เทกกิงแชนเซส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทกกิงแชนเซส
Taking Chances
ภาพปกอัลบั้ม เทกกิงแชนเซส
สตูดิโออัลบั้มโดย
วางตลาด7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
(ดูประวัติการจำหน่าย)
บันทึกเสียง2 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550
แนวเพลงป็อป ร็อก อาร์แอนด์บี
ความยาวซีดี 73:39 ดีวีดี 25:00
ค่ายเพลงโคลัมเบีย อีพิก
โปรดิวเซอร์Peer Astrom, Anders Bagge, Kara DioGuardi, The-Dream, David Hodges, R. Kelly, Emanuel "Eman" Kiriakou, Kristian Lundin, Ben Moody, Ne-Yo, Linda Perry, John Shanks
อันดับความนิยมจากนักวิจารณ์ดนตรี
ลำดับอัลบั้มของเซลีน ดิออน
เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ / ฟอลลิงอินทูยู / อะนิวเดย์แฮสคัม
(2550)เล็ตส์ทอล์กอะเบาต์เลิฟ / ฟอลลิงอินทูยู / อะนิวเดย์แฮสคัมString Module Error: Match not found
เทกกิงแชนเซส
(2550)
คอมพลีตเบสต์
(2551)คอมพลีตเบสต์String Module Error: Match not found
ภาพปกอื่นๆของอัลบั้ม
กล่องนักสะสม
กล่องนักสะสม
ภาพปกเพิ่มเติม
ฉบับดีลักซ์ (ซีดี และดีวีดี)
ฉบับดีลักซ์ (ซีดี และดีวีดี)
ภาพปกเพิ่มเติม
ฉบับจำหน่ายในวอลมาร์ท
ฉบับจำหน่ายในวอลมาร์ท
ซิงเกิลจากเทกกิงแชนเซส
  1. "เทกกิงแชนเซส"
    จำหน่าย: 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550
  2. "อายส์ออนมี"
    จำหน่าย: 7 มกราคม พ.ศ. 2551
  3. "อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน"
    จำหน่าย: 16 มกราคม พ.ศ. 2551
  4. "อะโลน"
    จำหน่าย: 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เทกกิงแชนเซส (อังกฤษ: Taking Chances) คืออัลบั้มภาษาอังกฤษของเซลีน ดิออน ออกจำหน่ายในวันที่ 7 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ทั่วโลก[1] เป็นอัลบั้มภาษาอังกฤษชุดที่ 13 และเมื่อนับรวมอัลบั้มภาษาฝรั่งเศสแล้ว อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มที่ 35 ในส่วนของรูปแบบกล่องนักสะสมอันประกอบไปด้วยซีดี, ดีวีดี และน้ำหอม ออกจำหน่ายในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ในอเมริกาเหนือ [2] และระหว่างวันที่ 8 และ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ในยุโรป[3]

เทกกิงแชนเซส เริ่มบันทึกเสียงในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่สตูดิโอปาล์มส์[4] ในเบื้องต้นได้มีการกำหนดชื่ออัลบั้มว่า เดอะวูแมนอินมี (อังกฤษ: The Woman in Me) แต่เนื่องจากมีชื่อซ้ำกับอัลบั้มฮิตของชาเนีย ทเวนอันออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2538 จึงได้มีการทำสำรวจจากผู้ชมคอนเสิร์ตของเธอที่ลาส เวกัส และได้ใช้ชื่ออัลบั้มใหม่นี้ว่า เทกกิงแชนเซส[5]

อัลบั้มนี้ใช้เพลง "เทกกิงแชนเซส" เป็นซิงเกิลแรก[6] และออกจำหน่ายซิงเกิลดังกล่าวในรูปธรรมเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยมีเพลง "แมปทูมายฮาร์ต" (อังกฤษ: Map to My Heart) บรรจุในแผ่นซิงเกิลดังกล่าว และไม่มีการบรรจุเพลงนี้ลงในอัลบั้มแต่อย่างใด ยกเว้นฉบับในประเทศญี่ปุ่นอันมีเพลงพิเศษ 2 เพลง คือ "แมปทูมายฮาร์ต" และ "เดอะรีซันไอโกออน"

เซลีนประชาสัมพันธ์อัลบั้มนี้ผ่านรายการโทรทัศน์หลายรายการ ทั้งในอเมริกา และยุโรป ได้แก่ สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, อิตาลี และเยอรมนี นอกจากนี้เซลีนยังจัด คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซส ไปยังเมืองสำคัญทั่วโลก เพื่อประชาสัมพันธ์อัลบั้มนี้อีกด้วย

การสร้างและอำนวยการผลิต[แก้]

การบันทึกเสียง[แก้]

