การออกเสียงคำว่า GIF

การออกเสียงคำว่า GIF ซึ่งเป็นคำย่อจากคำภาษาอังกฤษ Graphics Interchange Format เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 คำย่อนี้นิยมออกเสียงในภาษาอังกฤษ ในรูปคำพยางค์เดียวว่า "กิฟ" (/ɡɪf/ ( ฟังเสียง); เสียง g หนัก เหมือนในคำว่า gift; กิฟต์) หรือ "จิฟ" (/dʒɪf/ (
ฟังเสียง); เสียง g เบา เหมือนในคำว่า gem; เจ็ม) การออกเสียงทั้งสองต่างกันที่หน่วยเสียง (phoneme) ที่แทนด้วยอักษร G
บุคคลสาธารณะและสถาบันต่าง ๆ จำนวนมาก ได้ออกมาแสดงจุดยืนของตน เช่น สตีฟ วิลไฮท์ ผู้คิดค้น GIF เคยกล่าวสุนทรพจน์ที่งานมอบรางวัลเวบบี ปี 2013 ระบุว่าเสียง g เบา (จิฟ) เป็นคำอ่านที่ถูกต้อง ในขณะที่คนอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่าอักษร G นั้นย่อมาจากคำว่า graphics ("กราฟิกส์") จึงควรใช้เสียง g หนักในคำดังกล่าว
ถึงแม้ความถี่ในการออกเสียงต่าง ๆ จะแตกต่างกันไปตามภูมิภาค ผลการสำรวจโดยทั่วไปพบว่าการออกเสียง g หนัก เป็นที่พบได้ทั่วไปมากกว่า นอกจากนี้ ยังมีบางส่วนที่เลือกออกเสียงแยกตัวอักษรทั้งสามในคำย่อ ว่า "จีไอเอฟ" (/dʒiː aɪ ɛf/ ( ฟังเสียง)) ส่วนพจนานุกรมภาษาอังกฤษโดยทั่วไปยอมรับคำออกเสียงทั้งสองแบบหลัก และการวิจัยทางภาษาศาสตร์ไม่พบจุดเด่นชัดเจนสำหรับทั้งสองการออกเสียง เมื่อเทียบจากความถี่ของคำภาษาอังกฤษที่คล้ายกัน นอกจากนี้การออกเสียง GIF ยังสามารถแตกต่างกันไปในภาษาอื่น ๆ นอกจากภาษาอังกฤษเช่นกัน
ภูมิหลัง[แก้]
รูปแบบแลกเปลี่ยนกราฟิกส์ (Graphics Interchange Format; GIF) เป็นรูปแบบไฟล์ภาพที่พัฒนาขึ้นในปี 1987 โดยสตีฟ วิลไฮท์ ที่คอมพิวเสิร์ฟ ผู้ให้บริการออนไลน์สัญชาติอเมริกัน โดยทั่วไป ไฟล์สกุล GIF นิยมใช้แสดงภาพเคลื่อนไหวที่สั้นและวนลูป[1][2] อักษรย่อ GIF นิยมออกเสียงเป็นพยางค์เดียวซึ่งเป็นประเด็นถกเถียงถึงการออกเสียงที่ถูกต้อง บางคนออกเสียงคำนี้โดยใช้เสียง g หนัก ว่า /ɡɪf/ ( ฟังเสียง) ("กิฟ") ในขณะที่บางส่วนออกเสียงคำนี้โดยใช้เสียง g เบา ว่า /dʒɪf/ (
ฟังเสียง) ("จิฟ")[3] ในขณะที่ส่วนน้อยเลือกที่จะออกเสียงแต่ละอักษรย่อแยกกันไป ว่า /dʒiː aɪ ɛf/ (
ฟังเสียง) ("จี ไอ เอฟ")[4]
วิลไฮท์และทีมที่พัฒนารูปแบบไฟล์ระบุไว้ในข้อกำหนดเชิงเทคนิกว่าอักษรย่อนี้ให้ออกเสียงด้วย g เบา ในข้อกำหนดดังกล่าว ทีมงานเขียนไว้ว่า "โปรแกรมเมอร์ที่ช่างเลือก เลือก ... [การออกเสียงว่า] 'จิฟ'" เพื่อเป็นการแสดงคารวะแด่สโลแกนโฆษณาสินค้าของบริษัทเนยถั่ว จิฟ ที่ว่า "คุณแม่ที่ช่างเลือก เลือกจิฟ"[3] เอบีซีนิวส์ระบุว่าข้อถกเถียงการออกเสียงนี้สามารถย้อนหลับไปได้ถึงปี 1994 ที่ซึ่งผู้แต่งสารานุกรมรูปแบบภาพคนหนึ่งระบุว่า "คนส่วนใหญ่" ดูจะเลือกออกเสียง g หนัก มากกว่า g เบา [5]
