การลอบสังหารอับราฮัม ลินคอล์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การลอบสังหารอับราฮัม ลินคอล์น
เป็นส่วนหนึ่งของสงครามกลางเมืองอเมริกา
Lincoln assassination slide c1900 - Restoration.jpg
สถานที่โรงละครฟอร์ด, วอชิงตัน ดี.ซี.
วันที่14 เมษายน 1865; 157 ปีก่อน (1865-04-14)
22:15 น.
เป้าหมาย
ประเภท
  • การสังหารทางการเมือง
  • การยิง
  • การแทง
อาวุธ
ตายอับราฮัม ลินคอล์น (เสียชีวิตในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ.1865 ณ เวลา 7:22)
เจ็บ
ผู้ก่อเหตุจอห์น วิลค์ส บูธ กับผู้สมรู้ร่วมคิด
เหตุจูงใจการแก้แค้นของสมาพันธรัฐอเมริกา

อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีคนที่ 16 แห่งสหรัฐ ถูกลอบสังหารโดยจอห์น วิลค์ส บูธ นักแสดงบนเวที เมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ.1865 ในตอนที่กำลังเล่นบท อาวอเมริกันเคอซิน (Our American Cousin) ที่โรงละครฟอร์ด (Ford's theatre) ในวอชิงตัน ดี.ซี. โดยอับราฮัม ลินคอล์นถูกยิงที่หัว[2] แล้วเสียชีวิต ณ เวลา 7:22 น. ในวันต่อมาที่บ้านปีเตอร์เซน (Petersen House) ที่อยู่ตรงข้ามโรงละคร.[3] เขาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐที่ถูกลอบสังหารคนแรก[4]

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตอนที่สงครามกลางเมืองอเมริกันเกือบสิ้นสุดลง การลอบสังหารเป็นส่วนหนึ่งของแผนสมคบคิดโดยบูธ เพื่อช่วยฟื้นฟูฝ่ายสมาพันธ์โดยการกำจัดเจ้าหน้าที่ที่สำคัญของรัฐบาลกลางสหรัฐทั้ง 3 คน

เลวิส โพเวลล์ และเดวิด เฮโรลด์ สองผู้สมรู้ร่วมคิดถูกวางแผนให้ฆ่าวิลเลียม เอช. ซูเวิร์ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ และจอร์จ แอตเซอรอดต์ (George Atzerodt) ถูกวางแผนให้ฆ่าแอนดรูว์ จอห์นสัน รองประธานาธิบดีสหรัฐ หลังจากลินคอล์นเสียชีวิต แผนนั้นกลับล้มเหลว: ซูเวิร์ดแค่บาดเจ็บ ส่วนจอห์นสันที่เกือบจะเป็นผู้โจมตีนั้น สูญเสียความกล้า (lost his nerve). หลังจากการหนีนั้น บูธถูกฆ่าในช่วงที่ถูกล่าใน 12 วัน ส่วนโพเวลล์, เฮโรลด์, แอตเซอรอดท์ และแมรี ซูรัตต์ถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ.

เบื้องหลัง[แก้]

เหตุจูงใจ[แก้]

ข้อมูลเพิ่มเติม: John Wilkes Booth § Theories of Booth's motivation

มีหลายทฤษฎีที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของบูธ. เช่นในจดหมายที่ส่งไปให้แม่ เขาอยากให้ฝ่ายใต้แก้แค้น[5] ดอริส เคิร์นส กูดวิน (Doris Kearns Goodwin) กล่าวว่าเขาเป็นศัตรูกับเอ็ดวิน บูธ พี่ชายของเขา เนี่องจากเขาจงรักภักดีต่อสหภาพ[6]

ในวันที่ 11 เมษายน บูธเข้าร่วมงานปราศัยของลินคอล์นที่ทำเนียบขาว โดยที่ลินคอล์นกำลังสนับสนุนสิทธิคนผิวดำ;[7] บูธกล่าวว่า "นั่นหมายถึงสิทธิพลเมืองของพวกนิโกร ... นี่จะเป็นคำพูดสุดท้ายที่เขาจะกล่าวถึงมัน."

