การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554
การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554 | ||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||
|
การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นในซูดานใต้ เมื่อวันที่ 9 ถึง 15 มกราคม พ.ศ. 2554[1] เพื่อแสวงหามติมหาชนว่า ซูดานใต้ยังควรเป็นส่วนหนึ่งของประเทศซูดานหรือไม่[2][3][4] โดยสืบเนื่องมาจากความตกลงสันติภาพเบ็ดเสร็จระหว่างรัฐบาลกลางคาร์ทูม และกองทัพปลดปล่อยประชาชนซูดาน (SPLA/M)
ส่วนการลงประชามติที่จัดขึ้นด้วยหัวข้อเดียวกันที่อับยีกลับถูกเลื่อนเนื่องจากความขัดแย้งต่อสิทธิการกำหนดเขตและการอยู่อาศัย[5]
จากนั้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ของปีเดียวกัน คณะกรรมการประชามติเผยแพร่ผลประชามติที่ส่วนใหญ่ลงคะแนนให้เป็นเอกราชถึง 98.83%[6]
วันที่กำหนดไว้ล่วงหน้าสำหรับการสร้างรัฐเอกราชคือวันที่ 9 หรหฎาคม พ.ศ. 2554[7]
เบื้องหลัง
[แก้]สิ่งที่ต้องมีก่อนการลงประชามติดังกล่าวรวมไปถึงการทำสำมะโนประชากร ซึ่งจะเป็นการกำหนดว่าการจัดสรรความมั่งคั่งและอำนาจทางการเมืองระหว่างภูมิภาคจะเป็นอย่างไร ด้วยเหตุนี้ การทำสำมะโนประชากรจะเป็นพื้นฐานของกระบวนการลงทะเบียนเลือกตั้ง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้การเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2553 เกิดขึ้นได้ และเป็นการเตรียมการสำหรับการลงประชามติดังกล่าวด้วย ใน พ.ศ. 2551 การทำสำมะโนประชากรถูกเลื่อนเวลาออกไปถึงสามครั้ง ปัญหาที่พบรวมไปถึงความไม่ลงรอยระหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ว่าข้อตกลงไนวาชาบังคับอย่างไร ซึ่งเป็นเหตุของความยากลำบากและความท้าทายด้านการขนส่งอย่างใหญ่หลวง ทางตอนใต้ สนามทุ่นระเบิดที่ยังหลงเหลือจากสงครามซึ่งไม่มีการทำแผนที่นั้น ทำให้การสัญจรเป็นไปด้วยความยากลำบาก ขณะที่ชาวซูดานมากถึงห้าล้านคนเป็นพวกเร่ร่อน ชาวซูดานที่ถูกบังคับให้ออกจากที่อยู่ภายใต้ประเทศจากทางตอนใต้ยังคังหลงเหลืออยู่ในค่ายรอบกรุงคาร์ทูมมากถึงสองล้านคน ทางตอนกลางของประเทศ ในขณะที่ผู้ลี้ภัยบางส่วนยังคงอาศัยอยู่ในยูกันดาและเคนยา ความยุ่งยากยังมีขึ้นในความขัดแย้งในดาร์ฟูร์ ทางตะวันตก ที่ซึ่งพลเรือนที่หนีการโจมตีมาปฏิเสธที่จะมีส่วนในการทำสำมะโนประชากร ด้วยเกรงว่ารัฐบาลจะใช้ผลการสำรวจมาสร้างความเดือดร้อนแก่พวกเขา กลุ่มกบฏดาร์ฟูร์เต็มใจที่จะบอกเลิกการทำสำมะโนประชากรที่มีการเตรียมการไว้แล้ว ขณะที่กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อความยุติธรรมและความเสมอภาคได้ขู่ว่าจะโจมตีผู้ที่ไปใช้สิทธิ์ลงประชามติ[10]
นอกจากนี้ ยังมีความไม่ลงรอยระหว่างพรรคคองเกรสแห่งชาติ (NCP) และ SPLA/M ในประเด็นที่ว่าสัดส่วนของประชากรมากเท่าใดจึงจะนับว่าเพียงพอต่อการแยกตัวเป็นเอกราช (NCP ต้องการให้ผู้มีสิทธิ์อย่างน้อย 75% ลงประชามติยอมรับ) ตลอดจนประเด็นที่ว่าชาวซูดานใต้ที่อยู่ทางเหนือของประเทศควรจะได้รับอนุญาตให้ลงประชามติหรือไม่ และกระบวนการแยกประเทศภายหลังการลงประชามติ ตลอดจนการแบ่งหนี้สาธารณะ[11] ได้มีกระบวนการอย่างเรียบร้อยเมื่อต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 แต่ความไม่ลงรอยกันในประเด็นสำคัญยังคงมีอยู่[12]
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 รัฐบาลกลางซูดานและรัฐบาลซูดานใต้ตกลงว่า ผลการลงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชจะต้องได้รับการสนับสนุนอย่างน้อย 60% จากผู้มีสิทธิ์อย่างน้อย 3.8 ล้านคน จึงจะทำให้การลงประชามติดังกล่าวเป็นผลสมบูรณ์ หากผู้ลงประชามติเสียงข้างมากยอมรับการแยกตัวเป็นเอกราช แต่ไม่ถึง 60% ซูดานใต้ก็จะแยกตัวออกเป็นดินแดนปกครองตนเอง[13][14] ซึ่งเป็นเงื่อนไขของความตกลงสันติภาพเบ็ดเสร็จด้วยเช่นกัน[15] หากผู้มาลงประชามติไม่เพียงพอในการลงประชามติในครั้งแรก การลงประชามติครั้งที่สองจะถูกจัดขึ้นภายในหกสิบวัน[16]
การลงประชามติ
