษณ์ สุขภาพจิตและสุขภาพกาย ดังนั้น ความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนจึงถูกพิจารณาว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานของการพัฒนาของนักเรียน[2][4][9][10] ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับโรงเรียนของตนถูกมองว่ามีความสำคัญต่อวัยรุ่น เนื่องจากพวกเขาอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านและสร้างอัตลักษณ์ของตน และการวิจัยพบว่าความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนจะเริ่มลดลงในช่วงนี้[4][8]

แบบประเมินความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งสถาบัน (Psychological Sense of School Membership, PSSM) ถูกพัฒนาในปี 1993 เป็นหนึ่งในการวัดเพื่อหาว่านักเรียนมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับโรงเรียนมากน้อยเพียงใด นักเรียนจะประเมินว่าตนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อความนั้น ๆ ยกตัวอย่าง เช่น "ผู้คนที่นี้สังเกตเห็นว่าฉันทำได้ดีในอะไรบางอย่าง" ในปี 2003 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐจัดการประชุมนานาชาติที่ปฏิญญาวิงสเปรดว่าด้วยความยึดโยงในโรงเรียน (Wingspread Declaration on School Connections) ได้รับการพัฒนาขึ้นในฐานะกลุ่มของกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความรู้สึกของความเป็นส่วนหนึ่งและความยึดโยงกับโรงเรียนของพวกเขา

ความแพร่หลายและแนววิถี[แก้]

การวิจัยชี้ว่านักเรียนจำนวนมากขาดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน[3][11] โปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) ได้สำรวจความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนและความไม่พอใจของนักเรียนทั่วโลกนับแต่แต่ปี 2003 การรวบรวมข้อมูลล่าสุดของ PISA เกิดขึ้นในปี 2018 โดยมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวนประมาณ 600,000 คน แทนกลุ่มประชากรนักเรียนที่มีอายุ 15 ปี (อายุระหว่าง 15 ปี 3 เดือน ถึง 16 ปี 2 เดือน) จำนวน 32 ล้านคน จากประเทศที่เข้าร่วมประเมินในปี 2018 จำนวน 79 ประเทศ[12] การวิเคราะห์ของพวกเขาพบว่ามีนักเรียนในสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญทั่วโลกขาดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน โดยเฉลี่ยแล้วมีนักเรียนประมาณหนึ่งในสามที่สำรวจรู้สึกว่าตนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนของตน[12] นอกจากนี้ พวกเขายังพบว่านักเรียนหนึ่งในห้ารู้สึกเป็นส่วนเกินของโรงเรียน ขณะที่หนึ่งในหกรู้สึกโดดเดี่ยว ในระบบการศึกษาเกือบทั้งหมด นักเรียนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำมักรู้สึกว่าตนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน[12] โดยเฉลี่ยแล้ว ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนลดลงร้อยละ 2 ระหว่างปี 2015 ถึง 2018 ขณะที่สัดส่วนของนักเรียนที่ไม่รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2003 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มของความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนทั่วโลกลดลง[2][3]

ความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนมีแนวโน้มจะลดลงเมื่อนักเรียนอายุมากขึ้น ซึ่งระบุได้จากการศึกษาวิจัยจำนวนมาก นักวิจัยอย่าง คารี กิลเลนโอนีลและแอนดรูว์ ฟูลีกนีได้ทำการศึกษานักเรียนจากละตินอเมริกา เอเชียและยุโรป และพบว่านักเรียนวัยเด็กมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนในระดับสูง แต่เมื่อนักเรียนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและวัยรุ่น การรับรู้ด้านความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ[11] ในทางเดียวกัน การศึกษาอีกงานหนึ่งพบว่าความรู้เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนลดลงเมื่อเปลี่ยนผ่านจากมัธยมศึกษาตอนต้นสู่มัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนกลุ่มดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงภาวะซึมเศร้าที่เพิ่มขึ้นและการลดลงในการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งอาจพิจารณาได้ว่าเป็นทั้งสาเหตุหรือผลของการลดลงของความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน[13] แนวโน้มที่ว่านี้ถูกทำซ้ำในงานศึกษาอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแต่แสดงให้เห็นว่าความเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนลดลงเมื่อนักเรียนเข้าสู่ความเป็นวัยรุ่น[13][14]

