นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม
วันเกิด 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 (29 ปี)
สถานที่เกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
ส่วนสูง 1.79 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว)
ตำแหน่ง แบ็กขวา
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
หมายเลข 15
สโมสรเยาวชน
2550-2552 อัสสัมชัญธนบุรี
2553 อยุธยา
2554 เพื่อนตำรวจ
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2555–2557 บีอีซี-เทโรศาสน 54 (2)
2558– บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 169 (18)
ทีมชาติ
2554–2555 ไทย ยู-19 8 (2)
2555–2559 ไทย ยู-23 22 (7)
2556– ไทย 35 (1)
เกียรติประวัติ
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 11 ธันวาคม 2564

ร้อยตำรวจเอก นฤบดินทร์ วีรวัฒโนดม (ชื่อเล่น ต้น) เป็นนักฟุตบอลชาวไทย ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งแบ็กขวาให้กับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในไทยลีก โดยเขาเป็นกัปตันทีม บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด คนปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

นฤบดินทร์ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ที่อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[1] จบการศึกษาระดับชั้นมัธยม จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี กรุงเทพฯ ปัจจุบันกำลังศึกษาในสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต[2] นอกจากนี้ เขายังเคยเป็นแบบให้กับ นิตยสารสุดสัปดาห์ ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ภายใต้แนวคิด "หนุ่มน่าถอด 2030" และมีน้องสาว 1 คน คือ น้ำตาล (ทิพนารี วีรวัฒโนดม)

สโมสรอาชีพ[แก้]

นฤบดินทร์เริ่มลงแข่งขันระดับเยาวชน กับทีมฟุตบอลของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี และสโมสรฟุตบอลเพื่อนตำรวจ[1] ซึ่งชนะเลิศการแข่งขันระดับนักเรียน รุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี ประเภท ก. ประจำปี พ.ศ. 2551

บีอีซี เทโรศาสน[แก้]

เมื่อราวต้น พ.ศ. 2555 นฤบดินทร์ได้ขึ้นมาแข่งขันระดับอาชีพให้กับสโมสรบีอีซี-เทโรศาสน โดยมีเพื่อนร่วมทีมที่ติดทีมชาติชุดใหญ่ด้วยกันคือ ชนาธิป สรงกระสินธ์,พีระพัฒน์ โน้ตชัยยา,ธนบูรณ์ เกษารัตน์และอดิศร พรหมรักษ์ ปัจจุบันทั้งหมดยังคงโลดแล่นในเวทีการค้าแข้งในไทยลีก โดยชนาธิป สรงกระสินธ์เล่นให้กับบีจี ปทุม ยูไนเต็ด, พีระพัฒน์ โน้ตชัยยาเล่นให้กับทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด, ธนบูรณ์ เกษารัตน์เล่นให้กับการท่าเรือ เอฟซี, และ อดิศร พรหมรักษ์เล่นให้กับราชบุรี

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด[แก้]

ในช่วงต้น พ.ศ. 2558 หลังจากจบศึก AFF SUZUKI CUP 2014 นฤบดินทร์ถูกแลกเปลี่ยนตัวกับอดิศักดิ์ ไกรษร ไปอยู่กับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด โดยเขาสวมเสื้อหมายเลข 13 ก่อนในปี 2019 เขาเปลี่ยนมาใส่หมายเลข 15[3]

ฤดูกาล 2558[แก้]

ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558 นฤบดินทร์ทำประตูแรกในไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2558 ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะโอสถสภา 6–3[4]

ฤดูกาล 2559[แก้]

ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559 นัดการแข่งขันฉลองความสัมพันธ์ 65 ปี ไทย-กัมพูชา รายการ "ช้างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดทัวร์ ครั้งที่ 1" นฤบดินทร์ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกข้อมือซ้าย ทำให้ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมิติเวช[5] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 นฤบดินทร์ตัดสินใจต่อสัญญากับสโมสรไปอีก 5 ปี[6]

ฤดูกาล 2560[แก้]

ในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 นฤบดินทร์ได้เริ่มเข้ารับการฝึกอบรมที่โรงเรียนนายร้อย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ระยะในการฝึกทั้งสิ้น 3 เดือน โดยเขาจะได้รับอนุญาตให้กลับมาเล่นให้กับสโมสรในช่วงที่มีการแข่งขัน[7]

ฤดูกาล 2561[แก้]

ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 นฤบดินทร์ทำประตูแรกในไทยลีก ฤดูกาล 2561 ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านแซงเอาชนะอุบล ยูไนเต็ด ไปได้ 2–1[8]

ฤดูกาล 2562[แก้]

ก่อนเปิดฤดูกาล 2562 นฤบดินทร์ได้เปลี่ยนหมายเลขเสื้อจาก 13 ไปเป็น 15 ต่อมาในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562 นฤบดินทร์ทำประตูแรกในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะราชบุรี มิตรผล ไปได้ 6–0[9]

ฤดูกาล 2563–64[แก้]

ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 นฤบดินทร์ทำประตูแรกในไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะชลบุรีไปได้ 4–0[10] ต่อมาในวันที่ 7 พฤศจิกายน การแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ รอบ 64 ทีมสุดท้าย เขาทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะสมุทรสงครามไปอย่างขาดลอย 9–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 32 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[11] และในวันที่ 31 ตุลาคม เขาทำประตูที่ 6 ในลีก ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะเมืองทอง ยูไนเต็ดไปได้ 2–0

