หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร (ฝั้น อาจาโร) | |
---|---|
ชื่ออื่น | พระอาจารย์ฝั้น, หลวงปู่ฝั้น |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 (77 ปี) |
มรณภาพ | 4 มกราคม พ.ศ. 2520 |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร |
อุปสมบท | พ.ศ. 2462 |
พรรษา | 57 |
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระเถระในสายพระป่าในประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]วัยเยาว์
[แก้]เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนที่ 5 ของเจ้าไชยกุมาร (เม้า) ในตระกูล "สุวรรณรงค์" อดีตเจ้าเมืองพรรณานิคม มารดาของท่านชื่อ นางนุ้ย พระอาจารย์ฝั้น ครั้งวัยเยาว์ มีความประพฤติเรียบร้อย นิสัยโอบอ้อมอารี ขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรค ช่วยเหลือกิจการงานของบิดา มารดา โดยไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก
การศึกษา
[แก้]ท่านเข้าศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนวัดโพธิ์ชัย บ้านม่วงไข่ และเข้าไปศึกษาต่อกับพี่เขยที่เป็นปลัดขวา ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ช่วงนั้นทีแรกท่านอยากรับราชการ แต่ต่อมาได้เห็นความเป็นอนิจจังของผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ จึงได้เปลี่ยนความตั้งใจ และได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง ซึ่งเป็นวัดมหานิกาย ต่อจากนั้นใน พ.ศ. 2463 จึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และได้ขอญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2468 ที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบท
[แก้]ครั้น อายุได้ 20 ปี ท่านได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ณ วัดสิทธิบังคม ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูป้อง เป็นอุปัชฌาย์ และเป็นผู้สอน การเจริญกรรมฐาน ตลอดพรรษาแรก ออกพรรษาแล้ว ท่านกลับมาพำนัก ที่วัดโพนทอง ซึ่งมีพระครูสกลสมณกิจ เป็นเจ้าอาวาส และวิปัสสนาจารย์ นำพระภิกษุฝั้น อาจาโร ออกธุดงคและเจริญภาวนา ในช่วงชีวิตบรรพชิตของหลวงปู่ ท่านได้ธุดงค์ยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระธรรม คำสอน จนกระทั่งเป็นที่นับถือศรัทธาของญาติโยมจำนวนมาก และได้รับการได้รับการยกย่องเป็น "อริยสงฆ์" องค์หนึ่ง ท่านมีศิษย์ที่เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลายรูป เช่น พระโพธิธรรมาจารย์เถร (สุวัจน์ สุวโจ), สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) เป็นต้น
มรณภาพ
[แก้]4 ม.ค. 2520 ณ วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งถือเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญของท่าน สิริรวมอายุได้ 77 ปี 58 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ไปทรงสรงน้ำศพ พระราชทานหีบทองประกอบศพ จนถึงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2521 ได้เสด็จพระราชทานเพลิงศพเป็นการส่วนพระองค์ ในบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของพระอาจารย์ฝั้นได้มีการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร สูง 27.9 เมตร ลักษณะเป็นเจดีย์ปลายแหลม ฐานกลม ขึ้นรูปด้วยกลีบบัวหุ้มฐานสามชั้น แต่ละกลีบบัวตกแต่งด้วยกระเบื้องเป็นรูปพระอาจารย์ต่าง ๆ ภายในเจดีย์มีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นถือไม้เท้าขนาดเท่าองค์จริง มีตู้กระจกบรรจุเครื่องอัฐบริขารของท่าน
