การลอบสังหารอะลี
การลอบสังหารอะลี | |
---|---|
ภาพวาด การพลีชีพของอิหม่ามอะลี โดยโยว์เซฟ แอบดีเนฌอด | |
สถานที่ | Great Mosque of Kufa |
พิกัด | 32°01′43″N 44°24′03″E / 32.02861°N 44.40083°E |
วันที่ | 26 มกราคม ค.ศ. 661 |
เป้าหมาย | อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ |
ประเภท | การลอบสังหาร |
อาวุธ | ดาบอาบพิษ |
ตาย | 1 |
ผู้เสียหาย | อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ |
ผู้ก่อเหตุ | อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม |
อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 4 แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน และอิมามชีอะฮ์คนแรก ถูกลอบสังหารโดย เคาะวาริจญ์ ที่มีชื่อว่าอับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม ในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 661 ที่มัสยิดใหญ่แห่งกูฟะฮ์ ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิรัก ทำให้อะลีเสียชีวิตตอนอายุ 62 หรือ 63 ปี ภายในสองวันที่อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม แทงที่หัวด้วยดาบอาบยาพิษ[1]: 308 ในวันที่ 21 (หรือ 19) เราะมะฎอน ฮ.ศ. 40 (28 มกราคม ค.ศ. 661)[2] และเป็นเคาะลีฟะฮ์องค์ที่สามที่ถูกลอบสังหาร หลังจากอุมัรและอุษมาน
อะลีกลายเป็นเคาะลีฟะฮ์ หลังการลอบสังหารอุษมานใน ค.ศ. 656 อย่างไรก็ตาม เขาพบปัญหาบางส่วน ซึ่งรวมไปถึงผู้ว่าการลิแวนต์ มุอาวิยะฮ์ที่ 1 กับสงครามกลางเมืองที่มีชื่อว่าฟิตนะฮ์ครั้งแรก ทำให้เกิดการโค่นล้มเคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน และก่อตั้งราชวงศ์อุมัยยะฮ์ขึ้น โดยเกิดขึ้นในช่วงที่เคาะลีฟะฮ์อุษมาน อิบน์ อัฟฟานถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 656 แล้วดำเนินต่อในช่วงการครองราชย์ของอะลีอีก 4 ปี[3] หลังจากอะลียอมรับอนุญาโตตุลาการกับมุอาวิยะฮ์ที่ 1 ในยุทธการที่ศิฟฟีน (ค.ศ. 657) ทหารบางคนของอะลีได้ก่อกบฎ ทำให้มีการเรียกพวกนี้ว่า เคาะวาริจญ์ ("ผู้ที่ออกไป")[4]: 390 พวกเขาฆ่าผู้สนับสนุนอะลีบางส่วน แต่ถูกกองทัพอะลีทำลายในยุทธการที่นะฮ์เราะวานในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 658[1]: 260–261
อิบน์ มุลญัม พบกับเคาะวาริจญ์อีกสองคนในมักกะฮ์ที่มีชื่อว่า อัลบุร็อก อิบน์ อับดุลลอฮ์ กับ อัมร์ อิบน์ บักร์ อัตตะมีมี และได้ข้อสรุปว่า สถานะการณ์ที่มุสลิมพบเจอในตอนนี้เป็นความผิดพลาดของอะลี, มุอาวิยะฮ์ และอัมร์ อิบน์ อัลอาส ผู้ว่าการอียิปต์ พวกเขาตัดสินใจว่าจะฆ่าทั้งสามคนเพื่อแก้ "สถานการณ์ที่น่าเวทนา" ในเวลานั้น และแก้แค้นจากการสู้รบที่นะฮ์เราะวาน โดยอิบน์ มุลญัม ไปฆ่าอะลีที่กูฟะฮ์ ซึ่งเขาตกหลุมรักกับหญิงที่พี่/น้องชายและพ่อของเธอเสียชีวิตที่นะฮ์เราะวาน เธอจะยอมแต่งงานถ้าเขาฆ่าอะลีได้ ด้วยเหตุนี้ ทำให้อิบน์ มุลญัม แทงอะลีที่มัสยิดใหญ่แห่งกูฟะฮ์ หลังจากอะลีเสียชีวิต ฮะซัน อิบน์ อะลี ได้สั่งประหารชีวิตอิบน์ มุลญัม เป็นการตอบแทน[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Madelung, Wilferd (1997). The Succession to Muhammad: A Study of the Early Caliphate. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-64696-3.
- ↑ Veccia Vaglieri, Laura. "ʿAlī b. Abī Ṭālib.". Encyclopædia of Islam, Second Edition. Brill Online. doi:10.1163/1573-3912_islam_COM_0046.
- ↑ Martin Hinds. "Muʿāwiya I". Encyclopaedia of Islam (2nd ed.). Brill. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 21 September 2014.
- ↑ Higgins, Annie C. (2004). "Kharijites, Khawarij". ใน Martin, Richard C. (บ.ก.). Encyclopedia of Islam and the Muslim World v.1. Macmillan.
- ↑ Veccia Vaglieri, Laura. "Ibn Muld̲j̲am.". Encyclopædia of Islam, Second Edition. Brill Online. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
{{cite encyclopedia}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)