ข้ามไปเนื้อหา

กุงกุมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผงกุงกุมะในไมสูรุ ประเทศอินเดีย

กุงกุมะ (อักษรโรมัน: Kumkuma) เป็นผงที่ใช้ในกิจกรรมทางสังคมและศาสนาในประเทศอินเดีย ทำมาจากผงขมิ้นกับผงอื่น ๆ ชื่ออื่น ๆ ในอินเดีย เช่น kuṅkumam (สันสกฤต कुङ्कुमम्, ทมิฬ குங்குமம், ภาษามลยาฬัม കുങ്കുമം), kumkuma (เตลูกู కుంకుమ), kukum (กงกัณ कुकूम्), kunku (มราฐา कुंकू and คุชราต કંકુ), kumkum (เบงกอล কুমকুম และ ฮินดี कुमकुम), kunkuma (กันนาดา ಕುಂಕುಮ)

กุงกุมะมักป้ายบนหน้าผากของชาวอินเดีย ซึ่งมีที่มาจากความเชื่อเรื่องพลังงานในร่างกายที่เรียกว่าจักระ โดยจักระที่หก หรือที่รู้จักในชื่อ ตาที่สาม ตั้งอยู่ที่ตรงกลางหน้าผาก ระหว่างคิ้ว และเชื่อว่าเป็นช่องทางติดต่อระหว่างมนุษย์และเพทเจ้า[1] การป้ายกุงกุมะยังแตกต่างไปตามธรรมเนียม เช่น ลัทธิไศวะนิยมทาเส้นสีขาวแนวนอนสามเส้น ทำมาจากวิภูติ และมีจุดกุงกุมะอยู่ตรงกลาง หรือที่เรียกว่าตริปุนทระ[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Huyler, Steven. "The Experience: Approaching God". In The Life of Hinduism, ed. Vasudha Narayanan and John Stratton Hawley. Los Angeles: University of California Press, 2006.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]