กล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชล
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชล | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ชื่ออื่น | Far Infrared and Submillimetre Telescope (FIRST) |
รหัส NSSDC | 2009-026A |
องค์กร | องค์การอวกาศยุโรป (ESA) โดยมี Thales Alenia Space เป็นผู้รับเหมาหลัก |
วันขึ้นสู่อวกาศ | 14 May 2009 13:12:02 UTC |
ขึ้นจาก | Guiana Space Centre French Guiana |
ยานขนส่ง | Ariane 5 |
ระยะเวลาภารกิจ | elapsed: 5 months and 2 days |
มวล | 3,300 kg (7,300 lb) |
ประเภทวงโคจร | Lissajous orbit |
ความสูงวงโคจร | 1,500,000 km (930,000 mi) |
คาบการโคจร | 1 year |
ความเร็วโคจร | 7,500 m/s (27,000 km/h) |
ตำแหน่ง | Lagrangian point L2 |
ชนิดกล้องโทรทรรศน์ | Ritchey-Chrétien |
ความยาวคลื่น | 60 to 670 µm (0.0024 ถึง 0.026 นิ้ว) (อินฟราเรด) |
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 3,500 mm (140 in), f/0.5 |
พื้นที่ | 9.6 m2 (103 sq ft) |
ความยาวโฟกัส | 28.5 m (94 ft), f/8.7 |
เครื่องมือ | |
HIFI | Heterodyne Instrument for the Far Infrared |
PACS | Photodetector Array Camera and Spectrometer |
SPIRE | Spectral and Photometric Imaging Receiver |
เว็บไซต์ herschel.esac.esa.int |
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเฮอร์เชล (อังกฤษ: Herschel Space Observatory) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศขององค์การอวกาศยุโรป ริเริ่มโครงการตั้งแต่ ค.ศ. 1982 ด้วยความร่วมมือของบรรดานักวิทยาศาสตร์ในยุโรป ชื่อโครงการตั้งขึ้นในเวลาต่อมาตามชื่อของ เซอร์ วิลเลียม เฮอร์เชล นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบสเปกตรัมอินฟราเรด และเป็นผู้ค้นพบดาวยูเรนัส[1]
กล้องเฮอร์เชลสามารถตรวจจับวัตถุในอวกาศที่เย็นจัดและมัวจัดที่สุดจากการบดบังของฝุ่นได้ เช่นในเขตหมอกฝุ่นซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ หรือดาราจักรขุ่นมัวที่เริ่มก่อตัวขึ้นจากการรวมกลุ่มของดาวฤกษ์ใหม่ การสังเกตการณ์สามารถมองทะลุเมฆที่กำเนิดดาวฤกษ์ได้ และสามารถตรวจจับโมเลกุลที่เป็นต้นกำเนิดของชีวิต เช่น น้ำ ได้ว่ากำลังก่อตัวขึ้นหรือไม่
องค์การนาซา มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเครื่องมือวัดสำคัญของโครงการนี้จำนวน 2 ใน 3 ชิ้น รวมถึงจะมีบทบาทในการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญด้วย ห้องทดลองการขับเคลื่อนด้วยไอพ่นขององค์การนาซาในเมืองคาลิฟได้พัฒนาและสร้าง โบโลมิเตอร์ "โครงข่ายใยแมงมุม" สำหรับเครื่องรับภาพแบบแสงและสเปกตรัม (spectral and photometric imaging receiver; SPIRE) ให้แก่กล้องเฮอร์เชล ซึ่งมีความละเอียดสูงกว่ารุ่นก่อนหน้าถึง 40 เท่า นอกจากนี้ยังสร้างโครงข่ายอุปกรณ์กำเนิดและรวมสัญญาณ และอุปกรณ์ขยายสัญญาณสำหรับคลื่นอินฟราเรดไกล (heterodyne instrument for the far infrared; HIFI) ด้วย[2]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Herschel Factsheet". European Space Agency. 17 April 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
- ↑ "Herschel: Exploring the Birth of Stars and Galaxies". NASA.