ในภาษาอื่น ๆ[แก้]
ในภาษาฝรั่งเศส GIF ออกเสียงว่า [ʒif] ( ฟังเสียง)[6] โดยใช้เสียงเสียดแทรก หลังปุ่มเหงือก ก้อง [ʒ] เหมือน j ในคำว่า joie หรือ s ในภาษาอังกฤษ measure ("เมเชอร์") หรือ vision ("วิชั่น") ในขณะที่ เสียง [dʒ] ("จ") ซึ่งไม่มีในคำศัพท์ฝรั่งเศส มีแนวโน้มที่จะยังคงไว้จากในคำยืมจากภาษาอังกฤษ เช่น jeans ("จีนส์")[7] บางภาษาไม่มีเสียง g หนักและเบา อยู่ในสัทวิทยา เช่น ภาษาสเปน และ ภาษาฟินนิช ที่ไม่มีเสียง [ʒ] ในคำพื้นถิ่น ในขณะที่บางสำเนียงของภาษาอาหรับไม่มีเสียง [ɡ][8][9] ในภาษานอร์เวย์ GIF ออกเสียงด้วย g หนัก ([ɡ])[10] ซึ่งต่างกับการออกเสียงคำพื้นถิ่น ที่ซึ่งลำดับอักษร ⟨gi⟩ ควรจะออกเสียง voiced palatal approximant ([j], "ย") เช่น y ในภาษาอังกฤษ yes ("เยส")[11]
บทวิเคราะห์ข้อถกเถียง[แก้]
สาเหตุ[แก้]
ในภาษาอังกฤษ ข้อถกเถียงทางภาษาศาสตร์นี้มีที่มาบางส่วนจากข้อเท็จจริงที่ว่าไม่มีกฎกลางว่า ลำดับอักษร gi จะต้องออกเสียงเช่นไร โดยที่เสียง g หนัก มีในคำเช่น gift ("กิฟต์") และเสียง g เบา มีในคำเช่น gin ("จิน")
ในภาษาอังกฤษเก่า อักษร g ออกเสียงเป็น g เบา เช่นเดียวกันกับ เสียงพยัญชนะของ y และเมื่อเสียง g หนักเพิ่มเข้ามา ทั้งเสียงหนักและเบา ก็ยังคงอยู่เมื่อเป็นลำดับอักษรที่ต่อด้วย i[3]
ในการวิเคราะห์คำภาษาอังกฤษจำนวน 269 คำ โดยนักภาษาศาสตร์ ไมเคิล ดาว (Michael Dow) พบว่าคำภาษาอังกฤษอื่น ๆ มีเสียง g หนักและเบา ในจำนวนแทบจะเท่ากัน กระนั้น ผลการวิเคราะห์นี้อาจแตกต่างไปบ้างขึ้นอยู่กับพารามิเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์[12] ในคำจำนวน 105 คำที่มี gi เป็นส่วนหนึ่งของคำ มี 68 คำที่ออกเสียง g เบา ในขณะที่เพียง 37 คำ ออกเสียง g หนัก อย่างไรก็ตาม คำเสียง g หนักสามารถพบได้ในภาษาอังกฤษทั่วไป มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ เปรียบเทียบกับคำที่มีใช้น้อยอย่าง flibbertigibbet และ tergiversate ซึ่งออกเสียง g เบา และถูกรวมเข้ามาในคำ 68 คำที่ออกเสียง gi เบา เมื่อนำเอาความแพร่หลายในการใช้คำแต่ละคำเข้ามาประเมินด้วย พบว่าเสียง g หนักและเบา มีความถี่ในการใช้พอ ๆ กันในบรรดาคำ gi ไม่พบแนวโน้มที่ชัดเจนเช่นกันเมื่อประเมินเฉพาะคำที่ขึ้นต้นด้วย gi หรือแม้แต่เฉพาะคำที่มีพยางค์เดียว เช่น gift และ gin
