ข้ามไปเนื้อหา

เอสเอฟ ซีเนม่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก SF Cinema City)
บริษัท เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริการ
อุตสาหกรรมบริการ
ก่อตั้งพ.ศ. 2542
ผู้ก่อตั้งสุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์
สำนักงานใหญ่444 ชั้น 10-11 อาคารเอ็มบีเคทาวเวอร์ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลักสุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์
สุวิทย์ ทองร่มโพธิ์
พิมสิริ ทองร่มโพธิ์
สุวรรณี ชินเชี่ยวชาญ
ผลิตภัณฑ์โรงภาพยนตร์, โบว์ลิ่ง, คาราโอเกะ
เว็บไซต์www.sfcinemacity.com/

เอสเอฟ ซีเนม่า (อังกฤษ: SF Cinema) เป็นธุรกิจโรงภาพยนตร์ แห่งหนึ่งในประเทศไทย มีจุดเริ่มต้นของธุรกิจจากการเป็นหนึ่งในสายหนังของภาคตะวันออก เริ่มต้นจากโรงหนังศรีตราดดราม่า จังหวัดตราด ก่อนปรับธุรกิจมาเป็นโรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์เต็มตัว

ประวัติ

[แก้]

ราวปี พ.ศ. 2512 สมาน ทองร่มโพธิ์ ตัดสินใจลาออกจากราชการที่กรุงเทพฯ ภูมิลำเนาเดิม และพาครอบครัวย้ายมาอยู่ จ.ตราด โดยได้ทำการเช่าที่ดินส่วนหนึ่งจากนาย อุดร สัตยุตม์ พร้อมกับเริ่มต้นกิจการ "ศรีตราดราม่า" ที่ตั้งอยู่หน้าตลาดเทพอุดร (ตลาดสดขนาดใหญ่ใจกลางเมืองตราด) ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยแห่งแรกของตราด กิจการนี้ดำเนินการได้เพียง 13 ปี ขณะนั้นสุวัฒน์ ลูกชายคนโตของสมาน ได้รับช่วงดูแลกิจการต่อ ขณะอายุเพียง 17 ปี ด้วยอยากทำสิ่งที่พ่อรัก ความผูกพันกับโรงหนังที่ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่าไร่ครึ่ง เป็นบ้านของครอบครัว และเห็นว่าพนักงานมีกว่า 100 ชีวิตให้ต้องรับผิดชอบ

ด้วยการสนับสนุนจากลูกน้องเก่าและพรรคพวก ทำให้การทำธุรกิจของสุวัฒน์เริ่มต้นอย่างดี และนำพาให้โรงหนังขยายสาขาครอบคลุมทั้งภาคตะวันออก พร้อมกับที่กิจการสายหนัง สมานฟิล์มก็ได้เป็นตัวแทนจากค่ายหนังทุกค่าย จวบจนทศวรรษที่ 2530 กิจการโรงหนังซบเซา จนเมื่อปี 2537 การมาของ อีจีวี และ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทำให้ธุรกิจนี้คึกคักอีกครั้ง หลายคนอาจมองว่าคงเป็นเรื่องยากที่จะสู้ได้ แต่สุวัฒน์ไม่คิดอย่างนั้นและทำให้เกิดโรงมัลติเพล็กซ์ SF Cinema (SF ย่อมาจาก สมานฟิล์ม ซึ่งเป็นชื่อคุณพ่อของสุวัฒน์) โดยเริ่มต้นที่ เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ (ศูนย์การค้ามาบุญครอง) ชั้น 7 บริเวณพื้นที่เดิมของเอ็มบีเคฮอลล์ เป็นที่แรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 ภายใต้ชื่อ เอสเอฟ ซีนีม่า ซิตี้ เดอะมูฟวี่แพลเน็ต (SF Cinema City The Movie Planet) ด้วยธีมอวกาศและดวงดาว บนพื้นที่กว่า 25,000 ตร.ม. ทุ่มทุนกว่า 600 ล้านบาท ภายใต้แนวคิดความบันเทิงในชั้นเดียว (One Floor Entertainment) เพราะเห็นโอกาสจากโรงหนังมัลติเพล็กซ์ในขณะนั้นเน้นไปที่ชานเมืองเป็นหลัก แต่ใจกลางกรุงเทพมหานคร กลับยังไม่มีโรงหนังทันสมัย และในปี พ.ศ. 2544 ก็เปิดที่ศูนย์การค้าในเครือเดอะมอลล์อีกถึง 3 สาขาพร้อมกัน คือที่ บางกะปิ, บางแค, และ งามวงศ์วาน และสาขาอื่น ๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ธุรกิจภาพยนตร์

