กรังด์ปรีซ์มอเตอร์ไซค์เคิลเรซซิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรังด์ปรีซ์มอเตอร์ไซค์เคิลเรซซิ่ง
โมโตจีพีเวิลด์ แชมเปียนชิพ
โลโก้ทางการของโมโตจีพี
ประเภทการแข่งขันประเภทมอเตอร์ไซต์
ภูมิภาคทั่วโลก
การเริ่มฤดูกาลค.ศ.2002 / พ.ศ.2545
ผู้สร้างAprilia, Ducati, Honda, KTM, Yamaha
ผู้ผลิตยางรถMichelin
ผู้ขี่แชมป์อิตาลี ฟรันเชสโก บัญญายา
ทีมแชมป์Prima Pramac Racing
ผู้สร้างแชมป์Ducati
เว็บไซต์ทางการmotogp.com
ฤดูกาลปัจจุบัน
โมโต 2 เวิลด์ แชมเปียนชิพ
โลโก้ทางการของโมโตทู
ประเภทการแข่งขันประเภทมอเตอร์ไซต์
ภูมิภาคทั่วโลก
ผู้สร้างคาเล็กซ์, บอสคอสคูโร่, ฟอร์เวิร์ด
ผู้ผลิตยางรถพิเรลลี่
ผู้ขี่แชมป์สเปน Pedro Acosta
ทีมแชมป์Red Bull KTM Ajo
ผู้สร้างแชมป์คาเล็กซ์
ฤดูกาลปัจจุบัน
โมโต 3 เวิลด์ แชมเปียนชิพ
โลโก้ทางการของโมโตทรี
ประเภทการแข่งขันประเภทมอเตอร์ไซต์
ภูมิภาคทั่วโลก
ผู้สร้างฮอนด้า, เคทีเอ็ม, แก๊สแก๊ส, ฮุสวาน่า, ซีเอฟโมโต
ผู้ผลิตยางรถพิเรลลี่
ผู้ขี่แชมป์สเปน เจาเม่ มาร์เซีย
ทีมแชมป์เคทีเอ็ม
ผู้สร้างแชมป์Liqui Moly Husqvarna Intact GP
โมโตอี เวิลด์ แชมเปียนชิพ
ผู้สร้างเอเนอร์จิก้า, ดูคาติ
ผู้ผลิตยางรถมิชลิน
ผู้ขี่แชมป์สวิตเซอร์แลนด์ โดมินิค เอเกอเธอร์
ผู้สร้างแชมป์เอเนอร์จิก้า
กรังด์ปรีซ์มอเตอร์ไซค์เคิลเรซซิง

กรังด์ปรีซ์มอเตอร์ไซค์เคิลเรซซิ่ง (อังกฤษ: Grand Prix motorcycle racing) เป็นการแข่งขันชิงแชมป์ที่สำคัญที่สุดของจักรยานยนต์ทางเรียบ ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งหมด 4 รุ่น คือ โมโตจีพี, โมโต 2 ,โมโต 3 และ โมโตอี โดยรถที่ใช้ในการแข่งจะเป็นรถจักรยานยนต์ที่ออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อการแข่งขันโดยเฉพาะ ซึ่งไม่มีจำหน่ายในตลาด

เนื้อหา[แก้]

ช่วงยุคก่อนโมโตจีพี[แก้]

ค.ศ.1949 / พ.ศ.2492

- กำเนิดกรังด์ปรีซ์มอเตอร์ไซค์เคิลเรซซิ่ง โดยแบ่งเป็นทั้งหมด 5 รุ่น ได้แก่

125 ซีซี, 250 ซีซี, 350 ซีซี, 500 ซีซี และ Sidecars โดย Harold Daniell เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ชนะการแข่งรุ่น 500 ซีซี ที่สนาม Isle of Man TT

ค.ศ.1951 / พ.ศ.2494

- รุ่น Sidecars ถูกลดขนาดความจุเครื่องยนต์ลง จาก 600 ซีซี เป็น 500 ซีซี

ค.ศ.1957 / พ.ศ.2500

- ผู้ผลิต Gilera, Mondial และ Moto Guzzi ได้ถอนตัวออกไปหลังจบฤดูกาล เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการทำทีมที่สูงมากเกินไป ส่วน Bob McIntyre ชนะการแข่งขันในสนามที่ยาวที่สุดถึง 301.84 ไมล์ (ประมาณ 8 รอบในสนาม Isle of Man TT ณ ตอนนั้น)

ค.ศ.1958 / พ.ศ.2501

- ผู้ผลิต MV Agusta ชนะในนามผู้ผลิตและนักแข่งทั้ง 4 รุ่น (ยกเว้น Sidecars) และก็รักษาแชมป์ได้อีก 2 ปีซ้อน

ค.ศ.1959 / พ.ศ.2502

- ผู้ผลิต Honda ได้ทำการเข้าแข่งขันครั้งแรก ในสนาม Isle of Man TT

ค.ศ.1961 / พ.ศ.2504

- สนาม Autódromo Termas de Río Hondo ได้รับการบรรจุลงในรายการครั้งแรก และเป็นสนามแรกที่แข่งขันกันนอกทวีปยุโรป

ค.ศ.1963 / พ.ศ.2506

- สนาม Mobility Resort Motegi ได้รับการบรรจุลงในรายการครั้งแรก และเป็นสนามแรกที่แข่งขันกันในทวีปเอเชีย

ค.ศ.1964 / พ.ศ.2507

- สนาม Mazda Raceway Laguna Seca ได้รับการบรรจุลงในรายการครั้งแรก และเป็นสนามแรกที่แข่งขันกันในทวีปอเมริกาเหนือ