นักภาษาศาสตร์ชาวแคนาดา เกรตเชิน แมคคัลลอค เสนอทฤษฎีโดยอ้างจากงานของไมเคิล ดาวว่า เนื่องจากเสียง g หนักและเบา ในบริบทนี้มีการใช้งานในความถี่ที่แทบจะเท่ากัน เมื่อบุคคลหนึ่งเจอคำว่า GIF เป็นครั้งแรก บุคคลนั้นจะต้องทายการออกเสียง คล้ายกันกับการทอยเหรียญ โดยการเทียบกับคำอื่น ๆ ที่เคยเจอมาในอดีต และเมื่อเลือกได้แล้วว่าจะออกเสียงแบบใด บุคคลหนึ่ง ๆ ก็จะยืนยันออกเสียงเช่นนั้นไปเลย แมคคัลลอคจึงให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า "สงสัยเราจะสู้กันในสงครามเรื่องการออกเสียงคำว่า gif ไปอีกหลายชั่วอายุคน"[13]
ข้อโต้แย้ง[แก้]
บทวิเคราะห์ในปี 2019 โดยนักภาษาศาสตร์ Marten van der Meulen พบว่าข้อโต้แย้งที่มักถูกยกมาบ่อยที่สุดในโลกออนไลน์เกี่ยวกับการออกเสียงคำว่า GIF คือข้อโต้แย้งเชิง "ระบบ" ซึ่งสนับสนุนข้างใดข้างหนึ่งของการถกเถียง โดยการยืนกรานว่าการออกเสียงควรจะลื่นไหลจากกฎที่มั่นคงของภาษา[14] ตัวอย่างหนึ่งนี้สามารถพบได้ในข้อโต้แย้ง "คำย่อระบบ" (system acronym) ซึ่งเสนอว่า เนื่องจากอักษร G ใน GIF ย่อมาจากคำว่า graphics ("กราฟิกส์") มันก็ควรจะออกเสียงด้วยหน่วยเสียง (phoneme) เดียวกัน ซึ่งคือ g หนัก ข้อโต้แย้งนี้บางครั้งประกอบมาด้วยคำเยาะเย้ยว่า ถ้าคำว่า GIF จะออกเสียงด้วย g เบา คำต้นของมันก็ควรจะออกเสียงว่า /ˈdʒræfɪks/ ("jraphics"; จราฟิกส์) ด้วย[15][16][17][18] ข้อโต้กลับสำหรับข้อโต้แย้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการออกเสียงอักษรย่อไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามคำรากของมัน เช่น อักษร u ในคำว่า scuba (/ˈskuːbə/ ( ฟังเสียง); "สคูบา")—ย่อมาจาก self-contained underwater breathing apparatus—ออกเสียงว่า /uː/ ("อู") ถึงแม้ว่าคำราก underwater จะออกเสียง /ʌ/[15] ("อัน-") เช่นเดียวกับกรณีของ NASA (National Aeronautics and Space Administration ออกเสียงว่า /ˈnæsə/ (
ฟังเสียง))[13][15]
อีกหนึ่งตัวอย่างของข้อโต้แย้งเชิง "ระบบ" คือการวิเคราะห์ความถี่ ซึ่งสำรวจว่าภาษาอังกฤษคำอื่น ๆ มีกี่คำที่ใช้การออกเสียง g หนัก หรือ เบา ในกรณีอื่น ๆ ซึ่งคล้ายกันกับบทวิเคราะห์ของไมเคิล ดาว[19] หลังสตีฟ วิลไฮท์ประกาศความคิดเห็นของเขาว่าเสียง g เบาเป็นรูปแบบที่ถูกต้องแบบเดียวเท่านั้น ได้มีการพูดคุยบนสื่อสังคมและในข่าวเกิดขึ้นอย่างมหาศาลเกี่ยวกับปัญหานี้จากทั้งสองฝ่าย[2] ในบทความของเคซี แชน (Casey Chan) เขียนให้กับ กิซโมโด โต้แย้งว่าวิลไฮท์ว่าผิด เนื่องจากเสียง g เบาที่ตามด้วย if ควรจะสะกดด้วยอักษร j เช่น "jiffy" ใน "Jiffy Lube" และ "be back in a jiffy" เช่นเดียวกับในบริษัทเนยถั่ว Jif[20]
