ฟรันเชสโก บัญญายา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟรันเชสโก บัญญายา
สัญชาติอิตาลี อิตาลี
เกิด (1997-01-14) 14 มกราคม ค.ศ. 1997 (27 ปี)
ตูริน, อิตาลี
ทีมปัจจุบันอัลมา ปรามัก เรซซิง
หมายเลขรถ63
สถิตินักแข่งอาชีพ
รายการ MotoGP ชิงแชมป์โลก
ปีร่วมแข่ง2019-
ยี่ห้อรถที่ใช้ดูคาติ
อันดับฤดูกาล 201915th (54 pts)
สตาร์ท ชนะ โพเดียม โพล แลป แต้ม
21 0 1 0 1 83
รายการ Moto2 ชิงแชมป์โลก
ปีที่ร่วมแข่ง20172018
ยี่ห้อรถที่ใช้คาเล็กซ์
จำนวนครั้งชนะ1 (2018)
อันดับฤดูกาล 20181st (306 คะแนน)
สตาร์ท ชนะ โพเดียม โพล แลป แต้ม
36 8 16 6 3 480
รายการ Moto3 ชิงแชมป์โลก
ปีที่ร่วมแข่ง20132016
ยี่ห้อรถที่ใช้เอฟทีอาร์ ฮอนด้า, คาเทเอ็ม, มหินดรา
อันดับฤดูกาล 20164th (145 คะแนน)
สตาร์ท ชนะ โพเดียม โพล แลป แต้ม
69 2 7 1 2 271

ฟรันเชสโก "เปกโก" บัญญายา (อิตาลี: Francesco Bagnaia) (เกิดเมื่อวันที่ 14 มกราคม 1997 ในเมืองตูริน) เป็นนักแข่งรถจักรยานยนต์ชาวอิตาลี ในปัจจุบันเขาร่วมการแข่งขันโมโตจีพี ให้กับทีมปรามักเรซซิงทีม[1]

บัญญายากลายเป็นแชมป์โลกโมโต2 2018 หลังจากสามารถเก็บชัยชนะไป 8 สนามด้วยกัน ได้แก่ โลเซล, เซอร์กิต ออฟ ดิ อเมริกาส์, เลอมองส์, อัสเซิน, เรดบูลริง, มีซาโน, บุรีรัมย์ และ โมเตกิ จบฤดูกาลด้วย 12 โพเดียม 6 โพลโพซิชั่น และ 306 คะแนน

ระดับอาชีพ[แก้]

ช่วงแรก[แก้]

เกิดที่เมืองโตริโน (อิตาลี) บัญญายาประสบความสำเร็จในการแข่งขันมินิโมโตและเขาชนะการแข่งขันมินิจีพีชิงแชมป์ยุโรปในปี 2009 บัญญายาลงแข่งขันในพรีจีพี 125 ชิงแชมป์เมดิเตอร์เรเนียนกับทีมมอนเลากอมเปติซิออนในปี 2010 และจบอันดับที่ 2 ในตารางคะแนนรวม ใน ซีอีวี โมโต3 ฤดูกาล 2012 เขาขับฮอนด้า NSF250R และจบในอันดับที่ 3 ในตารางคะแนนรวมตามหลังอาเลกซ์ มาร์เกซและลูกา อามาโต ด้วย 3 โพเดียมในการแข่งขัน 7 เรซ บัญญายายังเป็นหนึ่งในสมาชิกของ VR46 Riders Academy

โมโต3[แก้]

2013[แก้]

ในปี 2013 บัญญายาลงแข่งขันในรายการกรังด์ปรีซ์ครั้งแรกให้กับทีม Italia FMI โดยมีเพื่อนร่วมทีมคือโรมาโน เฟนาติ โดยขับรถของฮอนด้า ใน โมโต3 ฤดูกาล 2013 เป็นปีที่น่าผิดหวังของบัญญายา เขาไม่สามารถเก็บคะแนนได้ตลอดทั้งฤดูกาล เรซที่เขาผลการแข่งขันที่ดีที่สุดคือเรซที่เซปังโดยเขาจบการแข่งขันในลำดับที่ 16

