ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พิคาชู"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 33: บรรทัด 33:


ในซีรีส์ยังมีพิกะจูป่า และพิกะจูที่มีเจ้าของตัวอื่นด้วย มักจะมีบทบาทร่วมกับซาโตชิและพิกะจูของเขาด้วย ที่โดดเด่นคือพิกะจูของฮิโรชิ ชื่อสปาร์กี<ref name="A Friend In Deed">{{cite episode |title = A Friend In Deed |series = Pokémon |credits = Shōji Yonemura (writer) |network = Various |airdate = November 20, 1999 |season = [[List of Pokémon: Indigo League episodes|Indigo League]] |number = 78}}</ref> พิกะจูสื่อสารกันด้วยการพูดคำจากชื่อตัวเอง เหมือนกับโปเกมอนส่วนใหญ่ ในอะนิเมะ ผู้ให้เสียงพิกะจูคือ[[อิคูเอะ โอตานิ]] ใน''[[โปเกมอนไลฟ์]]'' ที่เป็นละครเพลงเวทีที่ดัดแปลงจากอะนิเมะ ผู้รับบทเป็นพิกะจูคือ เจนนิเฟอร์ ริสเซอร์
ในซีรีส์ยังมีพิกะจูป่า และพิกะจูที่มีเจ้าของตัวอื่นด้วย มักจะมีบทบาทร่วมกับซาโตชิและพิกะจูของเขาด้วย ที่โดดเด่นคือพิกะจูของฮิโรชิ ชื่อสปาร์กี<ref name="A Friend In Deed">{{cite episode |title = A Friend In Deed |series = Pokémon |credits = Shōji Yonemura (writer) |network = Various |airdate = November 20, 1999 |season = [[List of Pokémon: Indigo League episodes|Indigo League]] |number = 78}}</ref> พิกะจูสื่อสารกันด้วยการพูดคำจากชื่อตัวเอง เหมือนกับโปเกมอนส่วนใหญ่ ในอะนิเมะ ผู้ให้เสียงพิกะจูคือ[[อิคูเอะ โอตานิ]] ใน''[[โปเกมอนไลฟ์]]'' ที่เป็นละครเพลงเวทีที่ดัดแปลงจากอะนิเมะ ผู้รับบทเป็นพิกะจูคือ เจนนิเฟอร์ ริสเซอร์

=== ในสื่ออื่น ===
พิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนหลักในซีรีส์[[โปเกมอน (มังงะ)|มังงะโปเกมอน]]หลายซีรีส์ ใน''[[โปเกมอนสเปเชียล]]'' ตัวละครหลัก เรดโดะ และอิเอะโระ ทั้งคู่ต่างเลี้ยงพิกะจู เกิดเป็นไข่ซึ่งโกรุโดะฟักออกมาเป็นพีชู ในซีรีส์อื่น เช่น ''[[เมจิคัลโปเกมอนเจอร์นีย์]]'' และ''เก็ตโตดาเซ'' นำเสนอพิกะจูเช่นกัน ขณะที่ในมังงะซีรีส์อื่น เช่น ''[[อิเล็กทริกเทลออฟพิกะจู]]''<ref name="Onointerview"/> และ ''[[แอชแอนด์พิกะจู]]'' นำเสนอพิกะจูของซาโตชิตัวเดียวกับในอะนิเมะ<ref name="Onointerview">"[http://web.archive.org/web/20000510020712/http://www.vizkids.com/pokemon/news_interview.shtml Animerica Interview Toshihiro Ono]." [[VIZ Media]]. May 10, 2000. Retrieved on May 31, 2009.</ref>