ข้อโต้แย้งที่พบได้มากเป็นอันดับถัดมา สามารถพบได้ในบทวิเคราะห์ของ Marten van der Meulen ซึ่งอ้าง "ผู้ถือครองอำนาจ" (authority) ซึ่งมักหมายถึงสตีฟ วิลไฮท์ในฐานะผู้คิดค้นรูปแบบไฟล์[21] หลังสตีฟ วิลไฮท์ประกาศการสนับสนุนเสียง g เบา หลายคนถือว่าเขาเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดคำออกเสียงของคำนี้ในฐานะผู้สร้างสรรค์รูปแบบไฟล์ สตีฟ วิลไฮท์เป็น "ผู้มีอำนาจ" ในการกำหนดการออกเสียงคำว่า GIF ที่ถูกอ้างถึงมากที่สุด ด้วย 65.2 เปอร์เซ็นต์ของข้อโต้แย้งที่สำรวจ อ้างว่าผู้มีอำนาจเลือกคำออกเสียง g เบา[21] ในขณะที่บางส่วน รวมถึงเคซี แชน อ้างถึงประธานาธิบดี บารัก โอบามา ในการสนับสนุนเสียง g หนัก[20] ในขณะที่ที่เหลืออ้างพจนานุกรมต่าง ๆ มากมาย หรืออ้างซอฟต์แวร์ช่วยเหลืออย่าง ซีรี เป็นผู้มีอำนาจกำหนดการออกเสียง GIF[21]
ผลสำรวจ[แก้]
จำนวนผู้ใช้ที่สนับสนุนการออกเสียงของแต่ละคำ ตามที่ระบุในบทวิเคราะห์ของ Marten van der Meulen
ผลสำรวจในปี 2014 โดย แมชเชเบิล ซึ่งสำรวจผู้คนมากกว่า 30,000 คนทั่วโลก พบว่าเจ็ดในสิบเลือกออกเสียง g หนัก[22] บทวิเคราะห์ของ Marten van der Meulen พบว่าผู้ใช้ที่เข้าร่วมงานศึกษาของเขา 57.2% สนับสนุนเสียง g หนัก ในขณะที่ 31.8% เลือกเสียง g เบา นอกจากนี้ยังพบว่า 8.2% สนับสนุนการออกเสียงทั้งสองแบบ แต่เอียงไปทาง g เบามากกว่า และ 2.8% เลือกออกเสียงแต่ละตัวอักษรแยกกันเป็นพยางค์[23]
ผลสำรวจอย่างไม่เป็นทางการซึ่งสำรวจนักพัฒนาบน สแต็กโอเวอร์โฟลว์ พบว่าผู้ตอบผลสำรวจ 65.6% เลือกออกเสียง g หน้ก, 26.3% ออกเสียงเสียง g เบา, 6% ออกเสียงแต่ละตัวอักษรแยก และ 2% ไม่ได้ออกเสียงหนึ่งในสามแบบข้างต้น[24] อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์โดย ดิอีโคโนมิสต์ โต้แย้งว่าความต่างกันในผลสำรวจของแต่ละแหล่งมีมากเกินจริง อันเป็นผลจากความเอนเอียงในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง และยังให้ความเห็นว่าในขณะที่ประเทศที่ใช้เสียง g หนัก คิดเป็นถึง 45% ของประชากรโลก ผู้ตอบผลสำรวจจากประเทศเหล่านั้นกลับคิดเป็น 79% ของกลุ่มตัวอย่างในผลสำรวจ และหากปรับผลสำรวจตามขนาดประชากรของแต่ละประเทศแล้ว พบว่าเสียง g หนักก็ยังคงนำอยู่ แต่ถึงกระนั้น ก็นำอยู่ไม่มาก ที่ 44% ส่วน g เบาอยู่ที่ 32% และทำให้การออกเสียงแต่ละอักษรแยกกันสูงขึ้นมาที่ 21% ซึ่งรูปแบบการออกเสียงแยกทีละตัวอักษรนี้ พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชีย ซึ่งพบว่าผู้ตอบผลสำรวจชาวจีนกว่าครึ่งหนึ่ง และผู้ตอบผลสำรวจชาวเกาหลีใต้กว่า 70% เลือกออกเสียงแบบนี้ ส่วนประเทศพัฒนาแล้วโดยรวมมีแนวโน้มเลือกออกเสียง g หนักมากกว่า[4]