2014[แก้]

ในปี 2014 บัญญายา ย้ายไปร่วมทีม สกายเรซซิงทีมวีอาร์46 ขับรถคาเทเอ็ม และมีเพื่อนร่วมทีมคนเดิมคือโรมาโน เฟนาติ หลังจากไม่สามารถทำคะแนนได้เลยในปีแรกในโมโต3ของเขา บัญญายามีการพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากผลงานที่แข็งแกร่งในช่วงพรี-ซีซันและการเปลี่ยนรถที่ขับในฤดูกาลนี้ด้วย โดยเปลี่ยนมาขับรถเคทีเอ็มแทนฮอนด้า เขาจบใน 10 อันดันแรก 5 ครั้งในการแข่งขัน 7 เรซแรกและจบในอันดับที่ 4 ที่เลอมองส์เป็นผลการแข่งขันที่ดีที่สุดของเขา และเป็นสนามที่เขาสามารถทำเวลาต่อรอบได้เร็วที่สุดในการแข่งขันเรซนี้ด้วย บัญญายาพลาดการแข่งขันที่อาสเซินและซัคเซินริงเนื่องจากมีอาการบาดเจ็บ หลังจากเก็บคะแนนได้ 42 คะแนนในการแข่งขัน 7 เรซแรกของฤดูกาล บัญญายามีผลงานที่ตกต่ำย่ำแย่อย่างมากในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล จบในอันดับที่มีคะแนนสะสมได้เพียงแค่ 2 ครั้งเท่านั้นใน 9 เรซสุดท้าย ชัดเจนว่าอาการบาดเจ็บส่งผลกระทบต่อเขา เขาจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 16 ในตารางด้วยคะแนน 50 คะแนน

2015[แก้]

ในปี 2015 บัญญายาเปลี่ยนทีมและรถอีกครั้ง ครั้งนี้เขาเข้าร่วมทีมอัสปาร์เรซซิงทีม และขี่รถมหินดราและเพื่อนร่วมทีมใหม่คือฆวนฟราน เกบาราและฆอร์เฆ มาร์ตินเขาได้ขึ้นโพเดียมเป็นครั้งแรกในเฟรนช์มอเตอร์ไซค์เคิลกรังด์ปรีซ์ 2015 โดยจบในอันดับที่ 3 ตามหลังโรมาโน เฟนาติและเอเนอา บัสเตียนีนี ในเรซต่อมาที่มูเจลโล บัญญายาจบในอันดับที่ 4 พลาดที่จะได้ขึ้นโพเดียมไปด้วยเวลา 0.003 วินาทีตามหลังเพื่อนร่วมทีมของเขาโรมาโน เฟนาติ ในเรซต่อมาที่ซิลเวอร์สโตนเขากำลังอยู่ในอันดับที่จะขึ้นโพเดียมได้แต่เขาล้มในช่วงที่เหลือ 2 รอบสุดท้าย แม้จะมีผลงานที่พัฒนาขึ้นในตำแหน่งการลุ้นแชมป์ 2 อันดับและเก็บคะแนนได้มากกว่าฤดูกาลที่แล้ว 26 คะแนนด้วยรถใหม่ใน 3 ฤดูกาลติดกัน ครั้งนี้กับมหินดรามันยังคงเป็นปีที่ขึ้น ๆ ลง ๆ สำหรับบัญญายา จบใน 10 อันดับแรกแค่ 5 ครั้งเท่านั้น เขาพลาดการเก็บคะแนน 7 เรซ ไม่มีอันดับ 5 สนาม เขาจบฤดูกาลด้วยอันดับ 14 ด้วยคะแนน 76 คะแนน

2016[แก้]