ภายหลังว่างเว้นการออกอัลบั้มภาษาอังกฤษกว่า 3 ปี เซลีนได้กลับเข้าสู่สตูดิโอเพื่อบันทึกเสียงอีกครั้ง โดยใช้ช่วงเวลาวันหยุดพักผ่อนของเธอจากการแสดงชุด อะนิวเดย์... ระหว่างวันที่ 2 กรกฎาคม - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550[7] โดยมี 4 เพลงได้บันทึกเสียงก่อนหน้าเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 แล้ว[8] เซลีนบันทึกเสียงอัลบั้มนี้ที่สตูดิโอปาล์มส[4] ในลาสเวกัส เรอเน อองเชลลีล สามีและผู้จัดการส่วนตัวของเซลีนได้กล่าวว่าอัลบั้มนี้จะมีความเป็นร็อกมากขึ้น[8]

อัลบั้มนี้เซลีนได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์ใหม่ๆหลายคน อาทิจอห์น แชงส์ โปรดิวเซอร์เจ้าของรางวัลแกรมมีด้านอำนวยการผลิตในเพลงเปิดตัวอัลบั้ม "เทกกิงแชนเซส" และเพลง "อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน", เบ็น มูดดี อดีตสมาชิกวงอีวานเอสเซนและเดวิด ฮอดเจส ในเพลง "อะโลน" เป็นต้น

ช่วงการบันทึกเสียงอัลบั้มนี้ทั้งหมดได้บันทึกเพลงทั้งสิ้น 19 เพลง โดยบรรจุลงในอัลบั้มนี้ 16 เพลง ยกเว้นฉบับของประเทศญี่ปุ่นและไอทูนส์ที่ได้เพิ่มเพลง "แมปทูมายฮาร์ต" (อังกฤษ: Map to My Heart) และ "เดอะรีซันไอโกออน" (อังกฤษ: The Reason I Go On) นอกจากนี้ยังได้บันทึกเสียงเพลง "เล็ตมีบียัวร์โซลเดอร์" (อังกฤษ: Let Me Be Your Soldier) แต่มิได้นำลงบรรจุในอัลบั้มนี้ ต่อมาได้บรรจุเพลงนี้ลงในอัลบั้มเพลงฮิต มายเลิฟ: เอสเซนเชียลคอลเลกชัน (อังกฤษ: My Love: Essential Collection) โดยใช้ชื่อใหม่ว่า "แดร์คัมส์อะไทม์" (อังกฤษ: There Comes a Time) ผลงานอำนวยการสร้างของ Emanuel Kiriakou

ดนตรีและบทเพลง[แก้]

เทกกิงแชนเซส เป็นอัลบั้มที่มีเพลงแนวร็อกมากขึ้น นับเป็นการเปลี่ยนแนวเพลงของเซลีนไปจากเดิม เห็นได้จากการร่วมงานกับโปรดิวเซอร์ใหม่ๆ อาทิ จอห์น แชงส์, เบ็น มูดดี, เดวิด ฮอดเจส เป็นต้น และการนำเพลงเก่าในแนวร็อกมาขับร้องใหม่หลายเพลง อาทิ "แคนต์ไฟต์เดอะฟิลลิน" (อังกฤษ: Can't Fight the Feelin'), เพลง "อะโลน" (อังกฤษ: Alone) ผลงานการประพันธ์ของบิลลี สตีนเบิร์ก และทอม เคลลี อันเป็นเพลงเดิมของวงฮาร์ต, เพลง "นิวดอร์น" (อังกฤษ: New Dawn) เพลงเดิมของลินดา เพอร์รี ผู้ประพันธ์เพลง และอำนวยการสร้างเพลง "มายเลิฟ" (อังกฤษ: My Love) ในอัลบั้มนี้ เพลง "ไรต์เน็กซ์ทูเดอะไรต์วัน" (อังกฤษ: Right Next to The Right One) ผลงานการประพันธ์และขับร้องโดยทิม คริสเทนเซน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี อัลบั้มชุดนี้ยังคงบรรจุเพลงป็อป อันเป็นแนวเพลงของเซลีนเอง อาทิ เพลง "มายเลิฟ", เพลง "อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน" ซึ่งภายหลังได้ขับร้องร่วมกับยูนะ อิโตะ นักร้องสาวชาวญี่ปุ่น

การออกจำหน่าย[แก้]

การประชาสัมพันธ์[แก้]

เซลีน ดิออน และวิล.ไอ.แอม กำลังร้องเพลง "อายส์ออนมี" ในรายการพิเศษ แดตส์จัสต์เดอะวูแมนอินมี เพื่อประชาสัมพันธ์อัลบั้ม เทกกิงแชนเซส

ในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เซลีนเริ่มต้นการประชาสัมพันธ์อัลบั้ม เทกกิงแชนเซส ในยุโรป (สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, อิตาลี และเยอรมนี) [9] และอเมริกาเหนือ ผ่านรายการโทรทัศน์หลายรายการ อาทิ ดิโอปราห์วินฟรีย์โชว์ (อังกฤษ: The Oprah Winfrey Show), "The Ellen DeGeneres Show", "ทูเดย์โชว์" (อังกฤษ: Today Show), "เดอะวิว" (อังกฤษ: The View)", "เออร์ลีมอร์นิงโชว์" (อังกฤษ: Early Morning Show)", "แดนซิงวิธเดอะสตาร์ส" (อังกฤษ: Dancing With the Stars)" และ "ออลมายชิลเดรน" (อังกฤษ: All My Children) ในอเมริกา และรายการในสหราชอาณาจักรได้แก่รายการ "ดิเอกซ์แฟกเตอร์" (อังกฤษ: The X Factor), "BAFTA", "แซตเทอร์เดย์ไนต์ดีวา" (อังกฤษ: Saturday Night Diva) และ "แอนออเดียนวิธเซลีนดิออน" (อังกฤษ: An Audience with Celine Dion) แสดงในปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในรายการ "สตาร์อะเคดิมี" (อังกฤษ: Star Academy) และ "Vivement dimanche" ในโรม ประเทศอิตาลี ในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 และในเยอรมนี ในรายการ "Wetten Dass...?" หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังสหรัฐอเมริกาเพื่อประชาสัมพันธ์อัลบั้มเธอต่อไป[10]

ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สถานีโทรทัศน์ไอทีวีของสหราชอาณาจักรได้แพร่ภาพโทรทัศน์รายการพิเศษ "แอนออเดียนวิธเซลีน ดิออน"[11] ความสำเร็จของโทรทัศน์รายการพิเศษนี้ทำให้ได้จัดรายการโทรทัศน์พิเศษ แดตส์จัสต์เดอะวูแมนอินมี[12] ออกอากาศเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ทางช่องซีบีเอส ในสหรัฐอเมริกา และแคนาดาทางช่องซีทีวี

ในประเทศไทยได้มีการจัดงาน "เซลีน ดิออนเพื่อเด็ก และสตรี" ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ชิดลม บริเวณลานหน้าร้านบีทูเอส เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550[13][14] และจัดโทรทัศน์รายการพิเศษ "เทกกิงแชนเซส ทีวีสเปเชียล" ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยมีการแพร่ภาพจากการแสดงชุด อะนิวเดย์... ของเซลีน ดิออน ในเพลง "แอมอะไลฟ์", "มายฮาร์ตวิลโกออน" และมิวสิกวิดีโอเพลง "เทกกิงแชนเซส"

นอกจากนี้เซลีนยังจัด คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซส เพื่อประชาสัมพันธือัลบั้มนี้อีกทางหนึ่ง โดยเป็นการจัดคอนเสิร์ตทัวร์ทั่วโลกไปยังเมืองสำคัญๆ ทั้ง 5 ทวีป โดยเริ่มต้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ณ เดอะโคคา-โคลาโดม เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้[15] และสิ้นสุดในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ณ Qwest Center Omaha เมือง Omaha ประเทศสหรัฐอเมริกา[16]

อัลบั้มและซิงเกิล[แก้]

อัลบั้ม เทกกิงแชนเซส ออกจำหน่ายทั่วโลก โดยเริ่มจำหน่ายวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ในประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก โดยมีซิงเกิลประชาสัมพันธ์อัลบั้มซิงเกิลแรกคือ "เทกกิงแชนเซส" เพลงนี้เริ่มต้นการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสถานีวิทยุแล้วตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550 และออกจำหน่ายในรูปแบบซิงเกิลซีดีเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ในประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก เพลงนี้ขึ้นชาร์ตเพลงร่วมสมัยผู้ใหญ่ของแคนาดา (Canadian Adult Contemporary Chart) และชาร์ตบิลบอร์ดแดนซ์คลับเพลย์ (Billboard Hot Dance Club Play) ของสหรัฐอเมริกาในอันดับสูงสุดคืออันดับที่ 1[17][18]

