กีฬามวยสากลสมัครเล่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬามวยสากลสมัครเล่น
ในโอลิมปิกครั้งที่ 30
สนามศูนย์นิทรรศการเอ็กซ์เซล
วันที่28 กรกฎาคม – 12 สิงหาคม 2012
จำนวนนักกีฬา286 คน (ชาย 250 หญิง 36)
← 2008
2016 →
เอ็กซ์เซล ลอนดอน สถานที่จัดการแข่งขัน

กีฬามวยสากลสมัครเล่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 ในลอนดอน จัดการแข่งขันระหว่าง 28 กรกฎาคม ถึง 12 สิงหาคม ที่เอ็กซ์เซล ลอนดอน[1] มีนักกีฬาเข้าร่วม 286 คน ชิงชัย 13 เหรียญทอง เป็นครั้งแรกในโอลิมปิกที่มีการจัดมวยสากลสมัครเล่นหญิง ชิง 3 เหรียญทอง นักมวยสากลสมัครเล่นหญิงคนแรกที่ได้เหรียญทองโอลิมปิก คือ นิโคลา อดัมส์ จากสหราชอาณาจักรที่ได้เหรียญทองรุ่นฟลายเวทเมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รูปแบบการแข่งขัน[แก้]

มวยชายเข้าแข่งขันใน 10 รายการต่อไปนี้

มวยหญิงถูกบรรจุในรายการโอลิมปิกเป็นครั้งแรก โดยนักมวยหญิงสามารถเข้าแข่งขันได้ 3 รายการต่อไปนี้[2]

รอบคัดเลือก[แก้]

แต่ละชาติจะส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันได้รุ่นละ 1 คน นักมวยจากสหราชอาณาจักรที่เป็นเจ้าภาพเข้าร่วมแข่งขันได้ 9 คน แต่เลือกขึ้นมาเพียง 6 คน (ชาย 5 หญิง 1) นักกีฬาชาติเจ้าภาพถ้าผ่านการคัดเลือกจากรายการชิงแชมป์โลก โควตาที่กันไว้ให้เจ้าภาพจะลดลง แต่ละทวีปได้โควตาเข้าแข่งขันดังนี้ เอเชีย 56 คน ทวีปอเมริกา 54 คน แอฟริกา 52 คน ยุโรป 78 คน และโอเชียเนีย 10 คน[3]

การแข่งขันรอบคัดเลือก จัดที่:

กำหนดการแข่งขัน[แก้]

R32 รอบ 32 คนสุดท้าย R16 รอบ 16 คนสุดท้าย QF รอบก่อนรองชนะเลิศ SF รอบรองชนะเลิศ F รอบชิงชนะเลิศ
รุ่น 28 กค. 29 กค. 30 กค. 31 กค. 1 สค. 2 สค. 3 สค. 4 สค. 5 สค. 6 สค. 7 สค. 8 สค. 9 สค. 10 สค. 11 สค. 12 สค.
ไลท์ฟลายเวท (49 กก.) ชาย R32 R16 QF SF F
ชาย ฟลายเวท (52 กก.) R32 R16 QF SF F
ชาย แบนตั้มเวท (56 กก.) R32 R16 QF SF F
ชาย ไลท์เวท (60 กก.) R32 R16 QF SF F
ชาย ไลท์เวลเตอร์เวท (64 กก.) R32 R16 QF SF F
ชาย เวลเตอร์เวท (69 กก.) R32 R16 QF SF F
ชาย มิดเดิลเวท (75 กก.) R32 R16 QF SF F
ชาย ไลท์เฮฟวี่เวท (81 กก.) R32 R16 QF SF F
ชาย เฮฟวี่เวท (91 กก.) R16 QF SF F
ชาย ซุปเปอร์เฮฟวี่เวท (+91 กก.) R16 QF SF F
หญิง ฟลายเวท (51 กก.) R16 QF SF F
หญิง ไลท์เวท (60 กก.) R16 QF SF F
หญิง มิดเดิลเวท (75 กก.) R16 QF SF F

เหรียญรางวัล[แก้]

ประเภทชาย[แก้]