พจนานุกรม[แก้]
พจนานุกรมออนไลน์ ดิกชันนารีดอทคอม ระบุการออกเสียงทั้ง g หนักและเบา สำหรับคำว่า GIF โดย g หนัก เป็นการออกเสียงแบบหลัก[25] ในขณะที่ พจนานุกรมภาษาอังกฤษแบบอเมริกันของเคมบริดจ์ และ พจนานุกรมเคมบริดจ์สำหรับผู้เรียนระดับสูง ระบุการออกเสียงเฉพาะ g หนักเท่านั้น[26] พจนานุกรมออนไลน์ของ เมอร์เรียม-เวบสเตอร์[27] และ เลกซิโค ระบุการออกเสียงทั้งสองแบบ[28] ในฉบับปี 2005 ของ พจนานุกรมอเมริกันนิวออกซ์เฟิร์ด ระบุการออกเสียงแค่ g เบา[29] ส่วนในฉบับปี 2010 ของ พจนานุกรมภาษาอังกฤษของออกซ์เฟิร์ด ระบุการออกเสียงทั้งสองแบบ แต่เขียนการออกเสียงแบบ g เบา ไว้นำหน้า[30] พจนานุกรมภาษาฝรั่งเศส Petit Robert และ Petit Larousse เขียนแค่การออกเสียง [ʒif][31][32] ในพจนานุกรมภาษานอร์เวย์ของสถาบันภาษานอร์เวย์ ระบุการออกเสียงด้วย g หนัก ว่า [gifː][10]
เหตุการณ์[แก้]

ในเดือนพฤษภาคม 2013 สตีฟ วิลไฮท์ ได้รับรางวัลจากความสำเร็จตลอดช่วงชีวิต ของรางวัลเวบบี ซึ่งเชิดชูเกียรติความสำเร็จบนอินเทอร์เน็ต หลังได้รับรางวัล สตีฟ วิลไฮท์แสดงสไลด์ที่ระบุคำห้าคำที่เขียนว่า:
PRONOUNCED
"JIF"
NOT "GIF"
(มันอ่านว่า "จิฟ" ไม่ใช่ "กิฟ") ซึ่ง jif หมายถึงการออกเสียง g เบา[2] หลังการกล่าวสุนทรพจน์ สตีฟ วิลไฮท์ กล่าวกับ เดอะนิวยอร์กไทมส์ ว่า "พจนานุกรมภาษาอังกฤษออกซเฟิร์ดยอมรับการออกเสียงทั้งสองแบบ ซึ่งผิด มันต้องเป็นเสียง g เบา ... แค่นั้น จบ"[2][16]
ผู้เข้าร่วมพิธีมีเสียงตอบรับในทางบวก ต่อสุนทรพจน์สั้น ๆ ของสตีฟ วิลไฮท์ แต่บนโลกออนไลน์กลับเกิดข้อถกเถียงขึ้นมา ซึ่งบางส่วนโต้กลับการออกเสียงของเขา[33][34] Marten van der Meulen ชี้ให้เห็นว่านี่ "ดูเหมือนจะเป็นคนบัญญัติคำ (หรือให้ถูกต้องคือคำย่อ) คนแรก ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับประดิษฐกรรมของเขาเอง"[35] มีทวีตมากกว่า 17,000 ทวีตที่โพสต์หลังสุนทรพจน์ ทำให้ "GIF" กลายมาเป็นประเด็นยอดนิยมบนทวิตเตอร์[33] และมีบทความข่าวมากกว่า 50 บทความที่เขียนถึงเหตุการณ์ครั้งนี้[2] คอลัมเบียเจอร์นัลลิสม์รีวิว ชี้ให้เห็นในสามปีหลังจากพิธี ว่า การถกเถียงประเด็นนั้นดูจะพุ่งสูงสุดหลังสุนทรพจน์ของสตีฟ วิลไฮท์[34] บริษัทเนยถั่ว