ซิงเกิลที่ 2 จากอัลบั้มนี้แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของโลก อันได้แก่ ในสหราชอาณาจักรได้ประชาสัมพันธ์เพลง "อายส์ออนมี" เป็นซิงเกิลที่ 2 โดยขึ้นชาร์ตอันดับสูงสุดในชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร (UK Singles Chart) ในอันดับสูงสุดเพียงอันดับที่ 113[19] ส่วนในยุโรปและอเมริกาเหนือ และไทยได้ประชาสัมพันธ์เพลง "อะโลน" ซึ่งเป็นซิงเกิลที่ 2 ยกเว้นในสหราชอาณาจักรที่ประชาสัมพันธ์เพลงนี้เป็นซิงเกิลที่ 3 โดยขึ้นชาร์ตเพลงร่วมสมัยผู้ใหญ่ของแคนาดาสูงสุดในอันดับที่ 7 เท่านั้น[17] และญี่ปุ่นประชาสัมพันธ์เพลง "อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน" เป็นซิงเกิลที่ 2 โดยเผยแพร่ในฉบับที่เซลีน ร้องคู่กับยูนะ อิโตะ นักร้องสาวชาวญี่ปุ่น ในชื่อเพลงใหม่ว่า "อะนะตะ กะ อิรุ คะงิริ~อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน~" ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551 ซิงเกิลนี้เปิดตัวในอันดับที่ 8 ชาร์ตออริกอนของประเทศญี่ปุ่น ด้วยยอดขาย 11,778 ชุด[20]

การตอบรับ[แก้]

ความสำเร็จในชาร์ต[แก้]

จากรายงานของ IFPI อัลบั้ม เทกกิงแชนเซส มียอดขายกว่า 3.1 ล้านชุดในสิ้นปี พ.ศ. 2550 และเป็นอัลบั้มขายดีที่สุดลำดับที่ 19 แห่งปี แม้ว่าจะออกจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายนก็ตาม[21] ปัจจุบันอัลบั้มนี้มียอดขายกว่า 3,500,000 ชุดทั่วโลก และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำในหลายประเทศ รวมถึงรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว และรางวัลอื่นๆอีกมากมาย ความสำเร็จของอัลบั้มนี้เห็นได้ชัดจากยอดจำหน่ายในแคนาดา ซึ่งอัลบั้มนี้ขึ้นชาร์ตอันดับที่ 1 มียอดขายในสัปดาห์แรกสูงสุดในปี พ.ศ. 2550 คือ 79,354 ชุด และกลายเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในแคนาดาในปีนั้น (340,000 ชุด) ปัจจุบันมียอดการจำหน่ายกว่าอีก 400,000 ชุด แล้วได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว 4 แผ่น

เทกกิงแชนเซส ขึ้นชาร์ต 1 ใน 10 ในหลายประเทศ และมียอดจำหน่ายทั่วโลกเป็นที่น่าพึงพอใจ อาทิ สหราชอาณาจักร มียอดจำหน่ายกว่า 365,000 ชุด และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว[22] ในประเทศญี่ปุ่น อัลบั้มนี้กลายเป็นอัลบั้มของเซลีนที่ประสบความสำเร็จสูงสุดหลังจากอัลบั้ม อะนิวเดย์แฮสคัม ด้วยยอดจำหน่ายกว่า 125,000 ชุด และในสหรัฐอเมริกาขึ้นชาร์ตครั้งแรกในอันดับที่ 3 ด้วยยอดขาย 214,556 ชุด และมียอดขายรวมกว่า 1,000,000 ชุด ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว[23]

บทวิพากษ์วิจารณ์[แก้]

เทกกิงแชนเซส ได้เปลี่ยนแนวการร้องเพลงของเซลีน จากเพลงป็อป บัลลาด สู่แนวเพลงร็อก เพื่อขยายฐานแฟนเพลงมากขึ้น โดยได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อหลายแขนงทั้งในด้านบวก และด้านลบ อาทิ เว็บไซต์เดอะสตาร์ กล่าวว่า "อัลบั้มร็อกนี้ไม่ได้ทำให้แฟนเพลงพันธุ์แท้ห่างเหินนัก แต่อาจทำให้ได้แฟนเพลงใหม่ๆอีกด้วย"[24] นพปฏล พรศิลป์ จากนิตยสาร เอนเตอร์เทน กล่าวว่าอัลบั้มนี้โดยรวมออกมาดี แต่เซลีนไม่สามารถสร้างความเป็นตัวของตัวเองได้ในทางดนตรี และกล่าวว่า " เทกกิงแชนเซส ไม่มีอะไรให้นึกถึงมากนัก ก็แค่อีกหนึ่งอัลบั้มที่เซลีนโชว์ของให้เห็นว่าเธอก็ร้องเพลงแบบนี้ได้ก็เท่านั้น"[25] รอบ เชฟฟิลด์ จากนิตยสาร โรลลิงสโตน กล่าวว่าเสียงของเซลีนยังคง "น่าเกลียดอย่างไม่ธรรมดา" และการที่เธอร่วมงานกับนี-โย ในเพลง "ไอก็อตนอตติงเลฟ" และเดอะดรีม ในเพลง "สกายส์ออฟแอล.เอ." ได้ผลลัพธ์ที่แย่มาก[26] Sal Cinquemani จากนิตยสาร สแลนต์ วิจารณ์ภาพปกของเซลีนว่า "น่าหวาดกลัว"[27]

