การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด
หัตถการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
MeSHD018380

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด (อังกฤษ: Hematopoietic stem cell transplantation) คือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ซึ่งอาจเก็บจากเลือดดำ ไขกระดูก หรือเลือดจากสายสะดือ เซลล์เหล่านี้เจริญมาจากเนื้อเยื่อมีโซเดิร์ม และส่วนใหญ่อยู่ที่ไขกระดูกส่วนไขแดง พบได้ในใจกลางกระดูกส่วนใหญ่

เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดนี้สามารถพัฒนาไปเป็นเม็ดเลือดในสายไมอีลอยด์ (เช่น เม็ดเลือดขาวโมโนไซต์ แมโครฟาจ นิวโตรฟิล เบโซฟิล อีโอซิโนฟิล เม็ดเลือดแดง เซลล์เดนไดรต์ เมกะแคริโอไซต์ และเกล็ดเลือด) และสายลิมฟอยด์ (เช่น เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์ทีและเซลล์บี เซลล์เอ็นเค) ได้

แหล่งที่มาของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด[แก้]

การเลือกผู้บริจาคที่มีหมู่เอชแอลเอตรงกันกับผู้ป่วยเป็นขั้นตอนสำคัญในการลดความเสี่ยงของการเกิดปฏิกิริยาต่อต้านการปลูกถ่าย ผู้รับบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดประมาณ 25-30% จะได้รับเซลล์มาจากพี่น้องที่มีหมู่เอชแอลเอตรงกันทุกประการ อย่างไรก็ดี แม้จะได้รับเซลล์จากบริจาคที่ "ตรงกันทุกประการ" แล้ว ก็ยังอาจเกิดปฏิกิริยาจากหมู่อัลลีลย่อย ทำให้เกิดเป็นภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต้านร่างกายผู้ป่วยได้

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]