ควร์ท ชุชนิค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ควร์ท ชุชนิค
ชุชนิคใน ค.ศ. 1936
นายกรัฐมนตรีออสเตรีย
ดำรงตำแหน่ง
29 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 – 11 มีนาคม ค.ศ. 1938
ประธานาธิบดีวิลเฮ็ล์ม มิคลัส
รองนายกรัฐมนตรีแอ็นสท์ รือดีเกอร์ ชตาเริมแบร์ค
เอดูอาร์ท บาร์-บาร์เร็นเฟ็ลส์
ลูทวิช ฮึลเกอรท์
เอ็ทมุนท์ ไกลเซอ-ฮอสท์เทเนา
ก่อนหน้าเอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส
ถัดไปอาร์ทัวร์ ไซส์-อินควาร์ท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
29 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 – 11 มีนาคม ค.ศ. 1938
ก่อนหน้าแอ็นสท์ รือดีเกอร์ ชตาเริมแบร์ค
ถัดไปอาร์ทัวร์ ไซส์-อินควาร์ท
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษา
ดำรงตำแหน่ง
24 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 – 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1936
ก่อนหน้าอันโทน รินเทเลิน
ถัดไปฮันส์ เพร์นเทอร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
29 มกราคม ค.ศ. 1932 – 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1934
ก่อนหน้าฮันส์ เชือร์ฟ
ถัดไปเอก็อน เบอร์เกอร์-วัลเดเน็ค
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ควร์ท อาล็อยส์ โยเซ็ฟ โยฮัน เอดเลอร์ ฟ็อน ชุชนิค

14 ธันวาคม ค.ศ. 1897(1897-12-14)
Reiff am Gartsee เคาน์ตีทีโรล จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เสียชีวิต18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1977(1977-11-18) (79 ปี)
Mutters รัฐทีโรล ประเทศออสเตรีย
พรรคการเมืองแนวร่วมปิตุภูมิ (ค.ศ. 1933–1938)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคสังคมคริสตชน (ค.ศ. 1927–1933)
คู่สมรสHerma Masera (สมรส 1926; เสียชีวิต 1935)
Vera Fugger von Babenhausen (สมรส 1938; เสียชีวิต 1959)
บุตร2
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยไฟรบวร์ค
Innsbruck University
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ออสเตรีย-ฮังการี
สังกัด กองทัพออสเตรีย-ฮังการี
ประจำการค.ศ. 1915–1919
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

ควร์ท อาล็อยส์ โยเซ็ฟ โยฮัน ฟ็อน ชุชนิค (เยอรมัน: Kurt Alois Josef Johann von Schuschnigg; 14 ธันวาคม ค.ศ. 1897 – 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1977) เป็นนักการเมืองชาวออสเตรีย ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐออสเตรียตั้งแต่ ค.ศ. 1934 ภายหลังจากเหตุการณ์ลอบสังหารนายกรัฐมนตรีเอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส จนกระทั่งการรวมประเทศกับเยอรมนีใน ค.ศ. 1938 แม้ว่าชุชนิคจะมองว่าออสเตรียเป็น "รัฐของเยอรมัน" และชาวออสเตรียก็คือชาวเยอรมัน แต่เขากลับต่อต้านจุดมุ่งหมายในการรวมออสเตรียเข้าสู่ไรช์ที่สามของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อย่างแข็งขัน และต้องการให้ประเทศยังดำรงเอกราชของตนต่อไป[1]

เมื่อความพยายามในการปกป้องเอกราชออสเตรียของชุชนิคล้มเหลว เขาจึงลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และหลังจากเหตุการณ์อันชลุส (รวมประเทศ) ชุชนิคถูกจับกุม กักขังในที่คุมขังเดี่ยว และต่อมาจึงย้ายไปที่ค่ายกักกันของนาซี อย่างไรก็ดี เขาได้รับอิสรภาพใน ค.ศ. 1945 และใช้เวลาชีวิตช่วงสุดท้ายที่สถาบันการศึกษาในสหรัฐ[2] ชุชนิคได้รับสัญชาติอเมริกันใน ค.ศ. 1956 และถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1977

อ้างอิง[แก้]

  1. Ryschka, Birgit (1 มกราคม 2008). Constructing and Deconstructing National Identity: Dramatic Discourse in Tom Murphy's The Patriot Game and Felix Mitterer's In Der Löwengrube. Peter Lang. ISBN 9783631581117 – โดยทาง Google Books.
  2. Obituary of Schuschnigg in The Times, ลอนดอน, 19 พฤศจิกายน 1977

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • David Faber. Munich, 1938: Appeasement and World War II. Simon & Schuster, 2009, pp. 104–38, ISBN 978-1-439149928.
  • G. Ward Price. Year of Reckoning. London: Cassell 1939.
  • Hopfgartner, Anton. Kurt Schuschnigg. Ein Mann gegen Hitler. Graz/Wien: Styria, 1989, ISBN 3-222-11911-2.
  • Lucian O. Meysels. Der Austrofaschismus – Das Ende der ersten Republik und ihr letzter Kanzler. Wien-München: Amalthea, 1992, ISBN 978-3-85002-320-7.
  • Schuschnigg, Kurt von. Der lange Weg nach Hause. Der Sohn des Bundeskanzlers erinnert sich. Aufgezeichnet von Janet von Schuschnigg. Wien: Amalthea, 2008, ISBN 978-3-85002-638-3.
  • Michael Gehler (2007), "Schuschnigg, Kurt", Neue Deutsche Biographie (ภาษาเยอรมัน), vol. 23, Berlin: Duncker & Humblot, pp. 766–767; (full text online)
  • Jack Bray. Alone Against Hitler: Kurt Von Schuschnigg's Fight to Save Austria from the Nazis. Buffalo, NY: Prometheus Books, 2020, ISBN 1633886123.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า ควร์ท ชุชนิค ถัดไป
เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส
นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐออสเตรีย
(29 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 – 11 มีนาคม ค.ศ. 1938)
อาร์ทัวร์ ไซส์-อินควาร์ท