การเตรียมการ[แก้]

โรงละครฟอร์ด

ในขณะที่กำลังเยี่ยมชมโรงละครฟอร์ดช่วงตอนเที่ยง บูธรู้ว่าลินคอล์นกับแกรนต์จะมาดู อาวอเมริกันเคอซิน ในคืนนั้น จึงเป็นโอกาสเหมาะที่จะโจมตีลินคอล์น[8][9] เขาไปที่หอพักของแมรี ซูร์รัตต์ในวอชิงตัน ดีซี และบอกให้เธอส่งพัสดุไปที่โรงเตี๊ยมในซูร์รัตต์สวิลล์, รัฐแมรีแลนด์ (Surrattsville, Maryland) และเขาก็บอกเธอว่าให้เธอบอกหลุยส์ เจ. ไวช์มันน์ (Louis J. Weichmann) ไว้ว่าให้เตรียมปืนและกระสุนด้วย[8]

ผู้สมรู้ร่วมคิดมาพบกันในเวลา 19:00 น. โดยบูธสั่งให้เลวิส โพเวลล์ให้ฆ่าวิลเลียม เอช. ซูเวิร์ด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่บ้านของเขา, จอร์จ แอตเซอโรดต์ (George Atzerodt) ให้ฆ่าแอนดรูว์ จอห์นสัน รองประธานาธิบดีสหรัฐที่โรงแรมเคิร์กวูด และเดวิด อี. เฮโรลด์ (David E. Herold) ให้นำโพเวลล์ (ผู้ที่ไม่รู้จักเมืองวอชิงตัน) ไปที่บ้านของซูเวิร์ด แล้วค่อยนัดพบกับบูธที่แมรีแลนด์

การลอบสังหาร[แก้]

ลินคอล์นมาที่โรงละคร[แก้]

ลินคอล์นนั่งที่เก้าอี้ที่ถูกจองไว้สำหรับเขาโดยเฉพาะ[10][11] จนถึงเวลาหนึ่ง แมรี ลินคอล์น ได้กระซิบกับลินคอล์นว่า "มิสแฮร์ริสจะคิดเกี่ยวกับการเดินออกมาเที่ยวของเราอย่างไร?" ลินคอล์นตอบว่า "เธอคงไม่คิดอย่างนั้น"[8]

บูธยิงลินคอล์น[แก้]

ภาพบูธยิงใส่ลินคอล์นในป้ายปีค.ศ.1865 ซึ่งแรธโบนลุกขึ้นหลังจากที่บูธยิง; ตามความจริงแล้ว แรธโบนไม่รู้สึกตัวจนกระทั่งเขาได้ยินเสียงปืน

บูธจำบทละครจนขึ้นใจ และรอเวลาที่จะยิงพร้อมกับเสียงหัวเราะในโรงละคร และลินคอล์นกำลังหัวเราะในตอนที่เขาถูกยิง.[12]:96

บูธเปิดประตู เดินไปข้างหน้า แล้วยิงลินคอล์นด้วยปืนเดอริงเกอร์.[2] กระสุนปืนเข้าไปที่กระโหลกฝั่งซ้ายด้านหลังหูซ้ายของลินคอล์น ทะลุสมอง และหยุดที่บริเวณใกล้หน้ากระโหลกตรงส่วนกระดูกหน้าผาก.[b][15]ลินคอล์นทรุดบนเก้าอี้แล้วล้มลง[17][18] บูธตะโกนคำหนึ่ง ซึ่งแรธโบนคิดว่าเสียงพูดเหมือนกับคำว่า "อิสรภาพ!"[19]

บูธหลบหนี[แก้]

แรธโบนลุกจากที่นั่งและต่อสู้กับบูธ ที่ทิ้งปืนและชักมีดออกมา และแทงแรธโบนที่ปลายแขนซ้าย แล้วแรธโบนก็จับบูธในตอนที่เขากำลังจะกระโดดจากกล่องไปที่เวที ซึ่งสูง 12 ฟุต[20] ซึ่งทำให้เขาลงเซด้วยเท้าซ้าย ในตอนที่เขาเดินข้ามเวที ผู้ชมคิดว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการแสดง.