Jif ตอบทวีตหนึ่งซึ่งถามความรู้สึกของบริษัทหลังได้ฟังสุนทรพจน์ดังกล่าว ระบุว่า "พวกเรา nuts [สแลงแปลว่า "เกลียด", ตรงตัวแปลว่า "ถั่ว"] เขาในวันนี้จริง ๆ"[2] เจ็ดปีให้หลัง Jif จัดการแสดงสาธารณะร่วมกับ Giphy ผู้ให้บริการ GIF ทั้งสองบริษัทปล่อยแถลงการณ์ร่วม โต้แย้งว่าการออกเสียงที่ถูกต้องคือ g หนัก และปล่อยเนยถั่วรุ่นลิมิเต็ดที่ป้ายเขียนว่า "GIF" แทนที่ "JIF"[36]
ในเดือนตุลาคม 2013 เดอะนิวยอร์กไทมส์ ถูกวิพากษ์วิจารณ์เบา ๆ บนโซเชียลมีเดียจากบทความหนึ่งที่ขึ้นต้นว่า "GIF ซึ่งออกเสียงว่า jif เป็นรูปแบบไฟล์ภาพบีบอัดที่คิดค้นขึ้นในปี 1987"[37] บทความนั้นมีลิงก์ไปยังบทความก่อนหน้าจากในหนังสือพิมพ์ ที่ครอบคลุมถึงสุนทรพจน์ของสตีฟ วิลไฮท์ และคำพูดที่เขากล่าวกับเดอะนิวยอร์กไทมส์[2][37] ในเดือนธันวาคม 2013 อเล็กซ์ เทรเบค ผู้ดำเนินรายการเกมโชว์บนโทรทัศน์ เจพาร์ดี! ดึงดูดความสนใจจากสื่อ หลังคำใบ้สุดทัายของตอนหนึ่งของรายการ อ้างถึงการนำเสนอของสตีฟ วิลไฮท์ และความเห็นเกี่ยวกับการออกเสียง อเล็กซ์ เทรเบคอ่านคำตอบของผู้เข้าร่วมรายการโดยใช้เสียง g เบา เมื่อ "GIF" ปรากฏเป็นคำตอบที่ถูกต้องของผู้เข้าร่วมเกมทั้งสามคน[38] ก่อนหน้านี้ อเล็กซ์ เทรเบคเลือกออกเสียงคำนี้โดยแยกทีละตัวอักษร เพื่อให้เป็นกลางในข้อถกเถียงการออกเสียง[39]
ในเดือนมิถุนายน 2014 บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ณ ขณะนั้น ให้ความเห็นว่า GIF ควรจะออกเสียงด้วย g หนัก หลังประเด็นดังกล่าวโผล่มาในการสนทนากับเดวิด คาร์พ ผู้ก่อตั้งทัมเบลอร์ ไมลส์ คลี (Miles Klee) จาก เดอะเดลี่ดอท นำโพสต์หนึ่งบนทัมเบลอร์โดยทำเนียบขาวจากเดือนเมษายนปีก่อนหน้ามาทำให้เป็นจุดสนใจ ซึ่งโพสต์นั้นมีภาพอินโฟกราฟิกเชิงขบขันที่ระบุว่า "animated GIFs (hard 'g')" (ภาพเคลื่อนไหว GIF ([ออกเสียง] g หนัก))[40]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Biersdorfer, J. D. (January 12, 2022). "How to make your own animated GIFs". The New York Times. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2022. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 O'Leary, Amy (May 23, 2013). "Battle over GIF pronunciation erupts". The New York Times. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2021. สืบค้นเมื่อ November 28, 2021.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Greenfield, Rebecca (February 1, 2011). "Tech etymology: animated GIF". The Atlantic. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2021. สืบค้นเมื่อ November 28, 2021.