ในปี 2016 บัญญายาเริ่มต้นฤดูกาลด้วยการขึ้นโพเดียมที่โลเซลและอีกโพเดียมที่เฆเรซ โดยได้อันดับที่ 3 ทั้ง 2 สนาม โฮมเรซของเขาในอิตาลี บัญญายาจบอันดับที่ 3 อีกครั้งโดยเอาชนะอันดับที่ 4 นิกโกโล อันโตเนลลี ไปเพียงแค่ 0.006 วินาที ตามด้วยล้มที่บาร์เซโลนา บัญญายาชนะในรายการกรังด์ปรีซ์ครั้งแรกที่สนามประวัติศาสตร์อย่างอาสเซินเซอร์กิตเป็นการแข่งขันเรซที่ 59 ของเขาในโมโต3 และยังเป็นชัยชนะครั้งแรกของมหินดราด้วย เขาตอนนี้ได้ขึ้นโพเดียม 4 สนามจาก 8 สนามแรกของฤดูกาลและได้มีลุ้นแชมป์ หลังจากจากจบอันดับกลางมา 2 สนามและล้มที่เบอร์โน บัญญายาได้ตำแหน่งโพล โพซิชันครั้งแรกในสนามที่มีฝนตกที่ซิลเวอร์สโตนและจบด้วยอันดับที่ 2 ตามหลังแบรด บินเดอร์ในเรซที่น่าตื่นตาตื่นใจ บัญญายาชนะเป็นสนามที่ 2 ในฤดูกาลที่เซปัง โดยชนะไปอย่างสบาย ๆ ด้วยแกปที่ห่างมากหลังจากที่แบรด บินเดอร์, โฆอัน มิร์และโลเรนโซ ดัลลา ปอร์ตา ล้มไปในโค้งเดียวกันในตอนเริ่มต้นเรซ ซึ่งในเรซนี้มีการล้มอีกหลายครั้ง เขาจบฤดูกาลด้วย 145 คะแนนและอยู่ในอันดับที่ 4 ของตารางในโมโต3 แชมเปียนชิป ด้วยการชนะ 2 สนามและ 6 โพเดียม บัญญายามีโอกาสจบในอันดับที่ 2 ในตารางแชมเปียนชิปตามหลังแบรด บินเดอร์แต่โชคไม่ดีเพราะถูกกวาดล้มไปที่สนามฟิลลิปไอส์แลนด์และบาเลนเซียโดยกาเบรียล โรดริโก โรดริโกเข้าไปเบียดฟาบิโอ ดี จันนันโตนิโอที่ออสเตรเลียซึ่งทำให้ล้มแล้วไปกวาดบัญญายาให้ล้มไปด้วย ที่บาเลนเซียโรดริโกล้มไฮไซด์ในรอบแรกตรงโค้งสุดท้ายทำให้บัญญายาล้มแบบเลี่ยงไมได้

โมโต2[แก้]

2017[แก้]

หลังจาก 4 ฤดูกาลใน โมโต3 แชมเปียนชิป บัญญายาย้ายขึ้นไปโมโต2 เป็นนักแข่งให้กับทีม สกายเรซซิงทีมวีอาร์46 ที่เขาเคยเป็นนักแข่งทีมนี้เมื่อปี 2014 เพียงแค่ 4 สนามแรกของเขาในโมโต2 ที่เฆเรซ บัญญายาจบในอันดับที 2 เขาจบในอันดับที่ 2 ในสนามต่อมา ที่เลอมองส์หลังควอลิฟายด์ได้ลำดับที่ 2 พลาดตำแหน่งโพล โพซิชันไปให้โทมัส ลือธิโดยมีระยะเวลาห่างเพียงแค่ 0.026 วินาที บัญญายาได้ขึ้นโพเดียมในลำดับ 3 ที่ซัคเซินริง จบอันดับ 3 ตามหลังฟรังโก มอร์บีเดลลีซึ่งเป็นผู้ชนะและมิเกล โอลิเวราซึ่งเป็นผู้ที่ได้ลำดับที่ 2 ที่มีซาโน บัญญายาจบในอันดับที่ 4 ตามหลังโดมินิก เอเกอร์เทอร์, โทมัส ลือธิและฮาฟิซ ชาห์ริน อย่างไรก็ตามเอเกอร์เทอร์ถูกตัดสิทธิ์ในเวลาต่อมาทำให้บัญญายาได้รับอันดับที่ 3 ไป กลายเป็นโพเดียมที่ 4 ของเขาในฤดูกาลนี้ เขาได้รับรางวัลให้เป็น Moto2 Rookie of the year (ดาวรุ่งแห่งปีของโมโต2) หลังจากเจแปนีสกรังด์ปรีซ์ที่โมเตกิ เขาจบแรกของเขาในโมโต2 ด้วยคะแนน 174 คะแนน อันดับที่ 5 ในตารางโมโต2 แชมเปียนชิป เก็บคะแนนได้ 16 สนามจากทั้งหมด 18 สนาม