[แก้]การลงประชามติเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554 สามวันหลังจากนั้น ตัวแทนของ SPLA/M ประกาศว่า ตามการประมาณการของพวกเขา จำนวนผู้ที่ลงประชามติเห็นควรแยกซูดานใต้เป็นเอกราช ได้ถึงระดับที่ทำให้ผลการลงประชามติมีผลแล้ว กล่าวคือ มากกว่าขั้นต่ำที่ร้อยละ 60 (จากจำนวนผู้มีสิทธิ์กว่า 2.3 ล้านคน) ได้มีการออกมายืนยันอย่างเป็นทางการในวันเดียวกัน เมื่อคณะกรรมการการลงประชามติได้ออกแถลงการณ์ซึ่งประกาศว่าผลการลงประชามติจะ "เกิน" ขั้นต่ำที่ต้องการมากกว่าร้อยละ 60 แล้ว[17] จิมมี คาร์เตอร์ แสดงความเชื่อของตนออกมาเมื่อวันที่ 13 มกราคมว่า การลงประชามติดังกล่าวค่อนข้างที่จะเป็นไปตามมาตรฐานสากลสำหรับทั้งการจัดการลงคะแนนเสียงและอิสรภาพของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน[18] สหประชาชาติรายงานว่า ผลขั้นต้นคาดว่าจะมีภายในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และผลขั้นสุดท้ายคาดว่าจะมีขึ้นภายในอีกสองสัปดาห์หลังจากนั้น[17][19]
ตามผลการนับคะแนนเสียงขั้นต้นโดยแอสโซซิแอดเพรส ซึ่งประกอบด้วยหีบใส่บัตรลงคะแนน 30,000 หีบ ใน 10 เขตเลือกตั้ง ตัวอย่าง 95% มี 96% ที่เห็นด้วยกับการแยกตัวเป็นอิสระ 3% ยอมรับความเป็นเอกภาพ[20] และที่เหลือเป็นบัตรเสีย นายโมฮัมเหม็ด คาลิล อิบราฮิม ประธานคณะกรรมการลงประชามติ กล่าวว่า กว่าร้อยละ 83 ของจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทางใต้และร้อยละ 53 ทางตอนเหนือได้ออกมาใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียง[21] คณะกรรมการลงประชามติซูดานใต้ยืนยันการมีผลของคะแนนเสียงแล้ว แม้ว่าขณะนั้นการนับผลการลงประชามติจะยังทำไม่เสร็จสิ้นก็ตาม[22]
เมื่อการนับผลการลงประชามติเสร็จสิ้น ซูดานได้ให้ปฏิญาณว่าจะยอมรับผล[23]
การลงประชามติแยกซูดานใต้เป็นเอกราช พ.ศ. 2554[24] | ||
---|---|---|
ทางเลือก | คะแนนเสียง | % |
เห็นชอบ | 3,792,518 | 98.83% |
ไม่เห็นชอบ | 44,888 | 1.17% |
บัตรดี | 3,837,406 | 99.62% |
บัตรเสียหรือไม่ลงคะแนน | 14,588 | 0.38% |
คะแนนเสียงทั้งหมด | 3,851,994 | 100.00% |
อัตราการลงคะแนน | 97.58% | |
ร้อยละที่ต้องการ | 60.00% |
การวิเคราะห์
[แก้]การลงประชามติได้รับการสังเกตว่ามีความสำคัญ เนื่องจากชายแดนรัฐในแอฟริกาส่วนใหญ่วาดขึ้นในสมัยอาณานิคม ซึ่งก่อให้เกิดประเทศที่มีการผสมผสานระหว่างศาสนา เชื้อชาติ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม องค์การเอกภาพแอฟริกา ละเว้นจากการวาดเส้นเขตแดนใหม่ เนื่องจากกลัวว่าจะเกิดสงครามแยกประเทศ[25]
ปัญหาหลังลงประชามติ
[แก้]ชื่อประเทศใหม่
[แก้]ชื่อใหม่สำหรับประเทศที่ได้รับเอกราชนั้นยังคงอยู่ในระหว่างการเสนอแนะ โดยชื่อซูดานใต้นั้นได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากมันยังไม่แตกต่างจากประเทศซูดาน[26] มีชื่อได้รับการเสนอมากกว่า 12 ชื่อ ตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐไนล์ สาธารณรัฐคุช และอซาเนีย[27]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Richmond, Matt (8 January 2011). "Sudan Referendum Has Peaceful First Day". VOA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
- ↑ Richmond, Matt (16 December 2010). "Southern Sudan Focuses on January Referendum". VOA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
- ↑ Ibrahim, Mohamed (2007-06-26). "Eastern Sudan Front: Quiescence at war & discordance in peace (2)". Sudan Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Vuni, Isaac (2007-07-12). "Road to 2011 referendum is full of obstacles – South Sudan's Kiir". Sudan Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
- ↑ Bixler, Mark (5 January 2011). "Historic day ahead after decades of war". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2011. สืบค้นเมื่อ 10 January 2011.