ค.ศ.1966 / พ.ศ.2509

- ผู้ผลิต Honda ชนะในนามผู้ผลิตทั้ง 5 รุ่น Jim Redman เป็นคนแรกที่ชนะในรุ่น 500 ซีซี ในนาม Honda ที่สนาม Hockenheimring และเป็นผู้ผลิตจากญี่ปุ่นเจ้าแรกที่ชนะในรายการนี้

ค.ศ.1967 / พ.ศ.2510

- เป็นปีสุดท้ายที่แข่งขันกันโดยที่เครื่องยนต์ไม่จำกัดจำนวนลูกสูบและจำนวนเกียร์ ส่งผลให้ Honda ถอนตัวเพื่อประท้วง

ค.ศ.1968 / พ.ศ.2511

- Giacomo Agostini เป็นแชมป์โลกในรุ่น 350 ซีซี และ 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต MV Agusta

ค.ศ.1969 / พ.ศ.2512

- Godfrey Nash ได้ขี่รถ Norton Manx จนชนะในสนาม Opatija Circuit และเป็นคนสุดท้ายที่ชนะในรุ่นนี้ ด้วยเครื่องยนต์ single-cylinder/Inline-1

ค.ศ.1971 / พ.ศ.2514

- Jack Findlay ได้ขี่รถ Suzuki TR500 จนชนะครั้งแรก ในสนาม Ulster Grand Prix ในรุ่น 500 ซีซี ด้วยเครื่องยนต์ 2 จังหวะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ค.ศ.1972 / พ.ศ.2515

- หลังจากการเสียชีวิตของ Gilberto Parlotti ในสนาม Isle of Man TT ทำให้ Giacomo Agostini และนักแข่งหลายคนในตอนนั้น ประท้วงโดยการล้มเลิกการแข่งขันไปถึง 4 สนาม เหตุเพราะความปลอดภัยในสมัยนั้น

- การแข่งขันปีสุดท้ายของรุ่น Sidecars

- Giacomo Agostini ชนะแชมป์โลกรวม 7 สมัยในรุ่น 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต MV Agusta ทั้งหมด

ค.ศ.1973 / พ.ศ.2516

- หลังจากการเสียชีวิตของ Jarno Saarinen และ Renzo Pasolini ส่งผลทำให้การแข่งขันที่สนาม Monza ถูกยกเลิกไป

ค.ศ.1974 / พ.ศ.2517

- Suzuki RG500 เป็นรถคันแรกที่ใช้เครื่องยนต์ Square-4 ในรุ่น 500 ซีซี ส่วนแชมป์ผู้ผลิตเป็นของ Yamaha ที่ชนะครั้งแรกด้วยเครื่องยนต์ 2 จังหวะ

ค.ศ.1975 / พ.ศ.2518

- Giacomo Agostini เป็นแชมป์โลกในรุ่น 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต Yamaha และเป็นคนแรกที่ชนะแชมป์โลกด้วยรถผู้ผลิตที่ไม่ได้มาจากยุโรป

ค.ศ.1976 / พ.ศ.2519

- Barry Sheene เป็นแชมป์โลกในรุ่น 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต Suzuki

- สนาม Isle of Man TT ถูกถอดออกไปหลังจากฤดูกาลนี้ เนื่องจากการประท้วงของนักแข่งหลายคนในตอนนั้น

ค.ศ.1977 / พ.ศ.2520

- เปิดตัวรุ่น Formula 750 สำหรับรถที่ใช้เครื่องยนต์ 750 ซีซี

- Barry Sheene เป็นแชมป์โลกในรุ่น 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต Suzuki อีกครั้ง

- สนาม Silverstone Circuit ถูกเข้ามาแทนที่สนาม Isle of Man TT

ค.ศ.1978 / พ.ศ.2521

- Kenny Roberts เป็นแชมป์โลกชาวอเมริกันคนแรก ในรุ่น 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต Yamaha

ค.ศ.1979 / พ.ศ.2522

- การแข่งขันปีสุดท้ายของรุ่น Formula 750

ค.ศ.1980 / พ.ศ.2523

- Patrick Pons (รุ่น 500 ซีซี) และ Malcolm White (รุ่น Sidecars) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในสนาม Silverstone Circuit

ค.ศ.1981 / พ.ศ.2524

- Marco Lucchinelli เป็นแชมป์โลกในรุ่น 500 ซีซี ด้วยรถ Suzuki RG500 Gamma

ค.ศ.1982 / พ.ศ.2525

- Franco Uncini เป็นแชมป์โลกในรุ่น 500 ซีซี ด้วยรถ Suzuki RG500 Gamma

- การแข่งขันปีสุดท้ายของรุ่น 350 ซีซี

ค.ศ.1983 / พ.ศ.2526

- Freddie Spencer เป็นแชมป์โลกในรุ่น 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต Honda

ค.ศ.1984 / พ.ศ.2527

- Michelin ได้เสนอยางแบบ Radial tires เพื่อใช้ในการแข่งขัน

- รุ่น 50 ซีซี ถูกแทนที่ด้วยรุ่น 80 ซีซี

ค.ศ.1985 / พ.ศ.2528

- Freddie Spencer เป็นแชมป์โลกในรุ่น 250 ซีซี และ 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต Honda

ค.ศ.1987 / พ.ศ.2530

- ระบบ Push Start ได้ถูกยกเลิกไป

- Wayne Gardner เป็นแชมป์โลกชาวออสเตรเลียคนแรก ในรุ่น 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต Honda

ค.ศ.1988 / พ.ศ.2531

- Wayne Rainey ชนะครั้งแรกในสนาม Silverstone Circuit ในรุ่น 500 ซีซี โดยใช้จานเบรคแบบ carbon brakes

- Alfred Heck (นักแข่งผู้โดยสารของ Andreas Räcke) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในรอบ Free Practice ในรายการ French Sidecar GP

ค.ศ.1989 / พ.ศ.2532

- Iván Palazzese (รุ่น 250 ซีซี) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในสนาม Hockenheimring