2018[แก้]

บัญญายาเปิดฤดูกาลด้วยชัยชนะที่กาตาร์ โดยนำตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ บัญญายาชนะครั้งที่ 2 ที่ออสติน หลังจากการต่อสู้ที่ยากลำบากกับอาเลกซ์ มาร์เกซ เขาชนะสนามนี้ไปด้วยแกปที่ห่างจากที่ 2 เป็นเวลา 2.4 วินาทีและยังเป็นผู้ที่ทำเวลาได้เร็วที่สุดต่อรอบอีกด้วย ที่เฆเรซ บัญญายาจบในอันดับที่ 3 ตามหลังโลเรนโซ บัลดัสซาร์รีและมิเกล โอลิเวรา โดยสามารถรักษาตำแหน่งจากกริดสตาร์ทของเขาเอาไว้ได้ บัญญายาได้ตำแหน่งโพล โพซิชันครั้งแรกใน โมโต2 ที่เลอมองส์ซึ่งเขาเคยได้โพล โพซิชันที่นี่ในปี 2015 บัญญายาเก็บชัยชนะครั้งที่ 4 ได้ที่อาสเซิน ออกสตาร์ทด้วยตำแหน่งโพล โพซิชันและนำตลอดทั้งการแข่งขัน หลังจากควอลิฟายได้ตำแหน่งที่ 3 จากกริดสตาร์ทที่ซัคเซินริง บัญญายาจบการแข่งขันในอันดับที่ 12 โดยจำเป็นต้องขี่ออกนอกแทร็คหลังจากมัตเตีย ปาซีนีล้มข้างหน้าเขาในโค้งสุดท้ายของรอบที่ 2 แม้ว่าอันดับจะตกลงไปอยู่ที่อันดับ 26 แต่เขายังคงสามารถแซงขึ้นมาได้ 14 อันดับ รวมถึงแซงอาเลกซ์ มาร์เกซในโค้งสุดท้ายของรอบสุดท้ายอีกด้วย ที่เบอร์โน บัญญายาจบการแข่งขันในลำดับที่ 3 และสูญเสียตำแหน่งผู้นำตารางแชมเปียนชิปให้กับมิเกล โอลิเวรา เขาแย่งตำแหน่งผู้นำตารางแชมเปียนชิปกลับคืนมาโดยชนะการแข่งขัยที่ออสเตรีย ซึ่งเป็นชัยชนะครั้งที่ 5 ของเขาในฤดูกาลนี้ บัญญายาชนะการแข่งขันเป็นครั้งที่ 6 ของฤดูกาลที่มีซาโนจากตำแหน่งโพล โพซิชัน เขาได้ขึ้นโพเดียม 5 สนามติดต่อกันตั้งแต่ที่เบอร์โนจนถึงที่บุรีรัมย์ ที่บุรีรัมย์เขาชนะการแข่งขันและเพื่อนร่วมทีมของเขาลูกา มารีนีเข้าเส้นชัยมาเป็นอันดับที่ 2 เขาได้รับชัยชนะเป็นครั้งที่ 8 ของฤดูกาลที่โมเตกิหลังจากฟาบิโอ กวาร์ตาราโรถูกตัดสิทธิด้วยเหตุผลแรงดันลมยางต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด หลังจากจบในอันดับ 3 ที่เซปัง เขาได้การันตีการเป็นแชมป์โลกโมโต2 อย่างแน่นอน ด้วยการขึ้นโพเดียมเป็นครั้งที่ 12 ของเขาในฤดูกาลนี้ และทีมเมทของเขาลูกา มารีนีได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรกในการแข่งขันโมโต2 ชิงแชมป์โลก เป็นการขึ้นโพเดียมครั้งที่ 5 ของลูกาอีกด้วย

