ข้ามไปเนื้อหา

การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารวิชาการ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการ (อังกฤษ: academic journal publishing reform) หมายถึง การสนับสนุนความเปลี่ยนแปลงของการสร้างและการแจกจ่ายวารสารวิชาการ ในยุคอินเทอร์เน็ตและการกำเนิดของสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่เริ่มใช้อินเทอร์เน็ต คนได้รณรงค์เพื่อเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างผู้เขียน ผู้แจกจ่ายแบบดั้งเดิม และผู้อ่าน โดยการอภิปรายส่วนใหญ่ได้มุ้งเน้นทางด้านการใช้ประโยชน์จากความสามารถของอินเทอร์เน็ตในการแจกจ่ายเอกสารและสิ่งตีพิมพ์อย่างทั่วถึง 

ประวัติ

[แก้]

ก่อนการกำเนิดของอินเทอร์เน็ต การที่นักวิชาการจะแจกจ่ายบทความและผลของงานวิจัยนั้นเป็นเรื่องยาก[1] ในอดีต สำนักพิมพ์ให้การบริการหลายอย่าง เช่น การพิสูจน์อักษร การเรียงพิมพ์ การปรับปรุงต้นฉบับ การพิมพ์ และการแจกจ่ายทั่วโลก[1] ในยุคปัจจุบัน ผู้วิจัยทุกคนถูกคาดหวังให้ส่งสำเนาดิจิทัลของผลงานที่ผ่านการดำเนินการโดยสมบูรณ์แล้วแก่สำนักพิมพ์[1] การพิมพ์นั้นไม่จำเป็นสำหรับการแจกจ่ายแบบดิจิทัล การสร้างสำเนานั้นไม่มีค่าใช้จ่าย และการแจกจ่ายทั่วโลกนั้นเกิดขึ้นทันทีในโลกออนไลน์[1] เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่มาพร้อมกับต้นทุนต่อหัวที่ลดลงอย่างชัดเจน ทำให้สำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์หลักทั้ง 4 สำนักพิมพ์อย่าง แอ็ลเซอเฟียร์ สปริงเกอร์ วิลลีย์ และอินฟอร์มา มีโอกาสลดต้นทุนและสร้างกำไรสนธิมากกว่าหนึ่งในสามของรายได้[1]

อินเทอร์เน็ตทำให้นักวิจัยทำงานที่เคยเป็นหน้าที่ของสำนักพิมพ์ได้ง่ายขึ้น ทำให้หลายคนเริ่มรู้สึกว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินซื้อบริการจากสำนักพิมพ์ มุมมองเหล่านี้นั้นเป็นปัญหาต่อสำนักพิมพ์ โดยสำนักพิมพ์นั้นระบุว่าบริการต่างๆนั้นยังมีความจำเป็นในราคาที่ขอ[1] นักวิจารณ์เริ่มเรียกการปฏิบัติของสำนักพิมพ์ด้วยคำต่างๆเช่น "การโกงแบบเป็นบริษัท" และ "การหลอกลวง"[2] บางครั้งนักวิชาการยังได้รับบทความทางวิชาการจาก นักวิชาการคนอื่นผ่านช่องทางที่ไม่เป็นทางการ เช่น การประกาศคำร้องบนทวิตเตอร์  โดยการใช้แฮชแท็ก "#ไอแคนแฮซพีดีเอฟ" เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินให้กับสำนักพิมพ์[3][4]

แรงบันดาลใจในการปฏิรูป

[แก้]

แม้จะมีความพยายามก่อนหน้านี้ ทว่าการเข้าถึงแบบเปิดได้กลายเป็นที่ต้องการหลังการกำเนิดของสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ และเป็นส่วนหนึ่งในการพยายามปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการ สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์สร้างผลประโยชน์ใหม่ เมื่อเทียบกับการพิมพ์บนกระดาษ ทว่านอกเหนื่อจากนั้น สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ได้เป็นส่วนสร้างปัญหาให้กับต้นแบบการตีพิมพ์แบบดั้งเดิม

