กรณีบอลลูนจีน พ.ศ. 2566

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรณีบอลลูนจีน พ.ศ. 2566
ส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์จีน-สหรัฐ และ จีน-แคนาดา
ภาพถ่ายบอลลูนเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ จากเครื่องบินล็อกฮีด ยู-2 ของกองทัพอากาศสหรัฐ
วันที่28 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2023 (2023-01-28 – 2023-02-04)
ที่ตั้งน่านฟ้าเหนือสหรัฐ, แคนาดา, ลาตินอเมริกา และเขตน่านน้ำ
ประเภทกรณีทางการทูต
สาเหตุบอลลูนสอดแนมของจีนเข้าสู่น่านฟ้าต่างชาติ
เหตุจูงใจสหรัฐและแคนาดาอ้างว่าเป็นการสอดแนม; จีนอ้างว่าเป็นอุตุนิยมวิทยา และ เรื่องบังเอิญจากกระแสลมพัดไปทางตะวันตก
ผลมิสไซล์ของกองทัพอากาศ เครื่องบิน F-22 Raptor ยิงบอลลูนตก

ระหว่างวันที่ 28 มกราคม ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2023 บอลลูนระดับความสูงมากที่มีที่มาจากประเทศจีน ได้เดินทางผ่านน่านฟ้าของเอมริกาเหนือ โดยผ่านรัฐอะแลสกา แคนาดาตะวันตก และสหรัฐภาคพื้นทวีป กองทัพของสหรัฐและแคนาดากล่าวโทษว่าบอลลูนนี้ถูกใช้งานเพื่อสอดแนม ในขณะที่รัฐบาลจีนโต้แย้งว่าเป็นอากาศยานสำรวจทางอุตุนิยมวิทยาของพลเรือนที่ถูกลมพัดออกนอกเส้นทาง[1] ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ บอลลูนลอยผ่านเหนือรัฐมอนแทนา และในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ได้ผ่านเหนือรัฐมิสซูรี ก่อนที่วันต่อมาจะถูกยิงตกโดยกองทัพอากาศสหรัฐเหนือน่านน้ำนอกชายฝั่งของรัฐเซาธ์แคโรไลนา โดยคำสั่งของประธานาธิบดี โจ ไบเดิน[2]

กรณีนี้ได้นำมาสู่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีน เป็นผลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แอนโทนี บลิงเคน เลื่อนการเดินทางทางการทูตไปยังปักกิ่งออกไป[3][4][5] นอกจากนี้ กรณีนี้ยังเกิดความตึงเครียดระหว่างจีนกับแคนาดา เนื่องมาจากการรุกล้ำน่านฟ้าของแคนาดา รัฐบาลแคนาดาได้มีคำสั่งเรียกทูตจีนเข้าพบ[6] ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ กระทรวงกลาโหมสหรัฐระบุว่ากำลังมีบอลลูนสัญชาติจีนอันที่สองกำลังลอยผ่านเหนือลาตินอเมริกา[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lee, Matthew (February 4, 2023). "Chinese balloon soars across US; Blinken scraps Beijing trip". AP News. สืบค้นเมื่อ February 5, 2023.
  2. Brown, Matthew; Pollard, James (February 5, 2023). "Eyes on the sky as Chinese balloon shot down over Atlantic". AP News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2023. สืบค้นเมื่อ February 5, 2023.
  3. Miller, Zeke; Balsamo, Michael; Long, Colleen; Madhani, Aamer; Baldor, Lolita C. (February 5, 2023). "US downs Chinese balloon, drawing a threat from China". AP News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2023. สืบค้นเมื่อ February 5, 2023.
  4. Cadell, Cate; Hudson, John; Abutaleb, Yasmeen. "Blinken postpones China trip as suspected spy balloon detected over U.S.". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ February 5, 2023.
  5. Hansler, Jennifer; Liptak, Kevin; Herb, Jeremy; Atwood, Kylie; Sciutto, Kylie; Liebermann, Oren (February 3, 2023). "Blinken postpones trip to Beijing after Chinese spy balloon spotted over US, officials say". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2023. สืบค้นเมื่อ February 5, 2023.
  6. "Ottawa tight-lipped on details as Canada, U.S. call out China over balloon". CTV News (ภาษาอังกฤษ). February 3, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2023. สืบค้นเมื่อ February 3, 2023.
  7. "Pentagon: Another Chinese Balloon Spotted Over Latin America". Voice of America (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 5, 2023. สืบค้นเมื่อ February 4, 2023.