แขวงเชียงขวาง

พิกัด: 19°25′0″N 103°30′0″E / 19.41667°N 103.50000°E / 19.41667; 103.50000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แขวงเชียงขวาง

ແຂວງຊຽງຂວາງ
เนินโพนสะหวัน
เนินโพนสะหวัน
แผนที่แขวงเชียงขวาง
แผนที่แขวงเชียงขวาง
แผนที่ประเทศลาวเน้นแขวงเชียงขวาง
แผนที่ประเทศลาวเน้นแขวงเชียงขวาง
พิกัด: 19°25′0″N 103°30′0″E / 19.41667°N 103.50000°E / 19.41667; 103.50000
ประเทศ ลาว
เมืองเอกโพนสะหวัน
พื้นที่
 • ทั้งหมด15,880 ตร.กม. (6,130 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (สำมะโนประชากรมีนาคม 2561)
 • ทั้งหมด261,686 คน
 • ความหนาแน่น16 คน/ตร.กม. (43 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+07
รหัส ISO 3166LA-XI

เชียงขวาง[1] หรือ เซียงขวง[1] (ลาว: ຊຽງຂວາງ สะกด เซียงขวาง อ่าน เซียงขฺวาง) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ติดกับประเทศเวียดนาม ความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,200 เมตร เมืองเอกเดิมคือเมืองคูน แต่ด้วยสภาพความเสียหายอย่างรุนแรงจากสงครามเวียดนาม จึงย้ายเมืองเอกมาเป็นเมืองโพนสวรรค์ในปัจจุบัน

ในสมัยโบราณ เมืองนี้รู้จักกันในชื่อว่าเมืองพวน ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่ที่นั่น หรืออพยพไปอยู่ที่อื่นเรียกว่า ชาวไทพวน และบริเวณนี้ยังมีทุ่งไหหิน อีกด้วย

ที่ตั้ง[แก้]

ประวัติ[แก้]

ยุคล้านช้าง[แก้]

ยุคสงครามเวียดนาม[แก้]

ใน พ.ศ. 2513 แขวงเชียงขวางเคยเป็นสมรภูมิรบอันดุเดือดนับครั้งไม่ถ้วน ในยุคสงครามเวียดนามหรือสงครามอินโดจีน เนื่องจากเชียงขวางคือหนึ่งในจุดยุทธศาสตร์สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศลาว ด้วยชัยภูมิที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ อยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ราว 400 กิโลเมตร และหากเดินทางจากเมืองโพนสะหวันซึ่งเป็นเมืองเอกของเชียงขวางในปัจจุบัน ข้ามเทือกเขาอันสลับซับซ้อนบนทางหลวงหมายเลข 7 ไปสุดชายแดนทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ที่ด่านน้ำกลั่น จะกินระยะทางเพียง 130 กิโลเมตรเท่านั้น จึงไม่น่าแปลกที่ในช่วงสงครามอินโดจีน บริเวณนี้เคยใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงรวมทั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ จากประเทศเวียดนามเหนือ สู่ขบวนการปะเทดลาวที่เป็นพันธมิตรต่อกัน โดยถูกเรียกขานว่า "เส้นทางโฮจิมินห์"

ด้วยชัยภูมิดังกล่าว ขบวนการปะเทดลาวจึงได้จัดตั้งกองบัญชาการใหญ่ขึ้นที่นี่ เป็นเหตุให้ในช่วงเวลานั้น กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิด บี 52 เข้ามาทิ้งระเบิดปูพรมเพื่อทำลายล้างขบวนการปะเทดลาว ทำให้บ้านเมืองราษฎรหลายร้อยหลัง ตลอดจนวัดวาอารามถูกทำลายแทบทั้งหมด ส่งผลให้ราษฎรและทหารฝ่ายขบวนการปะเทดลาวต้องอพยพเข้าไปอยู่ตามถ้ำและหุบเขาทั่วไปในแขวงเชียงขวางและพื้นที่ใกล้เคียง

ปัจจุบัน[แก้]

ในปัจจุบัน สภาพของซากปรักหักพังจากพิษภัยของสงครามยังคงมีร่องรอยให้เห็นอยู่โดยทั่วไปในเมืองคูน ซึ่งเป็นเมืองเอกเดิมของแขวงเชียงขวาง โดยซากปรักหักพังบางแห่ง ทางรัฐบาลลาวได้อนุรักษ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความเลวร้ายของสงครามที่เกิดขึ้นเมื่อในอดีต ทั้งร่องรอยของหลุมระเบิดขนาดใหญ่ยังคงมีให้เห็นกันอยู่ทั่วไป ปัจจุบันหลุมระเบิดบางส่วนถูกดัดแปลงให้เป็นบ่อเลี้ยงปลาในนาข้าว ส่วนเศษซากของลูกระเบิดก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น รั้วบ้าน เสาบ้าน รางข้าวหมู ที่นั่งเล่น เป็นต้น

แม้จะผ่านภาวะสงครามอันเลวร้ายมาไม่นานนัก แต่เมืองเชียงขวางในปัจจุบันก็เริ่มฟื้นตัวเรื่อย ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป และผสมผสานสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมกับการสร้างเมืองโพนสะหวันทดแทนเมืองคูนที่ถูกทำลายลงด้วยพิษสงคราม

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

แผนที่ รหัสเมือง เมือง (ไทย) เมือง (ลาว) เมือง (อังกฤษ)
901 แปก ແປກ Pek
902 คำ ຄຳ Kham
903 หนองแฮด (หนองแรด) ໜອງແຮດ Nonghed
904 คูณ ຄູນ Khoune
905 หมอกใหม่ ໝອກໃໝ່ Mork-mai
906 ภูกูด ພູກູດ Phoukood
907 ผาชัย ຜາໄຊ Phaxay

สภาพแวดล้อม[แก้]

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมในแขวงเชียงขวางได้เกิดการเปลี่ยนแปลง สืบเนื่องมาจากการทำเหมืองแร่และการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และหน้าร้อนก็มีอากาศร้อนกว่าปกติ แม้ทางรัฐบาลจะพยายามแก้ไขปัญหา แต่ปัญหาดังกล่าวก็มิได้ลดน้อยลงไป[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  2. วิทยุเอเชียเสรี - สภาพแวดล้อมในแขวงเชียงขวางเปลี่ยนแปลง (ลาว)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]