ข้อตั้งเบื่องเหลังการเข้าถึงแบบเปิดคือ การมีต้นแบบการจัดหาเงินทุนที่ปฏิบัติตามได้เพื่อคงคุณภาพของสำนักพิมพ์ทางวิชาการ (Academic publishing) แบบดั้งเดิมไว้ รวมไปถึงสร้างความเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  1. แทนที่จะทำให้วารสารเข้าถึงได้ผ่านการสมัครมาชิก สำนักพิมพ์ทางวิชาการทั้งหมดไม่ควรเก็บค่าใช้จ่ายในการอ่านและตีพิมพ์ โดยมีการจัดหาเงินทุนรูปแบบอื่น สิ่งตีพิมพ์ควรถูกยกเว้นค่าธรรมเนียม หรือ "อ่านโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย"[5]
  2. แทนที่จะให้ลิขสิทธิ์แก่สิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ผู้อ่านควรจะมีสิทธิที่จะพัฒนางานวิจัยของคนอื่นอย่างเสรี สิ่งตีพิมพ์ควรจะมีความเสรี หรือ "เสรีต่อการนำไปพัฒนา"[5]
  3. ทุกคนควรมีความตระหนักที่มากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาทางสังคมที่ร้ายแรงซึ่งเกิดจากการจำกัดการเข้าถึงงานวิจัยทางวิชาการ[5]
  4. ทุกคนควรรับรู้ว่ามีบททดสอบทางเศรษฐกิจอันยิ่งใหญ่สำหรับอนาคตของสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แม้ต้นแบบการเข้าถึงแบบเปิดนั้นจะเต็มไปด้วยปัญหา ต้นแบบการตีพิมพ์แบบดั้งเดิมนั้นไม่ยั่งยืนและควรได้รับการเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว[5]

การเข้าถึงแบบเปิดยังมีเป้าหมายเกินกว่าการให้การเข้าถึงแก่สิ่งพิมพ์ทางวิชาการ ด้วยความที่การเข้าถึงงานวิจัยเป็นเพียงเครื่องมือที่จะช่วยให้คนบรรลุเป้าหมายอื่นเท่านั้น การเข้าถึงแบบเปิดพัฒนาการดำเนินการทางวิชาการในด้านของข้อมูลแบบเปิด รัฐบาลแบบเปิด ทรัพยากรทางการศึกษาแบบเปิด ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซและซอฟต์แวร์ฟรี และวิทยาศาสตร์แบบเปิด[6]

ปัญหาที่ถูกจัดการโดยการปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการ

[แก้]

แรงบันดาลใจเบื้องหลังการปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการมีหลายอย่สง เช่น ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก  ความได้เปรียบในการที่นักวิจัยสามารถเข้าถึงฉบับก่อนที่ตีพิมพ์ได้มากขึ้น และแนวโน้มสำหรับการโต้ตอบระหว่างนักวิจัย[7]

งานวิจัยได้ทำให้เห็นความต้องการต่องานวิจัยแบบเปิด และยังพบว่าบทความที่เข้าถึงได้อย่างเสรีนั้นมีปัจจัยกระทบที่มากกว่าบทความที่ถูกตีพิมพ์ภายใต้การเข้าถึงที่จำกัด[8][9]

บางมหาวิทยาลัยได้รายงานว่า การสมัครสมาชิกผ่าน "ข้อตกลงแบบชุด" นั้นมีราคาที่สูงเกินไปกว่าที่มหาลัยจะจ่ายไหว และเลือกที่จะสมัครสมาชิกวารสารต่อวารสารเพื่อประหยัดเงิน[10]

ปัญหาซึ่งนำไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับการปฏิรูปการตีพิมพ์วารสารทางวิชาการได้ถูกพิจารณาในบริบทของบทบัญญัติที่จะมากับการเข้าถึงแบบเปิด ปัญหาของสำนักพิมพ์ทางวิชาการซึ่งผูสนับสนุนอ้างว่าการเข้าถึงแบบเปิดจะจัดการได้ มีดังนี้ 