รายชื่อเพลง[แก้]

ฉบับปกติ
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."เทกกิงแชนเซส"คารา ดิโอกัวร์ดิ, เดวิด เอ. สจ๊วต4:07
2."อะโลน"บิลลี สตีนเบิร์ก, ทอม เคลลี3:23
3."อายส์ออนมี"คริสเตียน ลันดิน, ซาแวน โคทีชา, เดลตา กูดเดร็ม3:53
4."มายเลิฟ"ลินดา เพอร์รี4:08
5."แชโดวออฟเลิฟ"แอนเดอร์ส แบ็กเก, อัลโด โนวา4:10
6."เซอร์ไพรส์ เซอร์ไพรส์"ดิโอกัวร์ดิ, มาร์ติน ฮาร์ริงตัน, แอช โฮเวส5:14
7."ดิสไทม์"เดวิด ฮอดเจส, เบ็น มูดดี, สตีเวน แม็กมอร์แรน3:47
8."นิวดาวน์"เพอร์รี4:45
9."อะซองฟอร์ยู"แบ็กเก โนวา โรเบิร์ต เวลส์3:27
10."อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน"ทิโน อิสโซ, โรซานนา ซิซิโอลา4:08
11."แคนต์ไฟต์เดอะฟิลลิน"โนวา3:51
12."ไอก็อดน็อตติงเล็ฟต์"เน-โย, ชาร์ลส์ ฮาร์มอน4:20
13."ไรตเน็กส์ทูเดะไรต์วัน"ทิม คริสเตียนเซ็น4:20
14."เฟดอะเวย์"เพียร์ แอสตรอม, ดิวิด สเต็นมาร์ค, โนวา3:17
15."แดตส์จัสเดอะวูแมนอินมี"คิมเบอร์ลี ริว4:33
16."สกายส์ออฟแอล.เอ."คริสโตเฟอร์ สจ๊วต, เดอะ-ดรีม, คุก ฮาร์เรลล์4:24
เพลงเพิ่มเติมฉบับประเทศญี่ปุ่น
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
17."แมปทูมายฮาร์ต"กาย โรช, เชลลี พีเคน4:15
18."เดอะรีซันไอโกออน"คริสเตียนเซน ลูสซี, โนวา, เอ. มาร์เจียส3:42
ฉบับเพิ่มเติมฉบับไอทูนส์
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
17."อิมมองซีเต"ชาร์ก เวอร์เนอรุสโซ4:34
18."แมปทูมายฮาร์ต"กาย โรช, เชลลี พีเคน4:15
19."เทกกิงแชนเซส (I-Soul extended remix)"ดิโอกัวร์ดิ, สจ๊วต7:33
ฉบับดีลักซ์ (ดีวีดี)
ลำดับชื่อเพลงยาว
1."ตัวอย่างการแสดงจากดีวีดี ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์..." 
2."เดอะพาวเวอร์ออฟเลิฟ" 
3."ไอโดรฟออลไนต์" 
4."ไอเซอร์เรนเดอร์" 
5."ไอวิช" 
ดีวีดีพิเศษ ฉบับ วอล-มาร์ท - เทกกิงแชนเซส: เดอะเซสชันส์
ลำดับชื่อเพลงยาว
1."แดตส์จัสเดอะวูแมนอินมี" 
2."อะโลน" 
3."อายส์ออนมี" 
4."อะซองฟอร์ยู" 
5."เซอร์ไพรส์ เซอร์ไพรส์" 
6."อะเวิลด์ทูบีลีฟอิน" 
ซีดีพิเศษ ฉบับ คอสโค
ลำดับชื่อเพลงประพันธ์ยาว
1."อิฟยูอาสด์มีทู"ไดแอน วาร์เร็น3:55
2."เดอะพาวเวอร์ออฟเลิฟ"Candy DeRouge, Gunther Mende, Mary Susan Applegate, Jennifer Rush5:43
3."บีคอสยูเลิฟด์มี"วาร์เร็น4:35
4."อิตส์ออลคัมมิงแบ็กทูมีนาว"Jim Steinman7:37
5."ออลบายมายเซลฟ์"อีริก คาร์เม็น, Sergei Rachmaninoff5:12
6."มายฮาร์ตวิลโกออน"เจมส ฮอร์เนอร์, วิลล์ เจ็นนิงส์4:41
7."แดตส์เดอะเวย์อิตอิส"ลันดิน, แม็กส์ มาร์ติน, อันเดรส์ คราลส์ซันส์4:03
8."ไอโดรฟออลไนต์"สตีนเบิร์ก, เคลลี4:00

