การเปรียบเทียบระหว่างอิสราเอลกับนาซีเยอรมนี
การเปรียบเทียบระหว่างอิสราเอลกับนาซีเยอรมนีเกิดขึ้นบ่อยครั้งในด้านที่เกี่ยวกับการต่อต้านลัทธิไซออนิสต์ที่มีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์[1][2] ความชอบธรรมในการเปรียบเทียบสิ่งเหล่านี้และลักษณะการต่อต้านยิวที่เป็นไปได้ยังคงเป็นประเด็นถกเถียง ในอดีต บุคคลอย่างอาร์โนลด์ เจ. ทอยน์บี นักประวัติศาสตร์ ได้เปรียบเทียบระหว่างลัทธิไซออนิสต์และลัทธินาซี ซึ่งเป็นท่าทีที่เขายึดถือไว้แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็ตาม ส่วนเดวิด เฟลด์แมน นักวิชาการ เสนอแนะว่า การเปรียบเทียบเหล่านี้มักเป็นเครื่องมือเชิงวาทศิลป์ โดยไม่มีเจตนาต่อต้านชาวยิวโดยเฉพาะ ทาง Anti-Defamation League (ADL) มองสิ่งนี้เป็นการลดความสำคัญของฮอโลคอสต์[3][4]
เอียน ลัสติก ศาสตราจารย์รัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย รายงานว่า การเปรียบเทียบเช่นนี้ "เป็นผลที่ตามมาโดยไม่ได้ตั้งใจตามธรรมชาติจากการที่ชาวยิวอิสราเอลจมอยู่ในภาพลักษณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" (a natural if unintended consequence of the immersion of Israeli Jews in Holocaust imagery) [5] บุคคลทางการเมืองและรัฐบาลหลายกลุ่มได้ทำการเปรียบเทียบนี้ในอดีต ดังตัวอย่างการบริหารของสหภาพโซเวียตในเนื้อหาสงครามหกวัน ช่วงสงครามเย็นเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1960[6] นักการเมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ที่ใช้วิธีการนี้ได้แก่ ประธานาธิบดีตุรกี เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน[7] ประธานาธิบดีบราซิล ลูลา ดา ซิลวา[8] ประธานาธิบดีเวเนซุเอลา อูโก ชาเบซ[9] และสมาชิกรัฐสภาอังกฤษ เดวิด วาร์ด[10] นักวิจารณ์การเปรียบเทียบนี้อย่าง Bernard-Henri Lévy ปัญญาชนสาธารณะ โต้แย้งว่าการเปรียบเทียบเช่นนี้ไม่เพียงแต่ขาดความเท่าเทียมกันทางประวัติศาสตร์และศีลธรรมเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงต่อการปลุกปั่นให้รู้สึกต่อต้านชาวยิว เดโบราห์ ลิปสตัดต์ นักประวัติศาสตร์ เรียกการเปรียบเทียบนี้เป็นการปฏิเสธฮอโลคอสต์แบบ "บอกเป็นนัย" (soft-core)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Klaff, Lesley. "Holocaust Inversion and contemporary antisemitism". Fathom. สืบค้นเมื่อ 4 May 2022.
- ↑ Gerstenfeld, Manfred (2008-01-28). "Holocaust Inversion". Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 2021-06-11.
- ↑ Rosenfeld 2019, p. 175-178, 186.
- ↑ A. J. Toynbee, A Study of History, OUP 1964 vol.12 p.627.
- ↑ Lustick 2019, p. 52.
- ↑ Druks, Herbert (2001). The Uncertain Alliance: The U.S. and Israel from Kennedy to the Peace Process. Greenwood Publishing Group. pp. 50–51. ISBN 9780313314247.
- ↑ "Turkish president calls Israel fascist and racist over nation state law". ITV.com. 24 July 2018. สืบค้นเมื่อ 4 May 2022.
- ↑ "Israel livid as Brazil's Lula says Israel like 'Hitler,' committing genocide in Gaza". The Times of Israel. 18 February 2024. สืบค้นเมื่อ 18 February 2024.
- ↑ Dow Jones Newswires reported that, on August 10, while giving a speech in eastern Venezuela, Chávez said Venezuelans are "making a call to world leaders, for the love of God, let's halt this crazy fascist aggression against innocent people. Are we human or what are we?... I feel indignation for Israel's assault on the Palestinian people and the Lebanese people. They dropped bombs on shelters. ... It's a Holocaust that is occurring there." - Venezuela President Asks International Leaders To Halt Israeli Offensive.[ลิงก์เสีย] Dow Jones Newswire, Morning Star, August 10, 2006.
- ↑ Klaff, Lesley. "Holocaust Inversion and contemporary antisemitism". Fathom. สืบค้นเมื่อ 4 May 2022.
- ↑ Klein, Amy (2009-04-19). "Denying the deniers: Q & A with Deborah Lipstadt". Jewish Telegraphic Agency (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-01-20.
บรรณานุกรม
- Bartov, Omer (2018). "National Narratives of Suffering and Victimhood: Methods and Ethics of Telling the Past as Personal Political History". The Holocaust and the Nakba (ภาษาอังกฤษ). Columbia University Press. ISBN 978-0-231-54448-1.
- Lustick, Ian S. (2019). Paradigm Lost: From Two-State Solution to One-State Reality. University of Pennsylvania Press. ISBN 978-0-8122-5195-1.
- Rosenfeld, Alvin H. (9 January 2019). Anti-Zionism and Antisemitism: The Dynamics of Delegitimization. Indiana University Press. ISBN 978-0-253-03872-2.
- Marcus, Kenneth L. (30 August 2010). Jewish Identity and Civil Rights in America. Cambridge University Press. ISBN 978-1-139-49119-8.
- Steir-Livny, Liat (2019). "'Kristallnacht in Tel Aviv': Nazi Associations in the Contemporary Israeli Socio-Political Debate". New Perspectives on Kristallnacht: After 80 Years, the Nazi Pogrom in Global Comparison. Purdue University Press. ISBN 978-1-61249-616-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Former Pink Floyd frontman sparks fury by comparing Israelis to Nazis" by Vanessa Thorpe and Edward Helmore at The Guardian
- "Israel's 'nation-state law' parallels the Nazi Nuremberg Laws" by Susan Abulhawa at Al Jazeera
- "Herzog calls on Israel's politicians to leave Nazi references out of campaigns" by Greer Fay Cashman at The Jerusalem Post
- "The Rights and Wrongs of Comparing Israel to Nazi Germany" by Daniel Blatman at Haaretz
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่พฤศจิกายน 2017
- ความรู้สึกต่อต้านอิสราเอล
- ประวัติศาสตร์นิพนธ์ฮอโลคอสต์
- ข้อพิพาททางภาษาศาสตร์
- ข้อพิพาทอคติของสื่อที่เกี่ยวข้องกับประเทศอิสราเอล
- การรายงานข่าวของสื่อเกี่ยวกับความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล
- อุปลักษณ์เกี่ยวกับสงครามและความรุนแรง
- แนวเทียบนาซี
- การต่อต้านยิวใหม่
- จิตวิทยาการเมือง
- การเมืองอิสราเอล
- เหยื่อวิทยา
- นาซีเยอรมนี
- การเปรียบเทียบ