บูธถือดาบอาบเลือดแล้วจ่อที่หัวของเขา แล้วตะโกนบางอย่างให้ผู้รับชม. ส่วนใหญ่กล่าวว่าเขาตะโกนคำขวัญของรัฐเวอร์จิเนียว่า ซิกเซมเปอร์ไทรันนิส! ("Sic semper tyrannis; Thus always to tyrants") ในตอนที่อยู่บนกล่องรับชมหรือบนเวที พยานมีข้อโต้แย้ง[21] ส่วนใหญ่ได้ยินเขาพูดว่า ซิกเซมเปอร์ไทรันนิส! แต่อีกกลุ่ม – ซึ่งรวมไปถึงตัวเขาเอง – กล่าวว่าเขากล่าวแค่ ซิกเซมเปอร์![22][23]

บูธวิ่งข้ามเวทีแล้วออกทางประตูที่อยู่ด้า่นข้าง[24][25]

ลินคอล์นเสียชีวิต[แก้]

นักผ่าตัดชาลส์ เลลี

ชาลส์ เลลี (Charles Leale) ทหารผ่าตัดวัยหนุ่ม แทรกผ่านผู้คนเข้าไปที่กล่องของลินคอล์น แต่ประตูยังไม่เปิด. แรธโบนที่อยู่ในกล่องจึงนำกำแพงไม้ที่บูธใช้ปิดประตูออก [9]

เลลีเข้าไปในกล่องแล้วพบลินคอล์นนั่งโดยที่หัวเอียงไปทางขวา[14] ในขณะที่แมรีกอดเขาและร้องไห้[26][27] เลลีคิดว่าเขาถูกแทง จึงทำการย้ายเขาไปวางบนพื้น.ในขณะเดียวกัน ชาลส์ แซบิน ทาฟต์ (Charles Sabin Taft) แพทย์อีกคน ได้ลงจากเวทีไปที่กล่องของลินคอล์น

หลังจากทาฟ และเลย์ลีเปิดเสื้อของอินคอล์น แล้วไม่พบแผลที่ถูกแทง เขาพบว่าลูกกระสุนอยู่ลึกเกินไปที่จะถอนออกมา แต่ยังคงเอาก้อนกระสุนออกได้ ซึ่งทำให้ลินคอล์นหายใจสะดวกขึ้น[9]

เลย์ลี, ทาฟ และอัลเบิร์ท คิง หมออีกคน ตัดสินใจว่าลินคอล์นควรถูกย้าย การขี่รถม้าไปทำเนียบขาวนั้นอันตรายเกินไป หลังพิจารณาว่าซาลูนของปีเตอร์ ทัลทาวุลล์ (Peter Taltavulls) พวกเขาจึงพาลินคอล์นไปบ้านที่อยู่แถวนั้น [28] โดยมีชายคนหนึ่งแนะนำให้ไปบ้านปีเตอร์เซน.[29]

ลินคอล์น เสียชีวิต ณ เวลา 7:22 น. ในวันที่ 15 เมษายน[3][30][31]

การตอบสนอง[แก้]

ลินคอล์นขึ้นสวรรค์ โดยที่จอร์จ วอชิงตันให้มงกุฎที่มีพวงมาลัย. ไม่ทราบชื่อศิลปิน

มีการไว้อาลัยทั้งฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้[32] และทั่วโลก[33] รัฐบาลหลายประเทศได้ประกาศไว้อาลัยในวันที่ 15 เมษายน[34][35]

วอลต์ วิทแมน (Walt Whitman) นักกวี ได้แต่งกวีเรื่อง "เวนไลเลคส์ลาสอินเดอะดอร์ยาร์ดบลูมด์" (When Lilacs Last in the Dooryard Bloom'd), "โอกัปตัน! มายกัปตัน!" (O Captain! My Captain!) และอีกสองกวีเพื่อสรรเสริญลินคอล์น[36][37]

