ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2565

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2565
วันที่6 สิงหาคม 2565
18:00
สนามสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550,
อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
สารัช อยู่เย็น[1]
ผู้ตัดสินต่อพงษ์ สมสิงห์ (ไทย)
ผู้ชม16,632 คน
สภาพอากาศมีเมฆมาก
28 °C (82 °F)
ความชื้น 83%
2564
2566

ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2565 (หรือ ไดกิ้นไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ ตามชื่อผู้สนับสนุน) เป็นการแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพครั้งที่ 6 ซึ่งเป็นการพบกันระหว่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลรีโว่ ไทยลีก และช้าง เอฟเอคัพ ในฤดูกาลที่ผ่านมา กับบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ทีมรองชนะเลิศไทยลีกฤดูกาลที่ผ่านมา[2] บุรีรัมย์ได้เข้าร่วมแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่ 3 หลังจากที่เคยเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2562 ในขณะที่บีจี ปทุม ได้เข้าร่วมแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกัน โดยในปีที่แล้ว พวกเขาสามารถเอาชนะลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด ไปได้ 1–0 โดยไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ 2565 นี้ จะแข่งขันในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ที่สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา[2]

สนามแข่งขัน[แก้]

ไฟล์:สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550.jpg
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 สนามแข่งขันในครั้งนี้

การแข่งขันไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพครั้งนี้ จะแข่งขันกันที่สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยเป็นสนามแห่งที่ 5 ที่ใช้จัดการแข่งขันรายการนี้ ต่อจากสนามศุภชลาศัย, สนามกีฬากองทัพบก, ธันเดอร์โดมสเตเดียม และสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี และนับเป็นครั้งที่ 2 ติดต่อกันที่แข่งขันกันนอกพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ปัจจุบันสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลนครราชสีมา มาสด้า และเคยเป็นสนามหลักในซีเกมส์ 2007 และกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 43 ที่นครราชสีมาเป็นเจ้าภาพ

ภูมิหลัง[แก้]

สโมสร การเข้ารอบ การแข่งขันครั้งที่ผ่านมา (ตัวหนาคือชนะเลิศ)
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ชนะเลิศไทยลีก ฤดูกาล 2564–65 และช้าง เอฟเอคัพ 2564–65 2 (2561, 2562)
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด รองชนะเลิศไทยลีก ฤดูกาล 2564–65 1 (2564)

การถ่ายทอดสด[แก้]

  1. AIS Play
  2. PPTV 36

การแข่งขัน[แก้]

รายละเอียด[แก้]

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
รายชื่อผู้เล่น:
GK 1 ไทย ศิวรักษ์ เทศสูงเนิน
RB 15 ไทย นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม (c)
CB 3 ไทย พรรษา เหมวิบูลย์
CB 22 อิรัก รีบีน ซูลากอ Substituted off in the 75 นาที 75'
LB 5 ไทย ธีราทร บุญมาทัน
DM 8 ไทย รัตนากร ใหม่คามิ
DM 20 เซอร์เบีย โกรัน เคาซิช Red card 50'
RM 10 โคลอมเบีย ฟรังก์ กัสตาเญดา Substituted off in the 75 นาที 75'
AM 9 ไทย ศุภชัย ใจเด็ด Substituted off in the 63 นาที 63'
LM 21 ไทย ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา
CF 99 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โจนาธาน โบลิงกี Goal 35'84' (ลูกโทษ) โดนใบเหลือง ใน 44 นาที 44'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 59 ไทย นพพล ละครพล
DF 2 ไทย ศศลักษณ์ ไหประโคน Substituted on in the 63 minute 63'
DF 14 ไทย ชิติพัทธ์ แทนกลาง
DF 44 ฟิลิปปินส์ ดิเอโก บาร์ดังกา Substituted on in the 75 minute 75'
MF 6 ไทย พีรดนย์ ฉ่ำรัศมี Substituted on in the 75 minute 75'
MF 11 ไทย ชุติพนธ์ ทองแท้
MF 64 ไทย ธีรภักดิ์ เปรื่องนา
MF 67 ไทย ธนดล ขาวสะอาด
FW 77 ประเทศพม่า อองตู
หัวหน้าผู้ฝึกสอน:
ญี่ปุ่น มาซาตาดะ อิชิอิ
รายชื่อผู้เล่น:
GK 26 ไทย กิตติพงศ์ ภูแถวเชือก
RB 27 ฟิลิปปินส์ เจสซี่ เคอร์แรน Substituted off in the 72 นาที 72'
CB 17 สิงคโปร์ เออร์ฟาน ฟานดี
CB 41 บราซิล กาสซิโอ ไซด์ Substituted off in the 72 นาที 72'
LB 3 ไทย สหรัฐ ปองสุวรรณ
RM 18 ไทย ปฐมพล เจริญรัตนาภิรมย์ Goal 6' Substituted off in the 64 นาที 64'
CM 36 ไทย พิธิวัต สุขจิตธรรมกุล
CM 6 ไทย สารัช อยู่เย็น (c)
LM 8 ไทย วรชิต กนิตศรีบำเพ็ญ Goal 51'
CF 99 สิงคโปร์ อิคซาน ฟานดี Goal 38'
CF 10 ไทย ธีรศิลป์ แดงดา Substituted off in the 64 นาที 64'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 39 ไทย ประสิทธิ์ ผดุงโชค
DF 13 ไทย เอร์เนสโต ภูมิภา
DF 15 ไทย อภิสิทธิ์ โสรฎา
DF 16 ไทย จักพัน ไพรสุวรรณ Substituted on in the 72 minute 72'
DF 22 ไทย สันติภาพ จันทร์หง่อม
DF 30 เวเนซุเอลา อันเดรส ตุญเญซ Substituted on in the 72 minute 72'
MF 11 ไทย เจริญศักดิ์ วงษ์กรณ์ Substituted on in the 64 minute 64'
MF 24 ไทย ฉัตรมงคล ทองคีรี
FW 7 บราซิล จีโอกู โดนใบเหลือง ใน 90+6 นาที 90+6' Substituted on in the 64 minute 64'
หัวหน้าผู้ฝึกสอน:
ญี่ปุ่น มาโกโตะ เทงูราโมริ

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
ไทย อภิชิต โนพวน
ไทย ราเชนทร์ ศรีชัย
ผู้ตัดสินที่สี่:
ไทย นิวัฒน์ อินสอาด
ผู้ช่วย วีเออาร์:
ไทย ศิวกร ภูอุดม
ไทย ทานินทร์ รื่นจิตต์

กติกาการแข่งขัน

  • แข่งขันเวลาปกติ 90 นาที
  • ตัดสินด้วยการดวลลูกโทษ หากยังเสมอกันในเวลา
  • เปลี่ยนตัวผู้เล่นสูงสุดได้ห้าคนในสามเวลา

อ้างอิง[แก้]

  1. "Man of the match of the Daikin Thailand Champions Cup 2022". facebook.com/BGPATHUMUNITED. BG Pathum United. 6 August 2022.
  2. 2.0 2.1 "ไทยแลนด์แชมเปี้ยนส์คัพเตะรังเหย้า "สวาทแคท" 6 ส.ค.65 ซีซั่นก่อนบีจีฯไม่ชนะสนามนี้". สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2022.