รายการ เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง
ไลท์ฟลายเวท (49 กก.)
โจว ซื่อหมิง
 ประเทศจีน
แก้ว พงษ์ประยูร
 ประเทศไทย
แพดดี บาร์นส์
 ประเทศไอร์แลนด์
ดาวิด ไอราเปเตียน
 ประเทศรัสเซีย
ฟลายเวท (52 กก.)
โรเบย์ซี รามีเรซ
 ประเทศคิวบา
ญามบายาริน ทอกส์ซอสต์
 ประเทศมองโกเลีย
มิคาอิล อโลยัน
 ประเทศรัสเซีย
ไมเคิล คอนแลน
 ประเทศไอร์แลนด์
แบนตั้มเวท (56 กก.)
ลุก แคมป์เบล
 สหราชอาณาจักร
จอห์น โจ เนวิน
 ประเทศไอร์แลนด์
ลาซาโร อัลวาเรซ
 ประเทศคิวบา
ซาโตชิ ชิมิสุ
 ประเทศญี่ปุ่น
ไลท์เวท (60 กก.)
วาซิล โลมาเชนโก
 ประเทศยูเครน
ฮัน ซุนชุล
 ประเทศเกาหลีใต้
ยัสเนียล โตเลโด
 ประเทศคิวบา
เอวัลดาส เปตราอุสกัส
 ประเทศลิทัวเนีย
ไลท์เวลเตอร์เวท (64 กก.)
โรเนียล อีเกลเซีย
 ประเทศคิวบา
เดนีส์ เบรินชีก
 ประเทศยูเครน
วินเซนโซ มันเกลียกาเปร
 ประเทศอิตาลี
อูรานชิเมกิอิน โมนค์-เออร์เดเน
 ประเทศมองโกเลีย
เวลเตอร์เวท (69 กก.)
เซริก ซาปีเยฟ
 ประเทศคาซัคสถาน
เฟรด อีวานส์
 สหราชอาณาจักร
ตาราส เชเลสต์ยุก
 ประเทศยูเครน
แอนเดรย ซัมโกวอย
 ประเทศรัสเซีย
มิดเดิลเวท (75 กก.)
เรียวตะ มูราตะ
 ประเทศญี่ปุ่น
เอสกวิตา ฟลอเรนติโน
 ประเทศบราซิล
แอนโทนี โอโกโก
 สหราชอาณาจักร
แอบบอส อโตเอฟ
 ประเทศอุซเบกิสถาน
ไลท์เฮฟวี่เวท (81 กก.)
เอกอร์ เมคอนต์เซฟ
 ประเทศรัสเซีย
อาดิลเบก นิยาเซียมเบตอฟ
 ประเทศคาซัคสถาน
ยามากูชิ ฟัลเกา
 ประเทศบราซิล
โอเลกซานดร์ ฮโวซดิก
 ประเทศยูเครน
เฮฟวี่เวท (91 กก.)
โอเลกซานดร์ อูซิก
 ประเทศยูเครน
คลีเมนเต รุสโซ
 ประเทศอิตาลี
เตอร์เวล ปูเลฟ
 ประเทศบัลแกเรีย
เตย์มูร์ มัมมาดอฟ
 ประเทศอาเซอร์ไบจาน
ซุปเปอร์เฮฟวี่เวท (+91 กก.)
แอนโทนี โจชัว
 สหราชอาณาจักร
โรเบอร์โต กัมมาเรลเล
 ประเทศอิตาลี
มาโกเมดราซุล มาจิดอฟ
 ประเทศอาเซอร์ไบจาน
อีวาน ดิชโก
 ประเทศคาซัคสถาน

ประเภทหญิง[แก้]

รายการ เหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง
ฟลายเวท (51 กก.)
นิโคลา อดัมส์
 สหราชอาณาจักร
เริน ซันซัน
 ประเทศจีน
มาร์เลน เอสปาร์ซา
 สหรัฐ
มารี กอม
 ประเทศอินเดีย
ไลท์เวท (60 กก.)
การ์ตี เทย์เลอร์
 ประเทศไอร์แลนด์
โซเฟีย โอชิกาวา
 ประเทศรัสเซีย
มาฟซูนา โคเรียวา
 ประเทศทาจิกิสถาน
เอเดรียนา อาเราโย
 ประเทศบราซิล
มิดเดิลเวท (75 กก.)
คลาเรสซา ชิลด์
 สหรัฐ
นาเดสดา ตอร์โลโปวา
 ประเทศรัสเซีย
มารีนา โวลโนวา
 ประเทศคาซัคสถาน
ลี จินซี
 ประเทศจีน

กรณีวิพากษ์วิจารณ์[แก้]

ในการแข่งขันการชกมวยสากลสมัครเล่นครั้งนี้ ได้มีหลายคู่ มีผลการแข่งขันที่ดูแล้วไม่ยุติธรรม เช่น คู่ชิงชนะเลิศในรุ่นไลท์ฟลายเวท ระหว่าง โจว ซื่อหมิง นักมวยชาวจีน กับ แก้ว พงษ์ประยูร นักมวยชาวไทย สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษ ได้ทำการรายงานว่าอาจจะมีการติดสินบนเหรียญรางวัลกันเกิดขึ้น โดยทางอาร์เซอร์ไบจาน ยอมจ่ายเงินจำนวน 9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 280 ล้านบาท) ให้แก่ สหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติ (ไอบ้า) เพื่อให้อาร์เซอร์ไบจานได้รับ 2 เหรียญทองในการแข่งขันครั้งนี้ แต่ทางไอบ้าออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว พร้อมทั้งออกมาประกาศว่า จะยื่นฟ้องสำนักข่าวบีบีซีกรณีรายงานข่าวเช่นนั้น ซึ่งทางคณะกรรมการจัดงานโอลิมปิกก็ไม่พบหลักฐานอย่างเป็นทางการใด ๆ เกี่ยวกับกรณีนี้[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Boxing". 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2012. สืบค้นเมื่อ 14 August 2009.
  2. "IOC approves new events for 2012 London Olympic Games". 2009. สืบค้นเมื่อ 14 August 2009.
  3. "Qualification system" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-29. สืบค้นเมื่อ 25 October 2011.
  4. "AIBA Europe Calendar 2011" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-05-29. สืบค้นเมื่อ 25 October 2011.
  5. "AIBA Women's World Championships Qinhuangdao 2012". AIBA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-27. สืบค้นเมื่อ 12 May 2012.
  6. "History to be re-written at AIBA Women's World Boxing Championships Qinhuangdao 2012". AIBA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2012. สืบค้นเมื่อ 12 May 2012.
  7. บีบีซี แฉ! สหพันธ์มวยสากลสมัครเล่นนานาชาติ หรือไอบา รับสินบน[ลิงก์เสีย]