ข้ามไปเนื้อหา

การควบคุมฝูงชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระหว่างการแข่งขันลอนดอนมาราธอนปี 2557 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้กั้นผู้ชมไว้หลังรั้ว ขณะที่เจ้าหน้าที่ปฐมพยาบาลกำลังลาดตระเวน
เจ้าหน้าที่การ์ด้า ชิโอชาน่า (Garda Síochána) ปฏิบัติหน้าที่ยามที่ถนนเคลียร์ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ในโอกาสประธานาธิบดีโอบามาเดินทางเยือนประเทศในปี 2554
เจ้าหน้าที่หน่วยตำรวจปราบจลาจลประจำจังหวัดเกียวโต ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเทศกาลกิออนมัตสึริ พ.ศ. 2551

การควบคุมฝูงชน (อังกฤษ: crowd control) เป็นแนวปฏิบัติด้านความมั่นคงสาธารณะในการจัดการฝูงชนขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันการเหตุการณ์วุ่นวายสับสนจากการเหยียบกัน, วิวาทกัน, การต่อสู้ที่เกิดมาจากผู้คนที่เมาสุราและไร้ระเบียบหรือการจลาจล โดยเฉพาะการเหยียบกันของฝูงชนซึ่งอาจจะทำให้เกิดผู้เสียชีวิตมากถึงหลายร้อยคน[1] การจัดการฝูงชนอย่างมีประสิทธิภาพจะเกี่ยวข้องกับการจัดการฝูงชนเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่อยู่ในการคาดการณ์และเหนือจากความคาดคิด การควบคุมฝูงชนอาจจะเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเอกชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ การควบคุมฝูงชนมักจะถูกใช้งานในการชุมนุมสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น งานสตรีทแฟร์, เทศกาลดนตรี, สนามกีฬา และการเดินขบวนในที่สาธารณะ ในบางเหตุการณ์ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและตำรวจจะใช้เครื่องตรวจจับโลหะและสุนัขตรวจจับเพื่อป้องกันการนำอาวุธและยาเสพติดเข้าไปในสถานที่จัดงาน[2][3][4]

ยุทโธปกรณ์

[แก้]

วัสดุต่าง ๆ เช่น เสากั้นทางเดิน (stanchion)[5], แผงกั้นควบคุมฝูงชน (crowd control barrier)[6], รั้ว และรูปลอกกำหนดเขตติดไว้บนพื้น สามารถใช้ในการควบคุมฝูงชนได้ วิธีทั่วไปที่ใช้ในการควบคุมฝูงชนคือการใช้รั้วที่สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล เพื่อเปลี่ยนเส้นทางและควบคุมการสัญจรของคนเดินเท้าเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดภัยคุกคามที่อาจก่อให้เกิดอันตราย[7] การทำให้ฝูงชนรู้สึกปลอดภัยและผ่อนคลายก็ถือเป็นอีกสิ่งสำคัญ ทำให้บางครั้งมีการใช้งานผ้าใบบังแดด (awning), พัดลมระบายความร้อน (ในสภาพอากาศร้อน) และความบันเทิงเช่นกันในบางครั้ง ดังนั้น การใช้มาตรการที่เข้มงวดและการใช้กำลังอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อฝูงชนมากยิ่งขึ้น เช่น ในช่วงภัยพิบัติฮิลส์โบโร[8] สำหรับการปราบจลาจลและการเดินขบวน ดูเพิ่มได้ที่การปราบจลาจล

ผลิตภัณฑ์เฉพาะทางที่ใช้ในการจัดการแถวและช่วยนำทางในที่สาธารณะในพื้นที่ที่มีการสัญจรหนาแน่น ได้แก่ เสากั้นทางเดินระบบเทปยืดหดได้ (รวมไปถึงเสากั้นทางเดิน และเทปยืดหดได้) และระบบยึดติดกับผนัง (รวมถึงเทปยืดหดได้แบบติดติดกับพื้นผิว) ระบบเสาและเชือก (post and rope system) ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน โดยเฉพาะในธนาคารและภาพยนตร์[9]

