ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์...

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์...
Live in Las Vegas - A New Day...
วิดีโอโดย
วางตลาด10 ธันวาคม พ.ศ. 2550
บันทึกเสียง17 - 21 มกราคม พ.ศ. 2551
แนวเพลงป็อป
ความยาว5 ชั่วโมง 7 นาที
ค่ายเพลงโคลัมเบีย, อีพิก
โปรดิวเซอร์Jean Lamoureux
ลำดับอัลบั้มของเซลีน ดิออน
องเนอชองช์ปา
(2548)องเนอชองช์ปาString Module Error: Match not found
ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์...
(2550)
เซลีนซูร์เลแปลน
(2551)เซลีนซูร์เลแปลนString Module Error: Match not found
ภาพปกอื่นๆของสื่อวีดิทัศน์
บลูเรย์

สำหรับมหรสพที่ลาส เวกัส ดูบทความที่ อะนิวเดย์...

สำหรับอัลบั้มบันทึกการแสดง ดูบทความที่ อะนิวเดย์... ไลฟ์อินลาสเวกัส

ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์... (อังกฤษ: Live in Las Vegas - A New Day...) คือผลงานสื่อวิดิทัศน์ที่ออกจำหน่ายในรูปแบบดีวีดีของเซลีน ดิออนที่ 8 ออกจำหน่ายในวันที่ 7 - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในยุโรป วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550ในฮ่องกง. วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในอเมริกาเหนือ, วันที่15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในออสเตรเลีย, วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในญี่ปุ่น และ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551 ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการบันทึกการแสดงของเซลีน ดิออน ที่ลาส เวกัส ในมหรสพชุด อะนิวเดย์...

แผ่นบลูเรย์ออกจำหน่ายในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ในโปแลนด์, วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ในอเมริกาเหนือ และระหว่างวันที่ 8 และ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ในยุโรป

อะนิวเดย์... แสดงรอบสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 หลังจากการแสดงติดต่อกันเป็นเวลากว่า 5 ปี มากกว่า 700 รอบ และผู้ชมกว่า 3 ล้านคน ดีวีดี 2 แผ่นในผลงานชิ้นนี้มีความยาวมากกว่า 5 ชั่วโมง ประกอบด้วยภาพเบื้องหลังที่ไม่เคยเผยแพร่มาก่อน, วิดีโอของคอนเสิร์ต และส่วนโบนัสอันประกอบไปด้วย "อะนิวเดย์ : บีคอสยูเลิฟมี ขอมอบแก่แฟนเพลงทุกคน", "อะนิวเดย์ : เบื้องลึกเบื้องหลัง" และ "อะนิวเดย์ : หลังเวที " มีคำบรรยายที่แปลกว่า 9 ภาษา

ดีวีดีอำนวยการสร้างโดย Jean Lamoureux และส่วนโบนัสโดย Stephane Laporte ดีวีดีผลิตโดยโปรดักชั่น เจ และ Julie Snyder

ประวัติ[แก้]

แต่เดิมนั้นเคยมีกำหนดการออกจำหน่ายดีวีดีในฤดูใบไม้ร่วง ปี พ.ศ. 2547 แต่ได้ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการแสดง อะนิวเดย์ ได้บันทึกภาพอีกครั้งในวันที่ 17 - 21 มกราคม พ.ศ. 2550 ตามส่วนโบนัส "อะนิวเดย์ : เบื้องลึก เบื้องหลัง" ในแผ่นที่ 2 หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเลื่อนการออกจำหน่ายคือ เซลีนและผู้อำนวยการสร้างตระหนักถึงการไว้ผมทรงบ๊อบสีบลอนซ์ของเซลีน ซึ่งไม่ได้รับความนิยมจากฐานแฟนเพลงของเธอ ทรงผมดูไม่ดีในภาพดีวีดีอะนิวเดย์ครั้งแรก ส่งผลให้เซลีนได้ต่อผมและกลับมาไว้ผมทรงเดิม

