การลงโทษในหลุมฝังศพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การลงโทษในหลุมฝังศพ (อาหรับ: عذاب القبر ʿAzāb ul-Qabr บางครั้งแปลเป็น การทรมานในหลุมฝังศพ) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับช่วงเวลาระหว่างความตายถึงการฟื้นคืนชีพในวันพิพากษาในศาสนายูดาห์-อิสลาม ในฮะดีษบางส่วนบันทึกว่าดวงวิญญาณของคนชั่วจะถูกลงโทษจากเทวทูตสองตนในหลุมฝังศพ ในขณะที่ผู้ศรัทธาจะพบว่าหลุมฝังศพของตนนั้น "สงบสุขและเป็นสุข"[1]

การลงโทษในหลุมฝังศพไม่ปรากฏในอัลกุรอาน แต่ปรากฏในฮะดีษที่รวบรวมโดยอิบน์ ฮันบัล[1][2] และปรากฏเร็วสุดถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 ปัจจุบันยังคงปรากฏในหมู่ซุนนีและชีอะฮ์ส่วนใหญ่[3]

แนวคิดที่คล้ายกันปรากฏในรายงานศาสนายูดาห์ที่คนชั่วจะถูกลงโทษจากเทวทูตแห่งการทำลายล้าง ในบริเวณที่อยู่กึ่งกลางระหว่างการฟื้นคืนชีพผู้เสียชีวิตกับการเสียชีวิตของปัจเจกบุคคล

ศาสนา[แก้]

อิสลาม[แก้]

อัลกุรอานกล่าวอ้างถึงช่วงเวลาระหว่างความตายกับการฟื้นคืนชีพน้อยมาก โดยไม่ได้กล่าวถึงรางวัลหรือการลงโทษใด ๆ ที่จะเกิดแก่ผู้เสียชีวิตในหลุมฝังศพอย่างไรก็ตาม อัลกุรานได้กล่าวถึงบุคคลส่วนหนึ่งอย่างผู้พลีชีพมีชีวิตและไม่ตายใน 2:154 และยังระบุใน 71:25 ด้วยว่ามีบางคนอยู่ในนรกไว้แล้ว[4] คำว่า บัรซัค บ่งชี้ว่าคนตายและคนเป็นอยู่แยกจากกัน และไม่สามารถติดต่อกันได้[4] หรืออาจสื่อถึงช่วงเวลาระหว่างวันฟื้นคืนชีพกับความตาย และเป็นคำพ้องของ "หลุมฝังศพ"[5] ในขณะที่ส่วนหนึ่งถือว่าบัรซัคเปรียบเสมือนโลกที่แบ่งแยกและเชื่อมโลกแห่งความตายกับโลกที่มีชีวิตอยู่ไปพร้อม ๆ กัน[6] ดังนั้น ธรรมเนียมมุสลิมบางส่วนโต้แย้งถึงความเป็นไปได้ในการติดต่อผู้เสียชีวิตผ่านการนอนบนหลุมฝังศพ[7]

หลังการฝังศพ แต่ละคนจะถูกมุนกัรและนะกีร เทวทูตสองตนที่พระเจ้าแต่งตั้งให้สอบสวนผู้เสียชีวิตเพื่อทดสอบความศรัทธา ผู้ศรัทธาจะตอบคำถามถูกและใช้ชีวิตอย่างสงบสุข ในขณะที่คนบาปและผู้ปฏิเสธศรัทธาจะตอบคำถามไม่ได้และมีการลงโทษตามมา[8][9] ในโลกบัรซัค ดวงวิญญาณของคนบาปและผู้ปฏิเสธศรัทธาจะถูกเก็บไว้และถูกลงโทษในสถานที่ที่มีชื่อว่าซิจญีน ซึ่งกล่าวกันว่าอยู้ในชั้นใต้สุดของโลก (ตามธรรมเนียมระบุว่าในนรก ก่อนวันฟื้นคืนชีพ)[10] ส่วนดวงวิญญาณของผู้ศรัทธาจะถูกเก็บไว้ที่อิลลีย์ยีน บางรายงานระบุว่าอิลลีย์ยีนอยู่ในสวรรค์[10] มีความเชื่อว่าไฟ ซึ่งแทนการกระทำไม่ดีของตนเอง สามารถมองเห็นได้ในระหว่างการลงโทษในหลุมฝังศพ และความเจ็บปวดทางวิญญาณที่เกิดจากสิ่งนี้สามารถนำไปสู่การชำระล้างดวงวิญญาณได้[11]

ยูดาห์[แก้]

วรรณกรรมรับไบมีธรรมเนียมมากมายเกี่ยวกับเทวทูตผู้ลงโทษตีสอนคนตาย[12] ในหนังสือศาสนายูดาห์ ดวงวิญญาณของคนชั่วจะถูกลงโทษในโลกหลังความตายโดยดุมาห์และเทวทูตแห่งการทำลายล้างใต้บังคับบัญชา 3 ตน ดวงวิญญาณจะถูกทรมานทุกวัน ยกเว้นเพียงวันสะบาโต[13] Arent Jan Wensinck (1882-1939) นักบูรพทิศนิยมชาวดัตช์ โต้แย้งว่าธรรมเนียมการลงโทษในหลุมฝังศพของศาสนายูดาห์ปรากฏขึ้นหลังศาสนาอิสลาม ดังนั้นเรื่องนี้จึงมีอิทธิพลต่อศาสนายูดาห์มากกว่าศาสนายูดาห์มีอิทธิพลต่อศาสนาอิสลาม[14]

อ้างอิง[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 J. A. C. Brown, Misquoting Muhammad, 2014: p. 46
  2. "Punishment of the Grave (Azab-e-Qabr)".
  3. Sarah Tarlow, Liv Nilsson Stutz. The Oxford Handbook of the Archaeology of Death and Burial. OUP Oxford. ISBN 978-0191650390.
  4. 4.0 4.1 Jane I. Smith, Yvonne Yazbeck Haddad Islamic Understanding of Death and Resurrection State University of New York Press 1981 ISBN 978-0873955072 p. 32
  5. Ashiq Ilahi Bulandshahri (1994). What Happens After Death. p. 2.
  6. Christian Lange Paradise and Hell in Islamic Traditions Cambridge University Press, 2015 ISBN 978-0-521-50637-3 p. 122
  7. Werner Diem, Marco Schöller The Living and the Dead in Islam: Epitaphs as texts Otto Harrassowitz Verlag, 2004 ISBN 9783447050838 p. 116
  8. Matt Stefon, บ.ก. (2010). Islamic Beliefs and Practices. New York: Britannica Educational Publishing. pp. 83–85. ISBN 978-1-61530-060-0.
  9. Nigosian, S. A. (2004). Islam: Its History, Teaching, and Practices. Indiana University Press. pp. 123–124. ISBN 0-253-21627-3.
  10. 10.0 10.1 Maariful Quran (exegesis of the Quran) by Muhammad Shafi Usmani. Karachi. Chapter 83.
  11. "Feuer".
  12. Eichler, Paul Arno, 1889 Die Dschinn, Teufel und Engel in Koran [microform] pp. 105–106 (German)
  13. Howard Schwartz (2006). Tree of Souls: The Mythology of Judaism Oxford University Press, ISBN 978-0195327137 p. 236
  14. Sara Kuehn Stefan Leder Hans-Peter Pökel The Intermediate Worlds of Angels Islamic Representations of Celestial Beings in Transcultural Contexts Beiruter Texte und Studien 114 2019 isbn ISBN 978-3-95650-623-9 p. 318

หนังสือ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]