[แก้]

โรงภาพยนตร์

[แก้]
สาขา จำนวน รายละเอียด
ทั่วไป พิเศษ
เอ็มพรีเว่ ซีเนคลับ (Emprivé Cineclub)
เอ็มโพเรียม ชั้น 5 4 (โรงภาพยนตร์แบบเฟิร์สคลาสทั้งหมด)
1 (Dolby Atmos)
เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ในเครือ United Artists ซึ่งเอสเอฟได้ซื้อกิจการในปี 2546 เปลี่ยนเป็น "Emporium SFX Cinema" ในช่วงปรับปรุงครั้งแรก พร้อมบริการซื้อบัตรชมภาพยนตร์-อาหาร-เครื่องดื่มผ่านเครื่อง Pocket PC กับพนักงานโดยตรง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "Emprivé Cineclub" ในช่วงปรับปรุงครั้งที่สองพร้อมกับการปรับปรุงเอ็มโพเรียมในปัจจุบัน และเป็นโรงภาพยนตร์แห่งที่สามในเครือ SF ที่นำระบบ Dolby Atmos เข้ามาฉาย
เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า (SF World Cinema)
เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 7 (จุดจำหน่ายบัตร) และ 8-9 (ที่ตั้งโรงภาพยนตร์) โซนเซ็นทรัลคอร์ท/แดซเซิล 9 2 (NT First Class)[1]
1 (The Bed Cinema by Omazz)
1 (Zigma CineStadium by C2)
1 (MX4D presented by CP)
1 (World Max Screen)
โรงภาพยนตร์ต้นแบบ (Flagship) ของเอสเอฟ ซีเนม่า เป็นโรงภาพยนตร์แบบอย่าง Hip Chic 'n Metropolis กับความล้ำสมัย พร้อมพรั่งด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่น โรงภาพยนตร์ 4 มิติ (MX4D), Zero Wall Experience กับการบุผนังให้ไม่รบกวนสายตาขณะชมภาพยนตร์ และโรงภาพยนตร์ Zigma Cinestadium โรงแรกที่ใช้เครื่องฉายภาพยนตร์ 4K RGB Laser (เทคโนโลยีล่าสุด) พร้อมระบบเสียงดอลบี แอทมอสแห่งแรกในประเทศไทย
เอสเอฟ เอ็กซ์ ซีเนม่า (SFX Cinema)
เซ็นทรัล ลาดพร้าว ชั้น 6 อาคารเซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท ลาดพร้าว 6 2 (ที่นั่งปกติและเฟิร์สคลาสในโรงเดียวกัน)
1 (Zigma CineStadium by C2)
1 (The Bed Cinema by Omazz)
สาขาแรกของแบรนด์ SFX Cinema และเป็นโรงภาพยนตร์ระดับเฟิร์สคลาสแห่งแรกในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันได้รีโนเวทภายใต้คอนเซปต์ "Cinema of Happiness" โดยย้ายที่นั่งเฟิร์สคลาสไปอยู่รวมกับโรงภาพยนตร์ที่นั่งปกติ พร้อมกับนำเทคโนโลยีการฉายแบบ 4K RGB Laser มาใช้ในโรงภาพยนตร์ Zigma Cinestadium แทนระบบดิจิตอลเดิม
เซ็นทรัล ภูเก็ต อาคารเฟสติวัล ชั้น 3 2 1 (Zigma CineStadium by C2)

5 (ที่นั่งปกติและเฟิร์สคลาสในโรงเดียวกัน)