คำสอน
[แก้]" ทุกคนจะต้องเข้ามหายุทธสงครามสักวันหนึ่ง คือการ ต่อสู้กับมัจจุราช เมื่อถึงเวลานั้นแต่ละคนจะต้องสู้เพื่อ ตนเอง และต้องสู้โดยลำพัง ผู้ที่สู้ได้ดีก็จะไปดี คือไปสู่ สุคติ ผู้ที่เพลี่ยงพล้ำก็จะไปร้าย คือไปสู่ทุคติ อาวุธที่ใช้ ต่อสู้มีเพียงสิ่งเดียว คือ "สติ" ซึ่งจะสร้างสมได้ด้วยการ เจริญภาวนาเท่านั้น "
" บุญกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็ได้แก่ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมีนี้แหละทาน ก็รู้อยู่แล้ว คือการสละ หรือ การละการวางผู้ใดละมาก วางได้มาก ก็เป็นผลานิสงส์มากผู้ใดวางได้น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อยมัจฉริยะความตระหนี่เหนียวแน่น นี้หละ คือความโลภ ต้องสละเสีย ให้เป็นผู้บริจาค ก็บริจาคทรัพย์สมบัติ วัตถุทั้งหลายเหล่านั้นหละ ไม่ใช่อื่นไกลแปลว่า ทะนุบำรุงตน เหมือน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านจะสำเร็จมรรคผล ท่านก็ได้สร้างบารมีมา คือทานบารมีอันนี้ นี่ให้เข้าใจไว้ ทานเป็นเครื่องสะเบียงของเรา เมื่อเราได้ทำไว้พอแล้วเราจะเดินทางไกล เราก็ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยาก กลัวทุกข์กลัวยากของเก่าเราได้ทำมาไว้ ถ้าอะไรเราไม่ได้ทำไว้ อยากได้ มันก็ไม่ได้ ถ้าได้ทำไว้แล้ว สร้างไว้แล้ว ไม่อยากได้ มันก็ได้ นี่แหละทานบารมี เหตุนี้ ให้พากันเข้าใจ "
" ศีลบารมีล่ะ คนเราเพียงแต่รับศีลไม่ได้รักษาศีล เข้าใจว่า ศีลนั้นเป็นของพระถ้าพระไม่ให้แล้ว ก็ว่าเราไม่ได้ ศีลอย่างนี้ เป็นสีลัพพตปรามาส เพียงแต่ลูบคลำศีลแท้ที่จริงนั้น ศีลของเรา เกิดมาพร้อมกับเรา ศีลห้าบริบูรณ์ตั้งแต่เกิดขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง อันนี้คือตัวศีลห้า เราได้จากมารดาของเรา เกิดมาก็มีพร้อมแล้ว เมื่อเรามีศีลห้าบริสุทธิ์อย่างนี้ ก็ให้เรารักษาอันนี้หละ รักษากายของเรา รักษาวาจา รักษาใจให้เรียบร้อยอย่าไปกระทำโทษน้อยใหญ่ ทางกาย ทางวาจา ทางใจของเรา โทษห้าคืออะไร คือ ปาณาติปาตา ท่านให้งดเว้น อย่าไปทำ นั่นเป็นโทษ ไม่ใช่ศีลอทินนาทานา นั่นก็เป็นโทษ ไม่ใช่ศีลกาเมสุมิจฉาจารา นั่นก็ไม่ใช่ศีล เป็นแต่โทษมุสาวาทา ท่านให้งดเว้น มันเป็นโทษ ไม่ใช่ศีลสุราเมรยมชฺชฯ อันนี้ก็เป็นแต่โทษถ้าเราไม่ได้ทำความผิดห้าอย่างนี้ อยู่ที่ไหนเราก็มีศีล อยู่ในป่าในดง ก็มีศีล อยู่ในรถในรา เราก็มีศีลให้เข้าใจศีลตามนี้ ที่คอยจะรับจากพระ นั่นไม่ใช่ ท่านก็บอกว่า อย่าไปทำ ห้าอย่างนั้นให้ละเว้น เมื่อเราละเว้นแล้ว อยู่ที่ไหนก็มีศีล เราก็เป็นคนบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ศีลห้า อย่างนั้น เราไม่อยากได้ ไม่ปรารถนาเหตุฉันใด จึงว่าไม่อยากได้ พิจารณาดูซี่ สมมติว่ามีคนมาฆ่า หรือ มาฆ่าพี่ฆ่าน้อง ญาติพงษ์ ของเรา เราดีใจไหมล่ะ เราไปฆ่าเขาล่ะ เขาดีใจไหม พิจารณาดูซี่ เราไม่ต้องการอย่างนั้นไม่ใช่เหรอถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นแล้ว โทษของเรา ก็ไม่มี เกิดมาอายุก็ยืนนาน ไม่ตายแต่น้อย แต่หนุมก็เพราะเราไม่ได้ทำปาณาติบาตไว้ ในหลายภพหลายชาติแม้ในชาตินี้ก็เหมือนกัน เราฟังธรรม ก็ฟังในชาตินี้ แล้วก็ปฏิบัติในปัจจุบันนี้ เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีตอนาคต เรากำหนดให้รู้เดี๋ยวนี้ เรานั่งอยู่นี่ ก็เป็นศีลอยู่ นี่ข้อสำคัญ "
ทายาทธรรม
[แก้]- พระโพธิธรรมาจารย์เถร (สุวัจน์ สุวโจ) วัดป่าเขาน้อย จังหวัดบุรีรัมย์
- พระรัชมงคลนายก (คำดี ปญฺโญภาโส) วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
- พระเทพสังวรญาณ (พวง สุขินฺทฺริโย) วัดศรีธรรมาราม จังหวัดยโสธร
- สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พระเทพมงคลวัชราจารย์[1] (พระอาจารย์เหลือง ฉนฺทาคโม) วัดกระดึงทอง จังหวัดบุรีรัมย์
- พระครูอุดมธรรมสุนทร (แปลง สุนฺทโร) วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
- หลวงปู่สรวง สิริปุญฺโญ วัดป่าศรีฐานใน จังหวัดยโสธร
- พระญาณสิทธาจารย์ (ทองพูล สิริกาโม) วัดสามัคคีอุปถัมภ์ (ภูกระแต) จังหวัดบึงกาฬ
- พระครูสุวิมลบุญญากร (บุญพิน กตปุญฺโญ) วัดผาเทพนิมิตร จังหวัดสกลนคร
- หลวงปู่เขี่ยม โสรโย วัดป่าถ้ำขาม จังหวัดสกลนคร
- พระราชวชิรญาณโสภณ (อุทัย สิริธโร) วัดเขาใหญ่เจริญธรรมญาณสัมปันโน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
- หลวงปู่เสถียร คุณวโร วัดถ้ำพระภูวัว จังหวัดบึงกาฬ
- หลวงปู่ทองคำ กาญจนวณฺโณ วัดถ้ำบูชา จังหวัดบึงกาฬ
- พระครูวิมลภาวนาคุณ (คูณ สุเมโธ) วัดป่าภูทอง จังหวัดอุดรธานี
- พระครูโพธิธรรมประภาส (เชือน ปภสฺสโร) วัดประชาสันติ จังหวัดพังงา
- พระครูภาวนาสุทธาจารย์ (สาคร ธัมมาวุโธ) วัดเวฬุวัน ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
- พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม วัดป่าหนองไผ่ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
- พระเทพวัชรญาณเวที (สมบูรณ์ กนฺตสีโล) วัดป่าสมบูรณ์ธรรม จังหวัดพิษณุโลก
- พระครูวัชรธรรมาจารย์ (จิรวัฒน์ อตฺตรกฺโข) วัดป่าไชยชุมพล จังหวัดเพชรบูรณ์
- หลวงปู่สมคิด ปโยคจิตฺโต วัดป่าพุหวาย จังหวัดราชบุรี
อ้างอิง
[แก้]- คณะกรรมการจัดงานศพ. อนุสรณ์งานศพพระอาจารย์ฝั้น อาจารเถระ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์, 2521. 690 หน้า.
- พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน). ไม่มาเกิดมาตายเรียกว่า ชาติสุดท้าย. กรุงเทพมหานคร : ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์, [ม.ป.ป.]. 149 หน้า. หน้า 44-47. ISBN 978-616-7174-55-6
- ประวัติพระสงฆ์ไทย
- ชีวประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๘, ตอนที่ ๒๘ ข, ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔, หน้า ๑