บลูเรย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จานบลูเรย์
Reverse side of a Blu-ray Disc
จานบลูเรย์สีฟ้า
รูปแบบHigh-density optical disc
การเข้ารหัสH.262/MPEG-2 Part 2
H.264/MPEG-4 AVC
VC-1
ความจุ25 GB (single-layer)
50 GB (dual-layer)
100/128 GB (BDXL)
ขนาดบล็อก64 KB ECC[1]
กลไกการอ่าน405 nm diode laser
พัฒนาโดยBlu-ray Disc Association[2]
ขนาด120 mm (4.7 in) diameter
1.2 mm thickness[3]
การใช้Data storage
High-definition video (1080p) High-definition audio
Stereoscopic 3D
PlayStation 3 games
PlayStation 4 games
Xbox One games

จานบลูเรย์ (อังกฤษ: Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของจานแสงสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของจานบลูเรย์มาจากช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดีที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm โดยในอดีตมีคู่แข่งอย่าง HD DVD หรือ high definition optical disc format war ผลิตโดย โตชิบา และเลิกผลิตเครื่องเล่น HD DVD ไปในเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 เนื่องจาก HD DVD ได้รับความนิยมน้อยกว่า[4] และหันมาผลิตเครื่องเล่นจานบลูเรย์แทนตั้งแต่ พ.ศ. 2547[5]

การพัฒนา[แก้]

มาตรฐานของจานบลูเรย์พัฒนาโดยกลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดยฟิลิปส์และโซนี เปรียบเทียบกับเอชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน จานบลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบชั้นเดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองชั้น (Double-Layer) ขณะที่เอชดีดีวีดีแบบชั้นเดียว มี 15 GB และสองชั้นมี 30 GB โดยสามารถเพิ่มการหักเหแสงได้ทั้งหมด 4 ชั้นเพิ่มความจุในการอ่านเขียนไปที่ 128 GB เลยทีเดียว

การรองรับคุณภาพของวิดีโอ[แก้]

ระบบภาพความชัดสูงหรือ High-definition video (HD) โดยใช้ระบบพิกเซลระดับ 1080p (1920×1080 pixels) ใช้ความเร็วในการฉาย 60 (59.94) ภาพต่อวินาที fields โดยมากกว่า DVD รุ่นเก่าที่สามารถทำความละเอียดภาพได้แค่ SD หรือ 480p (NTSC, 720×480 pixels) โดยอย่างมากไม่เกิน 576p (PAL, 720×576 pixels)

ความจุของจานบลูเรย์[แก้]

ซึ่งปกติจานบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่นซีดีหรือดีวีดี โดยจานบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียวและสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 ชั้น อาทิ จาน BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB จาน BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB จาน BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB โดยปี 2013 สามารถผลิต BD-XL ซึ่งมีขนาดมากกว่า 100 GB ไปที่ 128 GB ได้แล้ว

ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกจานบลูเรย์ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิตต่อวินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีนักวิทยาศาสตร์จาก NASA[ต้องการอ้างอิง] เป็น ผู้พัฒนาต่อจากระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ

รายนามผู้ผลิตเครื่องเล่นจานบลูเรย์[แก้]

ยอดการขายจานบลูเรย์เฉพาะสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
ปี (พ.ศ.) ปริมาณการขาย (พันล้าน)
2548 1.2[6]
2549 19.2[6]
2550 82.9[6]
2551 177.2[6]
2552 350[7]

กายภาพสื่อบันทึก[แก้]

รูปขนาดของจานบันทึกแสง ไม่ระบุขนาด; green denotes start and red denotes end.
* Some CD-R (W) and DVD-R (W)/DVD+R (W) recorders operate in ZCLV, CAA or CAV modes.
ระบบแสง การเขียนอ่าน
Type Diameter
(cm)
Layers Capacity
Bytes MiB GB
Standard disc size, single layer 12 1 25,025,314,816 23,866.00 25.0
Standard disc size, dual layer 12 2 50,050,629,632 47,732.00 50.1
Standard disc size, XL 3 layer[8] 12 3 100,103,356,416 95,466.00 100.1
Standard disc size, XL 4 layer[8] 12 4 128,001,769,472 122,072.00 128.0
Mini disc size, single layer 8 1 7,791,181,824 7,430.25 7.8
Mini disc size, dual layer 8 2 15,582,363,648 14,860.50 15.6

BDXL[แก้]

