กองพลทหารภูเขาสรรพาวุธที่ 13 แห่งเอ็สเอ็ส "ฮันจาร์" (โครเอเชียที่ 1)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองพลทหารภูเขาสรรพาวุธที่ 13 แห่งเอ็สเอ็ส
"ฮันจาร์" (โครเอเชียที่ 1)
ตราสัญลักษณ์ประจำของกองพลทหารภูเขาสรรพาวุธที่ 13 แห่งเอ็สเอ็ส ฮันจาร์ (โครเอเชียที่ 1)[1]
ประจำการ1943–1945
ประเทศนาซีเยอรมนี เยอรมนี
ขึ้นต่อนาซีเยอรมนี เยอรมนี
 รัฐเอกราชโครเอเชีย
เหล่าWaffen-SS
รูปแบบGebirgsjäger (ทหารภูเขา)
บทบาทปฏิบัติการต่อต้านพลพรรค
กำลังรบกองพล (จำนวนสูงสุด 17,000 นาย)
ขึ้นกับV SS Mountain Corps
IX ''Waffen'' Mountain Corps of the SS (Croatian)
LXVIII Army Corps
สมญาฮันจาร์
คำขวัญHandžaru udaraj! (ฮันจาร์ – โจมตี!)
ปฏิบัติการสำคัญ
ผู้บังคับบัญชา
ผบ. สำคัญKarl-Gustav Sauberzweig
Desiderius Hampel

กองพลทหารภูเขาสรรพาวุธที่ 13 แห่งเอ็สเอ็ส "ฮันจาร์" (เยอรมัน: 13. Waffen-Gebirgs-Division der SS „Handschar“) เป็นกองพลทหารภูเขาแห่งหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส,เป็นสาขาหนึ่งของกองกำลังติดอาวุธของพรรคนาซีเยอรมันที่ได้ทำหน้าที่ควบคู่ แต่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเวร์มัคท์อย่างเป็นทางการในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1944 เป็นการต่อสู้รบในการทัพปราบปราบการก่อกบฎเพื่อต่อกรกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของพลพรรคยูโกสลาเวีย กองกำลังต่อต้านในรัฐเอกราชโครเอเชีย รัฐหุ่นเชิดฟาสซิสต์ของเยอรมนีที่คลอบคลุมเกือบทั้งหมดของโครเอเชียสมัยใหม่,ทั้งหมดของบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาสมัยใหม่เป็นเช่นเดียวกับส่วนหนึ่งของเซอร์เบีย การให้คำสมญานามว่า ฮันจาร์ มาจากมีคต่อสู้ท้องถิ่นหรือดาบที่ถูกถือโดยตำรวจชาวออตโตมันในช่วงศตวรรษที่ว่าภูมิภาคนี้เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน เป็นกองพลวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สหน่วยแรกที่ไม่ใช่ชาวเยอรมันและได้ถูกก่อตั้งในการขยายตัวของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สเข้าสู่กองกำลังทหารหลากหลายเชื้อชาติ ประกอบไปด้วยชาวบอสเนียมุสลิม (เชื้อชาติบอสนีแอก) ซึ่งบางส่วนเป็นทหารชาวโครแอตคาทอลิก และเจ้าหน้าที่นายทหารและระดับชั้นประทวน (noncommissioned officer-NCOs) ส่วนใหญ่เป็นชาวเยอรมันและยูโกสลาฟ Volksdeutsche (เชื้อชาติเยอรมัน) ที่ได้ให้คำสาบานความจงรักภักดีต่อทั้งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และผู้นำโครเอเชีย Ante Pavelić

กองพลนี้ได้เข้าสู้รบเพียงสั้น ๆ ใน Syrmia ภูมิภาคทางตอนเหนือของแม่น้ำซาวา (Sava) ก่อนที่จะก้าวข้ามไปยังทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของบอสเนีย หลังจากได้ก้าวข้ามซาวา ก็ได้จัดตั้งด้วยกำหนด"เขตความปลอดภัย"ในด้านตะวันออกเฉียงเหนือของบอสเนียระหว่างแม่น้ำซาวา, บอสนา (Bosna), ดรีนา (Drina) และ Spreča นอกจากนี้ยังได้มีการสู้รบด้านนอกของเขตความปลอดภัยหลายต่อหลายครั้งและได้รับชื่อเสียงสำหรับความโหดเหี้ยมและป่าเถื่อน ไม่เพียงเท่านั้นในช่วงระหว่างการสู้รบ แต่ยังได้ผ่านด้วยการสังหารหมู่อย่างโหดเหี้ยมต่อพลเรือนชาวเซอร์เบียและชาวยิว ในช่วงปลาบปี ค.ศ. 1944 ส่วนหนึ่งของกองพลได้ถูกเคลื่อนย้ายเพียงสั้น ๆ ที่พื้นที่ Zagreb หลังจากนั้นซึ่งสมาชิกที่ไม่ใช่เยอรมันเริ่มที่จะละทิ้งหน้าที่ไปเป็นจำนวนมาก ในช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1944–1945 ได้ถูกส่งไปยังภูมิภาค Baranja ที่ได้เข้าทำการสู้รบต่อกรกับกองทัพแดงและกองทัพบัลแกเรียในทางตอนใต้ของฮังการี จนต้องถอยทัพกลับไปยังส่วนของแนวป้องกันจนกระทั่งพวกเขาได้เข้าไปอยู่ในชายแดนไรช์ ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ที่หลงเหลือได้ถูกทิ้งไว้จุดนี้และได้พยายามที่จะกลับไปยังบอสเนีย ส่วนที่เหลือได้หลบหนีไปยังทางด้านตะวันตกที่ห่างไกลออกไป ด้วยความหวังว่าจะยอมจำนนต่อสัมพันธมิตรตะวันตก สมาชิกส่วนใหญ่ที่เหลือได้กลายเป็นเชลยของกองทัพอังกฤษ เวลาต่อมา, เจ้าหน้าที่นายทหาร 38 นายได้ถูกส่งไปยังยูโกสลาเวียเพื่อเผชิญหน้ากับข้อกล่าวหาอาชญากรรม และ 10 นายได้ถูกตัดสินโทษด้วยการประหารชีวิต

อ้างอิง[แก้]

  1. Keegan 1970, p. 138.