ข้ามไปเนื้อหา

การปิดการเข้าถึงวิกิพีเดียในประเทศตุรกี พ.ศ. 2560

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โลโก้วิกิพีเดียภาษาตุรกีที่มีแถบเซ็นเซอร์ปิดข้อความอยู่
โลโก้หลังถูกแบนเป็นเวลา 2 ปี โดยมีข้อความบนแถบแดงว่า "2 yıldır özlüyoruz" ("คิดถึงนายเป็นเวลาสองปี")

จากวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560 ถึง 15 มกราคม พ.ศ. 2563 วิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์ ถูกบล็อกในประเทศตุรกี ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560 เจ้าหน้าที่ตุรกีบล็อกการเข้าถึงทางออนไลน์ทุกภาษาทั่วประเทศ[1][2] การปิดการเข้าถึงนี้ถูกกำหนดตามกฎหมายตุรกีมาตราที่ 5651[3] เนื่องจากบทความstate-sponsored terrorism (ในฉบับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560) ของฉบับภาษาอังกฤษที่กล่าวถึงตุรกีว่าเป็นประเทศที่สนับสนุนรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์กับอัลกออิดะฮ์ ซึ่งศาลตุรกีมองว่าเป็นการชักใยของสื่อมวลชนสาธารณะ[4]

แคเธอรีน มาร์ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดียกล่าวในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ว่า มูลนิธิ"ไม่แน่ใจว่าทำไมยังคงถูกแบนอีก"[5] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 หน้าเฟสบุ๊กของวิกิพีเดียเริ่มต้นแคมเปญ"เราคิดถึงตุรกี" (ตุรกี: Özledik) และเปลี่ยนแถบเซ็นเซอร์สีดำบนโลโก้วิกิพีเดียไปเป็นสีแดง และยังมาพร้อมกับแฮชแท็กที่มีชื่อเดียวกัน[6]

ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ศาลรัฐธรรมนูญตุรกีกล่าวว่า การบล็อกวิกิพีเดียถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และสั่งให้ยกเลิกการแบนนี้[7] ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 จึงมีการยกเลิกการบล็อกวิกิพีเดียในประเทศตุรกี[8][9][10]

ภูมิหลัง

[แก้]

บางประเทศได้ตำหนิประเทศตุรกีที่สนับสนุนกลุ่มกบฏชาวอิสลามในประเทศซีเรีย รวมถึงแนวร่วมอัลนุสเราะ (al-Nusra Front) ผู้เกี่ยวข้องกับอัลกออิดะฮ์ในประเทศซีเรีย[11][12] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 รองประธานาธิบดี โจ ไบเดิน กล่าวว่าประเทศตุรกี ประเทศซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ "เทเงินหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐและอาวุธหลายหมื่นตันให้กับใครก็ตามที่จะต่อสู้กับอัลอะซัด"[11]

การปิดการเข้าถึงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560 สองสัปดาห์หลังการลงประชามติรัฐธรรมนูญตุรกีที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน

เมื่อวันที่ 25 เมษายน ประเทศตุรกีทำการโจมตีทางอากาศต่อสิ่งอำนวยความสะดวกของหน่วยพิทักษ์ของประชาชน (YPG), หน่วยพิทักษ์ของสตรี (YPJ) และพรรคแรงงานเคอร์ดิสถาน (PKK) ในทั้งประเทศซีเรียและอิรัก เป็นเหตุให้ผู้ทำสงคราม 40 คนรวมถึงทหารเพชเมอร์กา (Peshmerga) ห้าคนเสียชีวิต ณ ภูเขาซินจาร์ และผู้ต่อสู้ในหน่วย YPG และ YPJ กว่า 20 คนถูกฆ่าบนภูเขาการาก็อก (Mount Karakoc) ในซีเรีย[13] กองกำลังประชาธิปไตยซีเรีย (Syrian Democratic Forces) หรือ SDF ขู่จะถอนตัวออกจากปฏิบัติการยึดรักกาที่กำลังดำเนินการอยู่หากสหรัฐอเมริกาไม่กำหนดมาตราการหยุดการโจมตีทางอากาศของตุรกีต่อกลุ่มเหล่านี้[14] สหรัฐตอบรับโดยการเริ่มตรวจตราชายแดนพร้อมกับกองกับ SDF เพื่อหยุดยั้งการต่อสู้ระหว่างพันธมิตรทั้งสอง[15][16]