สาขาแรกของ SFX Cinema ในต่างจังหวัด เดิมชื่อ SFX Coliseum Cinema ในแนวคิด "Phuket's World Class Cinema" ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้ปรับปรุงใหม่ภายใต้แนวคิด "Chino Cinema"
เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ ชั้น 7 9 - ตกแต่งในแนวคิด "Exotica Cinema" มีระบบลำโพงแบบ Digital B Chain แห่งแรกของประเทศไทย (อดีตเคยมีโรงภาพยนตร์เฟิร์สคลาส แต่ปัจจุบันได้ปิดตัวลงไปแล้ว)
เซ็นทรัล พัทยา ชั้น 6 7 1 (MX4D)
1 (First Class)
1 (The Porch)
มีโรงภาพยนตร์กลางแจ้งแห่งแรกของประเทศไทย และที่นำระบบ MX4D เข้ามาฉายต่อจากเซ็นทรัลเวิลด์และเซ็นทรัล โคราช
เซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น 7 (จุดจำหน่ายบัตรและร้านกาแฟ) และ 8 (ที่ตั้งโรงภายนตร์) 9 1 (NT First Class)[1]
1 (Zigma CineStadium by C2)
ตกแต่งในแนวคิด "Gems of Rama 9" เป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในเขตย่านธุรกิจใหม่ที่พระราม 9 มีจุดเด่นด้วยโรงภาพยนตร์ดิจิตอลสามมิติขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มเอสเอฟ และยังเป็นโรงภาพยนตร์เอสเอฟสาขาสุดท้ายที่ใช้ระบบฟิล์ม 35 มม. เป็นระบบฉายหลักในช่วงแรกที่เปิดทำการ ก่อนปรับเป็นโรงภาพยนตร์ดิจิตอลทั้งหมด ต่อมาในปี พ.ศ. 2567 ได้ต่อเติมเพิ่มร้านกาแฟ Cinecafe สาขาแรกในโรงภาพยนตร์แบรนด์ SFX
เมญ่า เชียงใหม่ ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ ชั้น 5 8 1 (First Class)
1 (Zigma CineStadium by C2)
โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 2 ในเชียงใหม่ และเป็นโรงภาพยนตร์แห่งที่สองในเครือ SF ที่นำระบบ Dolby Atmos เข้ามาฉายต่อจากเซ็นทรัลเวิลด์
คริสตัล วีรันดา เอกมัย-รามอินทรา ชั้น 4 6 (ที่นั่งปกติและเฟิร์สคลาสในโรงเดียวกัน)
1 (Zigma CineStadium by C2)
1 (The Bed Cinema by Omazz)
เป็นโรงภาพยนตร์รูปแบบพิเศษ เน้นกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง และเป็นโรงภาพยนตร์แห่งที่สี่ในเครือ SF ที่นำระบบ Dolby Atmos เข้ามาฉายต่อจากเซ็นทรัลเวิลด์, เมญ่า เชียงใหม่ และเอ็มโพเรียม
เซ็นทรัล โคราช ชั้น 4 โซนฤดูหนาว 7 1 (VIP)
1 (Happiness Cinema)
โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 2 ในจังหวัดนครราชสีมา ภายใต้แนวคิด “Sky Phenomenon” มีเลาจน์บริการส่วนตัว เป็นโรงภาพยนตร์แห่งที่สองในเครือ SF ที่นำระบบ MX4D เข้ามาฉายต่อจากเซ็นทรัลเวิลด์ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นโรง VIP และโรงภาพยนตร์แบบ ZIGMA CINESTADIUM โรงภาพยนตร์ที่มีจอภาพยนตร์ขนาดใหญ่ รองรับการฉายด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์ Duo Projector Sony 4K
เทอร์มินอล 21 พัทยา ชั้น 3 (จุดจำหน่ายบัตร) และ 4 (ที่ตั้งโรงภายนตร์) 4 3 (ที่นั่งปกติและเฟิร์สคลาสในโรงเดียวกัน) โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 3 ในเมืองพัทยา ต่อจากเซ็นทรัลมารีนา และเซ็นทรัล พัทยา บีช
เอ็มไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน ชั้น 7 8 1 (Happiness Cinema)
1 (Zigma CineStadium by C2)