ชาร์ต[แก้]

ชาร์ต อันดับ
สูงสุด
สถานะ ยอดขาย
ชาร์ตอัลบั้มอาร์เจนตินา[28] 4
ชาร์ตอัลบั้มออสเตรเลีย[29] 12 พลาตินัม 70,000[30]
ชาร์ตอัลบั้มออสเตรีย[31] 3 โกลด์ 10,000[32]
ชาร์ตอัลบั้มเบลเยี่ยมแฟลนเดอร์[33] 7 โกลด์ 15,000[34]
ชาร์ตอัลบั้มเบลเยี่ยมวอลโลเนีย[35] 3
ชาร์ตอัลบั้มแคนาดา[36] 1 4x พลาตินัม 400,000[37]
ชาร์ตอัลบั้มสาธารณรัฐเชค[38] 17
ชาร์ตอัลบั้มเดนมาร์ก[39] 2 พลาตินัม 40,000[40]
ชาร์ตอัลบั้มดัช (เนเธอร์แลนด์) [41] 4 โกลด์ 45,000[42]
ชาร์ตอัลบั้มเอสโตเนีย[43] 19
ชาร์ตอัลบั้มยุโรปt[44] 1 1,000,0001[45]
ชารืตอัลบั้มฟินแลนด์[46] 13 15,0002[47]
ชาร์ตอัลบั้มฝรั่งเศส[48] 2 โกลด์
110,500[49]
ชาร์ตอัลบั้มเยอรมัน[50] 5
ชาร์ตอัลบั้มกรีซ[51] 10
ชาร์ตอัลบั้มสากลกรีซ[52] 2
ชาร์ตอัลบั้มฮังการี[53] 12 โกลด์ 3,000[54]
ชาร์ตอัลบั้มไอริช[55] 6 2x พลาตินัม 30,000[56]
ชาร์ตอัลบั้มอิตาลี[57] 5 พลาตินัม 100,000[58]
ชาร์ตอัลบั้มญี่ปุ่น[59] 6 โกลด์ 125,000[60]
ชาร์ตอัลบั้มสากลญี่ปุ่น[61] 2
ชาร์ตอัลบั้มแม็กซิโก[62] 40
ชาร์ตอัลบั้มนิวซีแลนด์[63] 4 โกลด์ 7,500[64]
ชาร์ตอัลบั้มนอร์เวย์[65] 7
ชาร์ตอัลบั้มโปแลนด์[66] 21 โกลด์ 10,000[67]
ชาร์ตอัลบั้มโปรตุเกส[68] 9 โกลด์ 10,000[69]
ชาร์ตอัลบั้มสิงคโปร์[70] โกลด์ 8,000[70]
ชาร์ตอัลบั้มแอฟริกาใต้[71] 1 2x พลาตินัม 120,000[72]
ชาร์ตอัลบั้มสเปน[73] 8 โกลด์ 40,000[74]
ชาร์ตอัลบั้มสวีเดน[75] 8 โกลด์ 20,000[76]
ชาร์ตอัลบั้มสวิตเซอร์แลนด์[77] 1 พลาตินัม 30,000[78]
ชาร์ตอัลบั้มสหราชอาณาจักร[79] 5 พลาตินัม 380,000[80]
ชาร์ต บิลบอร์ด 200 สหรัฐอเมริกา[81] 3 พลาตินัม 1,010,000[82]
ชาร์ตอัลบั้ม บิลบอร์ด อินเทอร์เน็ต สหรัฐอเมริกา[83] 1
  • 1 ควรได้รับพลาตินัม (ยอดขาย 1,000,000 ชุด)
  • 2 ควรได้รับโกลด์ (ยอดขาย 15,000 ชุด)

ประวัติการจำหน่าย[แก้]

