กิ๋วอ๋องไต่เต่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิ๋วอ๋องไต่เต่
เทวดานพเคราะห์จีน
ส่วนหนึ่งของ รักษาดาวนพเคราะห์
จิตรกรรม เทวดานพเคราะห์จีน(กิ๋วอ๋องไต่เต่)อารามเมฆขาว ในสมัยราชวงศ์หมิง
ส่วนเกี่ยวข้องศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย
เป็นที่นับถือในลัทธิเต๋า
ศาสนาชาวบ้านจีน
ลัทธิขงจื๊อ
ลัทธิขงจื๊อ
ศาสนาพุทธในประเทศจีน
เทศกาลเทศกาลกินเจ
กิ๋วอ๋องไต่เต่
ภาษาจีน九皇大帝
ความหมายตามตัวอักษรราชาธิราชทั้งเก้า

กิ๋วอ๋องไต่เต่ (จีน: 九皇大帝; พินอิน: Jiǔ huáng dàdì; จิ่วหวงต้าตี้ , ฮกเกี้ยน: กิ๋วอ๋องไต่เต้ , ภาษากวางตุ้ง: เก้าหว่องต๋ายเต, เก้าราชาธิราช) เป็นเทพเจ้าดวงดาวตามความเชื่อของความเชื่อปรัมปราของจีนและลัทธิเต๋ารวมถึงลัทธิขงจื๊อ หรือเป็นบุคคลผู้ได้รับการสรรเสริญจากประชาชน ตามตำนานสามารถรวบรวมได้ 9 พระองค์ ซึ่งอยู่ในยุคสมัยต่างกัน ทั้ง 9 พระองค์รวมเรียกว่าพระราชาธิราช 9 พระองค์ จะอัญเชิญมาเฉพาะในช่วงเทศกาลกินเจเท่านั้น

เทพเจ้าทั้งเก้าองค์ได้จุติเป็นดาวเก้าดวง หลังจากนั้นจึงได้จุติอีกครั้งมาเป็นเจ้าผู้ปกครองโลกมนุษย์ โดยเวียนกันจุติลงมา

ประวัติ[แก้]

กิ้วอ๋องต่ายเต่ หมายถึง พระราชาธิราชเก้าพระองค์

  • กิ้ว-ฮ้วง - พระราชาธิราชเก้าองค์
  • ไต่ - โต, ใหญ่, ใหญ่หลวง, มหันต์, มหาภูติ (คือ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ)
  • ตี่ - จักรพรรดิ, พระราชาธิราช, พระเจ้า, เทพ, เทพเจ้า, เทพยดา, เทวดา

พระองค์ที่หนึ่ง[แก้]

Fu his (Foo Shei) ชื่อ ฮอกฮีสี,(ฝูซี) (伏羲) เป็นคนสำคัญทางวัฒนธรรมคนแรก เมื่อก่อน 5,000 ปีมาแล้ว ทรงสั่งสอนให้ราษฎรทำแห ทำอวน จับปลา ช้อนกุ้ง สอนให้ราษฎรสืบเสาะหาสัตว์มาเลี้ยง จับสัตว์มาฝึกใช้งานและพืชพรรณทั้งหลาย ทรงสั่งสอนให้ราษฎรบวงสรวงเทพารักษ์ เทวดา ไหว้บิดามารดา พี่น้องที่ถึงแก่กรรม สอนให้ราษฎรสู่ขอแต่งงาน สมัยของพระองค์เริ่มใช้อักษรจีน สอนให้รู้จักหนังสือ ทำข้อสัญญา เลิกใช้ขมวดเชือกเป็นปมที่ทำเครื่องหมาย ประดิษฐ์เครื่องดนตรี ทำขิมพระองค์รู้ในตำรา ฤกษ์บน ฤกษ์ล่าง ด้วยฟ้าและดิน มีข้าวเปลือก มีม้ามังกร (เล่งเบ้) ทำตำราโหราศาสตร์และโป้ยกั่ว

พระองค์ที่สอง[แก้]