จอห์น รัสเซลล์ เอิร์ลรัสเซลล์ที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและเครือจักรภพ ได้กล่าวว่าการเสียชีวิตของลินคอล์นนั้นเป็น "ความสูญเสียอย่างยิ่ง." (sad calamity)[35] ส่วนอี้ซิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีนกล่าวว่าตนเอง "ช็อคและตกใจอย่างอธิบายไม่ได้".[34]

การจับผู้สมรู้ร่วมคิด[แก้]

เส้นทางหนีของบูธ

บูธกับเฮโรลด์[แก้]

หลังออกจากโรงละครฟอร์ดในครึ่งชั่วโมง บูธข้ามสะพานเนวียาร์ดไปที่รัฐแมรีแลนด์.[8] ทหารถามว่าเขาจะไปไหน; บูธกล่าวว่าเขาจะกลับบ้านไปที่ใกล้ ๆ ตัวเมืองชาลส์ (town of Charles) ถึงแม้ว่าเป็นเรื่องต้องห้ามที่จะให้ประชาชนข้ามสะพานตอนหลัง 21:00 น. ทหารก็อนุญาตให้เขาผ่านได้[38] เดวิด เฮโรลด์ข้ามสะพานเดียวกันภายในเวลาครึ่งชั่วโมงต่อมา[8] และร่วมเดินทางกับบูธ.[8]หลังจากเอาอาวุธและพัสดุที่เก็บไว้ที่ซูรัตส์วิลล์แล้ว ทั้งเฮโรลด์และบูธก็ไปที่บ้านของซามูเอล เอ. มัดด์ หมอประจำท้องถิ่นที่ใส่เฝือกที่ขาและทำไม้ค้ำให้บูธ[8]

หลังจากอยู่ที่บ้านของมัดด์ไปหนึ่งวัน บูธกับเฮโรลด์ได้จ้ายชายคนหนึ่งเพื่อนำพาพวกเขาไปที่บ้านของซามูเอล คอกซ์[8] หลังจากนั้น คอกซ์จึงพาพวกเขาไปกับโทมัส โจนส์ ไปซ่อนที่บึงเซคิอาฮ์ (Zekiah Swamp) เป็นเวลาห้าวัน จนกว่าพวกเขาจะข้ามแม่น้ำโพโตแมค (Potomac River)[8]

การล่าผู้สมรู้ร่วมคิดกลายเป็นการล่าครั้งใหญ่ที่สุดของประวัติศาสตร์สหรัฐ ซึ่งมีเอ็ดวิน เอ็ม. สแตนตันเป็นผู้ดำเนินปฏิบัติการนี้[39] โดยตั้งค่าบูธไว้ที่ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ และ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับเฮโรลด์และจอห์น ซูรัตต์[40]

บูธกับเฮโรลด์กำลังหลับอยู่ในฟาร์มของแกรเรตต์ (Garrett's farm) ในวันที่ 26 เมษายน ในขณะที่ทหารจาก กองทหารม้านิวยอร์กที่ 16ได้มาล้อมยุ้งฉาง แล้วขู่ที่จะเผาทีนี่ เฮโรลด์ยอมแพ้ แต่บูธพูดว่า "ัผมจะไม่ให้พวกนายจับเป็นหรอก!"[8] พวกทหารจึงจุดไฟเผายุ้งฉาง[8] และบูธคลานไปข้างหลัง

นายตำรวจบอสตัน คอร์เบตต์ คลานเข้าไปข้างหลังยุ้งฉาง แล้วยิงบูธ[41] ซึ่งทำให้ไขสันหลังขาด[8] บูธถูกขนออกมา และทหารให้น้ำที่ปากของเขา โดยเขาคายออกเพราะกลืนไม่ได้. บูธบอกับทหารว่า "บอกแม่ผมด้วยว่าผมตายเพื่อประเทศ"[8][42] ในตอนแรก คอร์เบตต์ถูกจับเพราะไม่เชื่อฟังเจ้าหน้าที่ แต่หลังจากนั้นจึงถูกปล่อยตัวแล้วถูกยกย่องเป็นวีรบุรุษ[12]

