การขนส่งทางสายท่อ
การขนส่งทางสายท่อ เป็นการขนส่งของเหลวหรือแก๊สทางไกลผ่านระบบท่อหลายท่อ หรือสายท่อ (pipeline) ซึ่งมักสู่ไปยังพื้นที่ตลาดเพื่อการบริโภค ข้อมูลล่าสุดในปี 2014 พบว่ามีสายท่อรวมกันระยะทางเกือบ 3,500,000 กิโลเมตรใน 120 ประเทศในโลก ในจำนวนนี้ สหรัฐมี 65%[1]
สายท่อมีอยู่เพื่อขนส่งปิโตรเลียมดิบและกลั่นแล้ว เชื้อเพลิง เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ และเชื้อเพลิงชีวภาพ และของเหลวอื่นอย่างน้ำเสีย น้ำ เบียร์ น้ำร้อนและไอน้ำเป็นระยะทางสั้น ๆ สายท่อยังมีประโยชน์สำหรับขนส่งน้ำสำหรับบริโภคหรือการชลประทานทางไกลเมื่อต้องเคลื่อนย้ายผ่านเขา หรือเมื่อขนส่งผ่านคลองหรือช่องแคบไม่ได้ด้วยเหตุต่าง ๆ
สายท่อน้ำมันสร้างขึ้นจากท่อเหล็กกล้าหรือพลาสติกซึ่งมักฝังอยู่ใต้ดิน น้ำมันเคลื่อนที่ผ่านสายท่อโดยสถานีสูบตามสายท่อ แก๊สธรรมชาติ (และเชื้อเพลิงแก๊สที่คล้ายกัน) จะถูกบีบอัดเป็นของเหลว เรียก ของเหลวแก๊สธรรมชาติ (NGL)[2] สายท่อแก๊สธรรมชาติสร้างจากเหล็กกล้าคาร์บอน การขนส่งทางสายท่อเป็นการขนส่งที่ปลอดภัยเมื่อเทียบกับทางถนนหรือทางราง และในสงครามมักเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางทหาร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The World Factbook — Central Intelligence Agency". www.cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2016. สืบค้นเมื่อ September 6, 2016.
- ↑ "» The Transportation of Natural Gas NaturalGas.org". สืบค้นเมื่อ 2019-07-18.