Shen Nung (Shun Noong) หรือยันตี่ Yen Ti พระเจ้าเอี้ยมเต้สินล่งฮองเต้ (เสินหนง) (神农) รู้ในอดีตและอนาคต ฤกษ์บน ฤกษ์ล่าง ชาวจีนถือเป็นพระเจ้าของการกสิกรรม เป็นผู้ประดิษฐ์คันไถ และสอนให้ชาวบ้านทำไร่ไถนาพระองค์เป็นห่วงราษฎร ให้จัดหาสัตว์และพืชมาเพาะเลี้ยง ทดลองปลูกทำเป็นพืชพรรณต่อไป เช่น ผลหญ้านั้นมีห้าอย่าง ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวสาลี ถั่ว งา ทรงแนะนำให้มาต้มให้สุกเสียก่อน คิดหายามารักษาโรค ทรงแนะนำให้กินน้ำที่ไหล คิดทำเรือสำเภาใช้ใบใช้สำหรับไปมาและค้าขายปราบขบถที่มารุกรานตามหัวเมืองของพระองค์

พระองค์ที่สาม[แก้]

Huang Ti (Hwang De) ชื่อว่า ฮืนฮ่วง หวงตี้ (黄帝) เป็นพระเจ้าอึ้งตี่ฮองเต้ เป็นกษัตริย์ที่สำคัญในการรบคนแรกประมาณ 5,000 ปีมาแล้วปราบปรามพวกขบถ เป็นนักประดิษฐ์เข็มทิศ รถศึกสามารถแล่นถูกทิศทางท่ามกลางหมอกหนาทึบ คิดทำปฏิทินตำราละยิด ต่อข้างขึ้นข้างแรม จัดปีและนักษัตรเสียใหม่ ทำมาตรา ทะนานตวงสิ่งของ ทำขลุ่ย ระฆัง

เสื้อสีต่าง ๆ หกสี สีเหลืองเป็นที่หนึ่ง สร้างวัง ทำเกวียน และให้ขุดหาแร่ต่าง ๆ คิดยารักษาโรคต่อ ให้หมอมาร่ำเรียนทำเป็นตำราขึ้นจัดทำเขตแดน ชื่อบ้านและตำบล ทรงปลูกฝ้ายเลี้ยงไหมทอผ้า มเหสีของอึ้งตี่ก็มีชื่อเสียงในการผลิตผ้าไหม การยุติธรรม ทรงถือศีลกินเจ แล้วก็ขึ้นสวรรค์ไปกับมังกรเป็นเซียนต่อไป

พระองค์ที่สี่[แก้]

ชื่อว่า เซียวเฮา, ซาวเฮา (少昊) เป็นพระเจ้ากิ้มเต็กอ๋องฮองเต้ ทรงรับสั่งให้ขุนนางปักเสื้อ หมวก ที่สวมใส่เป็นรูปหงส์ ตามยศ ปราบปรามข้าศึกสงครามที่ยกมาตีบ้านเมืองของพระองค์ตามหัวเมืองต่างๆ

พระองค์ที่ห้า[แก้]

ชื่อกอเอียงสี, จวงซี (颛顼) พระเจ้าจ่วนยกตี่ฮองเต้ พระโอรสทั้งเก้าพระองค์ยกกองทัพไปปราบปรามขบถตามหัวเมืองต่าง ๆ ทรงเปลี่ยนแปลงฤดูกาลปีหนึ่งให้สี่ฤดู ต่อมายกสมบัติให้เตียวคี้เป็นกษัตริย์ต่อไป

พระองค์ที่หก[แก้]

ชื่อ เตียวคี้, ตี้ขู้ (帝喾) พระเจ้าตี่คอกฮองเต้ทรงตรวจดูกฎหมายแผ่นดิน พระองค์ทรงทำตำราปฏิทินใหม่เพื่อการเกษตร ไร่นา ปลูกต้นไม้ตามฤดูกาล ให้ขุนนางไปทำการขุดแร่มาใช้ประโยชน์แก่แผ่นดิน และให้เก็บตัวอย่างหินสีต่าง ๆ แล้วให้เอาไปหลอม มีพระโอรสชื่อ เงี้ยวอ๋อง ได้เป็นกษัตริย์ต่อไป

พระองค์ที่เจ็ด[แก้]

