อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวค
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าGlybera
AHFS/Drugs.comข้อมูลยาของสหราชอาณาจักร
ช่องทางการรับยาIntramuscular injection
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • In general: ℞ (Prescription only)
ตัวบ่งชี้
ChemSpider
  • none
UNII
สารานุกรมเภสัชกรรม
ยีนบำบัด (Gene therapy) โดยการใช้ AAV vector ซึ่งเป็นยีนที่ได้จากเชื้อไวรัส Adeno-associated virus โดยยีนดังกล่าวจะถูกใส่เข้าไปในเซลล์โดยใช้ปลอกหุ่มโปรตีน AAV เมื่อยีนดังกล่าวเข้าไปสู่นิวเคลียสจะทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีนที่มีคุณสมบัติในการรักษาโรค

อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวค (อังกฤษ: Alipogene tiparvovec) เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะพร่องเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปส (Lipoprotein lipase deficiency; LPLD) ซึ่งเป็นความผิดปกติที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้และก่อให้เกิดภาวะตับอ่อนอักเสบที่รุนแรง[1] เอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปสเป็นเอนไซม์ที่เกาะอยู่บนผิวของเซลล์ไขมัน ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาสลายพันธะเอสเทอร์ในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ที่อยู่ในเลือด ให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล เพื่อดูดซึมเข้าสู่เซลล์ไขมันและนำไปเก็บสะสมไว้ในรูปไตรกลีเซอไรด์ที่เนื้อเยื่อไขมัน เป็นผลให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคมีจำหน่ายในชื่อการค้า ไกลเบอรา (Glybera) ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยยูนิเคียว (UniQure) ในเดือนกรกฎาคม ปี คศ. 2012 องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency) ได้แนะนำว่าควรมีการรับรองการใช้ยาดังกล่าวในทางคลินิกเพื่อใช้เป็นยีนบำบัดสำหรับข้อบ่งใช้ดังข้างต้น หลังจากนั้นได้มีการลงมติโดยสหภาพยุโรป (European Commission) ให้มีการรับรองการใช้อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคเป็นยีนบำบัดในการรักษาพร่องเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปสในเดือนพฤศจิกายน คศ. 2012[2][3] และคาดว่ามีการนำออกจำหน่ายในเชิงการค้าในช่วงประมาณปลายปี คศ. 2014[4][5]

กลไกการออกฤทธิ์[แก้]

ไวรัสพาหะที่มีส่วนยีน AAV1 (Adeno-associated virus serotype 1) ในโครโมโซมจะถูกนำมาใช้ในการปลูกถ่ายยีนที่ใช้ในการสร้างเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปส (LPL gene)ให้กับเซลล์กล้ามเนื้อมนุษย์ โดยยีนดังกล่าวนั้นจะไม่ถูกแทรกเข้าไปในโครโมโซมของมนุษย์ แต่จะลอยอยู่อย่างอิสระภายในนิวเคลียส หลังการบริหารยาอะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคแต่ละครั้ง ผู้ป่วยจะต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive therapy)ร่วมด้วยเพื่อป้องกันปฏิกิริยาตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อไวรัสพาหะ[6]

ข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิกชี้ให้เห็นว่าหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการบริหารยาอะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคพบว่าความเข้มข้นของไขมันในกระแสเลือดจะลดลงใกล้เคียงปกติทุกคนภายในระยะเวลา 3-12 สัปดาห์  โดยผลดีของการใช้ AAV คือ ไม่ก่อให้เกิดโรค, ส่งผ่านยีนไปเฉพาะเซลล์ที่ไม่แบ่งตัว, และความเสี่ยงที่เกิดการสอดแทรกของยีนดังกล่าวเข้าไปในโครโมโซมของมนุษย์นั้นแทบจะไม่มีโอกาสเป็นไปได้เลย[7] เมื่อเปรียบเทียบกับยีนที่ได้จากรีโทรไวรัส (retroviruses) ซึ่งพบการสอดแทรกของยีนดังกล่าวเข้าไปในโครโมโซมของมนุษย์ได้เล็กน้อย ซึ่งจะส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเพิ่มมากขึ้นได้ นอกจากนี้แล้ว AAV ยังมีคุณสมบัติในการกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการตอบสนองของภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยการสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาทำลายไวรัสพาหะและมีพิษต่อเซลล์ต่ำ[8][9][10] ส่วนการจำลองตัวของยีนดังกล่าวจะมีขนาดจำกัดอยู่ที่ประมาณ 4.8 กิโลเบส