เดิมเป็น SF Cinema โดยตกแต่งให้บรรยากาศแนว The Movie Ocean ภายในได้ต่อเติมอีก 5 โรงภาพยนตร์ในแนวหรูหรา และในปี 2562 ได้มีการปรับปรุงโดยเปลี่ยนเป็น SFX Cinema ในแนวคิด "The Forest" ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ SFX สาขาที่ 2 ในจังหวัดนนทบุรี ต่อจากเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ และเป็นแบรนด์เอสเอฟเอ็กซ์แห่งแรกและแห่งเดียวในศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์
เอสเอฟ ซีเนม่า (SF Cinema)
เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ ชั้น 7-8 6 1 (Cinecafe)
1 (Zigma CineStadium by C2)
สาขาแรกของ SF ในกรุงเทพมหานคร เอสเอฟปรับพื้นที่ซึ่งเดิมเป็นเอ็มบีเคฮอลล์เป็นโรงภาพยนตร์และศูนย์รวมความบันเทิง โดยมีการตกแต่งในแนว The Movie Planet โดยโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ ก็จะมีชื่อของตนเอง เช่น Solar 3 Lunar 6 ภายหลังสาขานี้ได้มีการเพิ่มอีก 2 โรงภาพยนตร์ที่สามารถรองรับระบบดิจิทัลได้ด้วย ต่อมาโรงภาพยนตร์ VIP ได้ปรับรูปแบบเป็น Cinecafe และมีโรงภาพยนตร์ Zigma Cinestadium ที่ใช้ระบบฉาย 4K RGB Laser ต่อจากสาขาเซ็นทรัลเวิลด์
เอ็มไลฟ์สโตร์ บางแค ชั้น 3 8 - ตกแต่งในแนว The Movie Fantasy เดิมเป็นโรงภาพยนตร์เครือ APEX โดยในปี พ.ศ. 2566 ได้มีการปรับปรุงโฉมใหม่ ในคอนเซ็ปต์ “Entertainment Scenario” ตอบรับไลฟ์สไตล์ของผู้ชมทุกเพศ ทุกวัย
เซ็นทรัล มารีนา พัทยาเหนือ ชั้น 3 6 - สาขาภูมิภาคแห่งแรกของ SF Cinema ตกแต่งในแนว Theatre on The Beach เป็นสาขาที่ปรับปรุงมาจาก SF Multiplex
เซ็นทรัล รามอินทรา ชั้น 3 6 - เดิมเป็นโรงเครือสหมงคลฟิล์ม UMG และในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566 ได้ปรับปรุงโรงภาพยนตร์โฉมใหม่ ตกแต่งแนว Home Cinema
เอ็มไลฟ์สโตร์ ท่าพระ ชั้น 4 7 1 (Prime Seats) เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ NK THX มาปรับปรุงและสร้างเพิ่มโดยใช้พื้นที่สวนน้ำเดิม โดยสาขานี้ ได้ตกแต่งแนว High Style Cinema กับแนวคิด "สัมผัสความเลิศแห่งโลกภาพยนตร์" และในปี 2564 ได้มีการปรับปรุงโรงภาพยนตร์โฉมใหม่ล่าสุดในคอนเซ็ปต์ “Luxury Loft” และมีร้านกาแฟ Cinecafe สาขาที่ 2 ของเครือเอสเอฟ ต่อจากเอ็มบีเคเซ็นเตอร์
จังซีลอน ป่าตอง ชั้น 3 5 -
แพชชั่น ช็อปปิ้ง เดสติเนชั่น ระยอง ชั้น 3 5 1 (Zigma CineStadium by C2) เดิมเป็นสาขาของ SF Multiplex แต่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนเป็น SF Cinema City เมื่อปลายปี 2551 มี 7 โรงภาพยนตร์ และในปี 2558 มีการต่อเติมโรงเพิ่มอีก 2 โรงภาพยนตร์ รวมเป็น 9 โรงภาพยนตร์ และในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567 ได้ปรับปรุงโรงภาพยนตร์โฉมใหม่ มี 6 โรงภาพยนตร์ (เดิมเป็น 9 โรงภาพยนตร์)
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ จันทบุรี ชั้น 2 4 - เดิมเป็นสาขาของ SF Multiplex แต่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนเป็น SF Cinema City เมื่อปลายปี 2551
ฮาร์เบอร์มอลล์ แหลมฉบัง ชลบุรี ชั้น 4 4 - เดิมเป็นสาขาของ SF Multiplex แต่ต้องปิดตัวลงพร้อมกับห้างแหลมทอง แหลมฉบัง เมื่อกลางปี 2551 ได้มีการปรับปรุงตัวห้างเปลี่ยนเป็นศูนย์การค้าฮาร์เบอร์มอลล์ พร้อมกับการร่วมมือกับโลตัส เปิดสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ตภายในห้าง จึงได้มีการปรับปรุงตัวโรงภาพยนตร์ และเปิดตัวเป็น SF Cinema City เมื่อต้นปี 2552 ในแบบอย่าง Beach Life เน้นสีสันที่โดดเด่นและสดใส