- ↑ 4.0 4.1 "How do you pronounce GIF?". The Economist. June 29, 2017. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2021. สืบค้นเมื่อ November 28, 2021.
- ↑ Webb, Tiger (August 9, 2018). "Is it pronounced GIF or JIF? And why do we care?". ABC News. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 29, 2021. สืบค้นเมื่อ December 28, 2021.
- ↑ Mercier, Jacques (June 12, 2016). "Faut-il dire «guif» ou «jif» ?". Le Figaro (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ June 15, 2022.
- ↑ Fagyal, Zsuzsanna; Kibbee, Douglas; Jenkins, Fred (2006). French: A Linguistic Introduction. Cambridge University Press. p. 44. ISBN 978-0-521-82144-5.
- ↑ Dumazet, Mathilde (June 30, 2017). "La prononciation du mot GIF dépend du pays dans lequel vous habitez" [The pronunciation of the word GIF depends on the country you live in]. Slate (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 18, 2022. สืบค้นเมื่อ February 21, 2022.
- ↑ Ryding, Karin C. (June 2014). "Arabic phonology". Arabic: A Linguistic Introduction. Cambridge University Press. pp. 18–19. doi:10.1017/CBO9781139151016. ISBN 9781139151016. OL 34503724M.
- ↑ 10.0 10.1 "gif". Det Norske Akademis ordbok (ภาษานอร์เวย์). Norwegian Academy for Language and Literature. สืบค้นเมื่อ April 12, 2022.
- ↑ Kristoffersen, Gjert (December 15, 2007). "Word phonology". The Phonology of Norwegian. The Phonology of the World's Languages. Oxford University Press. p. 112. ISBN 9780199229321.
- ↑ Dow, Michael (August 31, 2020). "It's gif and gif: The English lexicon goes both ways". mcdowlinguist.github.io. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2020. สืบค้นเมื่อ December 28, 2021.
- ↑ 13.0 13.1 McCulloch, Gretchen (December 24, 2021). "Why the pronunciation of GIF really can go either way". Mental Floss. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 24, 2021. สืบค้นเมื่อ December 24, 2021.
- ↑ van der Meulen 2019, pp. 46, 49.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 van der Meulen 2019, p. 46.