เมื่อวันที่ 26 เมษายน ต่อเนื่องจากการกวาดล้างในตุรกี พ.ศ. 2559–2560 (2016–17 Turkish purges) ตำรวจจำนวน 1,009 นายในกองกำลังตำรวจตุรกีถูกคุมตัว โดยถูกกล่าวหาว่าแอบมีความเกี่ยวข้องกับขบวนการกูเลน (Gülen movement)[17] เจ้าหน้าที่จำนวน 9,100 คนถูกปลดออกจากงาน[18][19] เมื่อวันที่ 29 เมษายน ข้าราชการพลเรือนจำนวน 3,974 คนถูกปลดจากตำแหน่ง สื่อและนักข่าวถูกเพ่งเล็งอย่างหนัก องค์กรข่าว 190 องค์กรถูกแบนและนักข่าวอย่างน้อย 120 คนถูกจำคุก[20] เดอะนิวยอร์กไทมส์ บรรยายการแบนวิกิพีเดียและรายการทีวีเกี่ยวกับการออกเดทว่าเป็น "การขยายการทำลายล้างของความขัดแย้งและการการแสดงออกอย่างเสรี"[21]

บริบททางกฎหมาย

[แก้]

กฎหมายมาตราที่ 5651 หรือร่างรัฐบัญญัติอินเทอร์เน็ต (Internet Act, IA) เริ่มใช้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550[22] จุดประสงค์ของกฎหมายนี้มีอยู่สองข้อ ข้อแรกคือเพื่อกำหนดความน่าเชื่อถือและความรับผิดชอบของผู้ให้การใช้ส่วนรวม ผู้ให้การเข้าถึง ผู้ให้พื้นที่ และผู้ให้เนื้อหา ซึ่งล้วนเป็นผู้กระทำหลักของอินเทอร์เน็ต อีกเหตุผลคือเพื่อกำหนดขั้นตอนและพื้นฐานเกี่ยวกับอาชญากรรมเฉพาะที่กระทำผ่านอินเทอร์เน็ตและการต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ผ่านผู้ให้เนื้อหา พื้นที่ และการเข้าถึง[23] ไม่นานมานี้ กฎหมายนี้ถูกใช้เพื่อปิดกั้นบุคคล นักข่าว และสื่อ[24] มีการประมาณว่าเว็บไซต์อย่างน้อย 127,000 เว็บถูกปิดการเข้าถึงในประเทศตุรกี พร้อมอีกกว่า 95,000 เว็บเพจ[20]

การปิดการเข้าถึง

[แก้]
แผนภูมิแสดงสถิติการเข้าดูหน้าสำหรับวิกิพีเดียภาษาตุรกีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2560 เห็นได้ถึงจำนวนที่ลดลงประมาณ 80% ทันทีหลังปิดการเข้าถึง ด้วยความที่เนื้อหาของวิกิพีเดียเป็นเนื้อหาแบบเปิด เว็บไซต์ทางเลือกอื่น ๆ ยังคงให้ข้อมูลจากสารานุกรมออนไลน์แก่สาธารณะ

เมื่อเช้าของวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560 หลายเว็บไซต์รายงานว่าตุรกีได้ปิดการเข้าถึงวิกิพีเดียในทุกภาษา[1][25] สำนักงานเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศของประเทศตุรกีประกาศเพียงว่า "หลังการวิเคราะห์ทางเทคนิคและการคำนึงทางกฎหมายบนฐานของมาตรา 5651 เว็บไซต์นี้ได้ถูกตัดสินวาเข้าข่าย"[26][2] ผู้ใช้รายงานว่าพวกเขาสามารถเข้าวิกิพีเดียได้ผ่านเครื่องมือ เช่น เครือข่ายส่วนตัวเสมือนส่วนตัวเท่านั้น.[27][28]

วิธีการเข้าถึงอื่น

[แก้]