  1. วิกฤตการตั้งราคาที่มีชื่อว่า วิกฤตอนุกรม ซึ่งได้เติบโตขึ้นหลายทศวรรษก่อนหน้าการเข้าถึงแบบเปิด นั้นยังคงเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมสำนักพิมพ์ทางวิชาการได้เพิ่มราคาของวารสารทางวิชาการเร็วกว่าภาวะเงินเฟ้อและเกินกว่างบของห้องสมุด[5]
  2. วิกฤตการตั้งราคาไม่ได้ส่งผลกะทบต่องบประมาณเท่านั้น ทว่ายังกระทบต่อการเข้าถึงวารสารของหลายๆคนอีกด้วย[5]
  3. แม้หอสมุดที่รวยที่สุดก็ไม่สามารถซื้อวารสารทั้งหมดที่ผู้ใช้ต้องการได้ ไม่ต้องพูดถึงหอสมุดที่มีงบน้อยกว่าซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากกับการที่ไม่สามารถเข้าถึงวารสาร [5]
  4. สำนักพิมพ์ใช้ กลยุทธ์ใน "การจัดชุด" เพื่อขายวารสาร โดยกลยุทธ์ทางการตลาดนี้ถูกวิจารณ์โดยหอสมุดหลายแห่งว่าเป็นการบังคับให้พวกเขาจ่ายเงินซื้อวารสารที่ไม่เป็นที่นิยมและไม่มีความต้องการจากผู้ใช้[5]
  5. หอสมุดได้ลดงบประมาณสำหรับหนังสือ เพื่อนำไปจ่ายค่าวารสาร[5]
  6. หอสมุดนั้นไม่ได้เป็นเจ้าของวารสารอิเล็กทรอนิกส์อย่างถาวรอย่างที่เคยเมื่อเป็นเจ้าของสำเนาที่เป็นกระดาษ เพราะฉะนั้นหากหอสมุดยกเลิกสมาชิกวารสาร หอสมุดจะเสียวารสารทั้งหมดที่เคยเป็นสมาชิกไป สิ่งเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับวารสารซึ่งพิมพ์บนกระดาษ อีกทั้งจากประวัติแล้ว ราคาของแบบอิเล็กทรอนิกส์ยังสูงกว่าอีกด้วย[5]
  7. สำนักพิมพ์ทางวิชาการได้รับสินทรัพย์จำเป็นจากสมาชิกในทางที่สำนักพิมพ์อื่นๆไม่ได้[5] ผู้เขียนบริจาคต้นฉบับวารสารทางวิชาการให้สำนักพิมพ์รวมถึงให้สิทธิในการตีพิมพ์ ผู้แก้ไขและผู้ตัดสินได้บริจาคการตรวจทานชิ้นงาน ทำให้ผู้เขียนวารสารตั้งคำถามต่อความกดดันที่เพิ่มขึ้นในการซื้อวารสารซึ่งถูกทำขึ้นโดยชุมชนของเขาเองในราคาที่สูงขึ้น[5]
  8. สำนักพิมพ์ที่เป็นที่ยมนั้นใช้ต้นแบบธุรกิจซึ่งต้องการกันบังที่สร้างการขาดแคลนจอมปลอมขึ้น[5] สำนักพิมพ์ทุกที่ต้องการรายได้ ทว่าการเข้าถึงแบบเปิดนั้นจะช่วยผลิตต้นแบบที่การขาดแคลนนั้นเป็นพื้นฐานในการเพิ่มรายได้[5]
  9. สำนักพิมพ์ทางวิชาการในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งนโยบายของรัฐบาล เงินอุดหนุนสาธารณะ เศรษฐกิจแบบเจือจาน การปฏิบัติที่ต่อต้านการแข่งขัน ทว่าทั้งหมดนี้นั้นขัดกับต้นแบบสำนักพิมพ์ทางวิชาการในปัจจุบันของการเข้าถึงการทำงานแบบจำกัด[5]
  10. วารสารที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมนั้นแข่งกันให้ผู้เขียนบริจาคเนื้อหากันมากกว่าท่จะแข่งกันหาสมาชิกมาซื้อผลงานเหล่านั้น นี่เป็นเพราะว่าวารสารทางวิชาการทุกฉบับนั้นมีการผูกขาดต่อข้อมูลในสาขาโดยปริยาย เพราะการนี้ ตลาดการตั้งราคาวารสารจึงไม่มีผลป้อนกลับ เนื่อจากอยู่นอกเหนือแรงผลักดันทางตลาดแบบดั้งเดิม และราคาไม่ถูกควบคุมเพื่อสนองความต้องการตลาด[5]
  11. นอกจากธรรมชาติในการผูกขาดแล้ว ยังมีหลักฐานว่าราคานั้นถูกทำให้เฝ้อเพื่อเอื้อผลประโยชน์ต่อสำนักพิมพ์ในขณะที่ก่อผลเสียต่อตลาด หลักฐานได้แก่ ค่านิยมที่สำนักพิมพ์ใหญ่ๆจะเพิ่มราคาเร็วกว่าสำนักพิมพ์เล็กๆ ทั้งๆที่จริงๆแล้วอัตราการขายที่มากกว่าน่าจะนำมาซึ่งต้นทุนที่ถูกกว่า
  12. สำนักพิมพ์ทางวิชาการในปัจจุบันลงทุนกับ "การปกป้องเนื้อหา" ซึ่งจำกัดและตรวจตราการแบ่งปันเนื้อหา[5]
  13. สำนักพิมพ์ที่แสวงหากำไรนั้นมีแรงจูงใจที่จะลดอัตราการปฏิเสธบทความเพื่อที่จะได้มีเนื้อหาไปขายมากขึ้น แรงผลักดันทางตลาดจะไม่เกิดขึ้นหากการขายเนื้อหาเพื่อเงินไม่ใช่แรงผลักดัน[5]
  14. นักวิจัยหลายคนไม่รู้ถึงความเป็นไปได้ที่จะเข้าถึงบทความวิจัยที่พวกเขาต้องการทั้งหมด และยอมอยู่กับการที่ไม่สามารถอ่านบทความที่ต้องการได้[5]
  15. การเข้าถึงวารสารที่มีค่าใช้จ่ายนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นตามมาตราส่วนกับการวิจัยและการตีพิมพ์ และสำนักพิมพ์ทางวิชาการนั้นยังอยู่ภายใต้แรงผลักดันตลาดที่จำกัดการเพิ่มขึ้นของสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการเติบโตของงานวิจัย[5]

แรงจูงใจในการต่อต้านการปฏิรูป

[แก้]

สำนักพิมพ์ได้ระบุว่า หากแม้ไม่ได้ให้กำไรเป็นประเด็นหนึ่งในการกำหนดราคาของวารสาร ก็ไม่ได้มีผลกระทบต่อราคาของวารสาร[11] สำนักพิมพ์ยังระบุอีกว่าพวกเขาได้ช่วยเพิ่มมูลค่าให้สิ่งพิมพ์ในหลายด้าน หากปราศจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการแล้ว การบริการสำหรับผู้อ่านจะขาดหายไป ส่งผลให้จำนวนคนที่เข้าถึงบทความได้มีจำนวนน้อยลง[11]

นักวิจารณ์การเข้าถึงแบบเปิดเสนอว่า นี่ไม่ใช่คำตอบของปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของสำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์ ทว่ามันเพียงแต่เป็นตัวเปลี่ยนทางไหลของเงินจำนวนมาก[12] หลักฐานของสิ่งนี้นั้นมีอยู่ ตัวอย่สงเช่น มหาวิทยาลัยเยลได้ยุติการสนับสนุนทางการเงินสำหรับโปรแกรม BioMed Central’s Open Access Membership ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 มีรายงานเหตุการณ์คล้ายกันในมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์

ศัตรูของต้นแบบการเข้าถึงแบบเปิดเห็นสำนักพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่ข้อมูลทางวิชาการ และมองว่าต้นแบบการจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงข้อมูลนั้นจำเป็นต่อการที่จะตอบแทนสำนักพิมพ์สำหรับงานของพวกเขาอย่างเหมาะสม "ในความเป็นจริง สำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์ เทคนิค และแพทย์ศาสตร์ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรนอกเหนือจากชุมชนทางวิชาการ หากแต่ประกอบด้วยกลุ่มสังคมที่เรียนรู้ที่จะพึ่งอยู่กับรายได้จากสมาชิกวารสาร เพื่อสนับสนุนการสัมมนา การบริการสมาชิก และทุนทางวิชาการ"[13] การตีพิมพ์วารสารทางวิชาการซึ่งสนับสนุนการจ่ายเงินซื้อการเข้าถึงวารสารอ้างว่า การที่พวกเขาทำหน้าที่เป็น "ผู้เฝ้าประตู" ซึ่งช่วยคงชื่อเสียงทางวิชาการ จัดการแก้ไขแบบเสรี รวมไปถึงการแก้ไขและทำดัชนีให้บทความนั้นต้องการทรัพยากรที่หาไม่ได้ภายใต้ต้นแบบการเข้าถึงแบบเปิด สำนักพิมพ์ทางวิชาการในปัจจุบันยังอาจเสียลูกค้าให้กับสำนักพิมพ์แบบเปิดที่เป็นคู่แข่ง[14]

