ข้อถกเถียงกรณีหนังสือ โองการปีศาจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อถกเถียงกรณีหนังสือเรื่อง โองการปีศาจ (อังกฤษ: The Satanic Verses) หรือ เรื่องอื้อฉาวรัชดี (อังกฤษ: Rushdie Affair) หมายถึงการตอบรับในเชิงโกรธเกรี้ยวจากชาวมุสลิมบางส่วนต่อ โองการปีศาจ นวนิยายที่ประพันธ์โดยซัลมัน รัชดี ในสหราชอาณาจักรเมื่อปี 1988 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในบางส่วนจากเรื่องราวชีวิตของศาสดามุฮัมมัด ของชาวมุสลิมจำนวนมากถือว่ารัชดีเป็นผู้กระทำการหมิ่นศาสนา และในปี 1989 อายะตุลลอฮ์ รูโฮลลอฮ์ โฆเมย์นี แห่งอิหร่านได้ประกาศฟัตวา สั่งให้ชาวมุสลิมฆาตกรรมรัชดี มีความพยายามลอบสังหาร โจมตี ไปจนถึงการวางระเบิดหลายครั้ง เป็นผลสืบเนื่องต่อมา[1]

รัฐบาลอิหร่านสนับสนุนฟัตวาต่อรัชดีจนถึงปี 1998 ที่ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดีอิหร่านโมแฮมแมด ฆอแทมี ที่ขึ้นสืบตำแหน่งระบุไม่สนับสนุนคำสั่งฆาตกรรมรัชดี[2] กระนั้น ไม่ได้เป็นการถอนฟัตวาดังกล่าว[3]

หนังสือเล่มนี้ยังถือว่าเป็น "การแบ่งแยกชาวมุสลิมออกจากชาวตะวันตกด้วยเส้นแบ่งความต่างทางวัฒนธรรม"[4][5] ด้วยความต่างระหว่างคุณค่าของอิสระในการแสดงออกที่ว่าไม่ควรมีใคร "ถูกฆ่า หรือต้องเจอกับคำขู่ร้ายแรงจากสิ่งที่เขียนหรือพูด"[6] กับมุมมองที่ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ถือว่าห้ามมิให้มีใครก็ตาม "ด่าทอหรือว่าร้ายมุสลิม" โดยการดูหมิ่นใส่ร้าย "เกียรติยศของศาสดา"[7] นักประพันธ์ชาวอังกฤษ ฮานีฟ คูเรชี เรียกการประกาศฟัตวาข้างต้นว่าเป็น "หนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของวงการวรรณกรรมนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง"[8]

ภูมิหลัง[แก้]

ผลงานเขียนของซัลมัน รัชดี เป็นกรณีถกเถียงมาก่อนกรณีของ โองการปีศาจ รัชดีระบุว่าเขามองบทบาทของตนในฐานะนักเขียนว่าเป็น "ผู้รวมเอาบทบาทของตัวร้ายมาสู่รัฐ" ("as including the function of antagonist to the state")[9] หนังสือเล่มที่สองของเขา ทารกเที่ยงคืน (Midnight's Children) ทำให้อินทิรา คานธี โกรธมากเนื่องจากเนื้อหาของหนังสือเสนอโดยอ้อมว่าเธอเป็นผู้รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของสามีเธอ เฟโรเซ คานธี เพราะขาดการเอาใจใส่สามีพอ[10] ส่วน roman à clef จากปี 1983 ของเขา เรื่อง Shame ยังเป็นการอ้างโดยอ้อมถึงปากีสถานและการเมืองของปากีสถาน[10]

รัชดีปกป้องหลายคนที่ต่อมาในอนาคตจะเป็นผู้ที่โจมตีเขาในกรณีพิพาทของหนังสือเล่มนี้ รัชดีประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าไม่สนับสนุนรัฐบาลของชาห์แห่งอิหร่าน และสนับสนุนการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน อย่างน้อยก็ในช่วงแรกของการปฏิวัติ เขาประณามการบุกโจมตีเมืองทรีโปลีในปี 1986 โดยสหรัฐ ก่อนที่ในสามปีต่อมาจะถูกผู้นำลิเบีย มุอัมมาร์ อัลกัดดาฟี โจมตีกลับ[11] เขายังเขียนหนังสือเหน็บแนมและประณามนโยบายต่างประเทศสหรัฐและสงครามของสหรัฐในนิการากัว เคยด่ารัฐบาลสหรัฐว่า "เป็นโจรที่ทำตัวเป็นรัฐ"[12] แต่กระนั้น เขาก็ถูกรัฐบาลอิหร่านหลังการประกาศฟัตวามองว่าเป็น "เจ้าหน้าที่ซีไอเอระดับล่าง"[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jessica Jacobson. Islam in transition: religion and identity among British Pakistani youth. 1998, page 34
  2. Crossette, Barbara (25 กันยายน 1998). "Iran Drops Rushdie Death Threat, And Britain Renews Teheran Ties". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2009.
  3. "Iran says Rushdie fatwa still stands". Iran Focus. 14 February 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2009. สืบค้นเมื่อ 22 January 2007.
  4. Pipes, 1990, p.133
  5. From Fatwa to Jihad: The Rushdie Affair and Its Aftermath By Kenan Malik เก็บถาวร 9 พฤษภาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, introduction, no page numbers
  6. Timothy Garton Ash (22 June 2007). "No ifs and no buts". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2007. สืบค้นเมื่อ 27 January 2012.
  7. "Pakistan blasts Rushdie honour". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 27 January 2012.
  8. "Looking back at Salman Rushdie's The Satanic Verses". The Guardian. London. 14 September 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2014. สืบค้นเมื่อ 14 September 2012.
  9. Rushdie, Salman, Jaguar Smile; New York: Viking, 1987, p. 50
  10. 10.0 10.1 Ian Richard Netton (1996). Text and Trauma: An East-West Primer. Richmond, UK: Routledge Curzon. ISBN 0-7007-0325-X.
  11. Pipes, 1990, p. 236
  12. Rushdie, Jaguar Smile, Viking, 1987
  13. "The book's author is in England but the real supporter is the United States" – Interior Minister Mohtashemi (IRNA 17 February 1989) "An Iranian government statement called Rushdie "an inferior CIA agent" and referred to the book as a "provocative American deed". (IRNA 14 February 1989) (Pipes, 1990, p. 129)