Yao (You) ชื่อ ถังเหยา (唐尧) ,(พระเจ้าเหยา)เงี้ยวอ๋อง, เอี๋ยวตี้ พระเจ้าเงี้ยวเต้เป็นกษัตริย์อย่างแท้จริงองค์แรก ชาวจีนอยากเห็นอีก ทรงปล่อยนักโทษตั้งโรงเลี้ยงคนแก่พิการที่ไม่มีญาติ ให้หมอหลวงรักษา ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือขุนนางปราบปีศาจไฟเก้าดวง คิดทำปฏิทินใหม่ให้ละเอียดกว่าเก่าที่เคยทำมาแล้วถึงสามครั้งและปัจจุบันคงจะใกล้เคียงมากที่สุด ขุนนางไปกำจัดสัตว์ร้าย รับสั่งให้ขุนนางไปทำการขุดคลองจากแม่น้ำฮวงโหไหลบ่าล้นฝั่งท่วมไร่นาของราษฏร พระองค์ทรงเสด็จไปเยี่ยมราษฎร ทรงสั่งสอนราษฏร ต่อมาจึงยกราชสมบัติให้แก่ ไต้ซุ่น เป็นกษัตริย์องค์ต่อไป

พระองค์ที่แปด[แก้]

Shun (Shwin) ชื่อ ซุ่น (舜), ชวิน, ไต้ซุ่น, ซุ่นตี้ พระเจ้าซุ่นเต้ฮ่องเต้ เป็นวิศวกรที่สามารถ จึงเป็นที่น่าชื่นชมของมหาชน กตัญญูต่อบิดามารดาทำนารับสั่งให้อู๋ (พระองค์ที่เก้า) ไปทำการปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ที่เข้ามาทำความเดือดร้อนแก่ราษฏรรับสั่งให้อู๋ไปทำการขุดคลองสำเร็จ ปราบสัตว์ร้าย ต่อมาอู๋ได้เป็นกษัตริย์ต่อไป

พระองค์ที่เก้า[แก้]

Yu (U) ชื่อ หยวี่ (禹), อู๋ เซียหยี, พระเจ้าอู๋เต้ฮองเต้ (พระเจ้าอวี่) เมื่อประมาณ 4,100 ปีมาแล้ว เป็นผู้เริ่มสร้างราชวงศ์จีนขึ้น เรียกกันว่า ราชวงศ์เฉียอะ ครั้งนั้นสมัยกรุงจีนเรียกว่าแผ่นดินแฮจัด เมืองจิวเป็นเมืองใหญ่ เอาทองคำมาหล่อเป็นกระถางธูปเก้าใบให้ชื่อว่ากิ่วเตี้ย สำหรับเมืองตั้งจิวเก้าเมือง บรรดาหัวเมืองทั้งยี่สิบสี่หัวเมืองเข้าเฝ้า รับสั่งให้ทำสัญญาณขึ้นไว้ห้าอย่าง ระฆัง กลอง ตัด เตียว อีกอย่างเข่ง ในเมืองไทยยังไม่มี ปล่อยนักโทษ ห้ามขุนนางทำสุรา พระองค์เป็นกษัตริย์ตัวอย่างที่แท้จริง เป็นวิศวกรที่เรื่องลือสามารถเจาะภูเขาสร้างที่เก็บน้ำ และจัดระบบให้ระบายน้ำได้อย่างดี เล่าเอี๊ยะเป็นขุนนางพระเจ้าอู๋เต้ฮองเต้จะยกราชสมบัติให้เล่าเอี๊ยะ ๆ ไม่ยอมรับ ฯลฯ ต่อมาพระราชโอรสพระเจ้าอู๋เต้ฮ่องเต้ครองราชสมบัติแทน ต่อมามีการแย่งชิงสมบัติพระราชบัลลังก์กันมาเรื่อย ๆ จนถึงราชวงศ์เซียว และราชวงศ์จิวสมัยห้องสินพระเจ้าติ่วอ๋องกับพระเจ้าบู้อ๋องจึงปรากฏลี้เจ้ง กิ้มเฉี้ย โล่เฉี้ย หลุ่ยจิ้นจู้ บกเฉี้ย เอี้ยวเจี้ยน เทวดาส่งมาให้เกิดเพื่อมาช่วยปราบปรามทำศึกกับกษัตริย์ที่ไม่อยู่ในยุติธรรม ไม่อยู่ในธรรมเนียมกษัตริย์[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-17. สืบค้นเมื่อ 2013-09-27.