กิลกาเมช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิลกาเมช
รูปปั้นของกิลกาเมช ผู้เป็นนายแห่งสัตว์ โดยถือสิงโตที่ข้างซ้าย และถืองูข้างขวา ตอนนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์[1]
สืบทอดตำแหน่งจากDumuzid, the Fisherman (as Ensi แห่ง Uruk)
Aga of Kish (as King of Sumer)
สืบทอดตำแหน่งโดยUr-Nungal
ที่ประทับโลก
สัญลักษณ์วัวตัวผู้, สิงโต
ข้อมูลส่วนบุคคล
บุตร - ธิดาUr-Nungal
บิดา-มารดาLugalbanda กับ Ninsun
รูปปั้นกิลกาเมช ที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์

กิลกาเมช เป็นกษัตริย์ในตำนาน แห่งนครอุรุค ในอาณาจักรบาบิโลน หรือบาบีโลเนีย ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรทีส ในประเทศอิรักปัจจุบัน เชื่อว่าเคยมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 2,700 ปีก่อนคริสตกาล

มีเรื่องเล่าและปกรณัมมากมายที่เขียนเกี่ยวกับกิลกาเมช บางเรื่องเขียนไว้ตั้งแต่เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยจารึกบนแผ่นดินเหนียวเป็นภาษาของพวกซูเมอร์ เรียกว่าภาษาซูเมอร์ ซึ่งยังหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน ภาษาดังกล่าวนี้นักโบราณคดีเชื่อว่าไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับภาษาอื่น ๆ ที่เราเคยรู้จักเลย[ต้องการอ้างอิง]

เรื่องกิลกาเมชของพวกซูเมอร์นั้น ถูกรวบรวมขึ้นเป็นบทกวีเรื่องยาว เรียกว่า มหากาพย์กิลกาเมช (Epic of Gilgamesh) หลงเหลืออยู่เป็นวรรณกรรมในหลายภาษา เช่น ของชาวอัคคาเดีย (กลุ่มภาษาเซมิติก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาษาฮีบรู, เป็นภาษาที่พูดกันในอาณาจักรบาบิโลน) นอกจากนี้ยังมีปรากฏบนแผ่นจารึกดินเหนียว เป็นภาษาฮูร์เรีย และภาษาฮิตไตต์ (ภาษาหนึ่งในตระกูลอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งพูดกันในเขตรอยต่อยุโรปและเอเชีย นับเป็นหนึ่งในบรรดาภาษาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก) ภาษาทั้งหมดที่พูดมานี้ จารด้วยอักษรรูปลิ่ม หรือที่เราคุ้นเคยกันด้วยชื่อ คูเนฟอร์ม

ตำนานฉบับเต็มเกี่ยวกับกิลกาเมชนั้น ได้มาจากศิลาจารึก 12 แท่ง จารเป็นภาษาอัคคาเดียน พบในซากปรักหักพังของหอพระสมุด พระเจ้าอะชูรบานิปัล แห่งอัสซีเรีย เมื่อราว 669-633 ปีก่อนคริสตกาล ที่เมืองนิเนเวห์ (Nineveh) หอสมุดแห่งนี้ถูกพวกเปอร์เซียทำลายเมื่อ 612 ปีก่อนคริสตกาล และจารึกทั้งหมดก็พินาศไปด้วย จารึกนี้ระบุชื่อผู้แต่งไว้ด้วย ซึ่งนับเป็นเรื่องที่แปลกมาก เนื่องจากในสมัยโบราณ แทบจะไม่มีการจารึกชื่อผู้แต่งเรื่องใด ๆ (จารึกไทยในสมัยสุโขทัยหรืออยุธยาก็ไม่มีการจารึกชื่อผู้แต่งเช่นกัน) ผู้แต่งจารึกนี้คือ ชิเนฆิอุนนินนิ (Shin-eqi-unninni) อาจกล่าวได้ว่า บุคคลผู้นี้เป็นนักเขียนที่เก่าแก่ที่สุดในโลกวรรณกรรม ที่เราสามารถระบุชื่อได้

อ้างอิง[แก้]

  • Damrosch, David (2007). The Buried Book: The Loss and Rediscovery of the Great Epic of Gilgamesh. Henry Holt and Co.. ISBN 0-805-08029-5.
  • George, Andrew [1999], The Epic of Gilgamesh: the Babylonian Epic Poem and Other Texts in Akkadian and Sumerian, Harmondsworth: Allen Lane The Penguin Press, 1999 (published in Penguin Classics 2000, reprinted with minor revisions, 2003. ISBN 0-14-044919-1
  1. Delorme 1981, p. 55.