การผูกขาด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพการ์ตูนต่อต้านการผูกขาดในปี 1879 เป็นภาพนายทุนใหญ่ควบคุมระบบรางรถไฟทั้งหมด

การผูกขาด (อังกฤษ: monopoly) เกิดเมื่อบุคคลหรือวิสาหกิจหนึ่งเป็นผู้ผลิตรายเดียวของโภคภัณฑ์อย่างหนึ่ง (ต่างจากการผูกขาดการซื้อ (monopsony) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมตลาดเพื่อซื้อสินค้าและบริการของบุคคลหรือวิสาหกิจหนึ่ง และการผูกขาดโดยผู้ขายเพียงน้อยราย (oligopoly) ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหรือวิสาหกิจไม่กี่รายครอบงำอุตสาหกรรมหนึ่ง)[1] ฉะนั้น การผูกขาดจึงมีลักษณะขาดการแข่งขันทางเศรษฐกิจเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการ ขาดสินค้าทดแทนที่อยู่รอดได้ และการมีราคาผูกขาดสูงเกินต้นทุนเพิ่มต่อหน่วยของสถานธุรกิจมาก ซึ่งนำสู่กำไรผูกขาดสูง[2] กริยา "ผูกขาด" หมายถึง กระบวนการซึ่งบริษัทได้มาซึ่งความสามารถเพิ่มราคาหรือตัดคู่แข่ง ในทางเศรษฐศาสตร์ การผูกขาดเป็นผู้ขายรายเดียว ในวิชากฎหมาย การผูกขาด คือ สถานธุรกิจซึ่งมีอำนาจทางตลาดอย่างสำคัญ นั่นคือ อำนาจตั้งราคาสูงเกินจนทำให้ปริมาณส่วนเกินในสังคมต่ำลง[3] แม้การผูกขาดอาจเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ แต่ขนาดมิใช่ลักษณะของการผูกขาด ธุรกิจขนาดเล็กยังอาจมีอำนาจเพิ่มราคาในอุตสาหกรรม (หรือตลาด) ขนาดเล็กได้[3]

การผูกขาดอาจเกิดขึ้นได้โดยสภาพเนื่องจากมีการแข่งขันจำกัด เพราะอุตสาหกรรมนั้นต้องใช้ทรัพยากรสูงและต้องมีราคาดำเนินการสูง (เช่น ระบบทางรถไฟ)[4] ขณะที่บางคนเสนอว่าเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงสภาพของการแข่งขันทางเศรษฐกิจในทางที่โน้มเอียงให้เกิดภาวะผู้ชนะกินรวบมากขึ้น[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Milton Friedman (February 2002) [1962]. "VIII: Monopoly and the Social Responsibility of Business and Labor". Capitalism and Freedom (paperback) (40th anniversary ed.). The University of Chicago Press. p. 208. ISBN 0-226-26421-1.
  2. Blinder, Alan S; Baumol, William J; Gale, Colton L (June 2001). "11: Monopoly". Microeconomics: Principles and Policy (paperback). Thomson South-Western. p. 212. ISBN 0-324-22115-0. A pure monopoly is an industry in which there is only one supplier of a product for which there are no close substitutes and in which is very difficult or impossible for another firm to coexist
  3. 3.0 3.1 Orbach, Barak; Campbell, Grace (2012). "The Antitrust Curse of Bigness". Southern California Law Review. SSRN 1856553.
  4. OECD (1997). "Railways: Structure, Regulation and Competition" (PDF). Policy Roundtables: 7. สืบค้นเมื่อ April 20, 2022.
  5. McCarthy, Paul X (June 2015), Online Gravity, Simon and Schuster (ตีพิมพ์ 2015), ISBN 978-1-9250-3074-7