การทิ้งระเบิดลิเบีย (พ.ศ. 2529)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอฟ-111 บินขึ้นเพื่อเข้าร่วมการทิ้งระเบิดลิเบีย

การทิ้งระเบิดลิเบียของสหรัฐ พ.ศ. 2529 ชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการเอลโดราโดแคนยอน (อังกฤษ: Operation El Dorado Canyon) ประกอบด้วยการโจมตีทางอากาศร่วมของกองทัพอากาศ กองทัพเรือและเหล่านาวิกโยธินของสหรัฐอเมริกาต่อลิเบียเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2529 การโจมตีดังกล่าวมีขึ้นเพื่อสนองต่อเหตุระเบิดดิสโก้เธคเบอร์ลิน พ.ศ. 2529

จุดกำเนิด[แก้]

วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2529 เจ้าหน้าที่ลิเบียวางระเบิดไนท์คลับ "ลาแบล" (La Belle) ในเบอร์ลินตะวันตก เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตสามศพ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 229 คน เยอรมนีตะวันตกและสหรัฐอเมริกาได้รับสำเนาโทรเลขจากเจ้าหน้าที่ลิเบียในเยอรมนีตะวันออกผู้มีส่วนในเหตุดังกล่าว

หลังการเจรจาทางทูตหลายวันกับคู่เจรจายุโรปและอาหรับ ประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน สั่งการโจมตีลิเบียเมื่อวันที่ 14 เมษายน โดยมีการโจมตีห้าเป้าหมายเมื่อเวลา 2.00 น. วันที่ 15 เมษายน โดยมีวัตถุประสงค์แถลงไว้ว่า การทำลายล้างดังกล่าวจะส่งข้อความและลดความสามารถของลิเบียในการสนับสนุนและฝึกผู้ก่อการร้าย เรแกนเตือนว่า "หากจำเป็น [พวกเขา]จะทำเช่นนั้นอีก"[1]

การตีโฉบฉวย[แก้]

เครื่องบินลิเบียเป็นเป้าหมายการโจมตี

การโจมตีเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 2.00 น. (เวลาลิเบีย) และกินเวลาสิบสองนาที โดยมีการทิ้งยุทโธปกรณ์หนัก 60 ตัน เครื่องบินทิ้งระเบิดเอฟ-111 สิบแปดลำ บินจากสหราชอาณาจักรทิ้งระเบิดสนามบินทริโปลี ศูนย์ฝึกมนุษย์กบที่สถานศึกษานาวิกแห่งหนึ่ง และค่ายทหารบับ อัล-อะซิเซียในกรุงทริโปลี ระหว่างการโจมตีค่ายทหารบับ อัล-อะซิเซีย เอฟ-111 เครื่องหนึ่งถูกขีปนาวุธแซมของลิเบียยิงตกเหนืออ่าวซิดรา ระเบิดบางส่วนตกผิดเป้าหมาย และถล่มสถานที่ทางทูตและพลเรือนในกรุงทริโปลี ส่วนสถานทูตฝรั่งเศสพลาดไปอย่างหวุดหวิด เอ-6 อินทรูเดอร์ และเอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท รวมยี่สิบสี่ลำ บินมาจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ทิ้งระเบิดเรดาร์และจุดยิงต่อสู้อากาศยานในเบงกาซีก่อนทิ้งระเบิดเบนินาและค่ายทหารจามาฮิริยา ระเบิดจำนวนหนึ่งพลาดเป้าหมายและถูกพื้นที่อยู่อาศัย ตลอดจนสถานทูตตะวันตกจำนวนหนึ่งในเบงกาซี[2][3][4]

ผล[แก้]

ฝ่ายลิเบีย มีทหารและเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 45 คน[5] พลเรือนเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง ตลอดจนมีเรดาร์ภาคพื้นหลักถูกทำลายไปห้าจุด[6] ส่วนมูอัมมาร์ กัดดาฟีรอดชีวิต เพราะได้รับการเตือนล่วงหน้าทางโทรศัพท์จากนักการเมืองอิตาลี เบ็ตติโน คราซี[7] ฝ่ายสหรัฐอเมริกา มีเครื่องบินทิ้งระเบิดลำหนึ่งถูกยิงตก ลูกเรือเสียชีวิต 9 นาย

ลิเบียสนองโดยการยิงขีปนาวุธสกั๊ดสองลูกไปยังสถานียามฝั่งสหรัฐอเมริกาบนเกาะลัมเบดูซาของอิตาลี ซึ่งผ่านข้ามเกาะไปและตกในทะเล[8]

การตีโฉบฉวยดังกล่าวทำให้รัฐบาลลิเบียถึงจุดอ่อนแอที่สุดในรอบ 17 ปี[9] มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในการก่อการร้ายที่ลิเบียมีส่วนเกี่ยวข้อง[9]

ด้วยเสียงรับ 79 เสียง ไม่รับ 28 เสียง และงดออกเสียง 33 เสียง สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติรับข้อมติที่ 41/38 ซึ่ง "ประณามการโจมตีทางทหารซึ่งกระทำผิดต่อสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนลิเบียจามาฮิริยา (Socialist People's Libyan Arab Jamahiriya) เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2529 ซึ่งประกอบด้วยการละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1986 Year in Review: Strike on Qaddafi
  2. Operation El Dorado Canyon
  3. Bernard Weinraub (April 15, 1986). "U.S. Jets Hit 'Terrorist Centers' in Libya; Reagan Warns of New Attacks If Needed". NY Times.
  4. Libya - Encounters with the United States
  5. Kira Salak: Rediscovering Libya
  6. Pollack, Kenneth M. Arabs At War, Military Effectiveness 1948–1991 University of Nebraska Press, 2002
  7. "Italy helped "save" Gaddafi by warning of US air raid". Monsters and Critics. Rome. October 30, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-05. สืบค้นเมื่อ February 25, 2011.
  8. Libyan Missiles
  9. 9.0 9.1 Davis, Brian L. (1990). Qaddafi, terrorism, and the origins of the U.S. attack on Libya. New York: Praeger Publishers. p. 183. ISBN 0-275-93302-4.
  10. A/RES/41/38. United Nations.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]