ดีวีดี ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์... เป็นการแสดงในแบบสุดท้ายที่แสดงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 จนกระทั่งจบการแสดง ซึ่งการแสดงเมื่อปีก่อนหน้านั้น เซลีนได้แสดงเพลงอื่นๆ 7 เพลงได้แก่ "เนเทอร์บอย", "แอตลาส", "Fever," "เดอะเฟิสไทม์เอเวอไอซอยัวเฟซ", "แฮพยูเอเวอร์บีนอินเลิฟ", "Et je t'aime encore", และ "วอทอะวันเดอร์ฟูลเวิลด์" บางเพลงได้บบรจุในอัลบั้มบันทึกการแสดงสด อะนิวเดย์... ไลฟ์อินลาสเวกัส ที่ออกจำหน่ายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2547

การโปรโมต[แก้]

"เดอะพาวเวอออฟเลิฟ", "ไอโดรฟออลไนต์", "ไอเซอแรนเดอ", และ "ไอวิช" จากดีวีดีได้บรรจุในอัลบั้ม เทกกิงแชนเซส (อัลบั้มของเซลีน ดิออน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2551) ในรูปแบบดีลักซ์ และวิดีโอตัวอย่างเบื้องหลังของการแสดงครั้งนี้

อะนิวเดย์... ได้ออกอากาศในรายการโททัศน์ในบางประเทศ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ (ตอนที่ 1 ในวันที่ 18 พฤศจิกายน และตอนที่ 2 ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ช่อง SBS), สเปน (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ช่อง TF2), แอฟริกาใต้ (ตอนที่ 1 ในวันที่ 2 ธันวาคม และตอนที่ 2 ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ช่อง SABC 3), อิตาลี (วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ช่อง Italia 1), และควิเบก (เบื้องหลังออกอากาศในที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2550 และคอนเสิร์ตในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2550 ช่อง TVA)

อะนิวเดย์แพร่ภาพในโรงละครในบางประเทศ ได้แก่ โปแลนด์ (โรงละคร Multikino วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550) และสหรัฐอเมริกา (หลายโรงละครในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2550)

สถานีโทรทัศน์ควิเบก TVA ออกอากาศโทรทัศน์รายการพิเศษ แพร่ภาพการแสดงรอบสุดท้ายของเซลีย ดิออน ที่โรงละครเดอะคอลลอสเซี่ยม ที่ซีซ่าร์ พาเลซ ลาส เวกัส ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยใช้ชื่อว่า " Les Adieux de Céline Dion à Las Vegas" (Céline Dion's Vegas Farewells) อำนวยการโดย Julie Snyder .

ในประเทศไทยได้มีการแพร่ภาพการแสดงนี้ 2 เพลงในรายการพิเศษเซลีน ดิออน - เทกกิงแชนเซส ซึ่งออกอากาศในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยแพร่ภาพเพลง แอมอะไลฟ์ และ มายฮาร์ตวิลโกออน (ช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี)

รายชื่อเพลง[แก้]

แผ่นที่ 1[แก้]

คอนเสิร์ต:

  1. "อะนิวเดย์แฮสคัม"
  2. "เดอะพาวเวอร์ออฟเลิฟ"
  3. "อิทส์ออลคัมมิ่งแบ็กทูมีนาว"
  4. "บีคอสยูเลิฟมี"
  5. "ทูเลิฟยูมอร์"
  6. "แอมอะไลฟ์"
  7. "ไอโดรฟออลไนต์"
  8. "ซีดิวซ์มี"
  9. "อิฟไอคู๊ด"
  10. "ปูร์เกอตูแมมอองกอร์"
  11. "ไอเซอแรนเดอร์"
  12. "Ammore Annascunnuto"
  13. "ออลเดอะเวย์"
  14. "ไอก็อดเดอะเวิลด์ออนเดอะสตริง"
  15. "ไอวิช"
  16. "เลิฟแคนมูฟเมาเทน"
  17. "ริเวอร์ดีฟ, เมาเทนไฮ"
  18. "มายฮาร์ตวิลโกออน"