[[การ์ดสะสม]]ที่มีรูปพิกะจูปรากฏขึ้นมาใน''[[โปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกม]]''รุ่นแรก ออกจำหน่ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1996 รวมถึงการ์ดรุ่นที่มีจำกัดด้วย พิกะจูยังถูกนำไปใช้ส่งเสริมสินค้าร้าน[[อาหารจานด่วน]]ต่าง ๆ เช่น [[แมคโดนัลด์]] [[เวนดีส์]] และ[[เบอร์เกอร์คิง]] ด้วย<ref>{{cite web|title=The Pojo – TCG Set Lists McDonald's Campaign Expansion Set|url=http://www.pojo.com/priceguide/jpMcD.html|accessdate=2008-06-04}}</ref><ref>{{cite web|title=Fastfoodtoys.Net Pokémon 2000 Toys |url=http://www.fastfoodtoys.net/burger%20king%20pokemon%20power%20cards.htm|accessdate=2008-06-04}}</ref><ref>{{cite news |title=Restaurant chain entertainment promotions monitor, June 2003 |url=http://www.accessmylibrary.com/coms2/summary_0286-3479164_ITM |date=June 1, 2003 |work=Entertainment Marketing Letter|accessdate=2009-06-30}}</ref><ref>{{cite web|title=Pokemon at Wendy's Promotion Begins! |url=http://pokemonelite2000.com/pastnews0503.html |date=May 20, 2003 |accessdate=2009-06-30 |archiveurl = http://web.archive.org/web/20080212014130/http://pokemonelite2000.com/pastnews0503.html |archivedate = 2008-02-12}}</ref>


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:15, 20 มีนาคม 2558

พิกะจู
ตัวละครใน ซีรีส์ โปเกมอน
ปรากฏครั้งแรกโปเกมอน เรด และ บลู (1996)
ออกแบบโดยKen Sugimori
แสดงโดยเจนนิเฟอร์ ริสเซอร์ (โปเกมอนไลฟ์!)
เสียงอังกฤษIkue Ōtani
Rachael Lillis (ภาค อินดิโกลีก บางตอน)
Chika Sakamoto (พูกา; ตอน 67)
Satomi Kōrogi (สปาร์กี; ตอน 78)
Craig Blair (ตอนพิเศษ PMD)
เสียงญี่ปุ่นIkue Ōtani
Chika Sakamoto
Satomi Kōrogi
Tomoe Hanba (ตอนพิเศษ PMD)

พิกะจู (ญี่ปุ่น: Pikachuโรมาจิピカチュウ) เป็นสายพันธุ์สมมุติหนึ่งของโปเกมอน โปเกมอนเป็นสิ่งมีชีวิตในบันเทิงคดีที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์แอนิเมชัน และรายการโทรทัศน์ วิดีโอเกม และการ์ดเกม เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทญี่ปุ่น เดอะโปเกมอนคอมพานี พิกะจูออกแบบโดยเคน ซุกิโมริ และปรากฏครั้งแรกในวิดีโอเกมโปเกมอนเรด และ บลู สำหรับเกมบอย เมื่อปี ค.ศ. 1996

เช่นเดียวกับโปเกมอนสายพันธุ์อื่น ๆ มนุษย์จับและฝึกฝนพิกะจูเพื่อต่อสู้โปเกมอนตัวอื่นเป็นการแข่งขันได้ พิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดตัวหนึ่ง สาเหตุหลักคือพิกะจูเป็นตัวละครหลักในอะนิเมะเรื่องโปเกมอน พิกะจูถือว่าเป็นตัวละครหลักของแฟรนไชส์โปเกมอน และกลายเป็นสัญรูปของวัฒนธรรมญี่ปุ่นเมื่อหลายปีที่ผ่านมา

