กุสกุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความรู้ ความรอบรู้วิธีทำ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตและการบริโภคกุสกุส *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
กุสกุส (สีเหลืองอ่อน) ที่เสิร์ฟกับผักและถั่วหัวช้าง
ประเทศ ตูนิเซีย
 มอริเตเนีย
 โมร็อกโก
 แอลจีเรีย
ภูมิภาค **รัฐอาหรับ
สาขาธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล, งานช่างฝีมือดั้งเดิม
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง01602
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2563 (คณะกรรมการสมัยที่ 15)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

กุสกุส (อาหรับ: كُسْكُس; เบอร์เบอร์: ⵙⴽⵙⵓ, ⴽⵙⴽⵙⵓ) เป็นอาหารแอฟริกาเหนือชนิดหนึ่ง[1] ได้จากการนำแป้งเซโมลีนา (แป้งจากข้าวสาลีบดหยาบเป็นเม็ดเล็ก ๆ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 มิลลิเมตร) มาผ่านความร้อนด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น แช่น้ำร้อนหรือนึ่ง ตามธรรมเนียมจะเสิร์ฟโดยราดสตูไว้ด้านบน หญ้าไข่มุกและข้าวฟ่าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคซาเฮล) รวมทั้งธัญพืชอื่น ๆ สามารถนำมาปรุงในลักษณะเดียวกันโดยบางครั้งก็เรียกอาหารที่ได้ว่ากุสกุสเช่นกัน[2]: 18 [3]

ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ากุสกุสกำเนิดขึ้นเมื่อใด แต่ลูว์ซี บอล็องส์ นักประวัติศาสตร์อาหาร เสนอว่ากุสกุสมีมานานนับพันปีแล้วตั้งแต่สมัยอาณาจักรนิวมิเดียโบราณ (ในแอลจีเรียปัจจุบัน)[4][5][6][7] ทุกวันนี้กุสกุสเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่งในตำรับอาหารมอริเตเนีย โมร็อกโก แอลจีเรีย ตูนิเซีย และลิเบียซึ่งอยู่ในภูมิภาคอัลมัฆริบ[8][9]: 250  นอกจากนี้ยังมีการบริโภคกุสกุสในฝรั่งเศส โดยผู้ที่นำเข้าไปเผยแพร่คือชาวฝรั่งเศสที่เกิดในแอลจีเรียสมัยอาณานิคมและผู้ย้ายถิ่นเข้าจากอัลมัฆริบ (โดยเฉพาะชาวแอลจีเรีย โมร็อกโก และตูนิเซีย)[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Couscous". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-10.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. Taylor, J.R.N.; Barrion, S.C.; Rooney, L.W. (2010). "Pearl Millet--New Developments in Ancient Food Grain" (PDF). Cereal Foods World. 55 (1): 16–19. doi:10.1094/CFW-55-1-0016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-22. สืบค้นเมื่อ 1 April 2018.
  3. "Codex Standards for Couscous: 202-1995". Food and Agriculture Organization of the United Nations. สืบค้นเมื่อ 1 April 2018.[ลิงก์เสีย]
  4. Bolens, Lucie (1990). La cuisine andalouse, un art de vivre: XIe-XIIIe siècle. Albin Michel. ISBN 9782226041005. สืบค้นเมื่อ May 19, 2022.
  5. "Can North Africa unite over couscous?". AFP. February 2, 2018.
  6. "The unexpected allure of couscous: the history and tradition behind the North African staple". The National News. December 20, 2020.
  7. de Castro, Teresa (2003). "COUSCOUS". ใน Katz, Solomon H.; Weaver, William (บ.ก.). Encyclopedia of Food and Culture. Vol. 3. Charles Scribner's Sons. p. 466. ISBN 0-684-80565-0.
  8. Naylor, Phillip C. (2015). Historical Dictionary of Algeria. Rowman & Littlefield. p. 195. ISBN 978-0-8108-7919-5.
  9. Soletti, Francesco; Selmi, Luca (2006). Turismo gastronomico in Italia, Volume 1. Touring Club Italiano. ISBN 978-88-365-3500-2.
  10. Randall, Colin (30 March 2006). "French abandon traditional cuisine in favour of couscous". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 22 January 2020.