เซ็นทรัล ชลบุรี ชั้น 4 7 -
แหลมทอง บางแสน ชลบุรี ชั้น 4 4 - เดิมเป็นสาขาของ SF Multiplex เมื่อปลายปี 2551 ได้มีการปรับปรุงตัวห้างเปลี่ยนเป็นศูนย์การค้าแหลมทอง (โฉมใหม่จากชั้นเดียวเป็น 4 ชั้น) จึงได้มีการปรับปรุงตัวโรงภาพยนตร์ และเปิดตัวเป็น SF Cinema City ในต้นเดือนพฤศจิกายน 2552
เซ็นทรัล ขอนแก่น ชั้น 5 7 1 (Zigma CineStadium by C2) โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟสาขาแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ตรัง ชั้น 2 4 - โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟสาขาแรกในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง
เทอร์มินอล 21 อโศก ชั้น 6 8 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ สุพรรณบุรี ชั้น 2 4 -
สุนีย์แกรนด์ทาวเวอร์ อุบลราชธานี ชั้น 4-6 7 -
เซ็นทรัล สุราษฎร์ธานี ชั้น 4 7 - โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟสาขาแรกในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เซ็นทรัล ลำปาง ชั้น 3 4 - โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟสาขาแรกในภาคเหนือ
เสริมไทยคอมเพล็กซ์ มหาสารคาม ชั้น 2 5 -
แลนด์มาร์คพลาซา อุดรธานี ชั้น 4 7 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ กาญจนบุรี ชั้น 2 4 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ สุรินทร์ ชั้น 2 5 -
เซ็นทรัล ศาลายา ชั้น 4 7 - โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟสาขาแรกในจังหวัดนครปฐม
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ฉะเชิงเทรา ชั้น 2 6 -
คริสตัล เอสบี ราชพฤกษ์ ชั้น 3 8 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ปราจีนบุรี ชั้น 2 4 -
โรบินสัน โอเชี่ยน ไลฟ์สไตล์ นครศรีธรรมราช ชั้น 4 4 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ บุรีรัมย์ ชั้น 2 5 -
โคลิเซี่ยม สุราษฎร์ธานี ชั้น 3-4 6 - เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ Coliseum Cineplex ได้รับการปรับปรุงใหม่เป็น SF Cinema และเปิดดำเนินการอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดยเป็นสาขาแรกที่ใช้อัตลักษณ์ปัจจุบันของเอสเอฟ ซีเนม่า และโรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 2 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อจากเซ็นทรัล สุราษฎร์ธานี
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ศรีสมาน ชั้น 2 6 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ แม่สอด ชั้น 2 4 -
บิ๊กซี เพลส บางพลี ชั้น 3 6 - เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ในเครือ UMG ได้รับการปรับปรุงใหม่เป็น SF Cinema และเปิดดำเนินการอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2559 เป็นโรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาแรกในจังหวัดสมุทรปราการ
เซ็นทรัล นครศรี ชั้น 3 6 - โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 2 ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อจากโรบินสัน โอเชี่ยน ไลฟ์สไตล์ นครศรีธรรมราช