100 GB BDXL ระบบจานสามชั้น ผลิตโดย Sharp

The BDXL รองรับขนาด 100 GB และ 128 GB โดยใช้จานเดียว[9][10] และ 100 GB ในการเขียนอ่านซ้ำโดยเปิดตัวใน เดือน มิถุนายน 2553

BD-R 3.0 Format Specification (BDXL) เพิ่มคุณภาพชั้น ในการพัฒนา BDAV format ด้วยการอ่านจานความเร็ว 2× และ 4× โดยการส่งผ่านข้อมูล 100/128 GB และ ใช้พื้นที่เพียง UDF2.5/2.6.[11]

BD-RE 4.0 Format Specification (BDXL) เพิ่มคุณภาพชั้น ในการพัฒนาระบบอ่านเขียนซ้ำ BDAV พร้อมความเร็ว 2× และ 4× โดยการส่งผ่านข้อมูล 100 GB พร้อมการใช้พื้นที่เพียง UDF2.5 ในระบบ[12]

ความเร็ว[แก้]

ความเร็วของการอ่านและเขียน จะมีความเร็วมากกว่า ดีวีดี ถึง 3เท่า กล่าวคือเร็วกว่า วีดี ถึง 6 เท่า[แก้]

+ BD drive speeds ความเร็วสูงสุด อ่านข้อมูล ~เขียนข้อมูล (นาที)
Mbit/s MB/s จานชั้นเดียว จานสองชั้น
36 4.5 90 180
72 9 45 90
144 18 22.5 45
216 27 15 30
288 36 11.25 22.5
10× 360 45 9 18
12× 432 54 7.5 15
14× 504 63 6.5 13
16× 576 72 5.7 11.5

การพัฒนาคุณภาพ[แก้]

AVCHD[แก้]

AVCHD เป็นการพัฒนาจากระบบ ภาพความละเอียดสูง high definition tapeless camcorder โดยความเข้ากันได้จากระบบเดิม random access ที่ความคมชัดต่ำ และการบันทึกเสียงที่ต่ำไม่ได้คุณภาพ จึงจำเป็นต้องสร้างระบบ AVC-video และ ระบบเสียง Dolby AC-3 (or linear PCM) มาใช้ในแบบ ดิจิทัล

โดยระบบการเล่น AVCHD playback แต่เดิมยังไม่รองรับในจานบลูเรย์ playback จนมีการยกระดับความเข้ารหัสคุณภาพของภาพและเสียงให้มากกว่าระบบเดิม โดยสามารถใช้ควบคุ่กับ ระบบ DVD เดิม ทั้งสื่อบันทึกแบบเก่า SD/SDHC memory cards, "Memory Stick" cards และฮาร์ดดิสก์[13]

AVCREC[แก้]

AVCREC สามารถใช้ใน BDAV เพื่อการบันทึกไฟล์วิดีโอ คุณภาพสูงมากกว่า DVD[14] สามารถนำเสนอ AVCREC ในการยกระดับคุณภาพของภาพยนตร์จาก DVD ขึ้นมาเป็นระบบคุณภาพความละเอียดสูง โดยประเทศญี่ปุ่น ISDB โดยเปลี่ยจากการบันทึกแบบความคมชัดปกติไปเป็นแบบดิจิทัลทีวี digital video recorder จำเป็นต้องบันทึกในพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น โดย BLU RAY ให้พื้นที่มากกว่า HD REC

บลูเรย์สามมิติ[แก้]

Blu-ray Disc Association (BDA) กำหนดมาตรฐานสำหรับการบันทึกข้อมูลภาพพิเศษทางลักษณะการเรียงตัวของชั้นภาพ ซึ่งเรียกว่าภาพยนตร์สามมิติ (3D film) และโทรทัศน์สามมิติ (3D television) ลงบนจานบลูเรย์[15] ในวันที่ 17 ธันวาคม 2552 BDA ประกาศมาตรฐานและคุณสมบัติของไฟล์ข้อมูลวิดีโอสามมิติ เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลภาพยนตร์สามมิติลงแผ่น Blu-ray Disc และเปิดรับชมเป็นแบบภาพสามมิติได้อย่างถูกต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน อีกทั้งยังจะต้องสามารถเปิดชมจานบลูเรย์สามมิติโดยเลือกเป็นแบบภาพธรรมดาหรือสองมิติได้ตามปกติของเครื่องเล่น Blu-ray[16]