ผู้เคลื่อนไหวได้สร้างแบบคัดลอกของวิกิพีเดียภาษาตุรกีบน InterPlanetary File System (IPFS) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการจัดการข้อมูลเว็บโดยใช้เทคโนโลยีโอเพนซอร์ซแบบกระจายอำนาจที่รัฐบาลตุรกีไม่สามารถปิดการเข้าถึงได้[29][30][31] TurkceWiki.org มิเรอร์ไซต์ทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาตุรกีไม่มีความเกี่ยวข้องกับมูลนิธิวิกิมีเดีย แต่เป็นหนึ่งในมิเรอร์ไซต์ของวิกิพีเดียที่ทำให้ผู้ใช้ในประเทศตุรกีสามารถเข้าถึงวิกิพีเดียได้[32] อย่างไรก็ตาม มิเรอร์ไซต์ได้ละเว้นส่วนที่ทำให้รัฐบาลตุรกี "ไม่พอใจ" และต้องการให้นำออกจากวิกิพีเดีย[33]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Wikipedia blocked in Turkey". Turkey Blocks. 29 April 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2017. สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
  2. 2.0 2.1 "Turkish authorities block Wikipedia without giving reason". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 29 April 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2017. สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
  3. "İNTERNET ORTAMINDA YAPILAN YAYINLARIN DÜZENLENMESİ VE BU YAYINLAR YOLUYLA İŞLENEN SUÇLARLA MÜCADELE EDİLMESİ HAKKINDA KANUN" [Turkish law based ban of Wikipedia] (PDF). mevzuat.gov.tr (ภาษาตุรกี). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2017. สืบค้นเมื่อ 2 August 2017.
  4. Benjakob, Omer (26 April 2018). "Revealed: The Four Articles That Got Wikipedia Banned in Turkey". Haaretz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
  5. "Wikipedia 'still not sure' why it is still banned in Turkey". Hurriyet. Istanbul. 17 January 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2018. สืบค้นเมื่อ 17 January 2018.
  6. "Wikipedia'dan kampanya: Türkiye'yi özledik". NTV.com.tr (ภาษาตุรกี). 6 March 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2018. สืบค้นเมื่อ 11 April 2018.
  7. McKernan, Bethan (26 December 2019). "Turkey's Wikipedia block violates human rights, high court rules". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2019. สืบค้นเมื่อ 26 December 2019.
  8. "Wikipedia ban to be lifted after top court ruling issued". Daily News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
  9. "Wikipedia erişime açıldı, ancak BTK'nın uyguladığı bir karar bulunamıyor". Diken (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 15 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
  10. "Özlemiştik: Wikipedia, Türkiye'de Tekrar Erişime Açıldı". Webtekno. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
  11. 11.0 11.1 "Gulf allies and 'Army of Conquest'". Al-Ahram Weekly. 28 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-17. สืบค้นเมื่อ 2018-03-13.
  12. Kim Sengupta (12 May 2015). "Turkey and Saudi Arabia alarm the West by backing Islamist extremists the Americans had bombed in Syria". The Independent.
  13. "Turkey may hit YPG in Syria "all of a sudden": President Erdoğan". Hürriyet Daily News. 30 April 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-05-08.
  14. "YPG threatens to withdraw from Raqqa ops amid Turkish attacks". NRT TV. 28 April 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-16. สืบค้นเมื่อ 28 April 2017.
  15. Bilginsoy, Zeynep1; Deeb, Sarah El (29 April 2017). "Turkey, U.S. move armored vehicles onto either side of Syrian border". CP24 (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
  16. "Turkey attacks Rojava to impede anti-ISIS operations in Raqqa: Western SDF volunteer - ARA News". ARA News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 30 April 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-29. สืบค้นเมื่อ 30 April 2017.
  17. Kingsley, Patrick (26 April 2017). "Over 1,000 People Are Detained in Raids in Turkey". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
  18. "Purges en Turquie : plus de 9 000 policiers suspendus". Le Monde (ภาษาฝรั่งเศส). 26 April 2017. ISSN 1950-6244. สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
  19. "Turkey fires 3,900 in second post-referendum purge". Reuters. 29 April 2017. สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
  20. 20.0 20.1 Kingsley, Patrick (June 10, 2017). "Turks Click Away, but Wikipedia Is Gone". The New York Times. สืบค้นเมื่อ June 13, 2017.
  21. Kingsley, Patrick (30 April 2017). "Turkey Purges 4,000 More Officials, and Blocks Wikipedia". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 30 April 2017.
  22. "Turkey: Law No. 5651 on Regulating Broadcasting in the Internet and Fighting Against Crimes Committed through Internet Broadcasting" (ภาษาอังกฤษ). WIPO. สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
  23. Presidency of Telecommunication, communication, PTC. "Information about the regulations of the content of the Internet". PTC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-22. สืบค้นเมื่อ 22 March 2014.
  24. Yaman, Akdeniz; Kerem, Altiparmak (November 2008). Internet : restricted access : a critical assessment of Internet content regulation and censorship in Turkey (PDF). Imaj Kitabevi & Imaj Yayinevi. ISBN 9789758752652. OCLC 488655521.
  25. "Turkey blocks Wikipedia as threat to national security". Jurist (ภาษาอังกฤษ). 29 April 2017. สืบค้นเมื่อ 8 May 2017.
  26. "Turkey blocks access to Wikipedia". Reuters. 29 April 2017. สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
  27. "Türkei blockiert Wikipedia-Zugang" (ภาษาเยอรมัน). Deutsche Welle. 29 April 2017. สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
  28. "Internet-Zensur unter Erdogan: Türkei blockiert Wikipedia". FOCUS Online (ภาษาเยอรมัน). 29 April 2017. สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
  29. "Turkey Can't Block This Copy of Wikipedia". Observer. 10 May 2017. สืบค้นเมื่อ 14 May 2017.
  30. "Wikipedia'nın Engellenemeyen Türkçe Sürümü Yayına Girdi!". Webtekno (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 14 May 2017.
  31. "Wikipedia'nın 'Engellenemeyen Türkçe Sürümünü' Çıkardılar!". www.entertusu.net (ภาษาตุรกี). สืบค้นเมื่อ 14 May 2017.[ลิงก์เสีย]
  32. "'Pirate' Wikipedia launched in Turkey after access ban - SCIENCE & TECHNOLOGY". Hurriyetdailynews.com. 2011-09-13. สืบค้นเมื่อ 2017-09-13.
  33. See [1] เก็บถาวร 2017-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and [2] เก็บถาวร 2017-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
Wikinews
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Turkey blocks Wikipedia, alleging smear campaign