แจส เออเบิร์น ศรีนครินทร์ ชั้น 2 5 - โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 2 ในจังหวัดสมุทรปราการ ต่อจากบิ๊กซี บางพลี
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ลพบุรี ชั้น 2 5 -
เทอร์มินอล 21 โคราช ชั้น 5 8 - เป็นโรงภาพยนตร์แห่งที่ห้าในเครือ SF ที่นำระบบ Dolby Atmos เข้ามาฉายต่อจากคริสตัล วีรันดา เอกมัย-รามอินทรา และเป็นแห่งแรกที่เปิดภายใต้แบรนด์ เอสเอฟ ซีเนม่า
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ราชบุรี ชั้น 2 3 -
บิ๊กซี เพชรบุรี ชั้น 2 4 - ปรับปรุงมาจาก เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ธนา ซินีเพล็กซ์
เซ็นทรัล มหาชัย ชั้น 3 6 - เป็นโรงภาพยนตร์แห่งที่ 2 ที่มีโรงภาพยนตร์ ZIGMA CINESTADIUM โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ในสาขา
ท็อปส์ พลาซ่า พะเยา 3 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ชลบุรี (อมตะนคร) ชั้น 2 5 - โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 3 ในจังหวัดชลบุรี ต่อจากเซ็นทรัล ชลบุรีและแหลมทอง บางแสน
บิ๊กซี สระแก้ว 3 -
บิ๊กซี เพชรเกษม 2 ชั้น 2 4 -
บิ๊กซี สมุทรสงคราม 3 - โรงภาพยนตร์มัลติเพล็กซ์แห่งแรกในจังหวัดสมุทรสงคราม
คอสโม บาซาร์ เมืองทองธานี ชั้น 3 5 - โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 7 ในจังหวัดนนทบุรี ต่อจากโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ศรีสมาน
โลตัส ชุมพร ชั้น 2 3 -
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ บ่อวิน ชั้น 2 3 -
บิ๊กซี กระบี่ ชั้น 2 4 -
เซ็นทรัล อยุธยา ชั้น 2 5 - เป็นโรงภาพยนตร์ในคอนเซปต์ ผสานเสน่ห์ "Thai Modern Style"
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ บ้านฉาง ชั้น 2 3 - โรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 2 ในจังหวัดระยอง ต่อจากแพชชั่น ช็อปปิ้ง เดสติเนชั่น (แหลมทอง ระยอง)
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ถลาง ชั้น 2 3 - เป็นโรงภาพยนตร์ที่ถูกออกแบบภายใต้แนวคิด ‘Phuket Movie Town’ ด้วยการจำลองรูปแบบและลวดลายของสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส (Sino-Portuguese) เสน่ห์เมืองเก่าอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต และโรงภาพยนตร์ในเครือ SF สาขาที่ 3 ในจังหวัดภูเก็ต ต่อจาก จังซีลอน ป่าตอง ภูเก็ต
เทอร์มินอล 21 พระราม 3 ชั้น 5 7 1 (Zigma CineStadium by C2) เป็นโรงภาพยนตร์การออกแบบภายใต้แนวคิด ‘Movie Street’ ด้วยการจำลองบรรยากาศท้องถนนฮอลลีวูด เมืองแห่งภาพยนตร์ระดับโลก เช่นเดียวกับ เทอร์มินอล 21 อโศก
เซ็นทรัล นครสวรรค์ ชั้น 3 4 1 (Zigma CineStadium by C2) เป็นโรงภาพยนตร์ ภายใต้แนวคิดการออกแบบ ‘Neo Chinese Theater’ ที่นำสีแดงเงาซึ่งสะท้อนถึงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมจีนอันรุ่งเรือง และเป็นโรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟสาขาแรกในจังหวัดนครสวรรค์
โลตัส ไลฟ์สไตล์ มอลล์ ยะลา อาคาร R2 ชั้น 2 3 - โรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟสาขาแรกในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นสาขาแรกของเอสเอฟ ที่ใช้ระบบฉาย Laser พร้อมระบบเสียง DTS Surround ทุกโรง