แนวคิดและการออกแบบ

ซีรีส์โปเกมอนเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1996 พัฒนาโดยเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเทนโด และนำเสนอสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ เรียกว่า "โปเกมอน" ที่ผู้เล่น หรือ "เทรนเนอร์" สามารถจับมาเลี้ยง ฝึกฝน และใช้ต่อสู้กับโปเกมอนของคนอื่นหรือมีปฏิสัมพันธ์กับโลกของเกม[1][2] พิกะจูเป็นหนึ่งในการออกแบบโปเกมอนหลายครั้งที่ทีมพัฒนาตัวละครของบริษัทเกมฟรีกออกแบบและเกลาโดยเคน ซุกิโมริ[3][4] จากคำกล่าวของผู้ผลิตซีรีส์ ซาโตชิ ทาจิริ ชื่อมาจากเสียงภาษาญี่ปุ่นสองเสียงผสมกัน ระหว่าง pika เสียงของประกายไฟฟ้า และ chu เสียงร้องของหนู[5] จูนิชิ มาซุดะ นักพัฒนากล่าวว่า ชื่อของพิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่สร้างยากที่สุด เนื่องจากเขาพยายามทำให้เป็นที่ดึงดูดทั้งผู้ชมชาวญี่ปุ่นและชาวอเมริกัน[6]

เมื่อยืนขึ้น พิกะจูจะสูง 1 ฟุต 4 นิ้ว (0.4 เมตร) พิกะจูเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนู และเป็นโปเกมอน "ประเภทไฟฟ้า" ตัวแรกที่ถูกสร้างขึ้น การออกแบบตั้งใจจะให้เกี่ยวพันกับแนวคิดเรื่องไฟฟ้า[7] พิกะจูเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนูที่มีขนสั้นสีเหลือง มีแต้มสีน้ำตาลปกคลุมหลังของมัน และบางส่วนของหางรูปสายฟ้า มีหูแหลมแต้มด้วยสีดำ และถุงเก็บกระแสไฟฟ้าสีแดงอยู่ที่แก้มสองข้าง สามารถสร้างประกายไฟได้[8] ในโปเกมอนไดมอนด์ และ เพิร์ล นำเสนอความแตกต่างของเพศเป็นครั้งแรก พิกะจูเพศเมียจะมีรอยเว้าที่ปลายหางเป็นรูปหัวใจ พิกะจูจะจู่โจมโดยใช้ไฟฟ้าจากร่างกายพุ่งไปสู่คู่ต่อสู้ ในบริบทของแฟรนไชส์ พิกะจูสามารถเปลี่ยนร่าง หรือ "พัฒนาร่าง" (evolve) เป็นไรชู เมื่อประสบกับหินสายฟ้า (Thunderstone) ในซีรีส์ต่อมา ร่างพัฒนาก่อนหน้าเกิดขึ้นครั้งแรก ชื่อว่า "พีชู" (Pichu) ซึ่งจะพัฒนาเป็นพิกะจูหลังจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเทรนเนอร์

เดิมทีโปเกมอนที่ถูกเลือกให้เป็นตัวละครหลักของสินค้าแฟรนไชส์คือพิกะจู และปิปปี (Clefairy) ซึ่งปิปปีเป็นมาสคอตที่ทำให้หนังสือการ์ตูน "มีเสน่ห์" (engaging) ขึ้น แม้กระนั้น ในการผลิตซีรีส์แอนิเมชัน พิกะจูกลายเป็นมาสคอต เพื่อต้องการดึงดูดผู้ชมเพศหญิงและแม่ของพวกเขา ภายใต้ความเชื่อว่าเขาสร้างสิ่งมีชีวิตเพื่อเป็นภาพทดแทนสัตว์เลี้ยงให้กับเด็ก ๆ สีของมันก็เป็นหนึ่งในปัจจัย เนื่องจากสีเหลืองเป็นแม่สี และเด็ก ๆ มองเห็นง่ายจากระยะไกล และคู่แข่งเดียวที่เป็นมาสคอตสีเหลืองเหมือนกันในเวลานั้นคือ วินนี่-เดอะ-พูห์ เท่านั้น[9] แม้ว่าทาจิริจะรู้ว่าตัวละครได้รับความนิยมจากเหล่าเด็กชายและเด็กหญิง แนวคิดที่ว่าจะให้พิกะจูเป็นมาสคอตไม่ได้เป็นของเขา และกล่าวว่าเขารู้สึกว่ามุมมองของคนที่มีต่อซีรีส์นั้นถูกเด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่นที่หลงใหลพิกะจูอย่างไม่ลังเล มองข้ามไป[10]