ส่วนพิเศษ "อะนิวเดย์ : บีคอสยูเลิฟมี ขอมอบแก่แฟนเพลงทุกคน" (42 นาที)

  1. ทริสาสู่ลาส เวกัส
  2. พบปะเซลีน ดิออน

แผ่นที่ 2[แก้]

อะนิวเดย์ - หลังเวที (120 นาที) :

1. ก่อนคอนเสิร์ต

  • Leaving home
  • The dressing room (part I)
  • Soundchecks
  • The dressing room (part II)
  • Meet & greet with the fans

2. ขณะแสดงคอนเสิร์ต: behind the scenes songs selection

  • "A New Day Has Come"
  • Costume change #1
  • "The Power of Love"
  • "It's All Coming Back to Me Now"
  • "Because You Loved Me"
  • "To Love You More"
  • "I'm Alive"
  • "I Drove All Night"
  • Costume change #2
  • "Seduces Me"
  • "If I Could"
  • "Pour que tu m'aimes encore"
  • "I Surrender"
  • Costume change #3 (offstage)
  • "Ammore Annascunnuto"
  • "All the Way"
  • "I've Got the World on a String"
  • "I Wish"
  • "Love Can Move Mountains"
  • Costume change #4 (offstage)
  • "River Deep, Mountain High"
  • Costume change #5 (offstage)
  • "My Heart Will Go On"

3. หลังคอนเสิร์ต

  • The after show
  • Heading home
  • Family life

Bonus: A New Day - the secrets (50 min)

ชาร์ต[แก้]

ดีวีดีชาร์ต อันดับ
สูงสุด
สถานะ ยอดขาย
Australia[1] 4 Platinum 15,000[2]
Austria[3] 4 - -
Belgium Flandres[4] 1 - -
Belgium Wallonie[5] 1 - -
Canada 1 3× Diamond 400,000[6]
Czech Republic[7] 15
Denmark[8] 1 - -
Estonia[9] 1 - -
France[10] 1 3× Platinum 97,680[11]
Greece[12] 3 - -
Ireland[13] 3 - -
Italy[14] 6 - -
Japan[15] 4 - 22,340[16]
Netherlands[17] 1 - -
New Zealand[18] 2 Platinum 5,000[19]
Portugal[20] 2 Gold 4,000[21]
Spain[22] 12 - -
Sweden[23] 2 - -
United Kingdom[24] 1 - -
United States[25] 1 - -
ชาร์ตอัลบั้ม อันดับ
สูงสุด
สถานะ ยอดขาย
Germany[26] 64 - -
Switzerland[27] 56 - -


อ้างอิง[แก้]

  1. Australian DVD Chart
  2. Australian DVD Chart
  3. Austrian DVD Chart
  4. Flandres DVD Chart
  5. Wallonie DVD Chart
  6. "Biggest sales week in Nielsen SoundScan history for a DVD!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-29. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  7. Czech DVD Chart
  8. Danish DVD Chart
  9. Estonian DVD Chart[ลิงก์เสีย]
  10. French DVD Chart
  11. Les DVD les plus Vendus en 2007
  12. "Greek DVD Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  13. "Irish DVD Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-05. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  14. "Italian DVD Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-12. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  15. Japanese DVD Chart
  16. "Japanese Charts-The newest charts". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-01. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  17. "Dutch DVD Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-17. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  18. "New Zealand DVD Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-02. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  19. "New Zealand DVD Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-02. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  20. "Portuguese DVD Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  21. "Portuguese DVD Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  22. Spanish DVD Chart
  23. Swedish DVD Chart
  24. UK DVD Chart
  25. U.S. DVD Chart
  26. German Albums Chart
  27. Swiss Albums Chart