การวัดรังสี
หน้าตา
การวัดรังสี หรือ เรดิโอเมตรี (radiometry) ในทัศนศาสตร์ หมายถึงการวัด คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยทั่วไป ซึ่งรวมถึงแสงที่ตามองเห็น
การวัดรังสีมีความสำคัญในทางดาราศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์วิทยุ และยังมีความสำคัญในการรับรู้จากระยะไกลอีกด้วย โดยทั่วไปแล้วในทางดาราศาสตร์นั้นเมื่อพูดถึง "การวัดแสง" จะหมายถึงการวัดรังสี แต่เป็นคนละความหมายกับ "การวัดแสง" ในทางทัศนศาสตร์ทั่วไปซึ่งโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับความสว่างในแง่ที่ตาของมนุษย์มองเห็นรับรู้ได้ ซึ่งต่างจากความเข้มสัมบูรณ์ของรังสี
การวัดรังสีเชิงสเปกตรัม (spectroradiometry) เป็นการวัดความเข้มของการแผ่รังสีสัมบูรณ์ในแต่ละช่วงความยาวคลื่น[1]
ค่าและหน่วยวัด
[แก้]การวัดรังสีทำด้วยค่าต่าง ๆ ซึ่งมีความหมายและหน่วยวัดที่ใช้ต่างกันดังนี้
ปริมาณ | ภาษาอังกฤษ | สัญลักษณ์ | หน่วยวัด | สัญลักษณ์หน่วยวัด | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
พลังงานการแผ่รังสี | radiant energy | Qe | จูล | J | พลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า |
ฟลักซ์การแผ่รังสี | radiant flux | Φe | วัตต์ (จูลต่อวินาที) | W (= J·s-1) | พลังงานรังสีต่อหน่วยเวลา |
ความเข้มของการแผ่รังสี | radiant intensity | Ie | วัตต์ต่อสเตอเรเดียน | W·sr-1 | ฟลักซ์การแผ่รังสีต่อหน่วยมุมตัน |
ความแผ่รังสี | radiance | Le | วัตต์ต่อสเตอเรเดียนต่อตารางเมตร | W·sr-1·m-2 | ฟลักซ์การแผ่รังสีต่อหน่วยพื้นที่ต่อหน่วยมุมตัน |
ความรับอาบรังสี | irradiance | Ee | วัตต์ต่อตารางเมตร | W·m-2 | ฟลักซ์การแผ่รังสีต่อหน่วยพื้นที่ที่แผ่ลงบนพื้นผิว |
ความเปล่งรังสี | radiant exitance | Me | วัตต์ต่อตารางเมตร | W·m-2 | ฟลักซ์การแผ่รังสีต่อหน่วยพื้นที่ที่เปล่งออกมา |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Leslie D. Stroebel and Richard D. Zakia (1993). Focal Encyclopedia of Photography. Focal Press. ISBN 0240514173.