ข้อบ่งใช้[แก้]

อะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาภาวะพร่องเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปส (lipoprotein lipase deficiency;LPLD) ร่วมกับมีภาวะตับอ่อนอักเสบที่รุนแรงถึงแม้จะควบคุมการรับประทานอาหารจำพวกไขมันอย่างเข้มงวดแล้วก็ตาม ทั้งนี้การวินิจฉัยภาวะพร่องเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปสนั้นจำเป็นต้องใช้การทดสอบสารพันธุกรรม[11]

รูปแบบเภสัชภัณฑ์[แก้]

ใน 1 ไวแอลจของอะลิโพจีน ไทพาร์โวเวค บรรจุสารละลายใส ไม่มีสี ถึงขาวขุ่นเล็กน้อยของอะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคปริมาณ 1 มิลลิลิตร ซึ่งจะมีจำนวนจีโนมเท่ากับ 3x102 จีโนม[11]

ราคา[แก้]

ในปี คศ. การรักษาภาวะพร่องเอนไซม์ไลโปโปรตีนไลเปสด้วยอะลิโพจีน ไทพาร์โวเวคมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อครั้ง[12] และลดลงมาเป็น 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อครั้งในปี คศ. 2015[13] ซึ่งถือเป็นยาที่มีราคาแพงมากที่สุดในโลก ณ ปัจจุบัน[14]

ดูเพิ่ม[แก้]


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. European Agency Backs Approval of a Gene Therapy July 20, 2012
  2. Gallagher, James. (2012-11-02) BBC News – Gene therapy: Glybera approved by European Commission. Bbc.co.uk. Retrieved on 2012-12-15.
  3. Richards, Sabrina. "Gene Therapy Arrives in Europe". The Scientist. สืบค้นเมื่อ 16 November 2012.
  4. Press Release เก็บถาวร 2012-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. UniQure (2012-11-02). Retrieved on 2012-12-15.
  5. "Chiesi and uniQure delay Glybera launch to add data". Biotechnology. The Pharma Letter. August 4, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-08-28.
  6. "Gene Therapy Arrives in Europe". TheScientist. November 6, 2012.
  7. Valdmanis, PN, Lisowski, L, Kay, MA (November 2012). "rAAV-mediated tumorigenesis: still unresolved after an AAV assault". Molecular Therapy. 20 (11): 2014–17. doi:10.1038/mt.2012.220. PMID 23131853.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Chirmule N, Propert K, Magosin S, Qian Y, Qian R, Wilson J (September 1999). "Immune responses to adenovirus and adeno-associated virus in humans". Gene Therapy. 6 (9): 1574–83. doi:10.1038/sj.gt.3300994. PMID 10490767.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Hernandez YJ, Wang J, Kearns WG, Loiler S, Poirier A, Flotte TR (1 October 1999). "Latent Adeno-Associated Virus Infection Elicits Humoral but Not Cell-Mediated Immune Responses in a Nonhuman Primate Model". Journal of Virology. 73 (10): 8549–58. PMC 112875. PMID 10482608.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Ponnazhagan S, Mukherjee P, Yoder MC; และคณะ (April 1997). "Adeno-associated virus 2-mediated gene transfer in vivo: organ-tropism and expression of transduced sequences in mice". Gene. 190 (1): 203–10. doi:10.1016/S0378-1119(96)00576-8. PMID 9185868.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 European Medicines Agency. "ANNEX I SUMMARY OF PRODUCT CHARACTERISTICS" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-27. สืบค้นเมื่อ January 16, 2015.
  12. Jeanne Whalen (November 2, 2012). "Gene-Therapy Approval Marks Major Milestone". Wall Street Journal.
  13. Chris Morrison (March 3, 2015). "$1-million price tag set for Glybera gene therapy". TradeSecrets.
  14. "Gene therapy approved in Europe for first time". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-13. สืบค้นเมื่อ 2016-01-15.