การจำหน่ายรูปธรรม:
  • ซีดีเพลง 16 เพลง [84]
  • ซีดีเพลง 18 เพลง (เฉพาะในญี่ปุ่น) [85]
  • ซีดีและดีวีดีฉบับดีลักซ์ (ดีวีดีเป็นการแนะนำดีวีดีบันทึกการแสดงสด ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์...) [86]
  • ซีดีและดีวีดี (ไต้หวัน) (ดีวีดีเป็นการแนะนำดีวีดีบันทึกการแสดงสด ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์...) และภายในบรรจุโปสการ์ด 5 ใบ
  • ซีดี, ดีวีดี และน้ำหอม (กล่องนักสะสม) (ดีวีดีเป็นการแนะนำดีวีดีบันทึกการแสดงสด ไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์... ประกอบด้วยรูป 16 รูปและน้ำหอมเอนแชนธิง ของเซลีน ดิออนออกแบบโดยเซลีน ดิออน [87]
  • ซีดีและดีวีดี (วอล-มาร์ต) ซีดี 16 เพลง และดีวีดี เทกกิงแชนเซส เดอะเซสชัน เบื้องหลังการบันทึกเสียงและสร้างสรรค์อัลบั้ม [88]
  • ซีดี 2 แผ่น (คอสต์โค) กล่องยาว ซีดีเพลง 16 เพลง และเพลงยอนิยม อีก 8 เพลง [89]
  • ซีดีฉบับจีน ในกล่องแบบดีวีดี
การจำหน่ายดิจิตอล:
  • ไอทูนส์ ฉบับธรรมดา 16 เพลง
  • ไอทูนส์ ฉบับมีเพลงเสริม "แมปทูมายฮาร์ต" และหนังสือดิจิตอลเล่มเล็ก สำหรับผู้สั่งจองล่วงหน้า)
  • ไอทูนส์ ฉบับดีลักซ์พร้อมเพลง "แมปทูมายฮาร์ต" และวิดีโอ 4 เพลงจากไลฟ์อินลาสเวกัส - อะนิวเดย์... และเพลง "เดอะรีซั่นไอโกออน" สำหัรบผู้สั่งจองล่วงหน้า
ประเทศ วันจำหน่าย ค่าย รูปแบบ เลขที่ในรายการสินค้า
ญี่ปุ่น 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โซนีมิวสิกญี่ปุ่น ซีดี 4547366034202
ออสเตรีย, เยอรมนี 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โซนีบีเอ็มจี ซีดี 88697081142
สวิตเซอร์แลนด์ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โซนีบีเอ็มจี ซีดี 88697081142
ซีดีและดีวีดี 88697147842
ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โซนีบีเอ็มจี ซีดี 88697081142
ซีดีและดีวีดี 88697147842
ฝรั่งเศส, โปแลนด์, สหราชอาณาจักร 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โซนีบีเอ็มจี ซีดี 88697081142
ซีดีและดีวีดี 88697147842
แคนาดา, สหรัฐอเมริกา 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โซนีบีเอ็มจี ซีดี 88697081142
ซีดีและดีวีดี 88697147842
ไทย 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โซนีบีเอ็มจี ซีดี 88697081142
ซีดีและดีวีดี 88697137132
บราซิล 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โซนีบีเอ็มจี ซีดี 88697081142
แคนาดา, สหรัฐอเมริกา 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 โซนีบีเอ็มจี ซีดี, ดีวีดี และน้ำหอม 88697147862
ออสเตรีย, สวิตเซอร์แลนด์ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โซนีบีเอ็มจี ซีดี, ดีวีดี และน้ำหอม 88697147862
โปแลนด์ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โซนีบีเอ็มจี ซีดี, ดีวีดี และน้ำหอม 88697147862
สหราชอาณาจักร 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โซนีบีเอ็มจี ซีดี, ดีวีดี และน้ำหอม 88697147862

อ้างอิง[แก้]

