ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยในกิจการวิทยุสมัครเล่น ย่านความถี่วีเอชเอฟในภูมิภาค 3 อินเดีย, อินโดนิเซีย และไทย คือ 145.000 MHz

ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากล (อังกฤษ: international distress frequency) เป็นคลื่นความถี่วิทยุที่กำหนดไว้สำหรับการสื่อสารฉุกเฉินตามข้อตกลงระหว่างประเทศ

ประวัติ[แก้]

ในช่วงศตวรรษที่ 20 ความถี่ 500 kHz เป็นความถี่แจ้งเหตุประสบภัยหลักสากล ซึ่งถูกยกเลิกการใช้งานเพื่อปรับไปใช้งานตามระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินและเพื่อความปลอดภัยทางทะเลทั่วโลก (Global Maritime Distress and Safety Sytem: GMDSS)

การใช้ความถี่ในการแจ้งเหตุประสบภัยบางความถี่อนุญาตให้ใช้ความถี่ในการเรียกสถานีอื่นเพื่อเรียกขานสำหรับการติดต่อ หลังจากตอบรับกันแล้วจะมีการนัดหมายไปยังช่องอื่นเพื่อสนทนากันต่อ ช่องดังกล่าวเรียกว่า ความถี่เรียกขานแจ้งเหตุประสบภัยและเพื่อความปลอดภัย (distress, safety and calling)[1]

การประมวลผลตำแหน่งจากดาวเทียมทั้งหมดจากความถี่ 121.5 หรือ 243 MHz ถูกยกเลิก โดยตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ยามฝั่งสหรัฐจะตรวจสอบเฉพาะสัญญาณขอความช่วยเหลือจากตำแหน่งฉุกเฉินที่ได้จากกระโจมวิทยุ (EPIRBs) ที่ออกอากาศด้วยสัญญาณระบบดิจิทัล 406 MHz[2] ซึ่งรุ่นที่ใช้ความถี่ 406 MHz กลายเป็นรุ่นเดียวที่ได้รับอนุมัติให้ใช้บนเรือประมงเชิงพาณิชย์และพาหนะทางน้ำสำหรับพักผ่อนทั่วโลกในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550[3]

ความถี่กิจการเคลื่อนที่ทางทะเล[แก้]

ความถี่แจ้งเหตุประสบภัยสากลที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันประกอบด้วย

  • 2182 kHz สำหรับการใช้งานทางทะเลด้วยเสียงระยะปานกลาง ยามฝั่งสหรัฐกล่าวว่า "ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 หน่วยยามฝั่งจะไม่เฝ้าฟังความถี่ 2182 kHz อีกต่อไป"[4] ในขณะที่ศูนย์ประสานงานการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (Rescue Coordination Centre: RCC) อีกหลายแห่ง เช่น ในยุโรปเหนือมีความสามารถในการสื่อสารแค่ย่าน MF และไม่รองรับย่าน HF[5]
  • มีความถี่ย่าน HF หลายความถี่สำหรับการเรียกขานแจ้งเหตุประสบภัยจากระยะไกล ประกอบไปด้วย[6]
    • 4125 kHz
    • 6215 kHz
    • 8291 kHz
    • 12290 kHz
    • 16420 kHz
  • วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ ช่อง 16 (156.8 MHz) สำหรับการใช้งานทางทะเลระยะใกล้
  • 406 MHz ถึง 406.1 MHz ใช้งานในระบบ Cospas-Sarsat สำหรับการค้นหาและกู้ภัย (SAR) ผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศ สำหรับตรวจจับการแจ้งเตือนเหตุประสบภัยและตรวจจับการแพร่กระจายข้อมูล

ความถี่เรียกอย่างจำเพาะเจาะจงโดยใช้วิธีดิจิทัล[แก้]

ความถี่สำหรับการเรียกอย่างจำเพาะเจาะจงโดยใช้วิธีดิจิทัล (DSC) มีด้วยกันหลายความถี่ โดยใช้งานสำหรับกาารเฝ้าตรวจสอบสัญญาณขอความช่วยเหลือในระบบ DSC ประกอบไปด้วย[6][7]