บัญญายาจบทุกการแข่งขันในโมโต2ที่เขาเข้าร่วมการแข่งขัน รวมทั้งหมด 36 สนาม เขาสามารถเก็บคะแนนได้ 34 สนามและสามารถเก็บได้คะแนนได้ 30 สนามติดต่อกัน เริ่มจากบาร์เซโลนา ในปี 2017 สถิติสิ้นสุดลงหลังจากเขาต้องออกจากการแข่งขันในการแข่งขันโมโตจีพีเรซแรกที่โลเซล

โมโตจีพี[แก้]

2019[แก้]

หลังจาก 2 ฤดูกาลในโมโต2ชิงแชมป์โลก บัญญายาขึ้นไปแข่งในโมโตจีพีกับปรามักดูคาติ จริง ๆ แล้วเขาได้รับข้อเสนอให้ขยับขึ้นมาโมโตจีพีตั้งแต่ปี 2018 กับปรามัก[2] หลังจากที่ทำผลงานได้อย่างโดดเด่นในปี 2017 เขาได้ 4 โพเดียมและจบอันดับที่ 5 ในตารางคะแนนแชมเปียนชิปตามหลังฟรังโก มอร์บิเดลลี, โทมัส ลือธิ, มิเกล โอลิเวราและ อาเลกซ์ มาร์เกซ แต่ในตอนท้ายตัดสินใจที่จะอยู่ต่อ  กับโอกาสที่จะสามารถเป็นแชมป์โมโต2 เขาขึ้นไปเป็นนักแข่งของปรามักแทนที่ของดานีโล เปตรุชชีผู้ซึ่งย้ายไปเป็นนักแข่งแฟคตอรีดูคาติทีมแทนที่ฆอร์เฆ โลเรนโซนักแข่งชาวสเปนและแชมป์โลกโมโตจีพี 3 สมัยซึ่งย้ายไปเป็นนักแข่งของเรปโซลฮอนด้าทีมแทนดานิ เปโดรซาซึ่งตัดสินใจที่จะรีไทร์หลังจาก 13 ฤดูกาลในโมโตจีพี จาก 2006 ถึง 2018 และไปเป็นนักแข่งทดสอบให้เคทีเอ็ม บัญญายาจะเป็นนักแข่งในทีมเดียวกันกับแจ็ค มิลเลอร์ รองแชมป์โลกโมโต3 ปี 2014

สถิตินักแข่งอาชีพ[แก้]

กรังด์ปรีซ์มอเตอร์ไซค์เคิลเรซซิง[แก้]

แบ่งตามฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล คลาส มอเตอร์ไซค์เคิล ทีม หมายเลข แข่งขัน(เรซ) ชนะ โพเดียม โพล แลป คะแนน อันดับ
2013 โมโต3 เอฟทีอาร์ ฮอนด้า ซานการ์โลทีมอิตาเลีย 4 17 0 0 0 0 0 NC
2014 โมโต3 เคทีเอ็ม สกายเรซซิงทีมวีอาร์46 21 16 0 0 0 1 50 16th
2015 โมโต3 มหินดรา มัปเฟรทีมมหินดราโมโต3 21 18 0 1 0 1 76 14th
2016 โมโต3 มหินดรา พูลแอนด์แบร์อัสปาร์มหินดราทีม 21 18 2 6 1 0 145 4th
2017 โมโต2 คาเล็กซ์ สกายเรซซิงทีมวีอาร์46 42 18 0 4 0 0 174 5th
2018 โมโต2 คาเล็กซ์ สกายเรซซิงทีมวีอาร์46 42 18 8 12 6 3 306 1st
2019 โมโตจีพี ดูคาติ ปรามัก เรซซิง 63 18 0 0 0 0 54 15th
2020 โมโตจีพี ดูคาติ ปรามัก เรซซิง 63 3 0 1 0 1 29* 14th*
รวม 126 10 24 7 6 834


