ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แขวงดาวคะนอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{multiple image | direction = vertical | width = 250 | align =right | image1 = Thanon Somdet Phra Chao Tak Sin.jpg | alt1 = | caption1 = ถนนสมเด็...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:06, 15 สิงหาคม 2562

ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ช่วงตลาดดาวคะนอง
สะพานกรุงเทพ

ดาวคะนอง เป็นชื่อแขวงและย่านในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

ชื่อและประวัติ

ย่านดาวคะนองมีผู้สันนิษฐานว่าเป็นชุมชนมอญเมื่อสมัยต้นรัตนโกสินทร์ คำว่า คะน็อง (ခှံင္) เป็นภาษามอญมีความหมายว่า "ดาว" ดาวคะนองจึงมีความหมายว่า "ดาวดาว"[1] ตามทฤษฎีคำซ้อน 2 ภาษา

มีการสันนิษฐานว่า ชื่อมาจากการที่จระเข้มาอาละวาด[2] นิทานกลอนเรื่อง ไกรทอง โดย บุศย์ รจนา ระบุว่า ท้าวโคจรจากเมืองพิจิตรลงมาปราบจระเข้สองพี่น้อง ท้าวพันตา และพระยาพันวัง โดยแผลงฤทธิ์ฟาดน้ำกันที่ย่านนี้[3] ดาวคะนองยังได้รับการเอ่ยถึงใน นิราศเมืองแกลง วรรณกรรมต้นยุครัตนโกสินทร์ของสุนทรภู่[4]

ดาวคะนอง เป็นที่ตั้งของวัดกลาง ดาวคะนอง ตั้งอยู่ปากคลองดาวคะนอง พบพระพุทธรูปหินทราย พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย อุโบสถที่มีเค้าสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย[5] เดิมชื่อวัดคือ วัดกลาง เนื่องจากทางทิศใต้ของวัดติดต่อกับคลองบ้านกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวมอญ ต่อมาวัดได้เพิ่มคำว่า "ดาวคะนอง" เข้าไปตามสถานที่ตั้งของวัดในระหว่าง พ.ศ. 2493–2512[6]

อาณาบริเวณ

จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงแขวงดาวคะนองเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2540

แขวงดาวคะนองติดกับแขวงตลาดพลู เขตธนบุรีทางทิศเหนือ ติดกับแขวงบุคคโล แขวงสำเหร่ เขตธนบุรี และแขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลมทางทิศตะวันออก ติดกับแขวงบางประกอก เขตราษฎร์บูรณะ ทางทิศใต้ ติดกับแขวงบางค้อ เขตจอมทอง และแขวงตลาดพลู เขตธนบุรี ทางทิศตะวันตก[7]

สถานที่

  • รถไฟฟ้าบีทีเอส ตลาดพลู
  • บิ๊กซี ดาวคะนอง
  • ตลาดดาวคะนอง
  • ท่าเรือดาวคะนอง
  • ศาลเจ้าพ่อเหลาปิงเถ้ากง
  • โรงเรียนวัดดาวคะนอง

คมนาคม

อ้างอิง

  1. ขรรค์ชัย-สุจิตต์ ทอดน่องฯ “บางกะเจ้า เมืองพระประแดง ปากทางอ่าวสยาม”. 24 กันยายน 2561. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 32.50. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite AV media}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. "จระเข้ในวัฒนธรรมไทย". สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. สุจิตต์ วงษ์เทศ (2 ธันวาคม 2561). ""เมืองพระประแดง" แรกสุด และตำนานจระเข้พระประแดง ต้นตระกูลชาละวัน พิจิตร". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "นิราศเมืองแกลง". สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. อยุธยาในย่านกรุงเทพฯ ศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลอง. ศิลปกรรม. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "ประวัติวัดกลางดาวคนอง". สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. "ประกาศกรุงเทพมหานคร" (PDF). สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)