ข้ามไปเนื้อหา

อุบัติการณ์ซีอาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กรณีซีอาน)
อุบัติการณ์ซีอาน
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองจีน

สามผู้นำที่มีความเกี่ยวข้องกับอุบัติการณ์ซีอาน: จาง เสวียเหลียง, หยาง หู่เฉิง และ เจียง ไคเชก
วันที่12 ธันวาคม – 26 ธันวาคม ค.ศ. 1936
สถานที่34.3416° N, 108.9398° E
ผล สิ้นสุดการทัพโอบล้อม
การก่อตั้งแนวร่วมที่สอง
สิ้นสุดชั่วคราวของสงครามกลางเมืองจีน

อุบัติการณ์ซีอาน(จีนตัวเต็ม: 西安事變; จีนตัวย่อ: 西安事变; พินอิน: Xī'ān Shìbìan) เป็นวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในซีอาน, สาธารณรัฐจีน ในปี ค.ศ. 1936 เจียง ไคเชก ผู้นำแห่งสาธารณรัฐจีน ได้ถูกควบคุมตัวโดยลูกน้องของเขา นายพล จาง เสวียเหลียง และหยาง หู่เฉิง เพื่อบังคับให้พรรคชาตินิยมจีนที่ปกครองอยู่(ก๊กมินตั๋งหรือ KMT) เปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับจักรวรรดิญี่ปุ่นและพรรคคอมมิวนิสต์จีน(CPC)[1]

ก่อนเกิดเหตุอุบัติการณ์ เจียง ไคเชกได้มุ่งเน้นไปที่การสู้รบปราบปรามกับคอมมิวนิสต์ภายในประเทศจีนมากกว่าภัยคุกคามภายนอกจากญี่ปุ่น หลังเหตุอุบัติการณ์, เจียงได้ยอมร่วมมือกับคอมมิวนิสต์ในการต่อต้านญี่ปุ่น วิกฤตการณ์ได้สิ้นสุดลงภายหลังจากการเจราจาสองสัปดาห์ ซึ่งเจียงได้รับการปล่อยตัวในที่สุด และเดินทางกลับสู่เมืองหนานจิง พร้อมกับจาง เจียงได้ตกลงที่จะยุติสงครามกลางเมืองกับพรรคคอมมิวนิสต์ และเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับสงครามที่กำลังจะเกิดขึ้นกับญี่ปุ่น[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Taylor 2009, p. 136–37.