อ้างอิง[แก้]

  1. Goodenow, Carol; Grady, Kathleen E. (1993). "The Relationship of School Belonging and Friends' Values to Academic Motivation Among Urban Adolescent Students". The Journal of Experimental Education (ภาษาอังกฤษ). 62 (1): 60–71. doi:10.1080/00220973.1993.9943831. ISSN 0022-0973.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Allen, Kelly-Ann; Kern, Margaret L. (2017). School Belonging in Adolescents: Theory, Research and Practice. SpringerBriefs in Psychology (ภาษาอังกฤษ). Singapore: Springer Singapore. doi:10.1007/978-981-10-5996-4. ISBN 978-981-10-5995-7. S2CID 158362521.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Willms, Jon D. (2003). Student Engagement at School: A Sense of Belonging and Participation: Results from PISA 2000. PISA (ภาษาอังกฤษ). OECD. doi:10.1787/9789264018938-en. ISBN 978-92-64-01892-1.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Allen, Kelly-Ann; Vella-Brodrick, Dianne; Waters, Lea (2016). "Fostering School Belonging in Secondary Schools Using a Socio-Ecological Framework". The Educational and Developmental Psychologist (ภาษาอังกฤษ). 33 (1): 97–121. doi:10.1017/edp.2016.5. ISSN 2059-0776.
  5. Osterman, Karen F. (2000). "Students' Need for Belonging in the School Community". Review of Educational Research (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 70 (3): 323–367. doi:10.3102/00346543070003323. ISSN 0034-6543. S2CID 145656681.
  6. Allen, K. A.; Bowles, T. (2012). "Belonging as a Guiding Principle in the Education of Adolescents" (PDF). Australian Journal of Educational and Developmental Psychology. 12: 109 – โดยทาง ERIC.
  7. Libbey, H. P. (2004). "Measuring student relationships to school: Attachment, bonding, connectedness, and engagement". Journal of School Health. 74 (7): 1275. doi:10.1111/j.1746-1561.2004.tb08284.x. PMID 15493704.
  8. 8.0 8.1 Allen, Kelly; Kern, Margaret L.; Vella-Brodrick, Dianne; Hattie, John; Waters, Lea (2018). "What Schools Need to Know About Fostering School Belonging: a Meta-analysis". Educational Psychology Review (ภาษาอังกฤษ). 30 (1): 1–34. doi:10.1007/s10648-016-9389-8. ISSN 1040-726X. S2CID 151358354.
  9. Arslan, G.; Allen, K.; Ryan, T. (2020). "Exploring the Impacts of School Belonging on Youth Wellbeing and Mental Health]: A Longitudinal Study". Child Indicators Research. doi:10.1007/s12187-020-09721-z. S2CID 213584348.
  10. Abdollahi, A.; Panahipour, S.; Tafti, M. A.; Allen, K. A. (2020). "Academic hardiness as a mediator for the relationship between school belonging and academic stress". Psychology in the Schools: 345. doi:10.1080/00220671.2016.1261075. S2CID 151504643.
  11. 11.0 11.1 Neel, Cari Gillen-O'; Fuligni, Andrew (2013). "A Longitudinal Study of School Belonging and Academic Motivation Across High School". Child Development (ภาษาอังกฤษ). 84 (2): 678–692. doi:10.1111/j.1467-8624.2012.01862.x. ISSN 1467-8624. PMID 23002809. S2CID 18239539.
  12. 12.0 12.1 12.2 "PISA 2018: Combined Executive Summary Report Report" (PDF). Secretary-General of the OECD. 2019. สืบค้นเมื่อ June 7, 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. 13.0 13.1 Newman, Barbara M.; Newman, Philip R.; Griffen, Sarah; O'Connor, Kerry; Spas, Jayson (2007). "The relationship of social support to depressive symptoms during the transition to high school". Adolescence. 42 (167): 441–459. ISSN 0001-8449. PMID 18047232.
  14. Anderman, Eric M. (2002). "School effects on psychological outcomes during adolescence". Journal of Educational Psychology (ภาษาอังกฤษ). 94 (4): 795–809. doi:10.1037/0022-0663.94.4.795. ISSN 1939-2176.