- การแข่งขันปีสุดท้ายของรุ่น 80 ซีซี

ค.ศ.1990 / พ.ศ.2533

- รุ่น 500 ซีซี บังคับจำกัด Grid Start จาก 5 คัน/แถว เป็น 4 คัน/แถว

ค.ศ.1992 / พ.ศ.2535

- Honda เปิดตัวรถ NSR500 ด้วยเครื่องยนต์ 112° V4 "Big bang" (2 จังหวะ)

ค.ศ.1993 / พ.ศ.2536

- Shinichi Ito ได้ขี่รถ NSR500 ทำความเร็วทะลุ 200 mph (320 km/h) ที่สนาม Hockenheimring

- Nobuyuki Wakai (รุ่น 250 ซีซี) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในรอบ Practice Session ที่สนาม Circuito Permanente de Jerez

- Wayne Rainey ได้ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงระหว่างการแข่งขัน ที่สนาม Circuito Internazionale Santa Monica

ค.ศ.1994 / พ.ศ.2537 Simon Prior (นักแข่งผู้โดยสารของ Yoshisada Kumagaya) เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ในรายการ Sidecar GP ที่สนาม Hockenheimring

ค.ศ.1998 / พ.ศ.2541

- รุ่น 500 ซีซี เปลี่ยนมาใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว

- Mick Doohan ชนะแชมป์โลกรวม 5 สมัยในรุ่น 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต Honda ทั้งหมด

ค.ศ.1999 / พ.ศ.2542

- Àlex Crivillé เป็นแชมป์โลกชาวสเปนคนแรก ในรุ่น 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต Honda

ค.ศ.2000 / พ.ศ.2543

- Kenny Roberts Jr. เป็นแชมป์โลกในรุ่น 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต Suzuki โดยเป็นพ่อลูกคู่แรก(Kenny Roberts และ Kenny Roberts Jr.) ในประวัติศาสตร์ที่ทั้งคู่เป็นแชมป์โลกในรุ่น 500 ซีซี

ค.ศ.2001 / พ.ศ.2544

- Valentino Rossi เป็นแชมป์โลกในรุ่น 500 ซีซี ในนามผู้ผลิต Honda และเป็นแชมป์โลกคนสุดท้ายในรุ่น 500 ซีซี (เครื่องยนต์ 2 จังหวะ)

ช่วงยุคโมโตจีพี (ยุค 2000)[แก้]

ค.ศ.2002 / พ.ศ.2545

- โมโตจีพีได้ตั้งกฎใหม่โดยให้รถที่ใช้เครื่องยนต์ 4 จังหวะ 990 ซีซี ร่วมทำการแข่งขันกับรุ่น 500 ซีซี (เครื่องยนต์ 2 จังหวะ) เพื่อให้ทีมอิสระยังคงใช้รถรุ่น 500 ซีซีได้

ค.ศ.2003 / พ.ศ.2546

- Ducati ได้เปิดตัวครั้งแรกในรายการโมโตจีพี

- Daijiro Kato เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ที่สนาม Suzuka International Racing Course โดยตัวเขาชนเข้ากับแบริเออร์ที่โค้ง 130R ก่อนจะถึงโค้งต่อเนื่อง Final Chicane

- การแข่งขันปีสุดท้ายของรุ่น 500 ซีซี (เครื่องยนต์ 2 จังหวะ) ณ สนาม Brno Circuit

ค.ศ.2004 / พ.ศ.2547

- กริดสตาร์ทของโมโตจีพี ปรับให้เหลือแค่ 3 คนต่อแถว ส่วน 125 ซีซี และ 250 ซีซี ยังใช้กริดสตาร์ทแบบ 4 คนต่อแถวเหมือนเดิม

- Makoto Tamada ได้ชนะเลิศในสนาม Autódromo Internacional Nelson Piquet (Rio) ด้วยยางรถยี่ห้อ Bridgestone เป็นครั้งแรก

ค.ศ.2005 / พ.ศ.2548

- โมโตจีพี ได้บัญญัติกฎ flag-to-flag ขึ้นมา เพื่อให้นักแข่งสามารถเปลี่ยนรถแข่งที่ใช้ยางสำหรับสนามเปียกได้ในช่วงระหว่างการแข่ง เมื่อฝนตกระหว่างการแข่งขัน

- Valentino Rossi ได้เป็นแชมป์โลกในรายการโมโตจีพี 5 สมัยติดต่อกัน

ค.ศ.2007 / พ.ศ.2550

- โมโตจีพี ได้ลดขนาดความจุเครื่องยนต์ลง จาก 990 ซีซี เป็น 800 ซีซี

- Casey Stoner ได้เป็นแชมป์โลกในปีนี้ ด้วยรถ Ducati Desmosedici GP7 และชนะในนามผู้ผลิต Ducati อีกด้วย โดยเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีที่ผู้ผลิตฝั่งยุโรปได้แชมป์ผู้ผลิต ซึ่ง Casey Stoner ได้ชนะการแข่งไปถึง 10 สนาม จากทั้งหมด 17 สนามในฤดูกาลนี้

ค.ศ.2008 / พ.ศ.2551

- โมโตจีพี ได้มีการแข่งสำหรับกลางคืนเป็นครั้งแรก ในสนาม Losail International Circuit (Qatar)

- Dunlop เลิกเป็นผู้สนับสนุนยางในรายการโมโตจีพี

- Valentino Rossi ได้เป็นแชมป์โลกในรายการโมโตจีพี 6 สมัยติดต่อกัน

ค.ศ.2009 / พ.ศ.2552

- Michelin เลิกเป็นผู้สนับสนุนยางในรายการโมโตจีพี ทำให้ Bridgestone เป็นผู้สนับสนุนยางแต่เพียงผู้เดียว

