ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตลาดนัดจตุจักร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Paopark (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 196: บรรทัด 196:
== ข่าวที่เกี่ยวข้องกับจตุจักร ==
== ข่าวที่เกี่ยวข้องกับจตุจักร ==
* [http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=51577&Newstype=2&template=2 ร้านเสื้อผ้าไอเดียสำนวนไทยของหนุ่มนักผวน ที่ใครผ่านไปผ่านมาแล้วต้องสะดุด...]
* [http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=51577&Newstype=2&template=2 ร้านเสื้อผ้าไอเดียสำนวนไทยของหนุ่มนักผวน ที่ใครผ่านไปผ่านมาแล้วต้องสะดุด...]
* [http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=154848&Newstype=1&template=1 เที่ยวตลาดนัดจตุจักรอย่าเผลอสูบบุหรี่โดนแน่2พันบาท]






รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:55, 16 กุมภาพันธ์ 2551

ภาพบรรยากาศตลาดนัดจตุจักร บริเวณถนนหน้าโครงการ 11 - 13
ไฟล์:SUC50093.JPG
คนหนาแน่นในช่วงเย็น บริเวณโครงการ 1 และ โครงการ 26

ตลาดนัดจตุจักร (Chatuchak Market) หรือที่เรียกกันว่า JJ Market แหล่งช้อปปิ้งยอดฮิตสุดสัปดาห์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่นี่เป็นตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง]ที่รวบรวมสินค้ามากมายจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มีสินค้าหลากชนิดให้เลือกสรร แถมได้ของที่ถูกใจในราคาที่ย่อมเยาว์ สำหรับตลาดนัดจตุจักรมีจำนวนแผงค้าทั้งหมดมากกว่า 8,000 แผงค้า แบ่งเป็น 27 โครงการ มีสินค้า 8 ประเภท ได้แก่ ผักและผลไม้ เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ อาหารปรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารสด และเบ็ดเตล็ด

ความเป็นมาของตลาดนัดจตุจักร

ตลาดแห่งนี้มีความเป็นมายาวนานกว่า 60 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลมีนโยบายให้จัดตั้งตลาดนัดขึ้นในทุกจังหวัด สำหรับกรุงเทพนั้นได้เลือกสนามหลวงเป็นสถานที่จัดตลาดนัด แต่เพียงไม่ถึงปีทางราชการก็ย้ายตลาดนัด ไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์แล้วจึงย้ายออกไปตั้งอยู่บริเวณสนามชัย และย้ายตลาดนัดกลับไปอยู่ที่สนามหลวงในปี พ.ศ. 2501 ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 ได้มีนโยบายใช้สนามหลวงเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และจัดงานกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้มอบที่ดินย่านพหลโยธินตอนต่อจากสวนจตุจักรด้านทิศใต้ให้แก่กรุงเทพมหานครเพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์ และกรุงเทพมหานครได้ปรับพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยและขณะเดียวกันก็พยายามย้ายผู้ค้าจากสนามหลวงมาด้วย จนกระทั่งดำเนินการสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยใช้ชื่อว่าตลาดนัดย่านพหลโยธิน ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดนัดจตุจักร” ให้สอดคล้องกับสวนสาธารณะจตุจักรในบริเวณใกล้เคียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน

27 โครงการในตลาดนัดจตุจักร

โครงการ 1

  • ของเก่าและของสะสม
    • ร้าน ศิริพร แอนติค (วัตถุโบราณ, หินแกะสลัก)
    • ร้าน สาธุ-เหมาะดี (ของเก่า)
  • ศิลปะ
  • หนังสือ
  • สินค้าหัตถกรรม
    • ร้านไม้งาม (ไม้แกะสลัก)
    • ร้านพันธกานต์ อาร์ต (ไม้แกะสลัก)
    • ร้านฟองแก้ว (ไม้แกะสลัก)
    • ร้านดิน (ไม้แกะสลัก ของที่ระลึก)