โดยบริษัท Sony ได้นำเอาความสามารถทางสามมิติและระบบเล่นจานบลูเรย์สามมิติใส่ลงใน firmware upgrade ของเครื่องเล่นเกม PlayStation 3 ในวันที่ 21 เมษายน 2553[17] ให้สามารถเล่นภาพยนตร์สามมิติได้ โดยในการพัฒนา version 3.70 การอัปเดต วันที่ 9 สิงหาคม 2554 PlayStation 3 รองรับระบบ เสียง DTS-HD Master Audio และ DTS-HD High Resolution Audio ในระบบการเล่นภาพยนตร์จากจานบลูเรย์สามมิติ[18] รวมทั้ง Dolby TrueHD [19]

วิดีโอ[แก้]

ความละเอียดระดับสูง High-definition video โดย BD-ROMs สามารถฉายภาพขนาด 1920×1080 pixel ด้วยความเร็ว 60 (59.94) fields ต่อวินาที โดยสามารถลดความเร็วภาพเป็น 1920×1080 pixel ความเร็วในการฉาย 24 ภาพต่อวินาที สามารถเพิ่มระดับเป็น 59.94 ภาพต่อวินาที จากความละเอียดเดิม 1280×720 พิกเซล[20] โดยปัจจุบันรองรับความกว้างของภาพที่ 1920×1080 โดยความเร็วในการฉาย 60p และ 50p [21]

ความกว้างของภาพ ความเร็วภาพต่อวินาที สัดส่วนภาพ
1920×1080 60i (59.94i) 16:9
1920×1080 50i 16:9
1920×1080 24p 16:9
1920×1080 23.976p 16:9
1440×1080[b] 60i (59.94i) 4:3
1440×1080[b] 50i 4:3
1440×1080[b] 24p 4:3
1280×720 60p (59.94p) 16:9
1280×720 50p 16:9
1280×720 24p 16:9
720×480 60i (59.94i) 4:3 or 16:9
720×576 50i 4:3 or 16:9

ระบบเสียง​[แก้]

Specification of BD-ROM Primary audio streams:[22]
LPCM (lossless) Dolby Digital Dolby Digital Plus Dolby TrueHD (lossless) DTS Digital Surround DTS-HD Master Audio (lossless) DRA DRA extension
Max. bitrate 27.648 Mbit/s 640 kbit/s 4.736 Mbit/s 18.64 Mbit/s 1.524 Mbit/s 24.5 Mbit/s 1.5 Mbit/s 3.0 Mbit/s
Max. channel 8  (48 kHz, 96 kHz), 6  (192 kHz) 5.1 7.1 8  (48 kHz, 96 kHz), 6  (192 kHz) 5.1 8  (48 kHz, 96 kHz), 6  (192 kHz) 5.1 7.1
Bits/sample 16, 20, 24 16, 24 16, 24 16, 24 16, 20, 24 16, 24 16 16
Sample frequency 48 kHz, 96 kHz, 192 kHz 48 kHz 48 kHz 48 kHz, 96 kHz, 192 kHz 48 kHz 48 kHz, 96 kHz, 192 kHz 48 kHz 48 kHz, 96 kHz

การเข้ารหัส[แก้]

Feature BD-Audio BD-Video
Grace Period[d] Bonus View BD-Live[e] Blu-ray 3D
Profile 3.0[c] Profile 1.0 Profile 1.1 Profile 2.0 Profile 5.0
Built-in persistent memory No 64 KB 64 KB 64 KB 64 KB?
Local storage capability[a] No Optional 256 MB 1 GB 1 GB
Secondary video decoder (PiP) No Optional Mandatory Mandatory Mandatory
Secondary audio decoder[b] No Optional Mandatory Mandatory Mandatory
Virtual file system No Optional Mandatory Mandatory Mandatory
Internet connection capability No No No Mandatory Mandatory

^ a This is used for storing audio/video and title updates. It can either be built-in memory or removable media, such as a memory card or USB flash memory.
^ b A secondary audio decoder is typically used for interactive audio and commentary.
^ c Profile 3.0 is a separate audio-only player profile. The first Blu-ray Disc album to be released was Divertimenti, by record label Lindberg Lyd, and it has been confirmed to work on the PS3.[23][24]
^ d Also known as Initial Standard profile.
^ e Also known as Final Standard profile.