  • 2.1875 MHz
  • 4.2075 MHz
  • 6.312 MHz
  • 8.4145 MHz
  • 12.577 MHz
  • 16.8045 MHz
  • 156.525 MHz, วิทยุทางทะเล ย่านความถี่วีเอชเอฟ ช่อง 70

ความถี่การบิน[แก้]

  • 121.5 MHz คือความถี่ฉุกเฉินอากาศยานหรือความถี่แจ้งเหตุประสบภัยทางอากาศสากล ซึ่งถูกใช้งานโดยเครื่องส่งสัญญาณนำทางฉุกเฉินของพลเรือน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันระบบ Cospas-Sarsat ไม่ได้เฝ้าติดตามความถี่นี้แล้ว
  • 243 MHz คือความถี่ฉุกเฉินอากาศยานทางทหารของเนโท
  • 406 MHz ถึง 406.1 MHz ใช้งานในระบบ Cospas-Sarsat สำหรับการค้นหาและกู้ภัย (SAR) ผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศ สำหรับตรวจจับการแจ้งเตือนเหตุประสบภัยและตรวจจับการแพร่กระจายข้อมูล

ความถี่ค้นหาและกู้ภัย[แก้]

  • 123.1 MHz — ความถี่สนับสนุนการบิน (ใช้งานด้วยเสียงระหว่างประเทศสำหรับประสานงานปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย)
  • 138.78 MHz — การใช้งานด้วยเสียงของกองทัพสหรัฐในภารกิจค้นหาและกู้ภัย นอกจากนี้ความถี่นี้ยังใช้สำหรับการค้นหาทิศทาง (direction finding: DF) อีกด้วย
  • 155.160 MHz
  • 172.5 MHz — การสื่อสารจากทุ่นโซโนบุยฉุกเฉินของกองทัพเรือสหรัฐและการใช้งานนำทางกลับบ้าน ความถี่นี้ได้รับการเฝ้าติดตามโดยอากาศยานต่อต้านเรือดำน้ำ (ASW) ทั้งหมดของกองทัพเรือสหรัฐที่ได้รับภารกิจการค้นหาและกู้ภัย
  • 282.8 MHz — ใช้งานร่วม/รวมด้วยเสียง ในพื้นที่ค้นหาและความถี่ย่าน DF ที่ใช้งานทั่วทั้งเนโท
  • 406 MHz / 406.1 MHz — ใช้งานในระบบ Cospas-Sarsat สำหรับการค้นหาและกู้ภัย (SAR) ผ่านดาวเทียมระหว่างประเทศ สำหรับตรวจจับการแจ้งเตือนเหตุประสบภัยและตรวจจับการแพร่กระจายข้อมูล
  • เครื่องวิทยุคมนาคมบอกตำแหน่งผ่านดาวเทียมในกรณีฉุกเฉิน (Emergency position-indicating radiobeacon: EPIRB)
  • เครื่องทวนสัญญาณเพื่อการค้นหาและช่วยเหลือ (Search and Rescue Transponder: SART)
  • วิทยุยามฉุกเฉิน (Survival radio)

ความถี่วิทยุสมัครเล่น[แก้]

ความถี่ VHF, UHF[แก้]

ความถี่เรียกขานในย่าน VHF, UHF สามารถใช้เรียกขานในกรณีฉุกเฉินได้

ย่านความถี่ ทั่วโลก ภูมิภาคที่ 1
ยุโรป, แอฟริกา
ภูมิภาคที่ 2
ทวีปอเมริกา[8]
ภูมิภาคที่ 3
เอเชีย
13 เซนติเมตร
23 เซนติเมตร 1294.500 MHz (U.S.)
33 เซนติเมตร N/A 927.500 MHz (U.S.) N/A
70 เซนติเมตร 433.500 MHz (EU) 446.00 MHz (U.S.)
1.25 เมตร N/A 223.500 MHz (U.S.) N/A
2 เมตร 145.500 MHz (EU) 146.520 MHz (U.S. & แคนาดา) 145.000 MHz (อินเดีย, อินโดนิเซีย และไทย)
2 เมตร 144.740 MHz ฟิลิปปินส์
4 เมตร 70.450 MHz (EU) N/A
6 เมตร 52.525 MHz
10 เมตร 29.600 MHz
12 เมตร RTTY/Packet only