การสอบสวนและประหารชีวิต[แก้]

มีหลายคนถูกจับ ซึ่งรวมไปถึงผู้สมรู้ร่วมคิดกับใครก็ตามที่มีการติดต่อกับบูธหรือเฮโรลด์ในตอนที่พวกเขากำลังหนี โดยรายชื่อได้รวมไปถึงหลุยส์ เจ. ไวช์มันน์ คนพักที่บ้านของคุณนายซูร์รัตต์; จูเนียส พี่หรือน้องชายของบูธ; จอห์น ที. ฟอร์ด เจ้าของโรงละคร; เจมส์ พัมฟรีย์ ชายที่บูธจ้างม้าของเขา; จอห์น เอ็ม. ลอยด์ (John M. Lloyd) เจ้าของโรงเตี๊ยม และซามูเอล คอกซ์ กับ โทมัส เอ. โจนส์ ที่ช่วยบูธกับเฮโรลด์ข้ามเดอะโพโตแมค[43]

ทุกคนถูกปล่อยตัว ยกเว้น:[43]

ในการสืบสวนเจ็ดสัปดาห์ที่รวมพยานทั้ง 366 คน. ผู้ต้องหาทั้งหมดถูกตัดสินให้มีความผิดในวันที่ 30 มิถุนายน. แมรี ซูร์รัตต์, เลวิส โพเวลล์, เดวิด เฮโรลด์ และจอร์จ แอตเซอรอดต์ ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ ส่วนซามูเอล มัดด์, ซามูเอล อาร์โนลด์ และไมเคิล โอเลาเลน ถูกตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิต[44] เอ็ดมัน สแปนเลอร์ ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 6 ปี