- ↑ 16.0 16.1 Locker, Melissa (February 26, 2020). "Here's a timeline of the debate about how to pronounce GIF". Time. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2022. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
- ↑ Rodriguez, Salvador (June 15, 2012). "GIF's 25th birthday: Is it pronounced gif or jif?". Los Angeles Times. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2021. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
- ↑ Hatfield, Daemon (May 2, 2017). "Most people pronounce GIF as ghif". IGN. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 12, 2020. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
- ↑ van der Meulen 2019, p. 49.
- ↑ 20.0 20.1 Chan, Casey (May 21, 2013). "The creator of the GIF says it's pronounced JIF. He is wrong". Gizmodo. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2021. สืบค้นเมื่อ November 28, 2021.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 van der Meulen 2019, p. 48.
- ↑ Buck, Stephanie (October 21, 2014). "70 percent of people worldwide pronounce GIF with a hard g". Mashable. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2021. สืบค้นเมื่อ December 24, 2021.
- ↑ van der Meulen 2019, p. 47.
- ↑ "Developer survey results". Stack Overflow. 2017. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 18, 2022. สืบค้นเมื่อ February 21, 2022.
- ↑ "GIF". Dictionary.com Unabridged. Random House. สืบค้นเมื่อ November 28, 2021.
- ↑ "GIF". Cambridge Dictionary (Online). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 27, 2014. สืบค้นเมื่อ February 19, 2014.
- ↑ "GIF". Merriam-Webster (Online). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 22, 2013. สืบค้นเมื่อ June 6, 2013.
- ↑ "GIF". Lexico (Online). Oxford University Press. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 12, 2014. สืบค้นเมื่อ October 7, 2014.
- ↑ The New Oxford American Dictionary 2005, p. 711.
- ↑ Oxford Dictionary of English 2010, p. 737.
- ↑ "gif". Petit Robert (Online) (ภาษาฝรั่งเศส). Dictionnaires Le Robert. สืบค้นเมื่อ March 18, 2022.
- ↑ "gif". Petit Larousse (Online) (ภาษาฝรั่งเศส). Éditions Larousse. สืบค้นเมื่อ March 18, 2022.
- ↑ 33.0 33.1 Gross, Doug (May 22, 2013). "It's settled! Creator tells us how to pronounce GIF". CNN. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2022. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
- ↑ 34.0 34.1 Perlman, Merrill (July 18, 2016). "The great GIF debate". Columbia Journalism Review. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2020. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
- ↑ van der Meulen 2019, p. 45.
- ↑ Ritzen, Stacey (February 25, 2020). "Jif peanut butter and Giphy have joined forces on how to pronounce GIF". The Daily Dot. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 2021. สืบค้นเมื่อ November 28, 2021.
- ↑ 37.0 37.1 Bump, Philip (October 22, 2013). "If you pronounce GIF with a hard g, you must be new to the internet". The Atlantic. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2014. สืบค้นเมื่อ November 28, 2021.
- ↑ Rothberg, Daniel (December 4, 2013). "Jeopardy wades into GIF pronunciation battle". Los Angeles Times. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 2021. สืบค้นเมื่อ November 28, 2021.
- ↑ Dewey, Caitlin (December 4, 2013). "Jeopardy has conclusively settled the GIF pronunciation war". The Washington Post. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2022. สืบค้นเมื่อ March 3, 2022.
- ↑ Klee, Miles (June 13, 2014). "Obama to America: Pronounce GIF with a hard g". The Daily Dot. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 2021. สืบค้นเมื่อ November 28, 2021.
บรรณานุกรม[แก้]
- van der Meulen, Marten (May 22, 2019). "Obama, SCUBA or gift?: Authority and argumentation in online discussion on the pronunciation of GIF". English Today. 36 (1): 45–50. doi:10.1017/S0266078419000142.
- McKean, Erin, บ.ก. (2005). The New Oxford American Dictionary (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-517077-1. OCLC 123434455.
- Stevenson, Angus, บ.ก. (2010). Oxford Dictionary of English (3rd ed.). Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-957112-3. OCLC 729551189.