- ผู้ผลิต Kawasaki ได้ส่งรถลงแข่งเพียงคันเดียว ในนามของทีม Hayate Racing Team หลังจากที่ทีม Kawasaki Racing Team (KRT) ถอนตัวไปจากรายการโมโตจีพี

- Valentino Rossi ได้เป็นแชมป์โลกในรายการโมโตจีพี 7 สมัยติดต่อกัน และเป็นปีสุดท้ายที่ได้ตำแหน่งแชมป์โลก

ช่วงยุคโมโตจีพี (ยุค 2010)[แก้]

ค.ศ.2010 / พ.ศ.2553

- รุ่น 250 ซีซี ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโมโต 2 และเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่ใช้ลงแข่งเป็นแบบ 4 จังหวะ Inline-4 ความจุ 600 ซีซี ที่มีพื้นฐานมาจาก Honda CBR600RR ซึ่งให้กำลังสูงถึง 140 แรงม้า

- Shoya Tomizawa ได้เสียชีวิตระหว่างการแข่งที่สนาม Misano World Circuit

- เป็นปีแรกที่มีสนามจากประเทศสเปนถึง 4 สนาม

- กฎ Rookie rule ได้บัญญัติขึ้นมา ทำให้นักแข่งหน้าใหม่ที่เข้ามาในโมโตจีพีสามารถเข้ามาในทีมโรงงานหลักได้ เว้นแต่ผู้ผลิตที่ไม่มีทีมอิสระหรือทีมรอง

- ผู้ผลิต Kawasaki ได้ถอนตัวออกจากรายการโมโตจีพี ด้วยความที่ไม่ลงรอยกับ Dorna ที่อยากจะให้รถที่ใช้พื้นฐานจากรถ Superbike มาทำการแข่งขันในรายการโมโตจีพี

ค.ศ.2011 / พ.ศ.2554

- Marco Simoncelli ได้เสียชีวิตระหว่างการแข่งที่สนาม Sepang International Circuit

- ผู้ผลิต Suzuki ได้ถอนตัวออกจากรายการโมโตจีพี หลังจบฤดูกาล

ค.ศ.2012 / พ.ศ.2555

- รุ่น 125 ซีซี ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโมโต 3 และเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่ใช้ลงแข่งเป็นแบบ 4 จังหวะ single cylinder/Inline-1 ความจุ 250 ซีซี

- โมโตจีพี ได้เพิ่มขนาดความจุเครื่องยนต์ขึ้น จาก 800 ซีซี เป็น 1000 ซีซี และนำเสนอหมวดย่อยอย่าง Claiming Rule Team (CRT) ที่สามารถนำรถที่ไม่ได้แข่งในนามผู้ผลิต มาลงแข่งได้ในรายการนี้

- ผู้ผลิต Aprilia ได้กลับมาในรายการโมโตจีพี แต่แข่งในหมวด CRT โดยใช้ชื่อผู้ผลิตว่า ART (Aprilia Racing Team) กับรถ ART GP12

- หลังจากที่ผู้ผลิต Honda ชนะในนามผู้ผลิตถึง 5 สมัย และชนะในนามนักแข่งกับ Casey Stoner จากนั้นเจ้าตัวได้ลาวงการจากโมโตจีพีไป ในตอนที่เขาอายุ 27 ปี ซึ่งถูกแทนที่โดย Marc Márquez ในเวลาต่อมา

ค.ศ.2013 / พ.ศ.2556

- ระบบคัดออก ได้นำมาใช้ในรอบ Qualifying

- Marc Márquez เป็นนักแข่งหน้าใหม่ที่ได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรก และเป็นแชมป์โลกที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์

ค.ศ.2014 / พ.ศ.2557

- หมวดย่อยอย่าง Claiming Rule Team (CRT) ได้ถูกยุบไป ส่งผลทำให้ Marc Márquez เป็นแชมป์โลกสมัยที่ 2 อย่างง่ายดาย โดยชนะไปถึง 10 สนาม

ค.ศ.2015 / พ.ศ.2558

- ผู้ผลิต Suzuki ได้กลับมาในรายการโมโตจีพี หลังจากห่างหายไปนานถึง 4 ปี

- ผู้ผลิต Aprilia ได้ลงแข่งในรายการโมโตจีพี ในนามทีมโรงงานหลัก กับ Gresini Racing

- Jorge Lorenzo ได้เป็นแชมป์โลกสมัยที่ 3 โดยชนะเฉือน Valentino Rossi ไปเพียง 5 แต้ม โดยเป็นผลมาจากที่ Valentino Rossi ได้ถูกลงโทษ จากการที่ไปเจตนาทำให้ Marc Márquez ล้มลงไป

ค.ศ.2016 / พ.ศ.2559

- Michelin กลับมาเป็นผู้สนับสนุนยางในรายการโมโตจีพี หลังจากที่ Bridgestone เลิกเป็นผู้สนับสนุนยางในรายการโมโตจีพี

- Luis Salom ได้เสียชีวิตระหว่างการแข่งที่สนาม Circuit de Barcelona-Catalunya ในช่วงระหว่างการซ้อม

ค.ศ.2017 / พ.ศ.2560

- ผู้ผลิต KTM ได้ลงแข่งในรายการโมโตจีพี ในนามทีมโรงงานหลักเป็นครั้งแรก

ค.ศ.2018 / พ.ศ.2561

- ทีม Pramac Ducati และ LCR Honda สามารถใช้รถแข่งรุ่นปัจจุบันเทียบเท่ากับของทีมโรงงานหลักได้

ค.ศ.2019 / พ.ศ.2562

- โมโต 2 ได้เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นแบบ 4 จังหวะ Inline-3 ความจุ 765 ซีซี ที่มีพื้นฐานมาจาก Triumph Street Triple 765RS

- โมโต 2 และ โมโต 3 ได้เพิ่มรอบ Qualifying เข้ามา

- กำเนิดรายการโมโตอี ขึ้นมาเป็นครั้งแรก เป็นการแข่งขันแบบ World Cup โดยใช้รถแข่งพลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก

- การลงโทษแบบใหม่อย่าง Long Lap Penalty ได้เพิ่มเข้ามา เพื่อใช้ลงโทษนักแข่งที่ขับขี่ลัดสนามบ่อยครั้ง หรือขับขี่แบบอันตราย

- Marc Márquez ได้เป็นแชมป์โลกในรายการโมโตจีพี 6 สมัยติดต่อกัน เป็นนักแข่งที่มีอายุน้อยที่สุดที่ได้แชมป์ติดต่อกันโดยไม่ใช่นักแข่งชาวอิตาลี

- Valentino Rossi ได้เป็นนักแข่งคนแรกที่ทำการแข่งขันในรายการโมโตจีพีไปแล้วถึง 400 ครั้ง ในตอนที่เขาอายุ 40 ปี

ช่วงยุคโมโตจีพี (ยุค 2020)[แก้]

ค.ศ.2020 / พ.ศ.2563

- ช่วงครึ่งแรกของฤดูกาลถูกยกเลิก เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19

- Brad Binder ชนะครั้งแรกในทีม Red Bull KTM Factory และ Miguel Oliveira ชนะครั้งแรกในทีม Red Bull KTM Tech3

- Joan Mir ได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรก กับผู้ผลิต Suzuki ในรอบ 20 ปี

ค.ศ.2021 / พ.ศ.2564

- Jason Dupasquier ได้เสียชีวิตระหว่างการแข่งที่สนาม Gran Premio d'Italia Oakley (Mugello) ในช่วงระหว่าง Qualifying 2

- Valentino Rossi ได้ประกาศการถอนตัวหลังจบฤดูกาล ที่สนาม Michelin Grand Prix of Styria ทำให้เป็นนักแข่งคนสุดท้ายในรุ่น 500 ซีซี ที่แข่งขันในโมโตจีพี

- Fabio Quartararo ได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรก กับผู้ผลิต Yamaha และเป็นนักแข่งจากฝรั่งเศสคนแรกที่สามารถเป็นแชมป์โลกได้

ค.ศ.2022 / พ.ศ.2565

- Franscesco Bagnaia ได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรก กับผู้ผลิต Ducati และเป็นนักแข่งจากอิตาลีที่สามารถเป็นแชมป์โลกต่อจาก Valentino Rossi เมื่อครั้งล่าสุดในปี ค.ศ.2009 / พ.ศ.2552

- ผู้ผลิต Suzuki ได้ถอนตัวออกจากรายการโมโตจีพี หลังจบฤดูกาล

ค.ศ.2023 / พ.ศ.2566

- โมโตจีพี ได้กำหนดสนามทั่วโลกรวม 18 ประเทศ โดยมีสนามจากประเทศคาซัคสถาน และประเทศอินเดีย เข้ามาด้วย (แต่ในภายหลัง สนามจากประเทศคาซัคสถานได้ถูกถอดถอนออกไป)

- Sprint Race ได้ถูกเพิ่มเข้ามาในรายการโมโตจีพี

- โมโตอี ได้เลื่อนขั้นรายการเป็นแบบ World Championship แล้ว


*****การแข่งขันกำลังดำเนินการอยู่ โปรดรออัพเดทเพิ่มเติมในภายหลัง*****

ระบบการให้คะแนน[แก้]

ระบบคะแนน Race
อันดับที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
คะแนน 25 20 16 13 11 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1
*ระบบคะแนน Sprint Race
อันดับที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9
คะแนน 12 9 7 6 5 4 3 2 1

*ระบบคะแนน Sprint Race จะใช้ในโมโตจีพีเท่านั้น

รายชื่อนักแข่ง[แก้]

โมโตจีพี ฤดูกาล ค.ศ.2023 / พ.ศ.2566[แก้]

ทีม ผู้ผลิต รหัสโมเดล หมายเลข ชื่อนักแข่ง
อิตาลี Aprilia Racing Aprilia RS-GP 12 สเปน Maverick Viñales
41 สเปน Aleix Espargaró
มาเลเซีย CryptoData RNF MotoGP Team 25 สเปน Raúl Fernández
88 โปรตุเกส Miguel Oliveira
อิตาลี Ducati Lenovo Team Ducati Desmosedici GP23 1 อิตาลี Francesco Bagnaia
23 อิตาลี Enea Bastianini
51 อิตาลี Michele Pirro*
9 อิตาลี Danilo Petrucci*
อิตาลี Prima Pramac Racing 5 ฝรั่งเศส Johann Zarco
89 สเปน Jorge Martín
อิตาลี Gresini Racing MotoGP Desmosedici GP22 49 อิตาลี Fabio Di Giannantonio
73 สเปน Álex Márquez
อิตาลี Mooney VR46 Racing Team 10 อิตาลี Luca Marini
72 อิตาลี Marco Bezzecchi
โมนาโก LCR Honda Idemitsu
โมนาโก LCR Honda Castrol
Honda RC213V 30 ญี่ปุ่น Takaaki Nakagami
42 สเปน Álex Rins
ญี่ปุ่น Repsol Honda Team 36 สเปน Joan Mir
93 สเปน Marc Márquez
6 เยอรมนี Stefan Bradl*
27 สเปน Iker Lecuona*
ญี่ปุ่น Honda HRC 6 เยอรมนี Stefan Bradl*
ฝรั่งเศส GASGAS Factory Racing Tech3 KTM RC16 37 สเปน Augusto Fernández
44 สเปน Pol Espargaró
94 เยอรมนี Jonas Folger*
ออสเตรีย Red Bull KTM Factory Racing 33 แอฟริกาใต้ Brad Binder
43 ออสเตรเลีย Jack Miller
26 สเปน Dani Pedrosa*
ญี่ปุ่น Monster Energy Yamaha MotoGP Yamaha YZR-M1 20 ฝรั่งเศส Fabio Quartararo
21 อิตาลี Franco Morbidelli