สาขาที่ปิดกิจการ

[แก้]
ชื่อสาขา วันที่เปิดบริการ วันที่ปิดบริการ จังหวัดที่ตั้ง สถานะในปัจจุบัน
บิ๊กซี มาร์เก็ต ปราจีนบุรี 25 มกราคม พ.ศ. 2550 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ปราจีนบุรี ปิดกิจการ ย้ายไปยังเอสเอฟ ซีเนม่า สาขาโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ ปราจีนบุรี เนื่องจากห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี มาร์เก็ต ปราจีนบุรี ปิดกิจการเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เดอะสแควร์ บางใหญ่ ชั้น 4 1 ตุลาคม 2554 18 มีนาคม พ.ศ. 2564 นนทบุรี ปิดกิจการ ย้ายไปยังเอสเอฟ ซีเนม่า สาขาคริสตัล เอสบี ราชพฤกษ์
โลตัส สัตหีบ ชั้น 2 - 17 มกราคม 2565 ชลบุรี ปิดกิจการ ย้ายไปยังเอสเอฟ เอ็กซ์ ซีเนม่า สาขาเซ็นทรัล พัทยา และเอสเอฟ ซีเนม่า สาขาโรบินสัน ไลฟ์สไตล์ บ้านฉาง
พรอมเมนาดา รีสอร์ท มอลล์ เชียงใหม่ ชั้น 2 12 กรกฎาคม 2556 5 พฤษภาคม 2565 เชียงใหม่ ปิดกิจการพร้อมกับศูนย์การค้าพรอมเมนาดา รีสอร์ท มอลล์ ย้ายไปยังเอสเอฟ เอ็กซ์ ซีเนม่า สาขาเมญ่า ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ เชียงใหม่ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19
เอ็มไลฟ์สโตร์ บางกะปิ ชั้น 4 (ชั้น 3 หลังการปรับปรุงครั้งใหญ่) 15 สิงหาคม พ.ศ. 2544[2] 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานคร ปิดกิจการ ย้ายไปยังเอสเอฟ เอ็กซ์ ซีเนม่า สาขา คริสตัล วีรันดา เอกมัย-รามอินทรา และ เอสเอฟ ซีเนม่า สาขาแจส เออเบิร์น ศรีนครินทร์ เนื่องจากสิ้นสุดสัญญาเช่า ส่วนพื้นที่เดิมเปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์ "บางกะปิ ซีนีเพล็กซ์" ในเครือ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จำนวน 8 โรงภาพยนตร์ และพื้นที่ร้านอาหาร
เซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ ชั้น 3 ธันวาคม พ.ศ. 2546 31 มกราคม พ.ศ. 2567 นนทบุรี ปิดกิจการ ย้ายไปยังเอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนม่า สาขาเอ็มไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน เนื่องจากศูนย์การค้าเซ็นทรัล รัตนาธิเบศร์ปิดทำการและรื้อก่อสร้างใหม่ทั้งหมด

ค่ายภาพยนตร์

[แก้]

ใจ สตูดิโอ (อังกฤษ: Jai Studio) เป็นค่ายผลิตภาพยนตร์ที่เอสเอฟถือหุ้นเอง 100% โดยมุ่งหวังผลิตภาพยนตร์แนวส่งเสริมการใช้ชีวิตภายใต้สามแนวคิดหลัก Joyful, Authentic และ Inspired โดยภาพยนตร์เรื่องแรกของค่ายคือ วิมานหนาม ซึ่งผลิตร่วมกับจีดีเอช ห้าห้าเก้า

ธุรกิจอื่น ๆ

[แก้]

เมญ่า ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์

[แก้]
เมญ่า ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์
เมญ่า ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ logo
ที่ตั้ง55 หมู่ที่ 5 ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300
เปิดให้บริการ23 มกราคม 2557 (2557-01-23)
ผู้บริหารงานบริษัท มายา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
พื้นที่ชั้นขายปลีกอาคาร: 80,000 ม2 [3]
จำนวนชั้น8 ชั้น (รวมชั้น B1, B2 และ G) [3]
ที่จอดรถ250 คัน
เว็บไซต์www.mayashoppingcenter.com