โครงการ 2

  • สินค้าหัตถกรรม

โครงการ 3

  • ต้นไม้และอุปกรณ์สวน
  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ
  • เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน
  • อาหารและเครื่องดื่ม

โครงการ 4

  • ต้นไม้และอุปกรณ์สวน
  • เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน
  • อาหารและเครื่องดื่ม

โครงการ 5

  • เสื้อผ้ามือสองและสินค้าเบ็ดเตล็ด

โครงการ 6

  • เสื้อผ้ามือสองและสินค้าเบ็ดเตล็ด

โครงการ 7

  • ศิลปะ
    • ร้าน D-T-Dyo (เทียนหอมหลากสี)

โครงการ 8

  • สินค้าหัตถกรรม
  • สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง
  • เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน

โครงการ 9

  • สินค้าหัตถกรรม
  • สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง

โครงการ 10

  • อาหารและเครื่องดื่ม
  • สินค้าหัตถกรรม

โครงการ 11

  • สินค้าหัตถกรรม
  • สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง
    • ร้าน คนรักหมา (เสื้อผ้าสุนัข, ตัดขนสุนัข)
    • ร้าน สมศักดิ์ (สุนัขทุกพันธุ์)
    • ร้าน เพื่อนฟาร์ม (สุนัขทุกพันธุ์, อุปกรณ์เลี้ยงดูสุนัข)

โครงการ 12

  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ

โครงการ 13

  • สินค้าหัตถกรรม
  • สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยง
    • ร้าน จิงแอนด์ปี้ป่อ (ตู้ปลา, วัสดุ-อุปกรณ์เลี้ยงปลาตู้)
  • เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค

โครงการ 14

  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ

โครงการ 15

  • สินค้าหัตถกรรม
  • เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค

โครงการ 16

  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ

โครงการ 17

  • สินค้าหัตถกรรม
  • เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค

โครงการ 18

  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ

โครงการ 19

  • สินค้าหัตถกรรม
  • เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค

โครงการ 20

  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ
  • สินค้าหัตถกรรม
  • เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค

โครงการ 21

  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ

โครงการ 22

  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ

โครงการ 23

  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ

โครงการ 24

  • สินค้าหัตถกรรม
    • ร้านภูฟ้า (ผลิตภัณฑ์ในโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)

โครงการ 25

  • สินค้าหัตถกรรม
  • เครื่องปั้นดินเผาและเซรามิค
  • ผ้าไหม
    • ร้าน คำปองผ้าไหม (จำหน่าย - ผ้าไหม ปลีก - ส่ง) รับสั่งตามออเดอร์
    • ร้าน ร้อย (ผ้าไหมไทย)

โครงการ 26

  • อาหารและเครื่องดื่ม
    • ร้านอาหารฝุ่นตลบ (ส้มตำ ไก่ทอด ข้าวเหนียว ก๋วยจั๊บญวน)
    • ร้านอาหารงง งง (ข้าวหมูอบ ก๋วยเตี๋ยวปลา)
    • ร้านอาหารกรุงเก่า (สเต็กไก่ สเต็กหมู สเต็กปลา)
  • ของเก่าและของสะสม
  • อื่นๆ
    • ร้าน I'm happy (จำหน่าย Collection ต่างๆ ของ Happy, บัตรเติมเงิน)

โครงการ 27

  • เสื้อผ้าและเครื่องประดับ
  • หนังสือ
  • อาหารและเครื่องดื่ม
    • ร้านอาหารโถพลู (อาหารไทย อาหารต่างประเทศ)

หอนาฬิกาตลาดนัดจตุจักร

หอนาฬิกาเป็นจุดนัดพบยอดนิยมที่ในตลาดนัดจตุจักร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยความร่วมมือของกองอำนวยการตลาดนัดกรุงเทพมหานคร และ สมาคมพ่อค้า ไทย - จีน