ฤดูกาล 2564–65[แก้]

วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564 นฤบดินทร์ทำประตูแรกในไทยลีก ฤดูกาล 2564–65 ช่วยให้ทีมเปิดบ้านเอาชนะเมืองทอง ยูไนเต็ดไปได้ 2–0[12]

ฤดูกาล 2565–66[แก้]

วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2565 การแข่งขันไทยลีก ฤดูกาล 2565–66 นัดที่ 4 นฤบดินทร์เสียทีทำเข้าประตูตัวเองในนัดที่ทีมเปิดบ้านพบกับบีจี ปทุม ยูไนเต็ด อย่างไรก็ตาม ทีมสามารถกลับมาตีเสมอได้ 2–2

ทีมชาติ[แก้]

นฤบดินทร์เริ่มลงแข่งขันให้กับทีมชาติไทย ตั้งแต่รุ่นอายุ 12, 13, 16, 19 ปี ซึ่งอยู่ในชุดที่เข้าถึงรอบสุดท้าย ฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[1] และชุดใหญ่ ซึ่งอยู่ในชุดที่ได้เหรียญทองฟุตบอลชาย ในกีฬาซีเกมส์ 2013 ชนะเลิศรายการ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 รวมทั้ง ซีเกมส์ 2015 ตามลำดับ

ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 นฤบดินทร์ มีชื่อติดทีมชาติไทยเบื้องต้น 33 คน[13] และในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2562 นฤบดินทร์ ยังคงมีชื่อติดทีมชาติไทยในรอบที่ตัดตัวเหลือ 23 คนสุดท้าย ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก นัดที่ไทยจะเปิดบ้านพบกับเวียดนามและออกไปเยือนอินโดนีเซีย[14]

สถิติอาชีพ[แก้]

สโมสร[แก้]

ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2566
สโมสร ฤดูกาล ลีก เอฟเอคัพ ลีกคัพ เอเชีย อื่น ๆ ทั้งหมด
ระดับ ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2563–64 ไทยลีก 27 1 5 1 2 0 34 2
2564–65 ไทยลีก 27 1 5 0 4 0 1[a] 0 37 1
2565–66 ไทยลีก 27 0 4 0 5 0 0 0 1[b] 0 37 0

ทีมชาติ[แก้]

ณ วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560[15]
ทีมชาติ ปี ลงเล่น ประตู
ไทย 2556 5 0
2557 8 0
2558 4 0
2559 3 0
2560 3 0
ทั้งหมด 23 0

การทำประตูในนามทีมชาติ[แก้]

# วันที่ สนาม คู่แข่ง ทำประตู ผลการแข่งขัน รายการ
23 มกราคม พ.ศ. 2556 สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย ธงชาติฟินแลนด์ ฟินแลนด์ 1-2 1-3 ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 42 (การแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการ)
1. 3 มิถุนายน พ.ศ. 2564 สนามกีฬาอาลมักตูม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 1-0 2-2 ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2

เกียรติประวัติ[แก้]

สโมสร[แก้]

บีอีซี เทโรศาสน
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

ทีมชาติ[แก้]

ไทย อายุไม่เกิน 19 ปี
ไทย อายุไม่เกิน 23 ปี
ไทย

รางวัลส่วนตัว[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 รายชื่อผู้เข้าชิงรางวัล นักฟุตบอลดาวรุ่งยอดเยี่ยม ฟุตบอลสยามโกลเดนบอล 2013
  2. นักกีฬาฟุตบอล เก็บถาวร 2015-01-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, จากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  3. เทโรยันแลก"นฤบดินทร์"กับ"อดิศักดิ์"ของบุรีรัมย์ จากเดลินิวส์
  4. ""บุรีรัมย์" ถล่มโอสถฯ 6-3 ฉีกนำ 5 แต้ม "กิเลน" เสียท่าอาร์มี". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ""ต้น นฤบดินทร์" ผ่าตัดข้อมือผ่านฉลุย คาดใส่เฝือก 2-3 วีค". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "พ่อยัน "นฤบดินทร์" ต่อสัญญาบุรีรัมย์ยาว 5 ปี". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "'นฤบดินทร์' เข้าฝึกอบรมนายร้อย". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แซงชนะ อุบล 2-1 ยังครองจ่าฝูงไทยลีกเหนียวแน่น". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "บุรีรัมย์หญ้าสวยยำมังกรหวาน 6-0". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ไฮไลท์+ดูย้อนหลัง บุรีรัมย์ 4-0 ชลบุรี เอฟซี, ฉลามสิบตัว สุดแรงต้าน". สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เปิดรังถล่ม สมุทรสงคราม 9-0 ลิ่ว 32 ทีม ช้างเอฟเอคัพ". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ November 7, 2020.
  12. "ช้างอารีนา หนาวจริง! ปราสาทสายฟ้า แช่แข็ง กิเลนผยอง ครองบัลลังก์จ่าฝูง ไทยลีก ต่อไป". สืบค้นเมื่อ November 1, 2021.
  13. "นิชิโนะประกาศรายชื่อ 33 แข้งช้างศึกเตรียมคัดบอลโลก". สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "กุนซือชาวญี่ปุ่น ประกาศตัดตัวผู้เล่นให้เหลือ 23 ราย เป็นที่เรียบร้อย". สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "Narubodin Weerawatnodom". National-Football-Teams.com. สืบค้นเมื่อ 17 February 2016.
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-04-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๓๑, ๙ มกราคม ๒๕๕๘