มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน
國立臺灣大學
ชื่อเดิมมหาวิทยาลัยจักรวรรดิไทโฮกุ
คติพจน์敦品勵學,愛國愛人 (อักษรจีน)
ศึกษาด้วยความสุจริตใจ รักประเทศรักประชาชน
ประเภทมหาวิทยาลัยนอกระบบ
สถาปนาพ.ศ 2471 (มหาวิทยาลัยจักรวรรดิ์ไทโฮกุ)
พ.ศ 2488 (มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน)
ปริญญาตรี17,706
บัณฑิตศึกษา15,710
ที่ตั้ง,
สีMaroon and gold   [1]
เครือข่ายสมาคมมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิก
เว็บไซต์www.ntu.edu.tw/english

มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (จีนตัวย่อ: 国立臺湾大学; จีนตัวเต็ม: 國立臺灣大學, กั๋วลี่ไถวานต้าเสวีย นิยมเรียกย่อว่า ไถต้า; อังกฤษ: National Taiwan University ย่อว่า NTU) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติที่มีชื่อเสียงมากสุดในไต้หวันมีวิทยาเขตกลางตั้งอยู่ในนครไทเป จากการรายงานของคอกโครัลลีไซมอนส์ ประจำปี ค.ศ. 2020 มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันได้รับการจัดอันดับให้อยู่อันดับที่ 1 ของไต้หวัน และอันดับที่ 69 ของโลก[2]

ประวัติ[แก้]

อาคารหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน เป็นอาคารที่ตั้งอยู่บริเวณปลายจุดแกนถนนหลักของมหาวิทยาลัย

ก่อนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักในชื่อมหาวิทยาลัยจักรวรรดิไทโฮกุ(臺北帝國大學 ; Taihoku Imperial University) เป็นหนึ่งในเก้ามหาวิทยาลัยจักรวรรดิ (Imperial University) ของจักรวรรดิญี่ปุ่น(大日本帝国) ก่อตั้งโดยรัฐบาลญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1928 โดยมีคณะศิลปศาสตร์และกฎหมาย และคณะวิทยาศาสตร์และการเกษตร เป็นคณะแรกตั้ง ต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทย์ศาสตร์เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง รัฐบาลจีนคณะชาติพรรคก๊กมินตั๋งได้เข้ามามีบทบาทต่อการจัดการเรียนการสอน เปลี่ยนชื่อจากมหาวิทยาลัยจักรววรดิ์ไทโฮกุเป็น มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 หลังจากที่ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามและก๊กมินตั๋งย้ายมาตั้งหลักที่เกาะไต้หวัน มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของไต้หวัน ตั้งอยู่ใจกลางกรุงไทเป มหาวิทยาลัยเป็นลำดับหนึ่งจากการสอบแข่งขันของเด็กมัธยมปลายทั่วไต้หวัน และมีศิษย์เก่ามากมายที่มีชื่อเสียง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเอื้อให้มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันเป็นมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นและได้รับการยอมรับในสังคมไต้หวัน[ต้องการอ้างอิง]

วิทยาลัย/สาขาวิชาที่เปิดสอน[แก้]

ร.พ มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน อาคารสถาปัตยกรรมมรดกจากอาณานิคมของญี่ปุ่น

รวมทั้งสิ้น 11 วิทยาลัย 54 ภาควิชา 105 หลักสูตรบัณฑิตศึกษา[3]

  • วิทยาลัยศิลปศาสตร์
  • วิทยาลัยวิทยาศาสตร์
  • วิทยาลัยสังคมศาสตร์
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยทรัพยากรชีวภาพและการเกษตร
  • วิทยาลัยการจัดการ
  • วิทยาลัยสาธารณสุขศาสตร์
  • วิทยาลัยวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • วิทยาลัยนิติศาสตร์
  • วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "NTU at a Glance". National Taiwan University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-29. สืบค้นเมื่อ 15 March 2015.
  2. https://www.topuniversities.com/universities/national-taiwan-university-ntu/undergrad
  3. http://www.ntu.edu.tw/english/academics/academics.html