สำหรับนักวิจัยแล้ว การตีพิมพ์บทความในวารสารวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงนั้นถือได้ว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงแชและเพิ่มโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ ทำให้มีความกังวงว่ามุมมองวารสารแบบเปิดนั้นจะมีชื่อเสียงที่ต่างออกไป ส่งผลให้การตีพิมพ์ลดลง[15]

โดยทั่วไป ผู้เขียนบทความในวารสารไม่ไดรับทุนทางการเงินนอกเหนือจากเงินเดือนสำหรับงานของพวกเขาหากไม่นับชื่อเสียงและผลประโยชน์ในรูปของเงินสนับสนุนจากสถาบัน คำเสนองาน และการร่วมงานจากเพื่อนร่วมงาน[16]

นอกจากนี้ยังมีพวกอื่น เช่น PRISM ซึ่งคิดว่าการเข้าถึงแบบเปิดนั้นไม่จำเป็น และอาจก่อผลเสีย โดยอ้างว่าการให้คนนอกสถาบันเข้าถึงสิ่งพิมพ์หลักได้นั้นไม่มีประโยชน์[17]

ข้อโต้แย้งที่ว่างานวิจัยที่ได้รับทุนสาธารณะนั้นควรจะเข้าถึงได้แบบเปิด ถูกลบล้างด้วยการที่ "ปกติแล้วภาษีไม่ได้ถูกจ่ายเพื่อให้ผู้เสียภาษีได้เข้าถึงผลของงานวิจัย หากแต่เพื่อที่สังคมจะได้ประโยชน์จากผลของงานวิจัยเหล่านั้น เช่น ในรูปแบบของการรักษารูปแบบใหม่ สำนักพิมพ​์อ้างว่า 90% ของกลุ่มผู้อ่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่มีอยู่ได้ 90% ผ่านทางหอสมุดแห่งชาติหรือหอสมุดวิจัย แม้ว่าการเข้าถึงจะไม่ได้ง่ายเท่ากับการเข้าบทความออนไลน์โดยตรง แต่มันเป็นไปได้อย่างแน่นอน[18] โดยข้อแย้งเกี่ยวกับงานวิจัยที่มีทุนจากผู้เสียภาษีนั้นนำไปใช้ได้กับเพียงบางประเทศเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ในประเทศออสเตรเลีย 80% ของทุนวิจัยมาจากภาษี ในขณะที่ในประเทศญี่ปุ่นและประเทสวิตเซอร์แลนด์ มีประมาณ 10% เท่านั้น[18]

ด้วยเหตุผลที่หลายหลาย วารสารแบบเปิดถูกก่อตั้งขึ้นโดยสำนักพิมพ์ที่ล่าเหยื่อซึ่งมีเป้าหมายในการหาต้นแบบที่จะทำกำไรโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของวารสาร ผู้ทบทวนงานวิจัยที่ชื่อว่า เจฟฟรี่ บีลล์ ได้เผยแพร่ "บัญชีรายชื่อของสำนักพิมพ์ที่ล่าเหยื่อ" และวิธีการระบุสำนักพิมพ์ที่มีการปฏิบัติทางการเงินและการบรรณาธิการที่ขัดแย้งกับการปฏิบัติของงานวิจัยที่ดี[19][20]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Taylor, Mike (21 February 2012).
  2. Monbiot, George (29 August 2012).
  3. "How #icanhazpdf can hurt our academic libraries".
  4. "Interactions: The Numbers Behind #ICanHazPDF - Altmetric.com" เก็บถาวร 2016-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. 
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 5.12 5.13 5.14 5.15 5.16 5.17 5.18 5.19 Suber 2012, pp. 29–43
  6. Suber 2012, pp. xi
  7. Odlyzko, Andrew M. (January 1995).
  8. Antelman, Kristin (September 2004).
  9. Lawrence, Steve (31 May 2001).
  10. Mayor, S. (2004).
  11. 11.0 11.1 Beschler, Edwin F. (November 1998).
  12. "Yale University Libraries Cancel BioMed Central Membership in the Face of Spiraling Costs - Depth-First". 
  13. Anderson, Rick.
  14. Rachel Deahl AAP Tries to Keep Government Out of Science Publishing.
  15. Park, Ji-Hong; Jian Qin (2007).
  16. Nicholas, D., Rowlands, I. (2005).
  17. DLIST – Goodman, David (2005) Open Access: What Comes Next.
  18. 18.0 18.1 Worlock, Kate (2004).
  19. Beall, Jeffrey (1 December 2012).
  20. Butler, D. (2013).