ประโนตย์ วิเศษแพทย์ และสมชาย แก้วจินดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเสียชีวิตของ ประโนตย์ วิเศษแพทย์ และสมชาย แก้วจินดา
วันที่ประโนตย์ เสียชีวิต 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2510, สมชาย เสียชีวิต 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2510
เวลาประโนตย์ ไม่ทราบเวลาเสียชีวิตอย่างแน่ชัด, สมชาย เสียชีวิต ประมาณ 12.00 (GMT+7)
ที่ตั้งบ้านพักส่วนตัวของทั้งคู่ ย่านซอยสวนพลู กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ประเภทการอัตวินิบาตกรรม
สาเหตุสันนิษฐานว่าเป็นความหึงหวง และความหวาดระแวง
เหตุจูงใจสันนิษฐานว่าคนรักมีคนอื่น
เป้าหมายดูในบทความ
ผู้รายงานคนแรกบุคคลภายในครอบครัว และเพื่อนบ้าน
ผลตำนานโลงคู่ วัดหัวลำโพง
เสียชีวิต
  • ประโนตย์ วิเศษแพทย์
  • สมชาย แก้วจินดา
ฝังศพฌาปนกิจทั้งคู่ ณ วัดหัวลำโพง ถนนพระรามที่ 4 แขวง สี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ไต่สวนบ้านพักของทั้งคู่
ชันสูตรเสียชีวิตจากการอัตวินิบาตกรรม
จนท. ชันสูตรคณะแพทย์ มากกว่า 1 - 5 คน
ต้องสงสัยเรื่องคู่รัก หรือมือที่สาม

ประโนตย์ วิเศษแพทย์ และสมชาย แก้วจินดา หรือที่รู้จักในชื่อ ตำนานโลงคู่วัดหัวลำโพง ประโนตย์-สีดา โดยทั้งคู่เป็นคู่รักกันที่เป็น เพศเดียวกัน ซึ่งนับเป็นกลุ่มคู่รักเพศเดียวกันที่พูดถึงวงกว้างในสังคมไทยในช่วงปี 2510 [1] และภายหลังยังถูกนำมาถ่ายทอดเรื่องราวของทั้งคู่ผ่านบทเพลง รวมถึงนวนิยาย และภาพยนตร์อยู่บ่อยครั้ง อาทิ "สีดา" (2532) ดนุพล แก้วกาญจน์ โดยมีครูน้อย - สุรพล โทณะวณิก ศิลปินแห่งชาติประจำปี 2540 เป็นผู้แต่งเนื้อร้อง[2] รวมถึงนวนิยาย ม่านนางรำ (2547)[3] และภาพยนตร์ สีดา ตำนานรักโลงคู่ (2563)

ประโนตย์ วิเศษแพทย์[แก้]

ประโนตย์ วิเศษแพทย์ ชื่อเล่น โนตย์ เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 และเสียชีวิตวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 (28 ปี) เกิดที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เป็นบุตรชาย ของนายยงค์ และหม่อมหลวงหญิงบุญนาค วิเศษแพทย์ ซึ่งครอบครัวมีฐานะดี ประโนตย์มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน และประโนตย์เป็นเพียงบุตรชายเพียงคนเดียวของครอบครัววิเศษแพทย์ โดยประโนตย์ มีลักษณะเหมือนกับผู้หญิงตั้งแต่เด็ก จนเป็นผู้ใหญ่[4]

การศึกษา[แก้]

ประโนตย์ เริ่มเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนใกล้บ้าน ย่านซอยสวนพลู ประมาณปี พ.ศ. 2492 ประโนตย์ มีความสนใจในการแสดงตั้งแต่เด็ก ประโนตย์ตัดสินใจสอบเข้าเรียนต่อที่ โรงเรียนนาฏศิลป กรมศิลปากร (วิทยาลัยนาฏศิลปในปัจจุบัน) โดยทางครอบครัวสนับสนุนอย่างเต็มที่ ไม่เคยว่ากล่าวประโนตย์ในทางที่ไม่ดี

การแสดง และการสวมบทบาทสตรีเพศ[แก้]

ประโนตย์ ได้ฝึกรำเป็นนางสีดา อยู่นาน จนประโนตย์ ได้คัดเลือกให้เป็นนางสีดา และประโนตย์ได้ทำการแสดงให้ผู้ชมได้ดู โดยนางสีดา ที่ประโนตย์ ได้ทำการแสดงนั้นเหมือนกับผู้หญิงจริงๆ มีความเป็นผู้หญิงมาก โดยในช่วงนั้น สังคมไทย ยังไม่ยอมรับในตัวกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ประโนตย์ได้แอบไปแสดงโขน ในสถานที่ข้างนอก โดยทางโรงเรียนไม่ได้อนุญาตให้นำโขนไปเล่นในสถานที่ข้างนอก การแสดงของประโนตย์ ได้ยุติลง เพียงเวลา 3 ปี

มูลเหตุ[แก้]

ประโนตย์ได้รู้สึกหวาดระแวง และหึงหวง กลัวว่าสมชายจะไปมีคนอื่น ประโนตย์ จึงตัดสินใจพาสมชาย ไปสาบานต่อต่อกันที่ วัดพระแก้ว และศาลหลักเมือง[5] ต่อมาหลังจากทั้งคู่ทะเลาะกัน สุดท้ายทั้งคู่จึงตัดสินใจแยกกันอาศัย

การฆ่าตัวตาย[แก้]

ประโนตย์ พยายามฆ่าตัวตายอยู่หลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ จนในคืนวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ประโนตย์ได้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตายที่บ้านพักของเธอ[6] ศพของประโนตย์ตั้งไว้ ณ วัดหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร

หลังจากสมชายทราบข่าว จึงเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก เขาตัดสินใจดื่มยาฆ่าแมลงฆ่าตัวตายตามประโนตย์ในเดือนเดียวกัน จากนั้นญาตินำศพของสมชาย มาตั้งเคียงคู่กับประโนตย์ และฌาปนกิจศพทั้งคู่พร้อมกัน ณ วัดหัวลำโพง

สิ่งสืบเนื่อง[แก้]

เพลง[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เทียบตัวจริง Vs ในหนัง ถ่ายทอดเรื่องราว สีดา ตำนานรักโลงคู่
  2. [พ.ศ. 2498-2510 โศกนาฎกรรมความรักชายรักชาย สู่ตำนานโลงคู่ ณ วัดหัวลำโพง]
  3. เรืองจริงในนิยาย สีดา นางรำสาวประเภทสอง ในนวนิยาย ม่านนางรำ
  4. "ตำนานรัก "โลงคู่" วัดหัวลำโพง". www.sanook.com/horoscope.
  5. ตำนานรัก "โลงคู่" วัดหัวลำโพง
  6. สีดารักโลงคู่ : ความจริงไม่ตาย (2 ม.ค. 61), สืบค้นเมื่อ 2021-10-01
  7. สีดา - แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ [Official Music Video], สืบค้นเมื่อ 2021-10-01
  8. สิงโต นำโชค - สีดา OST. สีดา ตำนานรักโลงคู่ [Official Lyrics Video], สืบค้นเมื่อ 2021-10-01
  9. สีดา ตำนานรักโลงคู่ | Seeda - Official Trailer [ซับไทย], สืบค้นเมื่อ 2021-10-01