*นักแข่งสำรอง

โมโต 2 ฤดูกาล ค.ศ.2023 / พ.ศ.2566[แก้]

ทีม ผู้ผลิต รหัสโมเดล หมายเลข ชื่อนักแข่ง
อิตาลี Speed Up Racing Boscoscuro B-23 21 สเปน Alonso López
54 สเปน Fermín Aldeguer
สวิตเซอร์แลนด์ Forward Team Forward F2 17 สเปน Álex Escrig
98 สเปน David Sanchis*
24 สเปน Marcos Ramírez
สหรัฐ American Racing Kalex Moto2 4 สหรัฐ Sean Dylan Kelly
33 สหราชอาณาจักร Rory Skinner
อิตาลี Correos Prepago Yamaha VR46 Master Camp 5 ญี่ปุ่น Kohta Nozane
2 ญี่ปุ่น Soichiro Minamimoto*
18 สเปน Manuel González
เบลเยียม Elf Marc VDS Racing Team 14 อิตาลี Tony Arbolino
22 สหราชอาณาจักร Sam Lowes
อิตาลี Fantic Racing 13 อิตาลี Celestino Vietti
72 สเปน Borja Gómez
เนเธอร์แลนด์ Fieten Olie Racing GP 7 เบลเยียม Barry Baltus
84 เนเธอร์แลนด์ Zonta van den Goorbergh
สเปน GASGAS Aspar Team 28 สเปน Izan Guevara
81 สเปน Jordi Torres*
96 สหราชอาณาจักร Jake Dixon
ญี่ปุ่น Idemitsu Honda Team Asia 35 ไทย Somkiat Chantra
79 ญี่ปุ่น Ai Ogura
อิตาลี Italtrans Racing Team 16 สหรัฐ Joe Roberts
71 อิตาลี Dennis Foggia
เยอรมนี Liqui Moly Husqvarna Intact GP 3 เยอรมนี Lukas Tulovic
15 แอฟริกาใต้ Darryn Binder
8 ออสเตรเลีย Senna Agius*
อินโดนีเซีย Pertamina Mandalika SAG Team 19 อิตาลี Lorenzo Dalla Porta
64 เนเธอร์แลนด์ Bo Bendsneyder
สเปน Pons Wegow Los40 11 สเปน Sergio García
40 สเปน Arón Canet
อิตาลี QJmotor Gresini Moto2 12 เช็กเกีย Filip Salač
52 สเปน Jeremy Alcoba
ฟินแลนด์ Red Bull KTM Ajo 37 สเปน Pedro Acosta
75 สเปน Albert Arenas

ทุกทีมในโมโต 2 ใช้เครื่องยนต์ 765 ซีซี Inline-3 ของ ไทรอัมพ์ เหมือนกัน

*นักแข่งสำรอง

โมโต 3 ฤดูกาล ค.ศ.2023 / พ.ศ.2566[แก้]

ทีม ผู้ผลิต รหัสโมเดล หมายเลข ชื่อนักแข่ง
เยอรมนี CFMoto Racing Prüstel GP CFMoto RC250GP 43 สเปน Xavier Artigas
66 ออสเตรเลีย Joel Kelso
92 สเปน David Almansa*
สเปน GASGAS Aspar Team GASGAS RC250GP 6 ญี่ปุ่น Ryusei Yamanaka
80 โคลอมเบีย David Alonso
ญี่ปุ่น Honda Team Asia Honda NSF250RW 64 อินโดนีเซีย Mario Aji
72 ญี่ปุ่น Taiyo Furusato
ลักเซมเบิร์ก Leopard Racing 5 สเปน Jaume Masià
24 ญี่ปุ่น Tatsuki Suzuki
อิตาลี Rivacold Snipers Team 18 อิตาลี Matteo Bertelle
55 อิตาลี Romano Fenati
อิตาลี Sic58 Squadra Corse 27 ญี่ปุ่น Kaito Toba
54 อิตาลี Riccardo Rossi
สหราชอาณาจักร VisionTrack Racing Team 19 สหราชอาณาจักร Scott Ogden
70 สหราชอาณาจักร Joshua Whatley
เยอรมนี Liqui Moly Husqvarna Intact GP Husqvarna FR250GP 71 ญี่ปุ่น Ayumu Sasaki
95 เนเธอร์แลนด์ Collin Veijer
เยอรมนี Finetwork Intact GP 92 สเปน David Almansa*
อิตาลี Angeluss MTA Team KTM RC250GP 48 สเปน Iván Ortolá
82 อิตาลี Stefano Nepa
สเปน Boé Motorsports 22 สเปน Ana Carrasco
44 สเปน David Muñoz
ฝรั่งเศส CIP Green Power 20 ฝรั่งเศส Lorenzo Fellon
16 อิตาลี Andrea Migno*
38 สเปน David Salvador
สเปน MT Helmets – MSi 10 บราซิล Diogo Moreira
63 มาเลเซีย Syarifuddin Azman
ฟินแลนด์ Red Bull KTM Ajo 53 ตุรกี Deniz Öncü
99 สเปน José Antonio Rueda
ฝรั่งเศส Red Bull KTM Tech3 7 อิตาลี Filippo Farioli
96 สเปน Daniel Holgado

*นักแข่งสำรอง

โมโตอี ฤดูกาล ค.ศ.2023 / พ.ศ.2566[แก้]