การเข้ารหัสประเทศ[แก้]

มีการแบ่งประเทศในการเข้ารหัสเพื่อการจัดจำหน่ายตามภูมิภาคต่าง ๆ

การเข้ารหัสตามระบบพื้นที่[25]
รหัสพื้นที่ ประเทศ
เอ ประเทศในอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง, อเมริกาใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไต้หวัน, ญี่ปุ่น, ฮ่องกง, มาเก๊า และเกาหลี
บี ประเทศในยุโรป, แอฟริกา และเอเชียตะวันตก รวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ซี ประเทศในเอเชียกลางและเอเชียใต้ รวมทั้งจีนและรัสเซีย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://sutlib2.sut.ac.th/sut_contents/h95009/data/5643_58.pdf
  2. Blu-ray FAQ. Blu-ray.com. Retrieved on December 22, 2010.
  3. "Blu-ray FAQ". Blu-ray.com. สืบค้นเมื่อ February 17, 2014.
  4. "Toshiba Announces Discontinuation of HD DVD Businesses" (Press release). Toshiba. February 19, 2005. สืบค้นเมื่อ February 26, 2005.
  5. Yomiuri Shimbun. Page 1. July 19, 2009. Ver. 13S.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "DEG Year-end 2009 Home Entertainment Report" (PDF). The Digital Entertainment Group. January 7, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-08-16. สืบค้นเมื่อ March 17, 2010.
  7. "DEG Year-end 2010 Home Entertainment Report" (PDF). The Digital Entertainment Group. January 6, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-09-05. สืบค้นเมื่อ September 18, 2011.
  8. 8.0 8.1 Hughsnews.ca, The Authoritative Blu-Ray Disc FAQ, section 9.2
  9. "BDXL Spec Upgrades Blu-ray Storage to 128GB". April 6, 2010. สืบค้นเมื่อ April 6, 2010.
  10. McGlaun, Shane (April 6, 2010). "Blu-ray Disc Association Unveils 128GB Specification". DailyTech.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-01. สืบค้นเมื่อ April 6, 2010.
  11. "R3 Format Specification (BDXL)". Blu-ray Disc Association. สืบค้นเมื่อ June 18, 2010.
  12. "RE4 Format Specification (BDXL)". Blu-ray Disc Association. สืบค้นเมื่อ June 18, 2010.
  13. "AVCHD Information Web Site press releases".
  14. "AVREC Format Specifications". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-17. สืบค้นเมื่อ 2014-03-31.
  15. "Blu-ray brains create 3D taskforce". reghardware.co.uk. May 20, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-23. สืบค้นเมื่อ May 23, 2009.
  16. Chabot, Jeff (December 17, 2009). "3D specifications finalized for Blu-ray, to hit market next year". HD Report. สืบค้นเมื่อ December 17, 2009.
  17. Lempel, Eric (April 21, 2010). "PS3 goes 3D on 10 June". PlayStation Blog. สืบค้นเมื่อ June 14, 2011.
  18. Lempel, Eric (August 9, 2011). "PS3 System Software Update (v3.70)". PlayStation.Blog. สืบค้นเมื่อ November 2, 2011.
  19. Allen, Danny (August 21, 2009). "So, The PS3 Slim Can Bitstream Dolby TrueHD and DTS-HD Master Audio After All?". Gizmodo. สืบค้นเมื่อ June 28, 2012.
  20. "White Paper: Blu-ray Disc Read-Only Format: 2.B Audio Visual Application Format Specifications for BD-ROM Version 2.4" (PDF). Blu-ray Disc Association. July 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ January 21, 2011.
  21. For example: Panasonic DMR-BWT720
  22. "White paper Blu-ray Disc Format". Blu-ray Disc Association. April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2014-03-31 {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help); |contribution= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  23. Lysvåg, Christian (May 29, 2008). "Music on Blu-ray". Music Information Centre Norway. สืบค้นเมื่อ June 26, 2008.
  24. Fruhlinger, Joshua (May 28, 2008). "First Blu-ray record, Divertimenti, released". engadget. สืบค้นเมื่อ July 5, 2008.
  25. "Blu-ray Disc for Video". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-02. สืบค้นเมื่อ September 14, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ออปติคอลดิสก์ (ดิสก์แสง)

เลเซอร์ดิสก์ (ค.ศ. 1978) - เลเซอร์ฟิล์ม (ค.ศ. 1984) - ซีดี - วีซีดี (ค.ศ. 1993) - ดีวีดี (ค.ศ. 1996) - DVD-Video (ค.ศ. 1996) - มินิดีวีดี - ซีวีดี (1998) - เอสวีซีดี (1998) - เอฟเอ็มดี (2000) - EVD (2003) - FVD (2005) - UMD (2005) - VMD (2006) - HD DVD (2006) - Blu-ray Disc (BD) (2006) - เอวีซีเอชดี (2006) - Tapestry Media (2007) - Ultra HD Blu-ray (2010) - เอชวีดี (TBA) - PH-DVD (TBA) - Protein-coated disc (TBA) - Two-Photon 3-D (TBA)