ข้ามไปเนื้อหา

การระบาดของอหิวาตกโรคในเฮติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การระบาดของอหิวาตกโรคในเฮติ พ.ศ. 2553 เป็นการระบาดของอหิวาตกโรคที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ในจังหวัดอาร์ตีโบนีต (Artibonite) ของประเทศเฮติ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองหลวงปอร์โตแปรงซ์ ไปทางเหนือราว 100 กิโลเมตร[1] จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 4,672 คน[2] และมีผู้ถูกนำส่งโรงพยาบาลมากกว่านั้นอีกหลายพันคน[3] การระบาดของโรคเกิดขึ้นหลังเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงซึ่งสร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อประเทศเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2544 มีรายงานผู้ป่วยยืนยันแล้วกว่า 252,640 คน[4] ภายในสิบสัปดาห์หลังการระบาดของโรค อหิวาตกโรคได้ลุกลามไปทั้ง 10 จังหวัดของเฮติ[5] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 มีรายงานว่าพบผู้ป่วยอหิวาตกโรครายหนึ่งในสาธารณรัฐโดมินิกัน เช่นเดียวกับในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 มีรายงานว่าพบผู้ป่วยส่วนหนึ่งในเวเนซุเอลา จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 5,889 คน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง[6] สาธารณรัฐโดมินิกันประเทศเพื่อนบ้าน รายงานผู้เสียชีวิตจากโรคถึงวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 จำนวน 92 คน[7]

เบื้องหลัง

[แก้]

การระบาดของโรคในครั้งนี้เป็นการปรากฏขึ้นของอหิวาตกโรคที่สำคัญในเฮติเป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษ ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความตื่นกลัวและความสับสนในหมู่ประชากร ผู้ซึ่งไม่รู้หนทางรักษา[8]

สาเหตุ

[แก้]

แหล่งที่คาดว่าจะเป็นที่มาของอหิวาตกโรค คือ แม่น้ำอาร์ตีบอนีต เนื่องจากมีผู้ป่วยบางส่วนได้ดื่มน้ำจากแม่น้ำดังกล่าว[9] ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมอันประกอบด้วยแพทย์ ยารักษาโรคและน้ำสะอาด ถูกส่งไปในบริเวณที่เกิดการระบาดเพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือเพื่อชะลอและยับยั้งการระบาดของโรค[9]

ทีมสหประชาชาติกำลังสืบสวนตัวอย่างการทิ้งน้ำเสียซึ่งรั่วไหลมาจากฐานรักษาสันติภาพเนปาลี ซึ่งทำให้ระบบแม่น้ำมีเชื้อโรค นักวิทยาศาสตร์จากหน่วยงานรักษาเสถียรภาพเฮติสหประชาชาติได้รับรองผลการทดสอบแล้ว[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Associated Press (22 ตุลาคม 2010). "142 dead in rural Haiti valley; cholera worst health problem since quake". CityNews Toronto.
  2. "PAHO's Interactive Report of Cholera Outbreak". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2011.
  3. "Cholera cases found in Haiti capital". MSNBC. 23 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2010.
  4. Roberts, Michelle (15 มีนาคม 2011). "Haiti cholera 'far worse than expected', experts fear". BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2011.
  5. Basu, Moni (31 ธันวาคม 2010). "Cholera death toll in Haiti rises to more than 3,000". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2011. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2010.
  6. "Rapport journalier MSPP du 10 juillet 2011" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Ministere de la sante publique et de la population. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2021.
  7. "Dominican authorities say 92 people have died due to cholera". Dominican Today (ภาษาอังกฤษ). 30 กรกฎาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2011.
  8. "Haiti: Cholera fear for Port-au-Prince as deaths slow". BBC News Online. 25 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2010.
  9. 9.0 9.1 "Cholera cases found in Haiti capital". Health - Infectious diseases. NBCNews.com. 23 ตุลาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 ธันวาคม 2012.
  10. "UN investigates Haiti outbreak" (ภาษาอังกฤษ). Al Jazeera. 28 ตุลาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2012.