ทีม หมายเลข ชื่อนักแข่ง
เยอรมนี Dynavolt Intact GP MotoE 3 สวิตเซอร์แลนด์ Randy Krummenacher
4 สเปน Héctor Garzó
อิตาลี Felo Gresini MotoE 11 อิตาลี Matteo Ferrari
72 อิตาลี Alessio Finello
สเปน HP Pons Los40 29 อิตาลี Nicholas Spinelli
40 อิตาลี Mattia Casadei
โมนาโก LCR E-Team 51 บราซิล Eric Granado
77 สเปน Miquel Pons
อิตาลี Ongetta Sic58 Squadracorse 21 อิตาลี Kevin Zannoni
34 อิตาลี Kevin Manfredi
สเปน Openbank Aspar Team 6 สเปน María Herrera
81 สเปน Jordi Torres
อิตาลี Prettl Pramac MotoE 23 อิตาลี Luca Salvadori
53 สเปน Tito Rabat
มาเลเซีย RNF MotoE Team 8 สเปน Mika Perez
19 อิตาลี Andrea Mantovani
ฝรั่งเศส Tech3 E-Racing 61 อิตาลี Alessandro Zaccone
78 ญี่ปุ่น Hikari Okubo

ทุกทีมในโมโตอีจะใช้รถแข่งคันเดียวกัน คือ Ducati V21L

สนามแข่ง[แก้]

แผนที่สนามแข่งทั่วโลก

ในฤดูกาล ค.ศ.2023 / พ.ศ.2566 มีการแข่งขันทั้งหมด 20 สนาม ได้แก่

สนามแข่งที่ถูกถอดถอนในฤดูกาลนี้[แก้]

ธงของประเทศคาซัคสถาน คาซัคสถาน, Almaty, Sokol International Racetrack (สนามที่ 9)[แก้]

รายละเอียด[แก้]

โมโตจีพี[แก้]

โลโก้ทางการของโมโตจีพี

เกิดจากรุ่น 500 ซีซี ที่ถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น โมโตจีพี ในปี ค.ศ.2002 / พ.ศ.2545 ซึ่งตอนนั้นจะใช้เครื่องยนต์ 500 ซีซี 2 จังหวะ หรือ 990 ซีซี 4 จังหวะ ทำการแข่งขัน ซึ่งส่งผลให้เวลาต่อมา เครื่องยนต์ 500 ซีซี 2 จังหวะ ไม่สามารถต่อกรกับเครื่องยนต์ 990 ซีซี 4 จังหวะได้ ทำให้ยุติการใช้งานเครื่องยนต์ 2 จังหวะไปในที่สุด

ในปี ค.ศ.2007 / พ.ศ.2550 ความจุเครื่องยนต์ถูกบังคับให้เหลือเพียงแค่ 800 ซีซี และจำกัดความจุเชื้อเพลิงจากเดิม 26 ลิตร เหลือเพียง 21 ลิตรเท่านั้น

ในปี ค.ศ.2010 / พ.ศ.2553 ความจุเครื่องยนต์บังคับให้ไม่เกิน 1000 ซีซี และจำกัดเครื่องยนต์ให้มีกระบอกสูบมากที่สุดได้เพียง 4 สูบเท่านั้น ซึ่งให้มีขนาดกระบอกสูบเพียง 81 มม. (3.2 นิ้ว) เท่านั้น

โมโตจีพีมีการบันทึกความเร็วสูงสุดไว้ที่ 363.6 กม./ชม. (225.9 ไมล์/ชม.) โดย Jorge Martin ในสนาม Mugello เมื่อปี ค.ศ.2022 / พ.ศ.2565 ด้วยรถ Ducati Desmosedici GP22

โมโต 2[แก้]

โลโก้ทางการของโมโต 2

เกิดจากรุ่น 250 ซีซี ที่ถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น โมโต 2 ในปี ค.ศ.2010 / พ.ศ.2553 โดยรุ่นนี้จะใช้เครื่องยนต์ 600 ซีซี 4 จังหวะ Inline-4 ของ Honda ใช้ยางยี่ห้อ Dunlop ระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆของตัวรถได้ถูกจำกัดให้ใช้มาตรฐานของ FIM ซึ่งรุ่นนี้ไม่อนุญาตให้ใช้จานเบรคแบบคาร์บอน แต่อนุญาตให้ใช้จานเบรคแบบเหล็กกล้าแทน สามารถใช้โครงสร้างรถจากผู้ผลิตใดก็ได้

จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ.2019 / พ.ศ.2562 เครื่องยนต์ 765 ซีซี 4 จังหวะ Inline-3 ของ Triumph ได้เข้ามาแทนที่เครื่องยนต์ของ Honda

โลโก้ทางการของโมโต 3

โมโต 3[แก้]

เกิดจากรุ่น 125 ซีซี ที่ถูกเปลี่ยนชื่อไปเป็น โมโต 3 ในปี ค.ศ.2012 / พ.ศ.2555 โดยรุ่นนี้จะบังคับใช้เครื่องยนต์ 250 ซีซี 4 จังหวะ single-cylinder/Inline-1 ซึ่งให้ขนาดกระบอกสูบใหญ่ที่สุดเพียง 81 มม. (3.2 นิ้ว) เท่านั้น น้ำหนักรวมตัวรถและนักแข่งต้องไม่ต่ำกว่า 148 กก. (326 ปอนด์) ส่วนนักแข่งต้องมีอายุอย่างน้อย 16 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 28 ปี (หรือไม่เกิน 25 ปี สำหรับนักแข่งที่ลงการแข่งขันครั้งแรกในรายการนี้ และนักแข่ง Wildcard) โดยกฎนี้เปลี่ยนแปลงเมื่อปี ค.ศ.2014 / พ.ศ.2557 ตามกฎนักแข่งที่อายุต่ำกว่าเกณฑ์ในรายการ FIM CEV Repsol Moto3 ที่ใช้รถโมเดลเดียวกับรุ่นโมโต 3 ซึ่งกฎนี้ได้เอื้อประโยชน์มาแล้วถึง 2 ครั้ง (ในปี ค.ศ.2013 และ ค.ศ.2014) กับนักแข่งอย่าง Fabio Quartararo