เมญ่า ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ (อังกฤษ: MAYA Lifestyle Shopping Center) เป็นโครงการศูนย์การค้าขนาดกลางในจังหวัดเชียงใหม่ บริหารโดยบริษัท มายา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในเครือเอสเอฟ ซีเนม่า ใช้งบลงทุนทั้งโครงการกว่า 3,000 ล้านบาท บนพื้นที่กว่า 80,000 ตร.ม. บริเวณสี่แยกรินคำ ด้านทิศเหนือ ติดกับถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง และถนนห้วยแก้ว ย่านถนนนิมมานเหมินท์ โดยเริ่มก่อสร้างกลางปี พ.ศ. 2555 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการใน วัน พฤหัสบดี ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

เมญ่า ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ พัฒนาเป็นศูนย์การค้า สูง 8 ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน) พื้นที่ใช้สอยทั้งหมดกว่า 80,000 ตารางเมตร โดยแบ่งเป็นพื้นที่ค้าปลีก 35,000 ตารางเมตร[3] บนพื้นที่ 9 ไร่ บริเวณสี่แยกรินคำ ด้านทิศเหนือติดกับถนนซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง และถนนห้วยแก้ว ย่านนิมมานเหมินท์ โดยมีพื้นที่สำคัญ ได้แก่ ริมปิงซูเปอร์มาร์เก็ต โรงภาพยนตร์เอสเอฟเอ็กซ์ ซีเนมา จำนวน 10 โรง สวนสนุกเมญ่าแฟนตาเซีย CAMP AIS ห้องสมุดคาเฟ่แห่งแรกในจังหวัดเชียงใหม่ นิมมานฮิลล์ และแม็กซ์ โปรเฟสชั่นนอล ฟิตเนส

โบว์ลิ่ง

[แก้]

เอสเอฟ สไตรก์โบว์ล เป็นธุรกิจโบว์ลิ่ง ทำให้เอสเอฟมีชื่อเสียงในด้านนี้อย่างมาก ด้วยรางโบว์ลิ่งมาตรฐาน ปัจจุบันมีทั้งหมด 1 สาขา ได้แก่

  1. เซ็นทรัล พัทยา ชั้น 7

ร้านกาแฟ

[แก้]

ซีเนคาเฟ่ (อังกฤษ: Cinecafe) เป็นร้านกาแฟของเอสเอฟ ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากโรงภาพยนตร์ Cinecafe ที่ SF Cinema สาขาเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 9 สาขาดังนี้

  1. SF Cinema เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ชั้น 7 (ร้านกาแฟและโรงภาพยนตร์ในพื้นที่เดียวกัน)
  2. SF Cinema เอ็มไลฟ์สโตร์ ท่าพระ ชั้น 4
  3. SF Cinema เทอร์มินอล 21 พระราม 3 ชั้น 5
  4. SF Cinema เอ็มไลฟ์สโตร์ บางแค ชั้น 3
  5. SFX Cinema เซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น 7 (ตั้งอยู่บริเวณหน้าทางเข้าโรงภาพยนตร์ NT First Class)
  6. SF Cinema เซ็นทรัล อยุธยา ชั้น 2 (Cinecafe Express)
  7. SF Cinema เซ็นทรัล ชลบุรี ชั้น 4 (Cinecafe Express)
  8. SF Cinema โรบินสันไลฟ์สไตล์ ฉะเชิงเทรา ชั้น 2 (Cinecafe Express)
  9. SF Cinema เดอะคริสตัล เอสบี ราชพฤกษ์ ชั้น 3 (Cinecafe Express)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "SF ซีเนม่า เปิดตัว "NT First Class Cinema"". mgronline.com. 2022-03-23.
  2. "SF CINEMA CITY รุกธุรกิจโรงภาพยนตร์เปิดตัว 3 สาขาใหม่ เปิดตัวยิ่งใหญ่ด้วยงาน WORLD GALA PREMIERE". ryt9.com.
  3. 3.0 3.1 3.2 SF ส่ง MAYA ลองของตลาดเชียงใหม่ OK Nation อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "phoster" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน