007 ยอดพยัคฆ์ราชินี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
007 ยอดพยัคฆ์ราชินี
กำกับปีเตอร์ อาร์. ฮันต์
บทภาพยนตร์ริชาร์ด เมบอม
บทสนทนาเพิ่มเติมโดย
สร้างจากออนเฮอร์แมจิสตีส์ซีคริตเซอร์วิซ
โดย เอียน เฟลมมิง
อำนวยการสร้างแฮรรี ซอลต์ซแมน
อัลเบิร์ต อาร์. บรอคโคลี
นักแสดงนำจอร์จ เลเซนบี
ไดอานา ริกก์
เทลลี ซาวาลาส
เบอร์นาร์ด ลี
กาบรีเอล เฟอร์เซตติ
อิลซะ สเตปเพต
กำกับภาพไมเคิล รีด
ตัดต่อจอห์น เกลน
ดนตรีประกอบจอห์น แบร์รี
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายยูไนเต็ดอาร์ตติสต์
วันฉาย18 ธันวาคม ค.ศ. 1969 (1969-12-18)(ลอนดอน, รอบปฐมทัศน์)
ความยาว142 นาที[1]
ประเทศสหราชอาณาจักร[2]
สหรัฐ[3]
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำเงิน82 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

007 ยอดพยัคฆ์ราชินี (อังกฤษ: On Her Majesty's Secret Service) เป็นภาพยนตร์แนวสายลับฉายเมื่อปี ค.ศ. 1969 เป็นภาพยนตร์เรื่องที่หกใน ภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ที่สร้างโดย อีออนโปรดักชันส์ ดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของเอียน เฟลมมิง เมื่อปี ค.ศ. 1963 ฌอน คอนเนอรี ประกาศเลิกรับบทเป็น เจมส์ บอนด์ หลังเขาแสดงใน จอมมหากาฬ 007 อีออนโปรดักชันส์ได้เลือก จอร์จ เลเซนบี นายแบบที่ยังไม่เคยผ่านงานแสดงมาก่อน มารับบทบอนด์แทน ระหว่างการถ่ายทำ เลเซนบีประกาศว่าเขาจะแสดงเป็นบอนด์แค่ภาพยนตร์เรื่องเดียว

ในภาพยนตร์ บอนด์เผชิญหน้า โบลเฟลด์ (เทลลี ซาวาลาส) ผู้วางแผนจะเรียกค่าไถ่จากโลกโดยขู่ว่าจะแพร่เชื้อโรคลงในแหล่งอาหารของโลก ผ่านกลุ่มผู้หญิงที่ถูกล้างสมอง ชื่อว่า "นางฟ้าแห่งความตาย" ระหว่างทางบอนด์ได้พบกับ คอนเทสซา เทเรซา ดิ วิเซนโซ (ไดอานา ริกก์) ซึ่งทั้งสองคนได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานในที่สุด

007 ยอดพยัคฆ์ราชินี เป็นภาพยนตร์บอนด์เรื่องเดียวที่กำกับโดย ปีเตอร์ อาร์. ฮันต์ (เป็นการกำกับภาพยนตร์ครั้งแรกของเขา) ซึ่งเขาเคยทำหน้าที่เป็นนักตัดต่อภาพยนตร์และผู้กำกับกองที่สองในภาพยนตร์บอนด์ก่อนหน้านี้ ฮันต์ร่วมกับ อัลเบิร์ต อาร์. บรอคโคลีและแฮรรี ซอลต์ซแมน ตัดสินใจสร้างภาพยนตร์ให้มีความสมจริงมากขึ้นและดำเนินเรื่องให้ใกล้เคียงกับนวนิยาย ภาพยนตร์ถ่ายทำตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1968 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1969 โดยถ่ายทำที่ สวิตเซอร์แลนด์, อังกฤษและโปรตุเกส หลังภาพยนตร์ฉาย ถึงแม้ว่าจะไม่ทำเงินเท่ากับ จอมมหากาฬ 007 ภาพยนตร์บอนด์ก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในปีนั้น[4] คำวิจารณ์จากนักวิจารณ์ในช่วงที่ภาพยนตร์ฉายนั้นหลากหลาย แต่เมื่อเวลาผ่านไปภาพยนตร์กลับได้รับคำชมมากขึ้นและปัจจุบันก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดในภาพยนตร์ชุด โดยภาพยนตร์มักจะได้รับการยอมรับว่า เป็นหนึ่งในภาพยนตร์บอนด์ที่มีการดัดแปลงที่ซื่อสัตย์ที่สุดต่อนวนิยายของเอียน เฟลมมิง[5]

เรื่องย่อ[แก้]

เจมส์ บอนด์ (George Lazenby) ก็ยังคงตามล่า โบลเฟลด์ (Telly Savalas) ต่อไป แม้องค์กร SPECTRE จะโดนถล่มจนย่อยยับไปแล้วก็ตาม ซึ่งบอนด์ก็ได้พบเงื่อนงำว่า โบลเฟลด์ ได้หลบหนีไปเปิดคลินิกรักษาภูมิแพ้อยู่บนเทือกเขาที่ห่างไกล บอนด์เลยตามไปสืบ ก็พบว่าเป็นความจริง โบลเฟลด์อยู่ที่นั่น และมันกำลังวางแผนร้ายที่จะทำลายอู่ข้าวอู่น้ำของโลก โดยมันบอกว่าจะไม่ทำอย่างนั้นหากเมื่อมันล้างมือมาใช้ชีวิตดั่งคนปกติแล้วทางการจะไม่เอาผิดมัน บอนด์จึงต้องขัดขวางมันอีกเช่นเคย ซึ่งในตอนนี้บอนด์พบกับเทรซี่ หญิงสาวที่เขาคิดว่าจะใช้ชีวิตไปด้วยกันตลอดชีวิต

ตัวละครหลัก[แก้]

นักแสดง รับบทเป็น
จอร์จ เลเซนบี้ (George Lazenby) เจมส์ บอนด์ (James Bond)
เบอร์นาร์ด ลี (Bernard Lee) เอ็ม (M) เจ้านายของบอนด์
ลอยส์ แม็กซ์เวลล์ (Lois Maxwell) มันนีเพ็นนี เลขานุการของเอ็ม
เดสมอนด์ เลเวลีน (Desmond Llewelyn) คิว (Q) นักประดิษฐ์อุปกรณ์ไฮเทคให้บอนด์
ไดอาน่า ริกก์ (Diana Rigg) เทรซี่ ดิ วิเซ็นโซ่ (หรือต่อมาคือ เทรซี่ บอนด์) (Teresa "Tracy" Di Vicenzo; Tracy Bond) ผู้หญิงของบอนด์ประจำตอนนี้ (ทั้งยังเป็นภรรยาคนเดียวของบอนด์ด้วย)
เทลลี่ ซาวาลาส (Telly Savalas) เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ (Ernst Stavro Blofeld) ศัตรูประจำตอน

ความยุ่งยากในการหาบอนด์คนใหม่[แก้]

หลังจากที่ฌอน คอนเนอรี่ แสดงเป็นเจมส์ บอนด์ได้อย่างยอดเยี่ยมมาถึง 5 ครั้ง ฌอนได้ตัดสินใจลาออกจากการรับบทเจมส์บอนด์ ทำให้ผู้อำนวยการสร้างต้องรีบหาบอนด์คนใหม่ และสามารถล่ารายชื่อชาวอังกฤษมาได้ 3 คน ได้แก่ ทิโมธี ดาลตัน, โรเจอร์ มัวร์ และ เจเรมี เบล็ตต์ แต่เจเรมี กับ โรเจอร์ บอกว่า เขามีคิวต้องไปทำรายการโทรทัศน์ และ ต้องไปแสดงภาพยนตร์เรื่องอื่นอีกมาก ขอเวลาสองสามปี ส่วนทิโมธี บอกว่า เขายังเด็กเกินไปที่จะรับบทนี้ ถ้าจะให้ฌอนกลับมาแสดงจะดีกว่า และไม่พบใครอื่นที่ตรงกับลักษณะของบอนด์ ที่เอียน เฟลมิ่ง บัญญัติไว้ จึงจำต้องทิ้งไพ่ใบสุดท้าย โดยเอาดารานักแสดงชาวออสเตรเลียคนหนึ่งที่ลักษณะสรีระตรงกับลักษณะของบอนด์ในนวนิยายมาแสดง เขาชื่อ จอร์จ เลเซนบี้

แต่เนื่องจากเจมส์ บอนด์ เป็นสายลับอังกฤษ ดังนั้นการนำชาวออสเตรเลียมาแสดงบทบาทนี้ ทำให้ชาวอังกฤษต่อต้านอย่างมาก เขารับบทเป็นบอนด์ในตอนนี้เพียงตอนเดียว ผู้สร้างก็จำต้องติดต่อให้ฌอน คอนเนอรี่กลับมาอีกครั้ง พอดีกับ โรเจอร์ มัวร์ สามารถเคลียร์ตารางงานได้ จึงถูกเรียกตัวมาทดสอบ และได้รับบทเจมส์ บอนด์ต่อจากฌอน)

เกร็ด[แก้]

  • เป็นเจมส์ บอนด์ ตอนที่มีชื่อยาวที่สุดในบรรดาภาคที่นำมาสร้างเป็นภาพยนตร์
  • เป็นเจมส์ บอนด์ ภาคเดียวเท่านั้นหลังจากภาค From Russia With Love ที่เพลงไตเติ้ลต้นเรื่องเป็นดนตรีบรรเลงล้วน ๆ
  • เป็นเจมส์ บอนด์ ภาคที่มีความยาวที่สุด จนกระทั่งการมาของ พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก
  • เป็นตอนเดียวเท่านั้นตราบจนบัดนี้ที่เจมส์ บอนด์ ได้แต่งงานและต้องเสียน้ำตาในท้ายเรื่องเนื่องจากสูญเสียคนรัก (เทรซี่ บอนด์) ระหว่างที่บอนด์จอดรถข้างทางบนภูเขา แล้ว โบลเฟลด์ ศัตรูคู่อาฆาตของบอนด์ก็ยิงปืนกราดเข้าใส่รถ เจาะเข้ากลางศีรษะของเทรซี่เสียชีวิต
  • เป็นตอนเดียวที่นักแสดงบทเจมส์ บอนด์ (จอร์จ เลเซนบี) ไม่มีชื่อขึ้นในเครดิตด้านบนใบปิดเหมือนผู้รับบทเจมส์ บอนด์ คนอื่น ๆ
  • ไดอาน่า ริกก์ เคยรับบทนักสืบสาวในหนังทีวียอดฮิตทั่วโลก ขวัญใจสายลับ (The Avengers) ก่อนรับบทนางเอกล่าสุดของบอนด์ เช่นเดียวกับ ออเนอร์ แบลคแมน ใน จอมมฤตยู 007 (Goldfinger)
  • เป็นตอนเดียวที่ฉากยิงปืนเปิดเรื่อง เกิดจุดด้อยเรียกว่า "Treadmill"

อ้างอิง[แก้]

  1. "On Her Majesty's Secret Service". British Board of Film Classification. สืบค้นเมื่อ 4 February 2015.
  2. "On Her Majesty's Secret Service". Lumiere. European Audiovisual Observatory. สืบค้นเมื่อ 9 October 2020.
  3. "AFI|Catalog".
  4. Vinceguerra, Thomas (29 December 2019). "As James Bond, He Only Lived Once". New York Times. สืบค้นเมื่อ 29 December 2019.
  5. Vinciguerra, Thomas (2019-12-27). "50 Years Later, This Bond Film Should Finally Get Its Due". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-07-21.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]