โมโตอี[แก้]

โลโก้ทางการของโมโตอี
โลโก้ทางการของโมโตอี

จัดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.2019 / พ.ศ. 2562 โดยใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าอย่าง Energica Ego Corsa ทำการแข่งขัน ซึ่งในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น Ducati V21L ในปี ค.ศ.2023 / พ.ศ.2566 ซึ่งในฤดูกาลแรกนั้น จัดแข่งเพียงแค่ 6 ครั้งเท่านั้น (4 สนาม)

รายละเอียดเครื่องยนต์[แก้]

รายละเอียด โมโตจีพี โมโต 2 โมโต 3 โมโตอี
ผู้ผลิต ฮอนด้า

ยามาฮ่า

ดูคาติ

เคทีเอ็ม

อะพริเลีย

ฮอนด้า (2010-2018)

ไทรอัมพ์ (2019-ปัจจุบัน)

ฮอนด้า

เคทีเอ็ม/แก๊สแก๊ส/ซีเอฟโมโต/ฮุสวาน่า

เอเนอร์จิก้า (2019-2022)

ดูคาติ (2023-ปัจจุบัน)

ชนิดเครื่องยนต์ 75.5° - 90° V4

Inline-4 (ยามาฮ่า)

Inline-4 (2010-2018)

Inline-3 (2019-ปัจจุบัน)

single-cylinder/Inline-1 synchronous permanent magnet electric motor,

lithium-ion battery

ความจุเครื่องยนต์ 1,000 ซีซี (61 ลบ.นิ้ว) 600 ซีซี (37 ลบ.นิ้ว) (2010-2018)

765 ซีซี (47 ลบ.นิ้ว) (2019-ปัจจุบัน)

250 ซีซี (15 ลบ.นิ้ว) ไม่ระบุ
การทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ/4T (2012-ปัจจุบัน)
ระบบวาล์ว แบบแคมคู่, 4 วาล์วต่อสูบ
เชื้อเพลิง น้ำมันแบบไร้สารตะกั่ว ออกเทน 95-102 (ไม่บังคับค่าออกเทนที่แน่นอน) น้ำมันแบบไร้สารตะกั่ว ออกเทน 98 [TotalEnergies] (2016-2019)

น้ำมันแบบไร้สารตะกั่ว ออกเทน 97 [Petronas Primax] (2020-ปัจจุบัน)

ระบบจ่ายเชื้อเพลิง ระบบหัวฉีดอิเล็กทรอนิกส์
ตัวช่วยการอัดอากาศ ไร้ระบบอัดอากาศ (ไม่มี)
กำลังสูงสุด >290 แรงม้า (220 กิโลวัตต์) 120–150 แรงม้า (89-112 กิโลวัตต์) (2010-2018)

>140 แรงม้า (100 กิโลวัตต์) (2019-ปัจจุบัน)

<55 แรงม้า (41 กิโลวัตต์) 147-161 แรงม้า (110-120 กิโลวัตต์)
แรงบิด >120 นิวตัน⋅เมตร (89 แรงปอนด์⋅ฟุต) 55–70 นิวตัน⋅เมตร (41-52 แรงปอนด์⋅ฟุต) (2010-2018)

80 นิวตัน⋅เมตร (59 แรงปอนด์⋅ฟุต) (2019-ปัจจุบัน)

28 นิวตัน⋅เมตร (21 แรงปอนด์⋅ฟุต) >220 นิวตัน⋅เมตร (160 แรงปอนด์⋅ฟุต)
แรงม้าต่อน้ำหนัก 1.85 แรงม้า/กก. (0.84 แรงม้า/ปอนด์) ~1 แรงม้า/กก. (0.45 แรงม้า/ปอนด์) ~0.6 แรงม้า/กก. (0.27 แรงม้า/ปอนด์) 0.6 แรงม้า/กก. (0.27 แรงม้า/ปอนด์)
ระบบหล่อลื่น Wet sump ไม่ระบุ
รอบเครื่องยนต์ 17,500 - 18,000 รอบ/นาที 13,500 รอบ/นาที
ความเร็วสูงสุด 363.6 กม./ชม. (226 ไมล์/ชม.) 300.6 กม./ชม. (187 ไมล์/ชม.) 248 กม./ชม. (154 ไมล์/ชม.) 260-270 กม./ชม. (160-170 ไมล์/ชม.)
ระบบระบายความร้อน ด้วยปั๊มน้ำแบบเดี่ยว ด้วยของเหลว (ส่วนของมอเตอร์)

ด้วยอากาศ (ส่วนของแบตเตอรี่)

หัวเทียน NGK ไม่มี

น้ำหนักรถ[แก้]

น้ำหนักเกณฑ์ขั้นต่ำ สำหรับคลาสโมโตจีพี
จำนวนกระบอกสูบ ค.ศ.2002/พ.ศ.2545 ค.ศ.2007/พ.ศ.2550 ค.ศ.2010/พ.ศ.2553
2 135 กก. (298 ปอนด์) 137 กก. (302 ปอนด์) 135 กก. (298 ปอนด์)
3 135 กก. (298 ปอนด์) 140.5 กก. (310 ปอนด์) 142.5 กก. (314 ปอนด์)
4 145 กก. (320 ปอนด์) 148 กก. (326 ปอนด์) 150 กก. (330 ปอนด์)
5 145 กก. (320 ปอนด์) 155.5 กก. (343 ปอนด์) 157.5 กก. (347 ปอนด์)
6 155 กก. (342 ปอนด์) 163 กก. (359 ปอนด์) 165 กก. (364 ปอนด์)

ยาง[แก้]

ทำจากไม้

ผลิต สกัด ยางสุก ราก ยอดยาง เปลือกยาง เนื้อไม้ ยา ยางสกัด

กระท่อมsamy ชนเสาไฟฟ้า

อ้างอิง[แก้]