แมรี ซูรัตต์, โพเวลล์, เฮโรลด์ และแอตเซอรอดด์ถูกแขวนคอที่Old Arsenal Penitentiary ในวันที่ 7 กรกฎาคม [8] แมรี ซูรัตต์ เป็นผู้หญิงคนแรกที่ถูกประหารชีวิตโดยรัฐบาลสหรัฐ[45] โอเลาเลนเสียชีวิตในคุกเมื่อปีค.ศ.1867 ส่วนมัดด์, อาร์โนลด์ และสแปงเลอร์ถูกอภัยโทษโดยจอห์นสันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1869[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. Burroughs was also known as "John Peanut", "Peanut John", John Bohran, and other aliases.[1]
  2. Though the steel ball Booth used as a bullet was of a .41 caliber, the derringer type was a small, easily concealable gun known to be inaccurate and usually just used in close quarters.[13] The bullet most probably passed mainly through the left side of the brain causing massive damage including the skull fractures, hemorrhaging, and secondary severe edema (or swelling of the brain that occurred after the initial injury). While Dr. Leale's notes mention Lincoln's bulging right eye,[14] the autopsy only specifically states the damage to the left side of the brain.[15][16]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Evidence
  2. 2.0 2.1 Abel, E. Lawrence (2015). A Finger in Lincoln's Brain: What Modern Science Reveals about Lincoln, His Assassination, and Its Aftermath. ABC-CLIO. p. 63. ISBN 9781440831195. Forensic evidence clearly indicates Booth could not have fired at point-blank range ... At a distance of three or more feet, the gunshot would not leave any stippling or any other residues on the surface of Lincoln's head ... Dr. Robert Stone, the Lincoln's' family physician, was explicit: "The hair or scalp (on Lincoln's head) was not in the least burn[t]."
  3. 3.0 3.1 Richard A. R. Fraser, MD (February–March 1995). "How Did Lincoln Die?". American Heritage. 46 (1).
  4. "Lincoln Shot at Ford's Theater".
  5. Kauffman, John W. (December 18, 2007). American Brutus: John Wilkes Booth and the Lincoln Conspiracies. Random House. p. 252. ISBN 9780307430618. "...that I have not a single selfish motive to spur me on to this, nothing save the sacred duty, I feel I owe the cause I love, the cause of the South.
  6. Goodwin, Doris Kearns (October 19, 2010). My Thoughts Be Bloody: The Bitter Rivalry Between Edwin and John Wilkes Booth That Led to an American Tragedy (Foreword). Simon & Schuster. ISBN 9781416586166.
  7. "Last Public Address". Speeches and Writings. Abraham Lincoln Online. April 11, 1865. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-06. สืบค้นเมื่อ 2008-09-15.
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 Swanson, James. Manhunt: The 12-Day Chase for Lincoln's Killer. Harper Collins, 2006. ISBN 978-0-06-051849-3
  9. 9.0 9.1 9.2 Steers, Edward. Blood on the Moon: The Assassination of Abraham Lincoln. University Press of Kentucky, 2001. ISBN 978-0-8131-9151-5
  10. Sneller, Rhoda; Sneller, PhD, Lowell. "Lincoln Assassination Rocking Chair". สืบค้นเมื่อ August 26, 2017. Theatre employee Joe Simms concurred ... saying, 'I saw Mr. Harry Ford and another gentleman fixing up the box. Mr. Ford told me to go to his bed-room and get a rocking chair, and bring it down and put it in the President's box ...' James L. Maddox, another theatre worker, remembered Simms carrying the rocker into the building on his head. 'I had not seen that chair in the box this season; the last time I saw it before that afternoon was in the winter of 1863, when it was used by the President on his first visit to the theater.'
  11. "Curating & Preserving The Lincoln Rocker". The Henry Ford Museum. สืบค้นเมื่อ August 26, 2017.
  12. 12.0 12.1 Goodrich, Thomas (2006). The Darkest Dawn: Lincoln, Booth, and the Great American Tragedy. Indiana University Press. ISBN 9780253218896.
  13. Abel, E. Lawrence (2015). A Finger in Lincoln's Brain: What Modern Science Reveals about Lincoln, His Assassination, and Its Aftermath. ABC-CLIO. Chapter 4.
  14. 14.0 14.1 Leale, Charles A. "Report of Dr. Charles A. Leale on Assassination, April 15, 1865 (Page 5)". papersofabrahamlincoln.org. The Papers of Abraham Lincoln, Abraham Lincoln Presidential Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2017. สืบค้นเมื่อ August 27, 2017. Mr. Lincoln was seated in a high backed arm chair with his head leaning towards his right side supported by Mrs. Lincoln
  15. 15.0 15.1 Mackowiak, Phillip (November 29, 2013). "Would Lincoln Have Survived If He Was Shot Today?". The Atlantic.
  16. Staff. "The autopsy of President Abraham Lincoln". United States National Library of Medicine. สืบค้นเมื่อ August 30, 2017.
  17. "NPS Historical Handbook: Ford's Theatre". nps.gov. National Park Service. 2002. สืบค้นเมื่อ August 26, 2017. The President slumped forward in his chair, and then backward, never to regain consciousness.
  18. Kaplan, Debbie Abrams (April 10, 2015). "President Lincoln's slaying 150 years ago recalled at Ford's Theatre". Los Angeles Times.
  19. "President Lincoln is Shot, 1865". EyeWitnesstoHistory. Ibis Communications. สืบค้นเมื่อ August 27, 2017. while I was intently observing the proceedings upon the stage, with my back toward the door, I heard the discharge of a pistol behind me, and, looking round, saw through the smoke a man between the door and the President. The distance from the door to where the President sat was about four feet. At the same time I heard the man shout some word, which I thought was 'Freedom!'
  20. Lincoln Assassination, History Channel
  21. Goodwin, Doris Kearns. Team of Rivals: the political genius of Abraham Lincoln. Simon and Schuster, New York, 2005. ISBN 978-0-684-82490-1
  22. Booth, John Wilkes (April 1865). "John Wilkes Booth's Diary". Roger J. Norton. สืบค้นเมื่อ December 16, 2017.
  23. "TimesMachine April 15, 1865". The New York Times.
  24. Bleyer, Bill (June 2012). "1906 Letter Tells What Five in Family Saw at Theatre April 14, 1865". Civil War News. Historical Publications Inc (Kathryn Jorgensen). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2014. สืบค้นเมื่อ May 2, 2014.
  25. Timothy S. Good, บ.ก. (1995). We Saw Lincoln Shot: One Hundred Eyewitness Accounts (quoting Katherine M. Evans interview from April 1915 New York Tribune). University Press of Mississippi. pp. 148–9.
  26. Leale, Charles A. "Report of Dr. Charles A. Leale on Assassination, April 15, 1865 (Page 6)". papersofabrahamlincoln.org. The Papers of Abraham Lincoln, Abraham Lincoln Presidential Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2015. สืบค้นเมื่อ August 26, 2017.
  27. John O'Connor (June 5, 2012). "Report of first doctor to reach shot Lincoln found". Associated Press. สืบค้นเมื่อ August 26, 2017.
  28. Blower, Janis (March 14, 2013). "Geordie carried the dying U.S. president". South Shields Gazette. England: shieldsgazette.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-13. สืบค้นเมื่อ October 26, 2014.
  29. "Henry Safford". rogerjnorton.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 1, 2011. สืบค้นเมื่อ May 28, 2011.
  30. Bain, Robert T. (2005). Lincoln's Last Battleground: A Tragic Night Recalled. AuthorHouse. p. 6. ISBN 9781467029919.
  31. Emerson, Jason (2012). Mary Lincoln's Insanity Case: A Documentary History. University of Illinois Press. p. 3. ISBN 9780252037078.
  32. Sandburg, Carl. Abraham Lincoln: The War Years IV. Harcourt, Brace & World, 1936. OCLC 46381986
  33. Ford, Matt (April 14, 2015). "How the World Mourned Lincoln". The Atlantic.
  34. 34.0 34.1 Northam, Jackie (April 15, 2015). "Documents Show Global Outpouring of Grief Over Lincoln's Assassination". NPR. สืบค้นเมื่อ May 6, 2016.
  35. 35.0 35.1 Marrs, Aaron (December 12, 2011). "International Reaction to Lincoln's Death". U.S. Department of State, Office of the Historian. สืบค้นเมื่อ May 6, 2016.
  36. Staff. "The Walt Whitman Archive – Published Works: O Captain! My Captain!". www.whitmanarchive.org. Center for Digital Research (University of Nebraska-Lincoln). สืบค้นเมื่อ January 22, 2017.
  37. Peck, Garrett (2015). Walt Whitman in Washington, D.C.: The Civil War and America's Great Poet. Charleston, SC: The History Press. pp. 118–23. ISBN 978-1-62619-973-6.
  38. O'Reilly, Bill (2011). Killing Lincoln. Henry Holt & Company, LLC. p. 215.
  39. Martelle, Scott (2015). The Madman and the Assassin: The Strange Life of Boston Corbett, the Man Who Killed John Wilkes Booth. Chicago Review Press. p. 87.
  40. "$100,000 Reward!". CivilWar@Smithsonian. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ October 3, 2017.
  41. "The Death of John Wilkes Booth, 1865". Eyewitness to History/Ibis Communications. สืบค้นเมื่อ August 16, 2012. (Quoting Lieutenant Edward Doherty, officer in charge of the soldiers who captured Booth)
  42. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ TownsendLifeBooth
  43. 43.0 43.1 Kunhardt, Dorothy Meserve, and Kunhardt Jr., Phillip B. Twenty Days. Castle Books, 1965. ISBN 1-55521-975-6
  44. Steers, Edward (2014). Lincoln's Assassination. SIU Press. p. 116. ISBN 9780809333509.
  45. Linder, D: "Biography of Mary Surratt, Lincoln Assassination Conspirator เก็บถาวร 2009-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", University of Missouri–Kansas City. Retrieved December 10, 2006.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "bishop" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "jampoler" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "harris" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "kauffman" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "kunhardtlincoln" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "larson" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "serup" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "vowell" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

สารานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]