การปรากฏตัว

ในวิดีโอเกม

ในวิดีโอเกม พิกะจูเป็นโปเกมอนระดับล่าง ปรากฏในเกมในธรรมชาติทุกภาคยกเว้นภาคแบล็ก และ ไวต์ ซึ่งต้องแลกเปลี่ยนเท่านั้น[11] โปเกมอนเยลโลว์จะมีพิกะจูเป็นโปเกมอนเริ่มต้นเพียงตัวเดียว และอิงจากพิกะจูในอะนิเมะ พิกะจูจะไม่ยอมเข้ามอนสเตอร์บอลหรือโปเกบอล แต่จะเดินตามตัวละครหลักบนหน้าจอแทน เทรนเนอร์สามารถพูดคุยกับมันและมันจะแสดงปฏิกิริยาต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู[12] ณ เหตุการณ์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 อนุญาตให้ผู้เล่นโปเกมอนฮาร์ตโกลด์ และโซลซิลเวอร์ เข้าไปในเส้นทางผ่านเครื่องโปเกวอล์กเกอร์ ซึ่งจะมีพิกะจูที่จดจำท่าโจมตีที่ปกติจะไม่สามารถจดจำได้ นั่นคือ โต้คลื่น (Surf) และ บินโฉบ (Fly)[13] ทั้งสองท่านี้เป็นตัวช่วยเดินทาง สามารถใช้นอกการต่อสู้ได้

นอกจากซีรีส์หลักของเกมแล้ว พิกะจูยังปรากฏในเกม เฮย์ยูพิกะจู บนเครื่องนินเทนโด 64[14] ผู้เล่นสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับพิกะจูผ่านไมโครโฟน ออกคำสั่งให้เล่นมินิเกมต่าง ๆ และแสดงความคิดในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เกมโปเกมอนแชนเนลก็เกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์กับพิกะจูเช่นกัน แต่ไม่ใช้ไมโครโฟน[15] พิกะจูปรากฏในทุกด่านของเกมโปเกมอนสแนป ซึ่งผู้เล่นจะต้องถ่ายภาพโปเกมอนเพื่อเก็บคะแนน พิกะจูเป็นหนึ่งใน 16 โปเกมอนเริ่มต้น และ 10 คู่หูในเกมโปเกมอนมิสเตอรีดันเจียน พิกะจูยังเป็นตัวละครหลักในเกมโปเกปาร์กวี: พิกะจูส์แอดเวนเชอร์[16] และปรากฏเป็นตัวละครที่เล่นได้ในเกมซูเปอร์สแมชบราเธอส์[17] โปเกมอนเป็นตัวละครของโพรโตคอลอะมีโบ (Amiibo) ด้วย

ในอะนิเมะ

ซีรีส์อะนิเมะและภาพยนตร์โปเกมอนนำเสนอการเดินทางของซาโตชิ หรือแอช เค็ตชัม (Ash Ketchum) ไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ในจักรวาลโปเกมอน เขาเดินทางพร้อมกับกลุ่มเพื่อนร่วมทางที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ได้แก่ คาสึมื ทาเคชิ เค็นจิ ฮารุกะ มาซาโตะ ฮิคาริ ไอริส เด็นโตะ ยูเรกะ เซเรนา และซิตรอน

ในตอนแรก ซาโตชิได้รับพิกะจูจากศาสตราจารย์ออคิดส์เป็นโปเกมอนเริ่มต้น เทรนเนอร์คนใหม่จะได้รับโปเกมอนเริ่มต้น ซึ่งในคันโต ภูมิภาคบ้านเกิดของซาโตชิ โปเกมอนเริ่มต้นควรจะเป็นฮิโตะคาเงะ เซนิกาเมะ หรือฟุชิงิดาเนะ แต่ซาโตชินอนตื่นสายจึงได้พิกะจูแทน ทีแรก พิกะจูดื้อและไม่เชื่อฟังซาโตชิ ปล่อยกระแสไฟฟ้าใส่เขาบ่อยครั้งและไม่ยอมเข้าไปอยู่ในมอนสเตอร์บอลเหมือนกับโปเกมอนตัวอื่น ๆ แม้กระนั้น ซาโตชิเสี่ยงชีวิตตัวเองเพื่อปกป้องพิกะจูจากฝูงโอนิซุซุเมะ[18] จากนั้นรีบพาพิกะจูไปรักษาตัวที่โปเกมอนเซ็นเตอร์ เนื่องจากซาโตชิสาธิตความเชื่อถือและความมุ่งมั่นแบบไร้เงื่อนไขต่อโปเกมอน พิกะจูจึงเริ่มใส่ใจซาโตชิ และมิตรภาพระหว่างเขาก็เกิดขึ้น แต่พิกะจูยังคงไม่ยอมเข้าไปอยู่ในมอสเตอร์บอล หลังจากนั้นไม่นานพิกะจูแสดงพลังยิ่งใหญ่ซึ่งโดดเด่นจากโปเกมอน หรือแม้แต่พิกะจูตัวอื่น ทำให้ทีมร็อกเก็ตพยายามแย่งชิงตัวพิกะจูเพื่อสนองความต้องการของหัวหน้าซาคากิให้ได้[19] ครั้งหนึ่ง ซาโตชิเกือบปล่อยตัวพิกะจู ในตอน Pikachu's Goodbye เพราะซาโตชิคิดว่าพิกะจูคงจะมีความสุขมากกว่าถ้าได้อยู่กับฝูงพิกะจูป่า แต่พิกะจูเลือกที่จะอยู่กับเขาแทน[20] พิกะจูยังปรากฏในช่วงพิเศษในสองซีซันแรก เรียกว่า "พิกะจูส์จูกบอกซ์" ซึ่งมีเพลงจากอัลบั้ม 2.บี.เอ.มาสเตอร์ ด้วย

ในซีรีส์ยังมีพิกะจูป่า และพิกะจูที่มีเจ้าของตัวอื่นด้วย มักจะมีบทบาทร่วมกับซาโตชิและพิกะจูของเขาด้วย ที่โดดเด่นคือพิกะจูของฮิโรชิ ชื่อสปาร์กี[21] พิกะจูสื่อสารกันด้วยการพูดคำจากชื่อตัวเอง เหมือนกับโปเกมอนส่วนใหญ่ ในอะนิเมะ ผู้ให้เสียงพิกะจูคืออิคูเอะ โอตานิ ในโปเกมอนไลฟ์ ที่เป็นละครเพลงเวทีที่ดัดแปลงจากอะนิเมะ ผู้รับบทเป็นพิกะจูคือ เจนนิเฟอร์ ริสเซอร์

ในสื่ออื่น

พิกะจูเป็นหนึ่งในโปเกมอนหลักในซีรีส์มังงะโปเกมอนหลายซีรีส์ ในโปเกมอนสเปเชียล ตัวละครหลัก เรดโดะ และอิเอะโระ ทั้งคู่ต่างเลี้ยงพิกะจู เกิดเป็นไข่ซึ่งโกรุโดะฟักออกมาเป็นพีชู ในซีรีส์อื่น เช่น เมจิคัลโปเกมอนเจอร์นีย์ และเก็ตโตดาเซ นำเสนอพิกะจูเช่นกัน ขณะที่ในมังงะซีรีส์อื่น เช่น อิเล็กทริกเทลออฟพิกะจู[22] และ แอชแอนด์พิกะจู นำเสนอพิกะจูของซาโตชิตัวเดียวกับในอะนิเมะ[22]