ความถี่ MF และ HF[แก้]

  • ความถี่ของศูนย์กิจกรรมฉุกเฉิน (Emergency Centre of Activity: ECOA) เป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นอย่างไม่เป็นทางการโดยองค์การระดับภูมิภาคของสหภาพวิทยุสมัครเล่นนานาชาติ (IARU)
Band ทั่วโลก[9][10] ภูมิภาคที่ 1[11]
ยุโรป, แอฟริกา
ภูมิภาคที่ 2[12]
ทวีปอเมริกา
ภูมิภาคที่ 3[13]
เอเชีย
15 เมตร 21360 kHz
17 เมตร 18160 kHz
20 เมตร 14300 kHz
30 เมตร
40 เมตร n/a 7110 kHz 7060 kHz

7240 kHz 7275 kHz

7110 kHz
60 เมตร n/a
80 เมตร n/a 3760 kHz 3750 kHz

3985 kHz

3600 kHz
  • ช่องใช้งานด้วยเสียงสำหรับปฏิบัติการร่วมบรรเทาเหตุฉุกเฉิน / ภัยพิบัติของวิทยุสมัครเล่น ในเครื่อข่าย Global ALE High Frequency Network (HFN)[14]
    • 3791.0 kHz USB
    • 7185.5 kHz USB
    • 10145.5 kHz USB
    • 14346.0 kHz USB
    • 18117.5 kHz USB
    • 21432.5 kHz USB
    • 24932.0 kHz USB
    • 28312.5 kHz USB

ความถี่อื่น ๆ[แก้]

  • วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชน (Citizens band radio: CB) (ไม่มีใช้งานในทุกประเทศ)
    • เหตุฉุกเฉิน ช่อง 9 (27.065 MHz AM) และช่อง 19 (27.185 MHz AM)
  • บริการวิทยุคมนาคมเคลื่อนที่ทั่วไป (GMRS) :
    • 462.675 MHz คือความถี่วิทยุในการเรียกขานเพื่อแจ้งเหตุประสบภัยและข้อมูลการจราจรบนถนนที่จัดสรรให้กับบริการวิทยุคมนาคมเคลื่อนที่ทั่วไป (General Mobile Radio Service: GMRS) และใช้งานทั่วทั้งอลาสกาและแคนาดาเพื่อสื่อสารในกรณีฉุกเฉิน บางครั้งเรียกว่า "จุดส้ม" (Orange Dot) เนื่องจากบางผู้ผลิตเชื่อมโยงความถี่ที่ใช้กับรหัสสีเพื่อความสะดวกในการใช้ช่องสัญญาณ จนกระทั่งมีการสร้างบริการวิทยุครอบครัว (Family Radio Service: FRS) ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2539 "GMRS 675" หรือ ช่อง 6/20 บนเครื่องวิทยุแบบเคลื่อนที่ในปัจจุบัน ความถี่ของช่องแต่ละช่องอ่าจจะแตกต่างกัน ตั้งแต่ 12.5, 25 และ 50 kHz และยังได้รับการจัดสรรให้กับช่อง 20 บนวิทยุ 22 ช่องชื่อว่า "blister pack" มันสามารถทวนสัญญาณจากช่องรับเข้า 467.675 MHz และมีความถี่โทนที่ 141.3 Hz หลังจาก FCC ยกเลิกการควบคุมการใช้งานวิทยุ FRS/GMRS แบบซิมเพล็กซ์ ผู้ใช้วิทยุ FRS อาจจะออกอากาศได้สูงสุดที่ 2 วัตต์บนช่องฉุกเฉินของระบบ GMRS ช่อง 20 (462.675 MHz) เข้ารหัส 141.3 Hz CTCSS, หรือช่อง 20-22
  • บริการวิทยุใช้งานอเนกประสงค์ (Multi-Use Radio Service: MURS) : มีเฉพาะใน สหรัฐ สหรัฐเท่านั้น
    • 151.940 MHz
  • บริการวิทยุครอบครัว (Family Radio Service: FRS) มีเฉพาะใน สหรัฐ สหรัฐเท่านั้น
    • ช่อง 1: 462.5625 MHz (carrier squelch, ไม่ใส่โทนหรือช่องย่อย)
    • ช่อง 3: 462.6125 MHz[15] และช่อง 20: 462.6750 MHz (141.3 Hz CTCSS - ช่อง 20, หรัส 22 หรือช่อง 20-22)
  • คลื่นความถี่ภาคประชาชน ย่านยูเอชเอฟ (UHF CB) : มีเฉพาะใน ออสเตรเลีย ออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์เท่านั้น
    • เหตุฉุกเฉิน ช่อง 5/35 (476.525/477.275 MHz)[16] ช่อง 5 เป็นช่องฉุกเฉินแบบซิมเพล็กซ์และทวนสัญญาณออกอากาศที่ช่องฉุกเฉิน ในขณะที่ช่อง 35 ใช้สำหรับทวนสัญญาณรับเข้าสำหรับแบบดูเพล็กซ์ UHF CB
  • วิทยุเคลื่อนที่ส่วนบุคคล 446 MHz (Private Mobile Radio 446 MHz: PMR446) : ใช้งานใน ยุโรป สหภาพยุโรป
    • ช่อง 1 ระบบแอนะล็อก (446.00625 MHz, CTCSS 100.0 Hz, ช่อง 1/12)
    • ช่อง 8 ระแบบแอนะล็อก (446.09375 MHz, CTCSS 123.0 Hz, ช่อง 8/18)
  • วิทยุเคลื่อนที่ส่วนบุคคล 446 MHz (Private Mobile Radio 446 MHz: PMR446) : ใช้งานใน ยุโรป สหภาพยุโรป
    • หน่วยกู้ภัยภูเขา ช่อง 7 ระบบแอนะล็อก (446.08125 MHz), CTCSS 85.4 Hz (ช่อง 7/7 ในวิทยุส่วนใหญ่)
  • วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชน CB245: ย่านวีเอชเอฟ มีเฉพาะใน ไทย ไทย
    • ช่อง 1 (245.0000 MHz)
    • ช่อง 41 (245.5000 MHz)
  • วิทยุคลื่นความถี่ภาคประชาชน CB78: ย่านวีเอชเอฟช่วงล่าง มีเฉพาะใน ไทย ไทย
    • ช่อง 41 (78.5000 MHz)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Bartlett, Tim (2006). VHF Handbook. Southampton: The Royal Yachting Association. pp. 28, 31. ISBN 978-1-905104-03-1.
  2. "Logon Form". www.piersystem.com.
  3. "Logon Form". www.piersystem.com.
  4. "USCG: Commercial Fishing Vessel Safety Program - 13th Coast Guard District - Guardians of the Pacific Northwest". www.uscg.mil.
  5. UK Hydrographic Office (2017). Volume 1 (NP281) - Maritime Radio Stations (Parts 1 & 2). UK: UK Hydrographic Office.
  6. 6.0 6.1 "HF Distress and Safety Watchkeeping Schedule". U.S. Coast Guard Navigation Center. U.S. Coast Guard. สืบค้นเมื่อ Oct 12, 2011.
  7. "Recommendation M.541: Operational procedures for the use of digital selective-calling equipment in the maritime mobile service". International Telecommunication Union. 2015.
  8. "ARRL Band Plans".
  9. "IARU Emergency Telecommunications Guide" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-20.
  10. "Emergency Center of Activity Frequencies adopted by the IARU Region 1 General Conference 2005" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-11-14.
  11. Ulli, DK4VW - (16 May 2023). "HF - International Amateur Radio Union - Region 1". iaru-r1.org.
  12. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-08. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  13. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-08. สืบค้นเมื่อ 2013-05-06.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  14. INC, copyright 2007 HFPACK. "HFLINK - HF Automatic Link Establishment HF ALE HF Network Ham Radio Amateur Radio HF Emergency Disaster Relief Communications". hflink.com.
  15. "SHTF Survialist Radio Frequency Lists". 29 June 2013.
  16. "ACMA Fact Sheet: Citizen band radio". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-05. สืบค้นเมื่อ 2023-10-28.