หอนาฬิกา สัญลักษณ์ตลาดนัดจตุจักร
ไฟล์:SUC50016.JPG
หอนาฬิกา สัญลักษณ์ตลาดนัดจตุจักร (ได้รับการบูรณะใหม่ ในปี พ.ศ. 2549)


บริการต่างๆ ภายในตลาดนัดจตุจักร

  • ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ให้บริการตามหาญาติ สอบถามร้านค้า หาของสูญหาย
    • เปิดบริการวันพุธ ถึง อาทิตย์ เวลา 8.00 - 20.00 น.
      • ซุ้มประชาสัมพันธ์ (ประตู 1) ให้บริการสอบถามร้านค้า แผนที่ตลาดนัด
        • เปิดบริการวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10.00 - 17.00 น.
  • ธนาคารต่างๆ ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ฝากเงิน เปิดบัญชี สินเชื่อ
    • ธนาคารทหารไทย (อาคารกองอำนวยการฯ)
    • ธนาคารกรุงเทพ (อาคารกองอำนวยการฯ)
    • ธนาคารออมสิน (ข้างๆ ฝ่ายปฏิบัติการ)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ (ใกล้ประตู 1 ถ.กำแพงเพชร 2)
    • ธนาคารกสิกรไทย (ตรงข้ามโครงการ 11)
  • รถไฟฟ้ารอบๆ ตลาดนัดจตุจักร
    • ให้บริการเวลาวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 10.00 - 17.00 น.
  • ห้องน้ำ
  • ห้องพยาบาล (หลังอาคารกองอำนวยการฯ โครงการ 27)

สถานที่ใกล้เคียง

การเดินทาง

มีหลายรูปแบบทั้งรถยนต์ส่วนตัวซึ่งต้องนำไปจอดที่ลานจอดรถตลาดนัดจตุจักรหรือ Park & Ride และมีรถรับส่งระหว่างลานจอดรถกับตลาดนัดจตุจักร (ประตู 2) หรือนั่งรถประจำทางซึ่งมีหลายสายผ่าน และที่สะดวกมากก็คือโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่สถานีหมอชิต หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ลงที่สถานีกำแพงเพชร นอกจากนี้ก็ยังมีรถแท็กซี่ และรถตู้หลายสายให้บริการ

หมายเลขรถประจำทางที่ผ่านตลาดนัดจตุจักร

ป้ายรถประจำทางหน้าสวนจตุจักร (ถ.พหลโยธิน)
  • รถธรรมดา: 3, 8, 26, 27, 28, 29, 34, 38, 39, 44, 52, 59, 63, 77, 90, 96, 104, 108, 122, 126, 134, 136, 138, 145, 182, 188
  • รถปรับอากาศ : ปอ.3, ปอ.28, ปอ.29, ปอ.34, ปอ.39, ปอ.44, ปอ.59, ปอ.63, ปอ.77, ปอ.104, ปอ.126, ปอ.134, ปอ.138, ปอ.145, ปอ.157, ปอ.177, ปอ.502, ปอ.503, ปอ.509, ปอ.510, ปอ.512, ปอ.517, ปอ.524, ปอ.529
ป้ายรถประจำทางหน้าจตุจักร เดย์ แอนด์ ไนท์ หรือ ตลาดนัดจตุจักร ประตู 1 (ถ.กำแพงเพชร 2)
  • รถธรรมดา : 26, 77, 96, 104, 122, 134, 136, 138, 145, 157, 182
  • รถปรับอากาศ : ปอ.77, ปอ.134, ปอ.138, ปอ.145, ปอ.157, ปอ.509, ปอ.517, ปอ.529, ปอ.536

เพลงสวนจตุจักร

ในปี พ.ศ. 2548 คาราบาวได้แต่งเพลงชื่อ สวนจตุจักร อยู่ในชุด สามัคคีประเทศไทย โดยมีเนื้อหาประชาสัมพันธ์ถึงตลาดนัดจตุจักร และมีเนื้อร้องบางท่อนเป็นฮิปฮอปภาษาอังกฤษด้วย

แหล่งข้อมูลอื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้องกับจตุจักร