เร็กเก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เรกเก้)
ดนตรีเร็กเกของจาเมกา *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
ประเทศธงของประเทศจาเมกา จาเมกา
ภูมิภาค **ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
สาขาธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, ศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล, ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
เกณฑ์พิจารณาR.1, R.2, R.3, R.4, R.5
อ้างอิง01398
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2018/2561 (คณะกรรมการสมัยที่ 13)
รายการตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เร็กเก (อังกฤษ: reggae) เป็นแนวเพลงที่เกิดขึ้นในประเทศจาเมกาในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 คำนี้ยังหมายถึงดนตรียอดนิยมสมัยใหม่ของชาวจาเมกา[1] ใน ค.ศ. 1968 เพลง "Do the Reggay" โดย Toots and the Maytals เป็นเพลงยอดนิยมเพลงแรกที่ใช้คำว่า "เร็กเก" ในการตั้งชื่อเพลงและยังแนะนำผู้ฟังทั่วโลกให้รู้จักแนวเพลงนี้[2][3]

เร็กเกมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับขบวนการราสตาฟารี ซึ่งเป็นขบวนการเชิงศาสนาซึ่งพัฒนาขึ้นในจาเมกาในคริสต์ทศวรรษ 1930 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเคลื่อนไหวที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมและเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองและผู้พลัดถิ่นที่มีเชื้อสายแอฟริกา[4][5][6] ไม่นานหลังจากการเคลื่อนไหวของขบวนการราสตาฟารีเริ่มต้นขึ้น ความนิยมในระดับสากลของดนตรีเร็กเกได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องและเผยแพร่ลัทธิราสตาฟารีไปทั่วโลก[5] ดนตรีเร็กเกเป็นวิธีการสำคัญในการส่งข้อความสำคัญของลัทธิราสตาฟารี โดยมีนักดนตรีเป็นผู้ส่งสาร ถึงขนาดชาวราสตาฟารีได้กล่าวว่า "ทหารและนักดนตรีเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง"[7]

ดนตรีเร็กเกผสมผสานองค์ประกอบทางดนตรีบางส่วนของริทึมแอนด์บลูส์, แจ๊ส, เมนโต (ดนตรีพื้นบ้านชนบทในเวลาที่มีการเฉลิมฉลองและเป็นอีกแนวเพลงหนึ่งของบทเพลงสวดและบทเพลงสวดดัดแปลงของการร้องเพลงในโบสถ์),[8] คาลิปโซ[9] และยังได้รับอิทธิพลจากเพลงพื้นบ้านของแอฟริกา

เร็กเกได้แพร่กระจายไปยังหลายประเทศทั่วโลกโดยมักผสมผสานเครื่องดนตรีท้องถิ่นและผสมผสานกับแนวเพลงอื่น ๆ เช่น เร็กเกในภาษาสเปนได้แพร่กระจายจากประเทศปานามาในทวีปอเมริกากลางไปยังประเทศเวเนซุเอลาและประเทศกายอานาในทวีปอเมริกาใต้ โดยไปยังส่วนที่เหลือของทวีปในที่สุด แนวเพลงแคริบเบียนในสหราชอาณาจักรรวมถึงเร็กเกได้รับความนิยมตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และมีการพัฒนาจนกลายเป็นประเภทย่อย ศิลปินเร็กเกหลายคนเริ่มต้นอาชีพในสหราชอาณาจักรและยังมีศิลปินและวงดนตรีในยุโรปจำนวนมากที่ได้รับแรงบันดาลใจจากชุมชนชาวจาเมกาและแคริบเบียนในทวีปยุโรป ดนตรีเร็กเกในทวีปแอฟริกาได้รับความนิยมมากขึ้นหลังจากการไปเยือนประเทศซิมบับเวของบ็อบ มาร์เลย์ ใน ค.ศ. 1980

ในประเทศจาเมกา วงการดนตรีเร็กเกดั้งเดิมเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ[10]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. Stephen Davis. "Reggae." Grove Music Online. Oxford Music Online. Oxford University Press. Web.16 Feb 2016.
  2. "Frederick "Toots" Hibbert Biography". Biography.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 August 2016. สืบค้นเมื่อ 2 July 2016.
  3. "reggae". Dictionary.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 August 2016. สืบค้นเมื่อ 10 July 2016.
  4. Warner, Keith Q. (1988). "Calypso, reggae, and Rastafarianism: Authentic Caribbean voices". Popular Music and Society (ภาษาอังกฤษ). 12 (1): 53–62. doi:10.1080/03007768808591306. ISSN 0300-7766.
  5. 5.0 5.1 Earl, Bunn, Glenn (2005). The Influence of Rastafarianism and Reggae Music on Jamaican and International Politics (วิทยานิพนธ์) (ภาษาอังกฤษ). St. John Fisher College. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2018. สืบค้นเมื่อ 30 November 2018.
  6. Campbell, Horace (1988). "Rastafari as Pan Africanism in the Caribbean and Africa". African Journal of Political Economy. 2 (1): 75–88. JSTOR 23500303.
  7. Davis, Stephen (1992). Reggae bloodlines : in search of the music and culture of Jamaica (1st Da Capo Press ed.). New York: Da Capo Press. ISBN 978-0306804960. OCLC 26014673.
  8. Stephen Davis. Reggae (second ed.). The New Grove Dictionary of Jazz.
  9. Anderson, Rick. "Reggae Music: A History and Selective Discography”. Notes 61.1 (2004): 206–214.
  10. Bennetzen, Jørgen, and Kirsten Maegaard. "Reggae". Fontes Artis Musicae 29.4 (1982): 182–186.