แบ่งตามคลาส[แก้]

คลาส ฤดูกาล GP แรก โพเดียมแรก ชนะครั้งแรก แข่งขัน (เรซ) ชนะ โพเดียม โพล โพซิชัน แลป คะแนน แชมป์โลก
โมโต3 2013-2016 กาตาร์ 2013 ฝรั่งเศส 2015 เนเธอร์แลนด์ 2016 69 2 7 1 2 271 0
โมโต2 2017-2018 กาตาร์ 2017 สเปน 2017 กาตาร์ 2018 36 8 16 6 3 480 1
โมโตจีพี 2019-ปัจจุบัน กาตาร์ 2019 ซานมารีโน 2020 20 0 1 0 1 83 0
รวม 2013–ปัจจุบัน 126 10 24 7 6 834 1


การแข่งขันแบ่งตามปี[แก้]

(คีย์) (เรซที่ตัวอักษรเป็น ตัวหนา หมายถึงได้โพลโพซิชัน; เรซที่ตัวอักษรเป็น ตัวเอน หมายถึงทำเวลาต่อรอบได้เร็วที่สุด)

ปี คลาส รถ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 อันดับ คะแนน
2013 โมโต3 เอฟทีอาร์ ฮอนด้า QAT

23

AME

22

SPA

26

FRA

20

ITA

24

CAT

17

NED

26

GER

30

IND

Ret

CZE

28

GBR

Ret

RSM

Ret

ARA

17

MAL

16

AUS

Ret

JPN

20

VAL

Ret

NC 0
2014 โมโต3 คาเทเอ็ม QAT

10

AME

7

ARG

Ret

SPA

8

FRA

4

ITA

Ret

CAT

10

NED

DNS

GER

DNS

IND

Ret

CZE

17

GBR

21

RSM

Ret

ARA

24

JPN

13

AUS

11

MAL

Ret

VAL

16

16th 50
2015 โมโต3 มาฮินดรา QAT

9

AME

Ret

ARG

11

SPA

7

FRA

3

ITA

4

CAT

20

NED

11

GER

Ret

IND

Ret

CZE

12

GBR

Ret

RSM

8

ARA

11

JPN

15

AUS

Ret

MAL

17

VAL

13

14th 76
2016 โมโต3 มาฮินดรา QAT

3

ARG

23

AME

14

SPA

3

FRA

12

ITA

3

CAT

Ret

NED

1

GER

10

AUT

11

CZE

Ret

GBR

2

RSM

21

ARA

16

JPN

6

AUS

Ret

MAL

1

VAL

Ret

4th 145
2017 โมโต2 คาเล็กซ์ QAT

12

ARG

7

AME

16

SPA

2

FRA

2

ITA

22

CAT

13

NED

10

GER

3

CZE

7

AUT

4

GBR

5

RSM

3

ARA

10

JPN

4

AUS

12

MAL

5

VAL

4

5th 174
2018 โมโต2 คาเล็กซ์ QAT

1

ARG

9

AME

1

SPA

3

FRA

1

ITA

4

CAT

8

NED

1

GER

12

CZE

3

AUT

1

GBR

C

RSM

1

ARA

2

THA

1

JPN

1

AUS

12

MAL

3

VAL

14

1st 306
2019 โมโตจีพี ดูคาติ QAT
Ret
ARG
14
AME
9
SPA
Ret
FRA
Ret
ITA
Ret
CAT
Ret
NED
14
GER
17
CZE
12
AUT
7
GBR
11
RSM
Ret
ARA
16
THA
11
JPN
13
AUS
4
MAL
12
VAL
DNS
15th 54
2020 โมโตจีพี ดูคาติ SPA
7
ANC
Ret
CZE
DNS
AUT STY RSM
2
EMI
CAT
FRA
ARA
TER
EUR
VAL
POR
14th* 29*

* ยังอยู่ระหว่างฤดูกาลการแข่งขัน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Francesco Bagnaia". MotoGP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-01. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
  2. "Bagnaia reveals he turned down 2018 MotoGP offer". Motorsport. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]