  1. "เทกกิงแชนเซส" - อัลบั้มใหม่ของเซลีน ดิออน เก็บถาวร 2009-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกข้อมูลวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  2. เทกกิงแชนเซส รูปแบบใหม่ เรียกข้อมูลวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  3. เทกกิงแชนเซส เรียกข้อมูลวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550
  4. 4.0 4.1 ข่าวเซลีน ดิออนจากเว็บไซต์เซลีนเมเนียส์ เดือนกรกฎาคม 2007 สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
  5. ข่าวเซลีนจากเว็บไซต์เซลีนเมเนียส์ เดือนสิงหาคม 2007 สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
  6. ข่าวเซลีนจากเว็บไซต์เซลีนเมเนียส์ เดือนกันยายน 2007 สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
  7. Céline se confie à Jocelyne Cazin[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (ฝรั่งเศส)
  8. 8.0 8.1 ข่าวเซลีนจากเว็บไซต์เซลีนเมเนียส์ เดือนพฤษภาคม 2007 สืบค้นวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
  9. Céline Dion chantera pour la fondation Mandela[ลิงก์เสีย] เรียกข้อมูลวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2550
  10. ข่าวเซลีนจากเว็บไซต์เซลีนเมเนียส์ เดือนตุลาคม 2007 สืบค้นวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
  11. แอนออเดียวิธเซลีน ดิออน (รายการพิเศษของไอทีวี) เรียกข้อมูลวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2551
  12. แดทส์จัสเดอะวูแมนอินมี (รายการโทรทัศน์พิเศษซีบีเอส) เรียกข้อมูลวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2551
  13. "Taking Chances อัลบั้มภาษาอังกฤษชุดล่าสุดจาก Diva อันดับ 1 ของโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-01. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  14. "SONY BMG ร่วมกับ The Radio จัดกิจกรรมดีๆ "Taking Chances เพื่อเด็กและสตรี"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-22. สืบค้นเมื่อ 2008-11-27.
  15. Where Céline Has Performed เก็บถาวร 2009-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Celinedion.com สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (อังกฤษ)
  16. คอนเสิร์ตทัวร์เทกกิงแชนเซส เก็บถาวร 2007-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Celinedion.com สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (อังกฤษ)
  17. 17.0 17.1 ชาร์ตเพลงร่วมสมัยผู้ใหญ่ประเทศแคนาดา เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552
  18. ชาร์ตบิลบอร์ดแดนซ์คัลบเพลย์ สิบค้นวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552
  19. ชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักร ออฟฟิเชียลชาร์ต สืบค้นวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552
  20. Oricon Style Weekly Ranking. สืบค้นวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
  21. "ชาร์ตอัลบั้ม IFPI 2007" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-11. สืบค้นเมื่อ 2009-02-25.
  22. BPI UK[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (อังกฤษ)
  23. RIAA สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (อังกฤษ)
  24. เซลีนคว้าโอกาส เว็บไซต์เดอะสตาร์ สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
  25. Soundtrack Review, นิตยสาร เอนเตอร์เทน ฉบับประจำวันที่ 13 - 19 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  26. บทวิจารณ์อัลบั้ม Taking Chances : Celine Dion เก็บถาวร 2008-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์นิตยสารโรลลิงสโตน สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
  27. วิจารณ์ดนตรีจากนิตยสารแสลนต์ Celine DIon: Taking Chances สืบค้นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 (อังกฤษ)
  28. "Argentinian Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-01. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  29. Australian Albums Chart
  30. ARIA
  31. Austrian Albums Chart
  32. IFPI Austria
  33. Belgian Flandres Albums Chart
  34. "IFPI Belgium". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
  35. Belgian Wallonia Albums Chart
  36. Canadian Albums Chart
  37. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ a
  38. Czech Albums Chart
  39. Danish Albums Chart
  40. IFPI Denmark
  41. Dutch Albums Chart
  42. "NVPI". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
  43. "Estonian Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-27. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
  44. European Albums Chart
  45. IFPI
  46. Finnish Albums Chart
  47. "IFPI Finland". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
  48. French Albums Chart
  49. [1] เก็บถาวร 2016-01-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน15,400 in 2008 and 95100 in 2007
  50. "German Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-16. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
  51. "Greek International Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  52. "Greek Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-08-06. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
  53. "Hungarian Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-08. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  54. "MAHASZ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-21. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
  55. "Irish Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-05. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  56. IRMA
  57. "Italian Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-06. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  58. FIMI
  59. Oricon Albums Chart
  60. RIAJ
  61. Oricon International Albums Chart
  62. "Mexican Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-29. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
  63. "New Zealand Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-02. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  64. "RIANZ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
  65. "Norwegian Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  66. Polish Albums Chart
  67. "ZPAV". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-06. สืบค้นเมื่อ 2009-07-07.
  68. "Portuguese Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-17. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  69. AFP
  70. 70.0 70.1 Singapore too cheap for Celine Dion เก็บถาวร 2009-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved April 11, 2008.
  71. "South Africa Albums Chart". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-19. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  72. "Celine breaks showbiz records in SA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-21. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  73. Spanish Albums Chart
  74. PROMUSICAE
  75. Swedish Albums Chart
  76. IFPI Sweden
  77. Swiss Albums Chart
  78. IFPI Switzerland
  79. UK Albums Chart
  80. BPI
  81. U.S. Albums Chart
  82. RIAA
  83. Top Internet Albums
  84. เทกกิงแชนเซส เรียกข้อมูลวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  85. เทกกิงแชนเซส เรียกข้อมูลวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  86. อะเมซอน เซลีน ดิออน เทกกิงแชนเซส เรียกข้อมูลวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  87. [http://www.amazon.com/dp/B000VI5CFO?tag=celinechannel-20&linkCode=xm2&camp=1789&creativeASIN=B000VI5CFO Taking Chances (CD/DVD Expanded Special Packaging) ENHANCED เรียกข้อมูลวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  88. CD: Taking Chances (with Exclusive Bonus DVD) (Digi-Pak) เรียกข้อมูลวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550
  89. เซลีน ดิออน - เทกกิงแชนเซส - กล่องยาว เรียกข้อมูลวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550