การ์ดสะสมที่มีรูปพิกะจูปรากฏขึ้นมาในโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกมรุ่นแรก ออกจำหน่ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1996 รวมถึงการ์ดรุ่นที่มีจำกัดด้วย พิกะจูยังถูกนำไปใช้ส่งเสริมสินค้าร้านอาหารจานด่วนต่าง ๆ เช่น แมคโดนัลด์ เวนดีส์ และเบอร์เกอร์คิง ด้วย[23][24][25][26]

อ้างอิง

  1. Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. pp. 6–7.
  2. Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 11.
  3. Staff. "2. 一新されたポケモンの世界". Nintendo.com (ภาษาJapanese). Nintendo. p. 2. สืบค้นเมื่อ 2010-09-10.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  4. Stuart Bishop (2003-05-30). "Game Freak on Pokémon!". CVG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-08. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07.
  5. "The Ultimate Game Freak". Time Asia. 154 (20): 2. November 22, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-10. สืบค้นเมื่อ September 25, 2009.
  6. Noble, McKinley (2009-03-23). "Pokemon Platinum: Developer Interview!". GamePro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  7. 『ポケットモンスター』スタッフインタビュー (ภาษาJapanese). Nintendo. สืบค้นเมื่อ June 6, 2009.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  8. Pokédex: It lives in forests with others. It stores electricity in the pouches on its cheeks. Game Freak (2007-04-22). Pokémon Diamond (Nintendo DS). Nintendo.
  9. Tobin, Joseph Jay (2004). Pikachu's Global Adventure: The Rise and Fall of Pokémon. Duke University Press. pp. 65–66. ISBN 0-8223-3287-6.
  10. "The Ultimate Game Freak". Time Asia. 154 (20): 1. November 22, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-10. สืบค้นเมื่อ September 25, 2009.
  11. "Pikachu Pokemon – Pokedex". IGN. 2013-12-26. สืบค้นเมื่อ 2014-01-01.
  12. Craig Harris (October 19, 1999). "Pokemon Yellow: Special Pikachu Edition – Game Boy Review at IGN". IGN. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
  13. Lucas M. Thomas (April 1, 2010). "Take a Pokewalk Through the Yellow Forest – Nintendo DS News at IGN". IGN. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
  14. Hey You, Pikachu! Nintendo.com'.' Retrieved July 17, 2006.
  15. Mary Jane Irwin (December 4, 2003). "Pokemon Channel – GameCube Review at IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
  16. Nintendo officially announces PokePark Wii Joystiq.com'.' Retrieved February 27, 2010.
  17. Nintendo Power Magazine
  18. Takeshi Shudō (writer) (September 8, 1998). "Pokémon - I Choose You!". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 1. Various.
  19. Shinzō Fujita (writer) (September 9, 1998). "Pokémon Emergency!". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 2. Various.
  20. Junki Takegami (writer) (November 20, 1998). "Pikachu's Goodbye". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 37. Various.
  21. Shōji Yonemura (writer) (November 20, 1999). "A Friend In Deed". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 78. Various.
  22. 22.0 22.1 "Animerica Interview Toshihiro Ono." VIZ Media. May 10, 2000. Retrieved on May 31, 2009.
  23. "The Pojo – TCG Set Lists McDonald's Campaign Expansion Set". สืบค้นเมื่อ 2008-06-04.
  24. "Fastfoodtoys.Net Pokémon 2000 Toys". สืบค้นเมื่อ 2008-06-04.
  25. "Restaurant chain entertainment promotions monitor, June 2003". Entertainment Marketing Letter. June 1, 2003. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.
  26. "Pokemon at Wendy's Promotion Begins!". May 20, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-12. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.

แหล่งข้อมูลอื่น