ประวัติ

[แก้]

ความเป็นมาของการควบคุมฝูงชนเริ่มต้นขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 ซึ่งขณะนั้นยังไม่เกิดหน่วยควบคุมฝูงชนขึ้นอย่างเป็นทางการ จะมีเพียงเจ้าหน้าที่ 20 นายตั้งแถว ด้านหลังแถวแรกจะมีอีกแถวหนึ่งห่างออกไปประมาณ 20 ฟุต เจ้าหน้าที่จะติดอาวุธคือกระบองและด้ามขวาน หน้าที่ของพวกเขาคือการควบคุมให้ฝูงชนถอยกลับไปในแนวที่กำหนด ซึ่งท้ายที่สุดไม่สามารถควบคุมฝูงชนได้ และทำให้เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บหลายคน[10]

ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1950 ได้เกิดชุดปราบจลาจลขึ้นเป็นชุดแรกที่มีโล่ปราบจลาจลและกระบอง โดยให้เจ้าหน้าที่ตั้งโล่ปราบจลาจลเรียงกันเป็นแถว เมื่อพวกเขาต้องปะทะกับฝูงชน เจ้าหน้าที่ที่มีกระบองจะช่วยสนับสนุนเจ้าหน้าที่ปราบจลาจล อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้กำลังถึงชีวิตในการต่อต้านพวกเขา พวกเขาจะต้องดูแลตัวเอง เนื่องจากไม่มีการฝึกหรือขั้นตอนปฏิบัติที่ชัดเจนในการตอบโต้ต่อสถานการณ์เหล่านี้[10]

คริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 มีการประดิษฐสร้างและใช้แก๊สน้ำตากันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม จากนวัตกรรมใหม่นี้ ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่คุ้นเคยกับการปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมที่มีทัศนวิศัยที่จำกัด เนื่องจากชุดเกราะที่เจ้าหน้าที่สวมใส่ขณะนั้นทำให้ไม่คล่องตัว ส่งผลให้ชุดเกราะประเภทนี้ไม่ค่อยนิยมใช้งาน[10]

เครื่องควบคุมฝูงชน (crowd controller) เป็นอีกชื่อหนึ่งของเบาน์เซอร์ (bouncer)[11] หรือดอร์แมน (doorman)[12]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Benedictus, Leo (October 3, 2015). "Hajj crush: how crowd disasters happen, and how they can be avoided". The Guardian. สืบค้นเมื่อ October 4, 2015.
  2. "Three injured, 60 found with drugs at Future Music". The Sydney Morning Herald. 28 February 2015. สืบค้นเมื่อ 2016-05-21.
  3. Sanders, Bill (2005). "In the Club: Ecstasy Use and Supply in a London Nightclub". Sociology. 39 (2): 241–258. doi:10.1177/0038038505050537. ISSN 0038-0385. S2CID 145212892.
  4. "Jenni Ward: Researching Drug Sellers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-13. สืบค้นเมื่อ 2016-02-15.
  5. Berka, Justin (2007-06-21). "AT&T's terrible secret of space crowd control". Ars Technica.
  6. Aschoff, Susan (2005-07-15). "Barricades at BayWalk make protesters wary". St. Petersburg Times.
  7. "Portable Pedestrian Barriers: 15 Uses for the Roll-Up-Fence". Omega Industrial Products (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-06-01. สืบค้นเมื่อ 2018-01-16.
  8. Turner, Richard (2016-04-28). "Five Hillsborough myths rejected by jury". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-08-14.
  9. Abughosh, Suha. "Crowd Control Management Solving Queue problems in Banking Industry". LinkedIn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-04. สืบค้นเมื่อ 2018-01-16.
  10. 10.0 10.1 10.2 "The History of Crowd Management". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-07. สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
  11. Burgess, Matthew (2008-06-02). "Police probe bouncer attack". The Age.
  12. Crosse, Mark (1992-04-05). "NIGHTCLUB BOUNCERS OF THE 90S IT'S NO LONGER THE GOON BY THE DOOR". Fresno Bee.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]