- ↑ "South Sudan backs independence – results". BBC News. 7 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 November 2018. สืบค้นเมื่อ 20 June 2018.
- ↑ Pflanz, Mike (8 January 2011). "Sudan referendum: what's being voted on and what will happen?". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2019. สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
- ↑ Martell, Peter (2011-06-20). "Is Sudan heading for an acrimonious divorce?". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2014-02-10.
- ↑ Kleto, Peter Oyoyo. "Popular consultations must go ahead". Comment and Analysis. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2011. สืบค้นเมื่อ 21 October 2011.
- ↑ Henshaw, Amber (2008-04-21). "Sudanese stand up to be counted" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2008. สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
- ↑ Dak, James Gatdet (20 August 2009). "Sudan's NCP & SPLM fail to agree on census, referendum law". Sudan Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2010. สืบค้นเมื่อ 5 January 2011.
- ↑ "Sudan partners make modest progress on referendum talks". Sudan Tribune. 3 September 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2010. สืบค้นเมื่อ 5 January 2011.
- ↑ Abdelrahman, Abdellatif (2009-12-31). "Darfur NCP Civil Society groups to Where?". Sudan Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2009. สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
- ↑ "Terms for Sudan referendum agreed" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2009-10-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2009. สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
- ↑ "Bashir warns of unstable South". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2012. สืบค้นเมื่อ 10 January 2011.
- ↑ Aleu, Philip Thon (21 October 2009). "Talks on South Sudan referendum progress in Khartoum". Sudan Tribune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2010. สืบค้นเมื่อ 5 January 2011.
- ↑ 17.0 17.1 "Official: South Sudan Voter Turnout to Reach 60 Percent Threshold". VOA News. 12 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2011. สืบค้นเมื่อ 13 January 2011.
- ↑ "Carter: South Sudan Vote Will Meet International Standards". VOA News. 13 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2011. สืบค้นเมื่อ 13 January 2011.
- ↑ Straziuso, Jason (12 January 2011). "Turnout in Southern Sudan vote passes 60 percent". Yahoo! News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2011. สืบค้นเมื่อ 16 January 2011.
- ↑ Fick, Maggie (2011-01-16). "S.Sudan early returns show big vote for secession". San Diego Union-Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-04-19.
- ↑ "Sudan vote trend points at split". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2011. สืบค้นเมื่อ 16 January 2011.
- ↑ "US Vice President Lands in Afghanistan in Surprise Visit". Almanar.com.lb. 26 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2013. สืบค้นเมื่อ 31 January 2011.
- ↑ "Al-ManarTV:: South Sudan Referendum Wraps up, Khartoum Vows to Recognize Results 15/01/2011". Almanar.com.lb. 15 January 2011. สืบค้นเมื่อ 31 January 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Results for the Referendum of Southern Sudan". Southern Sudan Referendum Commission and Southern Sudan Referendum Bureau. 30 January 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 April 2016. สืบค้นเมื่อ 2 February 2011.
- ↑ "Sudan after the referendum: a test case for Africa". The Christian Science Monitor. 9 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 11 July 2011.
- ↑ Mutasa, Haru (23 January 2011). "Southern Sudanese debate new name". Al Jazeera. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 January 2011. สืบค้นเมื่อ 31 January 2011.
- ↑ Kron, Josh (24 January 2011). "Southern Sudan Nears a Decision on One Matter: Its New Name". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2017. สืบค้นเมื่อ 6 December 2011.